Custom Search By Google

Custom Search

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระสุรเสียงของพระคริสต์

http://www.romyenchurch.org/sermon/15-02-2009.doc
เติบโตในพระคำ เดินตามพระวิญญาณ
ธรรมศึกษาจากพระธรรมเอเฟซัส
บทที่ 1: 1 – 14
พระประสงค์ของพระเจ้า
วันที่เทศนา : 15 กุมภาพันธ์ 2009

คำทักทายของเปาโลมายังประชากรของพระเจ้า (ข้อ 1 – 2)
“จดหมายฉบับนี้จากข้าพเจ้าเปาโลผู้เป็นอัครทูตของพระเยซูคริสต์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ถึงประชากรของพระเจ้าที่เมืองเอเฟซัส ผู้สัตย์ซื่อในพระเยซูคริสต์ ของพระคุณและสันติสุขจากพระเจ้าพระบิดาของเรา และจากองค์พระเยซูคริสต์เจ้ามีแก่ท่านทั้งหลาย” (เอเฟซัส 1: 1 – 2)
“Paul, an apostle of Christ Jesus by the will of God, to the saints who are also faithful in Christ Jesus: Grace to you and peace from God our Father and the Lord Jesus Christ.”
(Ephesians 1: 1 – 2)

ก่อนที่จะศึกษาพระธรรมคำสอนที่ทรงคุณค่า เกี่ยวกับพระประสงค์ของพระเจ้า ขอให้เราพิจารณาคำคำนับของท่าน ถ้าอาจารย์เปาโลยังมีชีวิตอยู่ถึงปัจจุบัน ท่านจะไม่เปลี่ยนแปลงคำคำนับนี้เพราะคำคำนับของท่านจะนำไปสู่ความน่าเชื่อถือของพระธรรมทั้งเล่ม

ข้าพเจ้าเปาโลผู้เป็นอัครทูตของพระเยซูคริสต์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า (ข้อ 1)
ผู้เขียนคือ อาจารย์เปาโล ประกาศตนเอง “เป็นอัครทูต”
คำว่า อัครทูต (Apostle) ในภาษากรีก แปลว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ออกไปทำภารกิจตามที่มอบหมายให้ไปทำ ดังนั้นเมื่ออาจารย์เปาโลพูดถึงตนเองว่าอัครทูตจึงหมายถึง
1. เขาเป็นของพระคริสต์ ชีวิตของเขาไม่ใช่เป็นของตนเองต่อไป เขาจะทำอะไรตามอำเภอใจต่อไปไม่ได้ ทุกก้าวในวิถีชีวิตจะเดินอยู่ในทางพระคริสต์เท่านั้น
2. หมายถึง เขาเป็นผู้ที่พระเจ้าส่งออกไป คำว่า อัครทูตแปลว่าผู้ที่ถูกส่งไป คำนี้ใช้ได้กับความหมาย ทูตที่ประเทศต่างๆ ส่งไปเป็นตัวแทน อ.เปาโลถือว่าตัวเองเป็นทูตที่พระคริสต์ส่งออกไปทำพันธกิจในโลก
3. หมายถึง สิทธิอำนาจใดๆ ที่ตนมีอยู่ล้วนเป็นเรื่องการรับมอบอำนาจจากพระเจ้า เขาไม่คิดว่าพลังอำนาจ สติปัญญา ความรู้มาจากตนเอง แท้จริงแล้วทั้งหมดที่เขามีอยู่มาจากพระเจ้า

นอกจากจะประกาศตนเองว่าเป็นอัครทูตดังกล่าวแล้ว สิ่งที่น่าสนใจและตอกย้ำสถานภาพของตนคือคำว่า – ตามพระประสงค์ของพระเจ้า
อาจารย์เปาโลกล่าวคำนี้เพื่อผู้อ่านจะมีความชัดเจนว่า ไม่ใช่ตัวเขาเองเลือกอยากเป็นอัครทูต มันไม่ได้ออกมาจากความทะเยอทะยาน และไม่ใช่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งชักชวนและสถาปนาให้เป็นอัครทูต ตัวท่านเองคงแปลกใจด้วยซ้ำเพราะเหตุใดพระเจ้าจึงเรียกเขา ... พระเจ้าได้ทรงเรียกและเลือกด้วยสิทธิอำนาจของพระองค์ให้เปาโลเป็นภาชนะรับใช้ในคำสอน ความอดทน ความเพียรพยายาม และรวมทั้งตัวอย่างในการดำเนินชีวิตและการรับใช้

ประวัติโดยสรุปของผู้ที่ชื่อว่า “เปาโล”
อาจารย์เปาโลได้ให้ความเข้าใจพื้นฐานแล้วว่า ไม่ว่าตัวเอง คำสอน และกิจการทั้งปวงล้วนได้รับจากเบื้องบน ฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนจากข้อเขียนจึงไม่ได้ทำตามมนุษย์แต่ได้ทำตามพระเจ้า ถ้อยคำคำสอนจากอาจารย์เปาโลในหนังสือเล่มนี้ถือว่าได้รับการดลใจจากพระวิญญาณให้เขียนขึ้น
เป็นการดีที่เราจะศึกษาบุคคลที่พระเจ้าใช้ เพื่อจะช่วยให้เราเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับผู้ที่พระเจ้าทรงเรียกให้เป็นภาชนะของพระองค์
1. ชื่อ “เปาโล” (Paul) เป็นชื่อภาษาลาติน แปลว่า “เล็ก” แต่อาจารย์เปาโลมีอีกชื่อหนึ่งเป็นภาษาฮีบรู “เซาโล” (Saul) แปลว่า อธิษฐานทูลขอ
2. เป็นคนยิวและเคร่งครัดในลัทธิยิวอย่างมากจนได้เป็นฟาริสีตามรอยเท้าของพ่อ (กิจการ 22: 3, 6)
3. ต่อต้าน ไม่ยอมรับว่าพระเยซูคือพระมาซีฮาห์ หรือ พระคริสต์ ที่ชนชาติยิวรอคอย ถ้าใครเชื่อและติดตามคำสอนของพระเยซูเขาจะกำจัด โดยวิธีรุนแรงแม้ทำให้ตาย (กิจการ 22: 4 – 5)
4. ขณะเดินทางไปเมืองดามัสกัสเพื่อไปจับและข่มเหงคริสเตียน พระเยซูคริสต์ปรากฏแก่เขาด้วยรัศมีอันยิ่งใหญ่ จนตกลงพื้นและได้ยินพระสุรเสียงของพระคริสต์ เปาโล กลับใจยอมรับพระคริสต์ (กิจการ 26: 12 – 18)
5. พระคริสต์เลือกให้เขาเป็นภาชนะรับใช้ เขาเชื่อฟังรับใช้ด้วยความสัตย์แม้จะถูกข่มเหง ถูกจำคุก ถูกใส่ร้าย แม้ยากลำบาก และแม้จะต้องถูกประหารชีวิต (กิจการ 22:
6 – 10; 26: 15 – 18)

จากประวัติความเป็นมาของอาจารย์เปาโลที่กล่าวมาแล้วนี้ล้วนมาจากคำบอกเล่า จากประสบการณ์อันแท้จริง และพระเจ้าดลใจให้หมอลูกาได้บันทึกไว้ ดังนั้นเราไม่มีข้อกังขาเนื้อหาสาระและประสบการณ์ชีวิต เป็นของจริงมีความน่าเชื่อถือ
มีความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้จากคำพูดที่เกิดจากประสบการณ์ของอาจารย์เปาโล สามารถเป็นจริงกับทุกคน ทุกยุค ทุกสมัย ต่อไปนี้ของให้เราศึกษาคำพูดเหล่านั้น

1. พระเยซูคริสต์ช่วยทุกคนให้รอดได้
“ข้อความนี้เป็นความจริงซึ่งสมควรแก่การยอมรับโดยไม่มีข้อกังขา คือพระเยซูคริสต์เสด็จเข้ามาในโลกเพื่อช่วยคนบาปให้รอด และในบรรดาคนบาปข้าพเจ้าเป็นตัวร้ายที่สุด”
(1 ทิโมธี 1: 15)
“The saying is sure and worthy of full acceptance, that Christ Jesus came into the world to save sinners. And I am the foremost of sinners;” (1 Timothy 1: 15)

ไม่ว่าผู้นั้นจะเคยเป็นคนบาปมากหรือนาน และลึกขนาดไหน พระเจ้ายังคงรักและเมตตา พระองค์พร้อมจะช่วยเมื่อผู้นั้นเปิดใจต้อนรับพระองค์ เพียงเราตอบสนองการทรงเรียกของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดที่ไหนพระองค์ตอบรับทันที
พระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ พระองค์สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตและชะตากรรมชีวิตของเรา และเราจะพบความอบอุ่นในชีวิตที่ไม่เคยพบมาก่อนเลย

2. พระเยซูสามารถรักษาทุกสิ่งที่เราฝากไว้กับพระองค์
“นั่นเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทนทุกข์อย่างที่เป็นอยู่ กระนั้นข้าพเจ้าก็ไม่ละอายเพราะข้าพเจ้ารู้จักพระองค์ที่ข้าพเจ้าเชื่อ และมั่นใจว่าพระองค์ทรงสามารถรักษาสิ่งที่ข้าพเจ้ามอบไว้กับพระองค์จนถึงวันนั้นได้” (2 ทิโมธี 1: 12)
“And therefore I suffer as I do. But I am not ashamed, for I know whom I have believed, and I am sure that he is able to guard until that Day what has been entrusted to me.”
(2 Timothy 1: 12)

ถึงแม้อาจารย์เปาโลจะไม่ได้พูดชัดเจนว่า ท่านได้ฝากอะไรไว้ แต่จากการศึกษาชีวิตและการทำงานตลอดชีวิต อาจารย์เปาโลรู้แน่ว่าระหว่างเอาชีวิตไว้ในมือของตนเองกับมอบชีวิตไว้ในพระหัตถ์ของพระเจ้า อาจารย์เปาโลทราบดีว่าความมั่นคงในชีวิต ความมั่นใจในการรับใช้อยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้าปลอดภัยกว่าแน่ ปัญหาหลายอย่าง ความไม่เข้าใจหลายเรื่อง เราสามารถฝากไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์

3. พระเยซูคริสต์เสริมพลังในยามยากลำบาก
“ข้าพเจ้าทำทุกสิ่งได้โดยพระองค์ผู้ประทานกำลังแก่ข้าพเจ้า” (ฟิลิปปี 4: 13)
“I can do all things in him who strengthens me.” (Philippians 4: 13)

ชีวิตในโลกบางครั้งสุขสบาย แต่บางครั้งต้องเผชิญโพยภัยพายุร้าย บางครั้งต้องเบียดเสียดสีกับความสับสน ความไม่สมหวัง และการสูญเสีย ไม่ใช่ทุกครั้งที่พระเจ้ายกเราออกจากวิกฤติ แต่บางครั้งพระองค์ประสงค์ให้เราผ่านวิกฤติด้วยพลังจากพระองค์ เราจะเรียนรู้ว่าพลังในผู้เชื่อนั้นมากมายเพียงใด หลายครั้งเราแพ้ไม่ใช่เพราะสู้ไม่ได้แต่อาจเป็นเพราะเราไม่ยอมสู้

4. พระเยซูคริสต์ช่วยให้กล้าเผชิญความตายด้วยใจมั่นคงและความหวังใจ
“เพราะว่าข้าพเจ้ากำลังถูกเทออกแล้วเหมือนเครื่องบูชาและถึงเวลาที่ข้าพเจ้าจะจากไป ข้าพเจ้าได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็ง ข้าพเจ้าได้วิ่งแข่งมาจนถึงเส้นชัย ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้แล้ว บัดนี้มงกุฎแห่งความชอบธรรมรอข้าพเจ้าอยู่ องค์พระผู้เป็นเจ้าตุลาการผู้เที่ยงธรรมจะประทานมงกุฎนี้เป็นรางวัลแก่ข้าพเจ้าในวันนั้น และไม่ใช่แก่ข้าพเจ้าคนเดียวแต่จะประทานแก่คนทั้งปวงที่เฝ้าคอยการเสด็จมาของพระองค์ด้วย” (2 ทิโมธี 4: 6 – 8)
“Have no anxiety about anything, but in everything by prayer and supplication with thanksgiving let your requests be made known to God. And the peace of God, which passes all understanding, will keep your hearts and your minds in Christ Jesus. Finally, brethren, whatever is true, whatever is honorable, whatever is just, whatever is pure, whatever is lovely, whatever is gracious, if there is any excellence, if there is anything worthy of praise, think about these things.” (2 Timothy 4: 6 – 8)

สำหรับคริสเตียน ความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว แท้จริงทุกวันนี้คนไม่ได้กลัวความตายเนื่องจากมันเป็นสัจธรรม ไม่มีใครหนีพ้นได้ แต่คนกลังความตายเพราะความไม่แน่ใจชีวิตหลังความตาย อาจารย์เปาโลรู้อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากที่เขาตายจากโลกนี้ ท่านหนุนใจคริสเตียนว่า เราทุกคนมีความหวังอันเดียวกัน เราไม่กลัวความตายและความตายไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป



เติบโตในพระคำ เดินตามพระวิญญาณ
ธรรมศึกษาจากพระธรรมเอเฟซัส
บทที่ 1: 1 – 14
พระประสงค์ของพระเจ้า

คำทักทายของเปาโลมายังประชากรของพระเจ้า (ข้อ 1 – 2)
“จดหมายฉบับนี้จากข้าพเจ้าเปาโลผู้เป็นอัครทูตของพระเยซูคริสต์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า ถึงประชากรของพระเจ้าที่เมืองเอเฟซัส ผู้สัตย์ซื่อในพระเยซูคริสต์ ของพระคุณและสันติสุขจากพระเจ้าพระบิดาของเรา และจากองค์พระเยซูคริสต์เจ้ามีแก่ท่านทั้งหลาย” (เอเฟซัส 1: 1 – 2)
“Paul, an apostle of Christ Jesus by the will of God, to the saints who are also faithful in Christ Jesus: Grace to you and peace from God our Father and the Lord Jesus Christ.”
(Ephesians 1: 1 – 2)

ข้าพเจ้าเปาโลผู้เป็นอัครทูตของพระเยซูคริสต์ตามพระประสงค์ของพระเจ้า (ข้อ 1)
คำว่า อัครทูต (Apostle) ในภาษากรีก (Apostolos) แปลว่า ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ออกไปทำภารกิจตามที่มอบหมายให้ไปทำ

ประวัติโดยสรุปของผู้ที่ชื่อว่า “เปาโล”
1. ชื่อ “เปาโล” (Paul) เป็นชื่อภาษาลาติน แปลว่า “เล็ก” แต่อาจารย์เปาโลมีอีกชื่อหนึ่งเป็นภาษาฮีบรู “เซาโล” (Saul) แปลว่า อธิษฐานทูลขอ
2. เป็นคนยิวและเคร่งครัดในลัทธิยิวอย่างมากจนได้เป็นฟาริสีตามรอยเท้าของพ่อ (กิจการ 22: 3, 6)
3. ต่อต้านคริสเตียน (กิจการ 22: 4 – 5)
4. กลับใจขณะเดินทางไปเมืองดามัสกัส (กิจการ 26: 12 – 18)
5. พระเจ้าเลือกให้เขาเป็นภาชนะของพระคริสต์ (กิจการ 22: 6 – 10; 26: 15 – 18)



ประสบการณ์ของอาจารย์เปาโลสามารถเป็นจริงกับทุกคน
1. พระเยซูคริสต์ช่วยทุกคนให้รอดได้
“ข้อความนี้เป็นความจริงซึ่งสมควรแก่การยอมรับโดยไม่มีข้อกังขา คือพระเยซูคริสต์เสด็จเข้ามาในโลกเพื่อช่วยคนบาปให้รอด และในบรรดาคนบาปข้าพเจ้าเป็นตัวร้ายที่สุด”
(1 ทิโมธี 1: 15)
“The saying is sure and worthy of full acceptance, that Christ Jesus came into the world to save sinners. And I am the foremost of sinners;” (1 Timothy 1: 15)
2. พระเยซูสามารถรักษาทุกสิ่งที่เราฝากไว้กับพระองค์
“นั่นเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าทนทุกข์อย่างที่เป็นอยู่ กระนั้นข้าพเจ้าก็ไม่ละอายเพราะข้าพเจ้ารู้จักพระองค์ที่ข้าพเจ้าเชื่อ และมั่นใจว่าพระองค์ทรงสามารถรักษาสิ่งที่ข้าพเจ้ามอบไว้กับพระองค์จนถึงวันนั้นได้” (2 ทิโมธี 1: 12)
“And therefore I suffer as I do. But I am not ashamed, for I know whom I have believed, and I am sure that he is able to guard until that Day what has been entrusted to me.”
(2 Timothy 1: 12)
3. พระเยซูคริสต์เสริมพลังในยามยากลำบาก
“ข้าพเจ้าทำทุกสิ่งได้โดยพระองค์ผู้ประทานกำลังแก่ข้าพเจ้า” (ฟิลิปปี 4: 13)
“I can do all things in him who strengthens me.” (Philippians 4: 13)
4. พระเยซูคริสต์ช่วยให้กล้าเผชิญความตายด้วยใจมั่นคงและความหวังใจ
“เพราะว่าข้าพเจ้ากำลังถูกเทออกแล้วเหมือนเครื่องบูชาและถึงเวลาที่ข้าพเจ้าจะจากไป ข้าพเจ้าได้ต่อสู้อย่างเข้มแข็ง ข้าพเจ้าได้วิ่งแข่งมาจนถึงเส้นชัย ข้าพเจ้าได้รักษาความเชื่อไว้แล้ว บัดนี้มงกุฎแห่งความชอบธรรมรอข้าพเจ้าอยู่ องค์พระผู้เป็นเจ้าตุลาการผู้เที่ยงธรรมจะประทานมงกุฎนี้เป็นรางวัลแก่ข้าพเจ้าในวันนั้น และไม่ใช่แก่ข้าพเจ้าคนเดียวแต่จะประทานแก่คนทั้งปวงที่เฝ้าคอยการเสด็จมาของพระองค์ด้วย” (2 ทิโมธี 4: 6 – 8)
“Have no anxiety about anything, but in everything by prayer and supplication with thanksgiving let your requests be made known to God. And the peace of God, which passes all understanding, will keep your hearts and your minds in Christ Jesus. Finally, brethren, whatever is true, whatever is honorable, whatever is just, whatever is pure, whatever is lovely, whatever is gracious, if there is any excellence, if there is anything worthy of praise, think about these things.” (2 Timothy 4: 6 – 8)


พระสุรเสียงของพระคริสต์
บุตรของเราเอ๋ย เจ้าควรสละทุกสิ่งเพื่อคนทั้งปวง และไม่เป็นเจ้าของตัวของเจ้าเองแต่อย่างใด เจ้าควรจะรู้ว่าการรักตัวเองเป็นอันตรายแก่เจ้ามากกว่าสิ่งอื่นใดในโลก เจ้ารักและชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากน้อยเพียงใดก็แล้วแต่ สิ่งนั้นจะติดอยู่กับเจ้ามากน้อยเพียงนั้น ถ้าความรักของเจ้าบริสุทธิ์ ง่ายและเป็นระเบียบเรียบร้อย เจ้าจะไม่เป็นทาสของสิ่งใดเลย อย่าโลภในสิ่งที่เจ้าไม่อาจมีได้ อย่ามีอะไรไว้ในความครอบครองของเจ้าซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคแก่เจ้าได้หรือทำให้เจ้าเสียเสรีภาพไป

เป็นการแปลกที่เจ้าไม่ยอมมอบตัวเจ้าไว้กับเราโดยสุด กำลังใจของเจ้า พร้อมกับสิ่งสารพัดที่เจ้าสามารถปรารถนาหรือมีอยู่ได้ ทำไมเจ้าจึงเร่าร้อนด้วยความทุกข์ใจอย่างโง่เขลา ทำไมเจ้าจึงเหน็ดเหนื่อยกับความกระวนกระวายที่ไม่จำเป็น จงจำนนต่อความประสงค์ของเราและเจ้าจะไม่ประสบความเสียหายใด ๆ

ถ้าเจ้าแสวงหาสิ่งนี้หรือสิ่งนั้น ถ้าเจ้าปรารถนาจะอยู่ที่นี่หรือที่นั่น ที่จะมีความสะดวกสบายหรือความสนุกสนานมากขึ้น เจ้าจะไม่ได้พักผ่อนหรืออยู่อย่างปราศจากความกระวนกระวาย เพราะเจ้าจะพบจุดบกพร่องสักอย่างในทุก ๆ สิ่ง และในทุก ๆ แห่งจะมีคนทำให้เจ้ารำคาญใจ ดังนั้น การได้ ทรัพย์สินของฝ่ายโลกและมีมากขึ้นหลายเท่าจะไม่ช่วยเจ้า แต่สิ่งที่จะช่วยเจ้าก็คือการเกลียดชังและถอนสิ่งเหล่านี้ออกไปจากใจของเจ้า นี่เป็นความจริงไม่เพียงในเรื่องเงินทองและทรัพย์สินสิ่งของเท่านั้น แต่เกี่ยวกับความทะเยอทะยานที่อยากได้เกียรติและความปรารถนาที่จะได้รับการ ชมเชยที่ไร้ค่า ซึ่งทั้งหมดนี้จะสูญสิ้นไปพร้อมกันกับโลกนี้

สถานที่ไม่สำคัญเท่าไรนักถ้า จิตวิญญาณแห่งความร้อนรนไม่ได้อยู่ที่นั่น และสันติสุขที่แสวงหาจากภายนอกก็จะไม่เป็นสิ่งถาวร ถ้าใจของเจ้าไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้อง นั่นคือ ถ้าเจ้าไม่ได้ตั้งอยู่ในเรา เจ้าอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่เจ้าจะไม่ทำให้ตัวเจ้าเองดีขึ้น เพราะเมื่อมีโอกาสเกิดขึ้นและเจ้ายอมรับโอกาสนั้น เจ้าจะพบสิ่งที่เจ้าได้หนีมาและเลวร้ายกว่านั้นอีก



พระสุรเสียงของพระคริสต์

ลูกของเราเอ๋ย นี่คืออุปนิสัยที่เจ้าควรมีถ้าเจ้าปรารถนาที่จะดำเนินอยู่กับเรา เจ้าควรพร้อมที่จะทนทุกข์เท่า ๆ กันกับที่พร้อมที่จะมีความสุข เจ้าควรเต็มใจที่จะขัดสนและยากไร้เท่า ๆ กันกับที่จะร่ำรวยและอิ่มหนำ


สาวก

ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพระองค์จะทนทุกข์ด้วยความเต็มใจเพื่อเห็นแก่พระองค์ ไม่ว่าอะไรก็ตามที่พระองค์ปรารถนาจะส่งมาให้แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์พร้อมที่จะรับจากพระหัตถ์ของพระองค์ทั้งสิ่งดีและสิ่งร้าย ทั้งความหวานชื่นและความขมขื่น ทั้งความทุกข์กับความชื่นบาน และทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็ขอบคุณพระองค์ ขอพระองค์ทรงป้องกันไม่ให้ข้าพระองค์ทำความผิดบาปใด ๆ แล้วข้าพระองค์จะไม่กลัวความตายหรือนรก อย่าทอดทิ้งข้าพระองค์เป็นนิตย์ หรือลบชื่อของข้าพระองค์ออกจากหนังสือแห่งชีวิต แล้วไม่ว่าข้าพระองค์จะเผชิญกับความทุกข์ยากชนิดไนก็ตาม นั่นจะไม่สามารถทำร้ายข้าพระองค์ได้

เขียนโดย โธมัส อาเคมพิส
แปลโดย พญ. เออร์ซูลา โลเวนธอล
เรียบเรียงโดย กนกบรรณสาร

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

"จับจ้องที่ความสำเร็จ"‏

www.thaisermons.com / คำเทศนาแปลจากต่างประเทศ "จับจ้องที่ความสำเร็จ"‏
จาก: www.thaisermons.com (tawatyenjai@yahoo.com)
ส่งเมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2552 11:27:39
ถึง: nongpau@hotmail.com

จับจ้องที่ความสำเร็จ : พระธรรมผู้วินิจฉัย 8(แปลจากบทเรียนเรื่อง “ Focus on Finishing” ของ ดร.เดวิด เยเรมีย์ ศิษยาภิบาลคริสตจักร Shadow Mountain สหรัฐอเมริกา แปล และเรียบเรียงโดย หญิง นงนุช)

 หากเราศึกษาผู้วินิจฉัยจะเห็นวงจรที่ง่ายต่อความเข้าใจคือ อิราเอลกบฎ > พระเจ้าลงโทษ > พวกเขากลับใจ ร้องขอพระเจ้าช่วย > พระเจ้าส่งคนมาช่วยคือผู้นิจฉัย > พวกเขาก็อยู่กับอิสราเอลจนสิ้นชีวิต แล้ว>> อิสราเอลก็ออกนอกลู่นอกทางอีก วนเวียนอย่างนี้อย่างน้อย 8-9 ครั้ง
 ผู้วินิจฉัย คือเรื่องของการที่พระเจ้าส่งบุคคลมาช่วยกู้คนของพระองค์ที่มักกบฎ และเราจะเรียนรู้เรื่องของ กิเดโอน
 เรื่องแบคทีเรีย
 การไม่ทำให้สำเร็จ อาจนำมาซึ่งความพินาศยอ่ยยับที่ยิ่งใหญ่ ทั้งต่อผู้ป่วย ต่อชีวิต ต่อสังคม หากเรากินยาปฏิชีวนะ จะพบว่า ข้างขวดยาจะมีคำกำชับว่า “กรุณาทานยานี้จดหมด” เพราะหากเราไม่กิน เราอาจจะกลับมาเป็นหนักกว่าเดิม!!
 การไม่ไปถึงความสำเร็จ อาจจะส่งผลร้ายต่อทุกแง่มุมของชีวิตเรา
 เราเคยไหมที่จะยังคงเกาะติดงานบางอย่าง แม้ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลง
 ยังมีใจสู้เหมือนตอนเริ่มต้นเกมส์การแข่งขัน แม้ว่าจะถูกนำไปแล้ว 2-0
 ไม่เสียกำลังใจแม้ว่าโครงการที่ตั้งใจทำดูจะไม่เป็นรูปเป็นร่างสักที
 มีคนกล่าวว่า การเริ่มต้นนั้นยาก แต่การรักษาทิศทาง และทำให้สำเร็จนั้นยากกว่า
 หากเราเป็นนักประกาศ การนำคนมาเชื่อไม่ยากมาก แต่การจะเลี้ยงดูให้เติบโตนั้นนะ งานหนักกว่า
 ดูจากงานประกาศใหญ่ๆ มีคนยกมือรับเชื่อเยอะ แต่กี่คนที่เหลือรอดเป็นคริสเตียนที่เข้มแข็ง

 บทเรียนวันนี้จากพระธรรมผู้วินิจฉัยเป็นเรื่องของผู้นำคนหนึ่งผู้ที่ตระหนักว่า “การกระทำให้สำเร็จนั้นมีความสำคัญมากเพียงใด” คือ กิเดโอน
 หากเราเคยศึกษาจะรู้ว่า พระเจ้าทรงประทานชัยชนะท่วมท้น เหลือล้นให้แก่เขา คือคนเพียง 300 คนรบชนะคน 135,000 คน (กรุณาอ่านดูในพระธรรมตอนต้นว่าถึงชัยชนะนี้ ก่อนทำความเข้าใจต่อไป)
 คนมีเดียนที่เหลือรอดก็วิ่งหนีหัวซุกหัวซุน ไปยังถิ่นที่อยู่ของตน คนของกิเดโอนก็ไล่ตามไป
 โมเม้นนี้ช่างเป็นช่วงเวลาที่น่าจดจำเหลือเกิน กับความสำเร็จที่พระเจ้าประทานให้กิเดโอน
 แต่กิเดโอนรู้สิ่งที่เราเองก็ควรรู้ด้วยว่า “เวลาที่อันตรายที่สุดสำหรับผู้นำ คือช่วงเวลาหลังชัยชนะใหญ่”
 มีงานวิจัยของนักจิตวิทยาซึ่งทำกับทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง พบว่า ความผิดพลาด หรืออุบัติเหตุทางอากาศมากกว่า 70% เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่นักบินบินกลับฐาน เมื่อปฏิบัติภาระกิจเสร็จ !!!
 ง่ายแค่ไหน เมื่อเรารู้สึกว่า ถึง mile stone หรือประเมินผลครึ่งปีแรกพบว่า เรามาไกลกว่าที่เราตั้งเป้าไว้ เรามักรู้สึก เอ้ย! สบายจัง เรามักถอดชุดเกราะ เอาการ์ดลง แล้วก็ปล่อยตัวตามสบาย
 หลายครั้งเราลืม ลืม focus ที่ความสำเร็จปลายทางที่รอเราอยู่
 แท้จริง กิเดโอนอาจจะให้คนของเขาพักก่อน หลังจากที่ตีข้าศึกแตก แล้วรุ่งเช้าค่อยไปตามฆ่าคนมีเดียนต่อ แต่เปล่าเลย พวกเขากลับไล่ตามคนมีเดียนต่อไป พวกเขา Focus ที่ผลสำเร็จ ข้อ 8:4 แม้เหนื่อยล้า แต่ยังคงติดตามไป

มาดูกันว่ากิเดโอนต้องเจออุปสรรคอะไรบ้างในการไล่ตามความสำเร็จที่พระเจ้ามอบหมายให้

1. สำเร็จแม้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ผวฉ.8:1

 ข้อ 1 : เอฟราอิมต่อว่ากิเดโอนอย่างรุนแรง
• เอฟราอิมเป็นเผ่าที่สำคัญ และยิ่งใหญ่
• ไม่รู้ใครบอกเขา แต่ตัวเขานะคิดว่า ตัวเองสำคัญ และใหญ่คับบ้านคับเมืองไปหมด
• ดูในโยชูวา 17:14 ตอนที่จับฉลากแบ่งดินแดนกัน เอฟราอิมก็บอกโยขูวาว่า เฮ้ย เราเป็นเผ่ายิ่งใหญ่นะ ต้องให้เรามากกว่านี้
• สิ่งที่เอฟราอิมต่อว่านั้น (ในบทที่ 8:1-3) ดูเหมือนไม่ถูกต้องด้วย ไม่จริงเลย เพราะถ้าย้อยกับไปดู กิเดโอนให้คนเป่าเขาสัตว์เรียกคนไปรบดังไปทั่วเมือง เอฟราอิมก็มีสิทธิมาร่วม
• มีคนกว่า 30,000 คนได้ยินและมาร่วมรบ แต่คนเอฟราอิมกลับไม่มา บางทีเขาอาจจะคิดในใจว่า “ฉันเป็นคนสำคัญนะ ต้องให้กิเดโอนออกจดหมายเชิญมาสิ ฉันถึงจะไป”
• แต่ว่า เมื่อสงครามจบแล้ว คนอื่นไปรบกันมาแล้ว ได้ชัยชนะแล้ว คนเอฟราอิมกลับมาต่อว่าว่า ทำไมไม่บอกเรา
• ในตอนท้ายบันทึกว่า “ต่อว่าอย่างรุนแรง”
• เอฟราอิม เย่อหยิ่ง อิจฉา เห็นแก่ตัว ไม่แม้แต่จะดีใจกับเพื่อนร่วมแอกของตน แต่กลับวิจารณ์ด่าว่า
• นี่ไม่ใช่เทคนิคโบราณที่เอฟราอิมใช้เท่านั้น ซาตานก็ใช้เทคนิคนี้แหละในทุกวันนี้
• เมื่อคนของพระเจ้ารักเป็นน้ำหนึ่งกัน เมื่องานของพระเจ้าเจริญเติบโต เมื่อกลุ่มหรือทีมงานไปด้วยกันได้ดี ไม่ช้าไม่นาน ซาตานก็มักใช้อุบายง่ายๆ นี้ทำให้เกิดความแตกแยก ความอิจฉา ความเห็นไม่ลงรอยกัน รสนิยมต่างกัน ความรู้คนละระดับกัน อายุต่างกัน ฐานะการเงิน นิสัยไม่เหมือนกัน อะไรก็ได้ที่ถูกใส่เขามาเพื่อให้รู้สึกว่า เราต่างกัน
• พระเจ้าเรียนกิเดโอน ไปทำภารกิจ กิเดโอนก็ไปทำด้วยความยากลำบาก รวบรวมไพร่พล ไล่ฆ่า เสี่ยงเป็นเสียงตาย แต่นี่อะไร นี่คือเพื่อนของพวกเขา พวกเดียวกัน ที่กลับวิจารณ์กันเอง พี่น้องพวกเขากลับห้ำหันกันเอง

 ข้อ 2: กิเดโอนรับมืออย่างไร สุดยอดเลย “กิเดโอนไม่ได้เห็นแก่ตัวเอง” ผวจ.8:2-3
• โลกปัจจุบันอาจจะบอกว่า คำตอบของกิเดโอนไม่จ๊าบเลย ไม่สมศักดิ์ศรีผู้นำเลย เอฟราอิมเขาแทบไม่ได้ทำอะไรเลย แค่เจอคน 2 คนแล้วก็ตัดหัวมา เทียบได้อย่างไรกับกิเดโอนที่เหน็ดเหนื่อยมาทั้งวันทั้งคืนที่ต่อสู้กับคนแสนกว่าคน
• เพราะกิเดโอนเข้าใจชีวิต และมีปัญหาจากพระเจ้าในสุภาษิต 15:1
• กิเดโอนสำแดงให้เราเห็นชัยชนะยิ่งใหญ่อีกครั้งคือการชนะตัวเอง เขาอาจจะตอบว่า “เอ้าแล้วพวกเจ้าไปอยู่ไหนมา เวลาเราไปรบก็หดหัวกันหมด?” หรือ “เพิ่งจะมาตอนจบเนี่ยนะพี่น้อง” กิเดโอนทำอย่างนั้นก็ได้ แต่เราไม่เห็นเพราะอะไร??
• เพราะกิเดโอน จดจ่ออยู่ที่ความสำเร็จ เป้าหมายของเขาคือการตามฆ่าคนมีเดียนให้หมด
• เขาอาจจะติดกับดักนี้ และมัวทะเลาะกับเอฟราอิม เพื่อเอาชนะคนที่มาด่าว่าเขา หรืออาจจะเสียเวลาพิสูจน์ ว่าสิ่งที่เอฟราอิมพูดนะไม่จริง หรืออาจจะเสียใจเลิกตามต่อ
• แต่เขาไม่ได้ทำ เพราะเขารู้ว่าการรบที่พระเจ้าใช้เขามานั้นยังไม่จบ มีสงครามต่อทำต่อไป
• เขา Focus สิ่งที่พระเจ้าเรียกเขาทำ แม้คำวิจารณ์ของเพื่อนก็ไม่อาจขวางกันเขาได้

 เราเคยทำสิ่งที่ถูก สิ่งที่เราแน่ใจว่าพระเจ้าเรียกหรือใช้ให้เราไปทำ แล้วถูกคนต่อว่าไหม?
• ในขณะที่เราตั้งใจทำ เหนื่อยล้ายากแค่ไหนก็ทำ พยายาม แทนที่ศัตรูจะมาโจมตี เปล่าหรอก เพื่อนร่วมบ้านเรา เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน เพื่อนรวมคริสตจักร นั่นแหละที่มาเหน็บว่า “คุณคิดว่าคุณทำอะไรอยู่” “ไม่เข้าท่าเลย” “เห็นหัวฉันบ้างไหม”
• กิเดโอนไม่ยอมแพ้ต่อคำวิจารณ์ นี่เป็นชัยชนะยิ่งใหญ่ที่สุดของกิเดโอน อาจมากกว่าการรบกับคนแสนคน คือการรบชนะใจตนเอง ชนะอารมณ์ของตนเอง
• พระธรรมสุภาษิต 16:32 สุภาษิตเป็นการสอนเชิงเปรียบเทียบ แต่ก็ตรง เพราะความโกรธของเราเอง เมื่อกำลังดำเนินไปตามทางของพระเจ้า พยายามทำแผนของพระเจ้าให้สำเร็จ แต่มีคนมาวิจารณ์ กระทบกระทั่ง แทนที่จะหันหัวรบไปข้างหน้า ก็หันมาเอาชนะคนข้างทางนี่ซะก่อน ท้ายสุด Focus เราก็เสียไป นี่เป็นวิธี basic และ classic มากที่ซาตานใช้มานาน และยังใช้ได้ในทุกวันนี้
• ขอบทเรียนของกิเดโอนจะสอนเรา ที่จะไม่เป็นแบบนี้

2. สำเร็จแม้หมดกำลัง อ่อนเปลี้ย ผวฉ.8:4
 ข้อ 4 : อ่อนเปลี้ย เป็นอย่างไง? หมดแรง หมดกำลัง กระหาย หิว ต้องการพัก ยกขาไม่ขึ้น หมดแล้ว
• หากไม่ใช่เพราะพระเจ้า กิเดโอนและพวก คง “อ่อนเปลี้ย และกลับบ้านนอน” แต่เปล่าเลยพวกเขา “ติดตามไป” ภาษาไทยไม่ชัด ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Pursuit” แปลว่า ไล่ไป แสวงหา “Chasing” ไล่ล่า
• โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยคน เหนื่อยล้า จริงไหม? เราเองเคยไหม ที่เลิกทำบางอย่าง เพราะความเหน็ดเหนื่อย?
• หากวันนี้เป็นวันที่เราเหลื่อยล้า หมดแรง ลองมาทุกวิธีแล้ว ก็ยังไม่ดี ไม่รู้จะทำไงแล้ว หมดหนทาง ไม่รู้จะจัดการงานที่พระเจ้ามอบไว้ในมืออย่างไรแล้ว มีคำตอบเดียว “ทำต่อไป ไล่ตามไป มุ่งหน้าไป แค่ทำต่อไป”
• เราต้องทำ เพราะนี้คืองานที่พระเจ้ามอบหมายไว้ในมือเรา อย่าให้เราเอาความต้องการ ความอยากสบายของเรามาขวางความสำเร็จไว้
• บางครั้งเรายังคงต้องทำ แม้เหนื่อยสายตัวแทบขาด แน่หล่ะความเป็นมนุษย์ไม่อยากจะอยู่ในสภาพนี้หรอก แต่ในฐานะผู้นำเรารู้ว่า หากเราหันหลังให้กับความท้าทายนี้ เราก็ได้หันหลังในกับโอกาสในการทำงานของพระเจ้าให้สำเร็จ “อ่อนเปลี้ย แต่ยังไล่ตามไป”
• เรามาดูกันว่า ทำไมกิเดโอนยังสามารไล่ตามไป ในช่วงเวลาแห่งความเหนื่อยล้านี้ กิเดโอนมีวิตามินดี 3

V:o Voice of the Past : เพราะเขารู้ว่าพระเจ้าทรงเรียกใช้เขาทำงานนี้ บทที่ 6:14 กิเดโอนได้ยินเสียงพระเจ้าเรียกชัดเจน ผู้เชื่อไม่ล้มลงในเวลาที่เจอปัญหาเพราะเขารู้ว่าพระเจ้าเรียกเขา หากเราเขาสู่พันธกิจ หรือภารกิจบางอย่าง ขอให้เราแน่ใจว่า พระเจ้าเรียกเราให้ทำ เพราะหากไม่ เมื่อมีปัญหา อุปสรรคที่ยาก เราจะเลือกเดินจากไป o

Victory of Present : พวกเขาจดจำค่ำคืนที่ยิ่งใหญ่ที่พระเจ้าทรงช่วยเขารบชนะคนมีเดียนได้ พระเจ้าช่วยกู้ 300 ชนะ 130,000 หลายครั้งเมื่อเราทำงานของพระเจ้า เราพบสถานการณ์ที่แย่ มีคนวิพากษ์ อ่อนแรง จำเป็นเหลือกเกินที่เราจะต้องเรียก Memory ที่พระเจ้าช่วยกู้เรามาดูอีกครั้งo

Vision of the Future เชื่อว่ากิเดโอนรู้ว่า หากเขาไม่จัดการกับมีเดียนที่เหลืออยู่ ให้ราบคาบ พวกเขาอาจจะกลับมาสร้างความยุ่งยากให้ภายหลัง “ทานยานี้จดหมด” มีตัวอย่างมากมายในโลกปัจจุบันที่เราเห็นว่า การเก็บกวาดที่ไม่เรียบร้อย ราบคาบ สร้างความยุ่งยากในภายหลัง ในการเมือง ในสงคราม มากมาย ซึ่งกิเดโอนเดาถูกเพราะคนที่เหลือนั้นคือพวกที่แข็งแกร่งที่สุดจึงเหลือรอดได้

3. สำเร็จแม้ไม่มีใครแยแส ผวฉ.8:5-9
 ข้อ 5-9 Uncaring Heart สถาพของกิเดโอนคือรบมาทั้งคืน เหนื่อยล้ามาก พอเข้ามาในหมู่บ้าน จึงขอขนมปัง และน้ำเพื่อเพิ่มแรงหน่อย แต่• แต่ชาวบ้านกลับถามว่า จับตัวเอ้ ได้หรือยัง? ไปจับมาให้ได้ก่อนเถอะ ถ้าจับไม่ได้พวกมีเดียนรวมตัวกันได้ พวกเราเนี่ยด่านแรกที่จะโดนโจมตีเลยนะ
• เหมือนสถาพปัจจุบันไหมคะ “เรื่องของเธอ ไม่ใช่เรื่องของฉัน / ไปจัดการให้เรียบร้อยก่อนเถอะ แล้วค่อยมาว่ากัน ไม่อยากยุ่งอะ เดี๋ยวงานจะมาเข้าเราเอง
• น่าหดหู่มากเลย นี่พวกเดียวกันนะ เพื่อนบ้านกันนะ
• โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยคนอ่อนเปลี้ย หมดแรง จริงไหม?
• ที่แย่กว่าก็คือ ไม่ใช่หมู่บ้านเดียวนะ เป็นเหมือนกันหมด ไปอีกหมู่บ้าน ก็ไม่ให้

 ข้อ 15-16 Unbeliving heart พวก... ไม่เพียงแต่ไม่แคร์เท่านั้น ในใจลึกๆ นะเขาไม่เชื่อด้วยว่ากิเดโอนจะทำได้ จะไปตามจับมาได้จริงเหรอ และสุดท้าย กิเดโอนก็กลับมาให้บทเรียนกับคนเหล่านี้
• ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเขา ไม่มีคนช่วยเหรอ ... ไม่เป็นไรกิเดโอนทำหน้าที่ที่ต้องทำต่อไป
• ไม่มีปล่อยให้คน การกระทำของคนรอบข้าง มามีอิทธิพลสักนิดต่อ หน้าที่ที่เขาต้องทำเพื่อพระเจ้า
• เขาไม่ปล่อยให้คำตำหนิ มีอิทธิพลเหนือเขา เขาไม่ปล่อยให้ความเหนื่อยอ่อนมีอิทธิพลเหนือเขา เขาไม่ปล่อยให้คนรอบข้างมีอิทธิพลเหนือเขา

 นี่คือบทเรียนสำหรับทุกคนที่ทำงานของพระเจ้าโดยแท้
• หลายครั้งเราตั้งใจเริ่ม แต่ไม่นานเราก็เลิก
• เมื่อเราทำแบบนั้น เราได้เปิดประตูให้ศัตรูของเราเข้ามา พร้อมกับความท้อแท้ และความพ่ายแพ้ ยังไม่หมดนะ ยังมีความท้าทายสุดท้ายสำหรับกิเดโอน บุรุษผู้จดจ่อที่ความสำเร็จ

4. สำเร็จแม้ถูกทดลอง ผวฉ.8:22-23

 ข้อ 22 :การทดสอบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตกิเดโอน
• คนอิสราเอลเห็นสิ่งที่พระเจ้าทำในชีวิตของกิเดโอน เห็นว่าพระเจ้าทรงสถิตอยู่ด้วยอย่างมาก เห็นพระหัตถ์ของพระเจ้าช่วยกิเดโอนรบชนะ
• คนอิราเอลเลยว่า “ o.k. ใช่เลย กิเดโอนขอท่านมาเป็นกษัตริย์ของเราเถิด มาปกครองเรา รับทั้งตระกูล พงษ์พันธุ์”
• ว้าว ! ถ้าจะพูดก็เป็น Golden moment มีเกียรติสำหรับผู้นำ คือการได้ก้าวไปสู่สุดสูงสุดของการเป็นผู้นำ แต่ช่างเป็นนาทีแห่งการลองใจที่ใหญ่ยิ่งสำหรับกิเดโอน
• เราอาจจะถามว่า อ้าวก็ดีนี่ มันผิดตรงไหน? กิเดโอนสมควรได้รับแล้ว ทั้งเก่ง พระเจ้าก็อยู่ด้วย มีอะไรผิดหล่ะ
• ที่ผิดก็คือ เพราะพระเจ้าไม่เคยบอกว่า ให้กิเดโอนเป็นกษัตริย์ มันไม่ใช่หน้าที่ที่พระเจ้ามอบหมายให้กับเขา ไม่ใช่ที่ที่พระเจ้าเรียกให้ทำ แม้จะดูดีแค่ไหน จะช่วยให้คนรอบข้างสบายใจแค่ไหน จะทำให้ครอบครัวได้ดีแค่ไหนก็ผิด
• ย้อยกลับไปดูตอนแรกของการเรียกกิเดโอน พระเจ้าบอกว่าให้เอาคนไปน้อยคน เพื่อว่าเมื่อมีชัยชนะพวกเจ้าจะได้ไม่ทะนงตนและคิดว่าเขาทำสำเร็จ และความสำเร็จมาจากพระเจ้า
• หากกิเดโอน ไม่เอาชนะความเย้ยยวน ของเกียรติ และชื่อเสียง โดยยอมเป็นกษัตริย์ของอิสราเอล ก็เท่ากับเขาได้ทำลายทุกสิ่งที่เขาทำมาในตอนจบ
• แท้จริงกิเดโอนไม่ได้เหมาะจะเป็นกษัตริย์ด้วยตัวเขาเอง เขาไม่ได้ทำอะไร เพียงแต่ เชื่อฟังพระเจ้า ไม่มากกว่านั้น ไม่น้อยกว่านั้น ความสำเร็จมาจากพระเจ้า

 ข้อ 23 เรามาดูคำตอบของกิเดโอนกัน
• สั้น ชัด และมีพลัง “เราจะไม่ปกครอง ลูกเราจะไม่ปกครอง แต่พระเจ้าจะปกครองท่าน”
• เมื่ออ่านถึงตอนนี้ลองคิดเล่นๆ นะ ทบทวนเหตุการณ์ทั้งหมดนะว่า ถ้าเปรียบกับโลกปัจจุบันจะเป็นไง มีชัยชนะใหญ่ คงต้อง “จัดงานแถลงข่าว ถ่ายรูป พาดหัวหน้าหนึ่งทุกเล่ม
• แต่ดูสิ่งที่กิเดโอนทำ ...... เขารู้โดยแท้ ไม่มียึกยัก ไม่กัก เรารู้ว่า กำลัง ความสามารถ ทั้งสิ้นของเรา อยู่ในพระเจ้า เขาจึงสำเร็จ สรุป : ถามตัวเราในวันนี้ ว่าเราสำเร็จหรือยัง?

 เราถูกหยุด รั้ง ไม่ให้ไปถึงเส้นชัยที่พระเจ้ามอบให้ เพราะ
• คำวิพากษ์ วิจารณ์
• หรือเพราะเราเหน็ดเหนื่อย
• หรือเพราะ มองไปทางไหน ไม่เห็นมีใครแยแส
• หรือเพราะเราพ่ายแพ้ต่อการทดลอง

 เราอาจจะถามตัวเองว่า “เราทำสำเร็จแผนการของพระเจ้าสำเร็จได้ไหม?”
• ในหกวันพระเจ้า ทรงสร้างโลก และการทรงสร้าง สำเร็จ วันที่เจ็ดพระองค์ทรงพัก
• พระเยซูคริสต์ทรงถูกตรึงที่ไม้กางเขน แบกบาปของคนทั้งโลก บนกางเขนก่อนสิ้นพระชนม์พระองค์ร้องว่า ยอห์น 19:30 “สำเร็จแล้ว” พันธกิจแห่งการไถ่บาป สำเร็จ
• อ.เปาโลเขียนจดหมายถึงทิโมธี 2ทม.2:7 “ข้าพเจ้าได้สู้สุดกำลัง แข็งขันจนถึงที่สุด อ.เปาโลทำภารกิจสำเร็จ
• เมื่อพระองค์มอบหมายภารกิจ พระองค์คาดหวังให้มันสำเร็จเสมอ

 พระเจ้าคาดหวังเราทุกคนให้ไปถึง “ความสำเร็จที่พระองค์มอบหมายเสมอ”
• แน่นอนคนเรามีนิสัยบางอย่าง โลกสอนให้เราเอาง่ายๆ เข้ามา สะดวก รวดเร็ว Instant สิ่งเหล่านี้ขวางกั้นเราไม่ใช้ไปถึงเส้นชัย
• บางคน เริ่มต้นเรียน ลงทะเบียน แต่ไปไม่ถึงไหน
• บางคนเริ่มชีวิตครอบครัวอย่างมีพระเจ้า แต่เมื่อพบปัญหา ก็อยากจะจบด้วยวิธีของตนเอง

 คำถามที่เราต้องคิดคือ อะไรบ้างที่เป็นภารกิจที่พระเจ้าใส่ไว้ในตัวเรา แล้วเรายังทำไม่สำเร็จ? แล้วเราจะทำอย่างไรกับสิ่งนั้น?
• คนอื่น ไม่อาจรู้ได้ว่า มันมีอะไรบ้าง? เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างานไม่อาจรู้ได้
• บางคนชีวิตคู่อาจจะกำลังอยู่ในหุบเขาเงามัจจุราช คนรอบข้างบอกให้เลิกเถอะ แต่ลึกๆ ในใจเรารู้ว่าเราต้องทำอะไร?
• เดือนที่ผ่านมา ต้องช่วยผู้หญิงคนหนึ่งที่ชีวิตคู่พัง สามีทิ้ง และเขาอยากตาย เกือบทุก 3 ชั่วโมง ต้องบอกเขาว่า สู้ต่อไป บางครั้งชีวิตคู่มันไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบ มันยากกว่าที่นึก วุ่นวายกว่าอยู่คนเดียว เอ้า เลิกกันมันง่ายกว่า เจ็บน้อยกว่า เรามักมีปัญหาปุ๊บ เราก็เลือกวิธีที่ง่าย เลิกกันเถอะ แยกกันไปเถอะ ไม่เป็นไร เผื่อ จะมีโอกาสที่เจอคนใหม่ที่ดีกว่า แต่พระเจ้าสอนว่าอย่างไร ความสัมพันธ์ของชีวิตคู่คือนิรันดร์ จนกว่าพระคริสต์กลับมา หรือจนกว่าความตายมาแยกเราจากกัน เราอาจอ่อนล้า หมดแรง แต่ยังต้องเดินหน้าต่อไป
• หรือพระเจ้าอาจจะนำเราไปยัง งานที่ยาก เรารู้ว่าพระเจ้าเรียกเราแน่นอน แต่มันยากเหลือเกินพระองค์ ไม่ใช่ตัวเราเลยพระองค์ “ข้าพระองค์เป็นคนเล็กน้อย ในหมู่คนเล็กน้อยที่สุด” ไม่เอาแล้ว อยากจะหันหลังกลับแล้ว เพราะมันลำบากเกินไป ฟื้นระลึกถึงการเรียกของพระองค์ และมีสิ่งเดียวที่เราควรทำคือ ทำให้สำเร็จ ตามที่พระเจ้าเรียก
• หรือเราอาจจะเหมือนกิเดโอน คุณอาจจะเพิ่งเสร็จงานใหญ่ งานสำคัญ สงครามที่รบร่วมกับพระเจ้ามา เหนื่อย แต่ยังมีงานสำคัญรออยู่ข้างหน้า แม้เหน็ดเหนื่อย แต่ยังต้องไล่ตามไป เราต้องทำให้สำเร็จ

 เรื่องน่าเศร้าของความสำเร็จก็คือ บ่อยครั้ง ที่ชัยชนะทีเราโหยมามันอยู่อีกแค่ปลายนิ้ว อีกนิดเดียว แต่เรากลับเลิกซะก่อน มีเรื่องเราของหญิงสาวนักว่ายน้ำ ที่อยากจะทำสถิติว่ายน้ำข้ามระหว่างรัฐ ไม่เคยมีใครทำมาก่อน แน่นอนมีอันตรายมาก เพราะคลื่นลมแรง แย่ยิ่งกว่านั้น ในวันแข่ง มีฝนตกหนัก ขณะที่ว่ายไป ก็จะมีคณะคอยติดตามไปดูความปลอดภัยด้วย เธอว่ายไปยาวนาน เหนื่อยมาก และมองไม่เห็นทางข้างหน้าเลย มีคลืนลมแรง จะเห็นแค่ระยะ 1-2 เมตรข้างหน้าเท่านั้นเพราะคลื่นใหญ่มาก ด้วยท่าทางเธอจะหมดแรง ทีมงานก็เลยบอกว่า ให้ยอมแพ้เถอะ กลับขึ้นเรือ ไปไม่ถึงฝั่งหรอก เพราะยังอีกไกล ครั้งแรกเธอไม่ยอมหยุด พอเห็นเธอเหนื่อยหอบ ทีมงานก็บอกว่า หยุดเถอะ หยุดเถอ ทำไม่ได้หรอก พูดอยู่จนในที่สุด เธอยอมแพ้ และขึ้นเรือที่ตามมา น่าเศร้าเมื่อเธอพบความจริงว่า อีกแค่ ครึ่งไมล์เธอก็จะถึงฝั่งแล้ว เธอเลิกเร็วเกินไป หากเธอมีความหวัง Focus ที่ความสำเร็จ เธอคงว่ายต่อไป แต่มันคือความจริงในชีวิต บ่อยครั้งพระเจ้ามอบหมาย ให้ความหวัง และบอกให้เราจับจ้องที่พระองค์ แต่ซาตานมันมักค่อยกระซิบข้างๆ หูว่า เลิกเถอะ ไม่ได้หรอก ไม่สำเร็จหรอก เหนื่อยแล้ว พอเถอะ บ่อยครั้งที่เราถอนตัว อีกแค่นิดเดียว

 พระเจ้ามีแผนการที่ยิ่งใหญ่ สำหรับชีวิตเราแต่ละคน อย่าท้อถอย จนกว่าเราจะสำเร็จ!! “อย่าให้เราเมื่อยล้าในการทำดี เพราะว่าถ้าเราไม่ท้อใจแล้ว เราก็จะเก็บเกี่ยวผลในเวลาอันสมควร”

ดาบพระวิญญาณ



ข้อพระคัมภีร์ที่ใช้ในหนังสือนี้
รวบรวมโดย : แอนดรู เจ.ชรีฟ
Compiled by Andrew J.Shreeve
พันธกิจ แอนดรู เจ.ชรีพ
P.O.Box 137
Nobby Beach,Qld,4218
Australia

Website: http://www.andrewshreeve.org/
Email: webpubilcations@andrewshreeve.org

เลี้ยงดูลูกแกะ

ผู้เลี้ยงที่ดี
ข้อพระคัมภีร์ - ยอห์น 10:11 -14

“ เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ…. เรารู้จักแกะของเรา และแกะของเราก็รู้จักเรา”



นำเข้าสู่เนื้อหา

คำว่า “ เลี้ยง” หรือ “ เลี้ยงดู” เป็นคำที่เราพบกันทั่ว ๆ ไป เช่น พ่อแม่เลี้ยงลูก เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ คนเลี้ยงแกะเลี้ยงดูฝูงแกะ เจ้าพ่อเลี้ยงสมุนบริวาร การฉลองเนื่องในโอกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ก็มักจัดงานเลี้ยง เช่น เลี้ยงฉลองแต่งงาน เลี้ยงฉลองขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงฉลองวันคล้ายวันเกิด ตลอดจนการเลี้ยงฉลองเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ บางทีการเลี้ยงมีเหตุผลอยู่เบื้องหลัง เช่น การจัดเลี้ยงอาหารเพื่อหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจ การตกลงทางธุรกิจการค้ามักจะจบลงที่โต๊ะอาหาร ผู้ที่เป็นฝ่ายเลี้ยงย่อมมีความยิ่งใหญ่และมีเกียรติกว่าผู้ที่เป็นฝ่ายรับเลี้ยง เช่น บุคคลสำคัญ ๆ มีชื่อเสียงของภาคเหนือ เรามักให้เกียรติเรียกว่า “ พ่อเลี้ยง” เพราะเขาเลี้ยงดูลูกน้อง แต่คำว่า “ เลี้ยงดู” ในพระคัมภีร์นั้นมีความหมายแตกต่างกันออกไป



ความคิดหลักที่ 1 พระเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงที่ดี

จากสดุดี 23:1-3 กล่าวว่า “ พระเจ้าทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสน พระองค์ทรงกระทำให้ข้าพเจ้านอนลงที่ทุ่งหญ้าเขียวสด พระองค์ทรงกระทำให้ข้าพเจ้านอนลงที่ทุ่งหญ้าเขียวสด พระองค์ทรงนำข้าพเจ้าไปริมน้ำแดนสงบ… ทรงฟื้นจิตวิญญาณของข้าพระองค์ ทรงนำข้าพเจ้าไปในทางชอบธรรม…” พระเจ้าทรงเลี้ยงดูเราทั้งหลายมิได้หวังผลประโยชน์ใด ๆ และไม่หวังในอำนาจเกียรติยศ แต่พระองค์ทรงเลี้ยงดูเราด้วยความรักที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยความรัก ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ



ความคิดหลักที่ 2 พระเยซูเน้นความสำคัญของการเป็นผู้เลี้ยง

พระเยซูคริสต์ตรัสกับซีโมน เปโตรถึง 3 ครั้ง “ จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด” ( ยอห์น 21:15-17) ลูกแกะหมายถึงพี่น้องในพระคริสต์ หน้าที่ของผู้รับใช้พระเจ้าคือการเลี้ยงดูฝูงแกะ มิใช่ทำลายฝูงแกะ หรือทำให้ฝูงแกะกระจัดกระจาย ผู้รับใช้พระเจ้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นศิษยาภิบาลในคริสตจักร อนุศาสก ครู อาจารย์ ผู้บริหารในสถานศึกษา เราคือเป็นผู้เลี้ยงดูฝูงแกะ ในคริสตจักรฝูงแกะย่อมหมายถึงสมาชิกคริสตจักรทุกคน ทุกเพศทุกวัย ถ้าหากเป็นสถาบันการศึกษา ลูกแกะคือนักเรียน ครู และบุคลากรทุกคน ถ้าหากเป็นครอบครัว ลูกแกะหมายถึงสมาชิกในครอบครัว บุตรหลาน การเลี้ยงดูฝูงแกะจำเป็นต้องคำนึงถึงชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับวัยของแกะ หากเป็นแกะที่โตเต็มที่ เราให้อาหารที่เป็นหญ้าแก่หยาบแข็งได้ แต่ถ้าเป็นลูกแกะก็จำเป็นต้องให้ต้นหญ้าอ่อน เป็นต้น ดังนั้นหน้าที่ของ “ ผู้รับใช้พระเจ้า” ก็คือหน้าที่ “ ผู้เลี้ยง” นั่นเอง

ความคิดหลักที่ 3 เราทุกคนมีภาระในการเลี้ยงดูลูกแกะ

การเลี้ยงดูนั้นหมายถึง การดูแลเอาใจใส่ ให้อาหาร ทั้งอาหารฝ่ายกายและอาหารฝ่ายวิญญาณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งร่างกายและจิตใจ ปกป้องอันตราย ยอมสละเพื่อฝูงแกะ และสร้างสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด รู้จักลูกแกะเป็นรายตัว “ เรารู้จักแกะของเรา และแกะของเราก็รู้จักเรา” ( ยอห์น 10:14 ) ผู้เลี้ยงแกะรู้จักแกะของเขาทุกตัว และแกะก็จำเสียงของเขา และติดตามแกะที่หลงหายกลับคืน

ด้วยเหตุนี้ การเลี้ยงดูฝูงแกะจึงเป็นภาระงานที่สำคัญ เมื่อฝูงแกะได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ดี พระเจ้าจะทรงพอพระทัย และเป็นการปฏิบัติตามพระดำรัสั่งของพระเยซูคริสต์ที่ตรัสย้ำกับซีโมน เปตรถึง 3 ครั้ง ว่า “ จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด” ( ยอห์น 21:15 -17)



“ พระเจ้าทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสน” ( สดุดี 23:1)

การสร้างพระวิหาร

การสร้างพระวิหารหลังที่ 1 (Solomon Temple)

บทความคริสเตียน - เกร็ดความรู้ เรื่องน่าสนใจ ของคริสเตียน
Wednesday, 17 December 2008 00:52

ในครั้งที่ผ่านได้นำเรื่อง “ใครคือ Anti-Christ” มานำเสนอซึ่งเป็นแนวคิดและเหตุผลที่เป็นตามที่พระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ ครั้งนี้จะขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ “การสร้างพระวิหาร” ซึ่งเรื่องนี้เนื้อหานั้นจะสอดคล้องต่อจากเรื่อง “ใครคือ Anti-Christ” เพราะถ้า “ดาน” หรือ พงศ์พันธ์ของ “เผ่าดาน” เป็น Anti Christ ในการสร้างพระวิหารครั้งที่ 1 นั้นเกี่ยวข้องกับคนของเผ่าดานโดยตรงอย่างเลี่ยงไม่ได้ พระคัมภีร์ได้บันทึกไว้อย่าง ชัดเจนว่า กษัตริย์เมืองไทระได้ส่งช่างฝีมือคนหนึ่งมาให้โซโลมอน เพื่อทำการสร้างพระวิหาร“ช่างฝีมือคนหนึ่ง กอปรด้วยความเข้าใจ คือหุราม ที่ปรึกษาอาวุโส บุตรชายของหญิงคนเผ่าดาน บิดาของเขาเป็นชาวเมืองไทระ เขาชำนาญงานช่างทองคำ เงิน ทองสัมฤทธิ์ เหล็ก หินและไม้ และทำงานช่างผ้าสีม่วง สีฟ้า ผ้าป่าน และผ้าสีแดงเข้ม และทำการแกะสลักทุกชนิดและสร้างตามแบบลวดลายใดๆ ที่จะกำหนดให้แก่เขา” (2 พงศาวดาร 2:13-14)

*หมายเหตุ: หุรามหรือฮีรามคนนี้ไม่ใช่คนเดียวกับหุราม หรือ ฮีรามที่เป็นกษัตริย์เมืองไทระ แต่เป็นที่ปรึกษาอาวุโสของคนเผ่าดานที่มีความชำนาญเรื่องงานช่าง...


ประมาณ 960 ปี ก่อนคริสตกาล พระวิหารหลังแรกถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ซาโลมอน โดยก่อนที่จะสร้างพระวิหารหลังที่ 1 นั้น ซาโลมอนได้มีการตกลง
ทำพันธสัญญาร่วมกันกับกษัตริย์เมืองไทระ คือ “ฮีราม” หรือ “หุราม” นั้นเอง โดยทั้งสองได้มีการตกลงทำพันธสัญญาในลักษณะของ “สัญญาสันติภาพ” ระหว่างอิสราเอลและเมืองไทระ พระคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่า “ฮีรามจึงได้จัดส่งไม้สนสีดาร์ และไม้สนสามใบให้แก่ซาโลมอน ตามที่พระองค์มีพระประสงค์ ..


มีสันติภาพระหว่าง “ฮีราม” และ “ซาโลมอน” ทั้งสองก็ทรงกระทำสนธิสัญญากัน” (1 พงศ์กษัตริย์ 5:11-12), และพระเยโฮวาห์พระราชทานสติปัญญาแก่ซาโลมอน ดังที่พระองค์ทรงสัญญาไว้ และมีสันติภาพระหว่างฮีรามและซาโลมอน และทั้งสองก็ทรงกระทำสนธิสัญญากัน (2 พงศาวดาร. 2:13)



การสร้างพระวิหารหลังแรกนี้ถูกสร้างขึ้นบน “ภูเขาโมริยาห์” ซึ่งเป็นสถานที่เดียวกับที่อับบราฮัมได้ถวายอิสอัคต่อพระเจ้า พระองค์ตรัสว่า "จงพาบุตรชายของเจ้าคืออิสอัค บุตรชายคนเดียวของเจ้าผู้ที่เจ้ารัก ไปยังแผ่นดินโมริยาห์ และถวายเขาที่นั่นเป็นเครื่องเผาบูชา บนภูเขาลูกหนึ่งซึ่งเราจะบอกแก่เจ้า" (ปฐมกาล 22:2)




รูปนี้เป็นภาพของสถานที่สร้างพระวิหารหลังที่ 1 โดยจะสังเกตว่า เนินเขาลูกนี้จะลักษณะเหมือนอักษรหนึ่งในภาษาฮีบูร คือ


(Shin) หรือ เชม แปลความหมาย คือ “นามของเราจะอยู่ที่นั้น”


ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถานที่หนึ่งที่สำคัญของประเทศอิสราเอลนั้นคือ “Dome of the Rock” และเหตุผลที่สำคัญที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสร้าง พระวิหารบนภูเขาลูกนี้ ในพระคัมภีร์ได้บันทึกเกี่ยวกับคำอธิษฐานของโซโลมอนไว้ว่า “เพื่อว่าพระเนตรของพระองค์จะทรงลืมอยู่เหนือพระนิเวศนี้ ทั้งกลางคืนและกลางวัน คือสถานที่ซึ่งพระองค์ได้ตรัสว่า `นามของเราจะอยู่ที่นั่น' เพื่อว่าพระองค์จะทรงสดับคำอธิษฐาน ซึ่งผู้รับใช้ของพระองค์จะได้อธิษฐาน ตรงต่อสถานที่นี้ (1 พงศ์กษัตริย์ 1:29) จากคำอธิษฐานของโซโลมอน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีความจำเป็นที่พระวิหารจะต้องถูกสร้างบนภูเขาแห่งนี้ เพื่อ “นามของเรา (พระเจ้า) จะอยู่ที่นั้น”
*หมายเหตุ: พระวิหารหลังที่สองที่ถูกสร้างขึ้นโดย “กษัตริย์เฮโรด” ก็ยังถูกสร้างอยู่บนภูเขาแห่งนี้ และยังคงสืบเนื่องต่อไปในการสร้างพระวิหารหลังที่ 3 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกันก็ยังคงอยู่บนภูเขาโมริยาห์แห่งนี้ต่อไป


สรุป การสร้างพระวิหารครั้งที่ 1 นี้จึงไม่ได้ถูกสร้างโดยชนชาติอิสราเอลอย่างแท้จริง แต่ถูกสร้างโดยคนต่างชาติ นั้นก็คือ ฮีรามหรือหุราม(คนเผ่าดาน) ที่ชำนาญเรื่องการช่าง โดยมีโซโลมอนเป็นกษัตริย์ผู้ควบคุมดูแลอีกต่อหนึ่งจนพระวิหารหลังแรกถูกสร้างสำเร็จในที่สุด


ต่อมาอาณาจักรถูกแบ่งเป็นสองส่วน หลังจากซาโลมอนสิ้นพระชนม์ "พระเยโฮวาห์ทรงกริ้วต่อซาโลมอน เพราะพระทัยของท่านได้หันไปเสียจากพระเยโฮวาห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล ผู้ได้ทรงปรากฏแก่ท่านสองครั้งแล้ว และได้ทรงบัญชาท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าท่านไม่ควรไปติดตามพระอื่น แต่ท่านมิได้รักษาพระบัญชาของพระเยโฮวาห์ 11เพราะฉะนั้นพระเยโฮวาห์ตรัสกับซาโลมอนว่า "เนื่องด้วยเจ้าได้กระทำเช่นนี้ และเจ้ามิได้รักษาพันธสัญญาของเรา และกฎเกณฑ์ของเรา ซึ่งเราได้บัญชาเจ้าไว้ เราจะฉีกอาณาจักรเสียจากเจ้าเป็นแน่และให้แก่ข้าราชการของเจ้า 12กระนั้นก็ดี เพราะเห็นแก่ดาวิดบิดาของเจ้าเราจะไม่กระทำในวันเวลาของเจ้า แต่เราจะฉีกออกจากมือบุตรชายของเจ้า 13อย่างไรก็ดี เราจะไม่ฉีกเสียหมดอาณาจักร แต่เราจะให้ตระกูลหนึ่งแก่บุตรชายของเจ้า เพื่อเห็นแก่ดาวิดผู้รับใช้ของเรา และเพื่อเห็นแก่เยรูซาเล็มซึ่งเราได้เลือกไว้" (1 พงศ์กษัตริย์ 11:9-13)


ประมาณ 722-720 ปี ก่อนคริสตกาล - อิสราเอล (10 เผ่า) ถูกโจมตีและอัสซีเรียกวาดต้อนไปเป็นเชลย “ในรัชกาลของเปคาห์พระราชาแห่งอิสราเอล ทิกลัทปิเลเสอร์พระราชาแห่งอัสซีเรียได้ยกมา และยึดเมืองอิโยน เอเบล-เบธมาอาคาห์ ยาโนอาห์ คาเดช ฮาโซร์ กิเลอาด กาลิลี แผ่นดินนัฟทาลีทั้งหมด และกวาดต้อนประชาชนเป็นเชลยไปยังอัสซีเรีย” (2 พงศ์กษัตริย์ 15:29)


586 ปี ก่อนคริสตกาล - อาณาจักรยูดาห์ ถูกโจมตีโดยบาบิโลน และพระวิหารหลังแรกถูกทำลาย “อยู่มาเนบูคัดเนสซาร์พระราชาแห่งบาบิโลน ได้ยกมาพร้อมกับกองทัพทั้งสิ้นของพระองค์เข้าสู้รบ กรุงเยรูซาเล็ม และล้อมกรุงนั้นไว้ และเขาทั้งหลายได้สร้างเครื่องล้อมไว้รอบ.. ท่านได้เผาพระนิเวศของพระเจ้าเสีย และเผาพระราชวัง และเผาบ้านเรือนทั้งหมดของเยรูซาเล็ม ท่านเผาบ้านใหญ่ทุกหลังลงหมด ..ได้ทลายกำแพงรอบเยรูซาเล็มลง” (2 พงศ์กษัตริย์ 25:1), (9-10)


538-515 ปี ก่อนคริสตกาล - “กษัตริย์ไซรัส” ออกพระราชกฤษฎีกาอนุญาตให้ชาวยิว 50,000 คนกลับอิสราเอลได้ ซึ่งนำโดย “เศรุบบาเบล” และครั้งที่สอง นำโดย “เอสรา” แล้วดาริอัสทรงออกกฤษฎีกา และทรงให้ค้นดูในบาบิโลน ในหอเก็บหนังสือที่คลังราชทรัพย์ และในเอกบาทานาเมืองป้อมซึ่งอยู่ในมณฑลมีเดีย ได้พบหนังสือม้วนหนึ่งซึ่งมีข้อความเขียนอยู่ต่อไปนี้ “บันทึกในปีต้นแห่งรัชกาลไซรัสพระราชาทรงออกกฤษฎีกาว่า เรื่องพระนิเวศของพระเจ้าที่เยรูซาเล็ม ให้สร้างพระนิเวศนั้นขึ้นใหม่” (เอสรา 6:1-3)


166-160 ปี ก่อนคริสตกาล - อิสราเอลถูกปกครองด้วยชาวกรีก และได้ทำให้ พระวิหารเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสะอิดสะเอียน ในสมัยของอันทิโอกัส เอพิฟาเนส (ปี 167 ก่อน ค.ศ.) ท่านได้สร้างแท่นกราบไหว้บูชาพระซูสแห่งภูเขาโอลิมปัส ที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม และใช้หมูเป็นเครื่องบูชา (ดาเนียล.9:27; 11:31; 12:11) ทั้งพระซูสและหมูเป็นสิ่งสะอิดสะเอียนในสายพระเนตรพระเจ้า เหตุการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ได้เกิดขึ้นอีกเมื่อพวกโรมันได้นำเอารูปปั้นของจักรพรรดิคาลิกูล่าเข้าไปในพระวิหารในปี ค.ศ.38 หลังจากนั้นไม่นาน ก็เกิดการปฏิวัติโดย “ยูดาส แมคคาบีน” และเกิดราชวงศ์ “ฮัชโมเนียน” และพระวิหารได้รับการชำระ


ปล. ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนายุคสุดท้ายในกลุ่ม endtime ซึ่งผมได้มีโอกาสไปฟัง และรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขอขอบคุณ คุณอภิรักษ์ สอนพรินทร์ ผู้บรรยาย ที่ได้เอื้อเฟื้อข้อมูล


การสร้างพระวิหารหลังที่ 2 (Herod's Temple)
Wednesday, 17 December 2008 01:28

ในปัจจุบันความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับพระวิหารหลังที่สองในปัจจุบันนั้นมีน้อยมาก เหตุการณ์อันระทึกใจเล่านั้นเกิดขึ้นเมื่อกษัตริย์ของ Seleucid ที่มีพระนามว่า Antiochus IV Epiphanes มีพระบัญชาออกคำสั่งต่อต้านการปฏิบัติตามหลักข้อเชื่อของยิว ทั้งในยูเดีย และ ที่อื่นๆ การกระทำเหล่านี่นำไปสู่การปฏิวัติ Hasmonean และเป็นจุดที่ทำให้Judas Maccabeus ได้ครอบครอง ชำระล้าง และทำพิธีถวายพระวิหารอีกครังหนึ่งในวันที่ 25 เดือน Kislev ปี 164 BCE.



Herod's Temple


เมื่อกษัตริย์เฮโรดก้าวเข้ามาสู่อำนาจ และเป็นกษัตรแห่งยูเดีย พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะขยายอาณาเขตของเนินเขาพระวิหาร รวมถึงถึงตัวอาคารพระวิหารด้วย ลองดูในภาพประกอบจากคัมภีร์โบราณของยิว ในหนังสือ 15 บทที่ 11 ข้อ 382-387


โครงการก่อสร้างขนาดมหึมา ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งดินแดนอิสราเอลและของโลกนี้ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก หลายประการ เช่น การสร้างพระวิหารใหม่แทนที่อันเดินที่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มผู้เดินทางกลับ ถิ่น การขยายอาณาบริเวณของเนินเขาพระวิหารให้มีพื้นที่ยาว 480 เมตร และกว้าง 280เมตร การสร้างเฉลียงกษัตริย์ (Royal Stoa) การออกแบบต่อเติมและสร้างบริเวณเนินเขาพระวิหารทั้งหมดใหม่ซึ่งรวมถึง ประตูทางเข้า ขั้นบันได ท้องถนน ระบบระบายน้ำ plaza สาธารณะ และ ที่ทำพิธีชำระล้างตัวขนาดใหญ่สำหรับผู้ที่เข้ามานมัสการก่อนที่จะเข้ามาในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์



ในหนังสือ Josepus บรรยายไว้ว่า เฮโรดได้ใช้เวลาสร้างกำแพงล้อมรอบพระวิหารถึงแปดปี (8 ปี) ส่วนตัวพระวิหารใช้เวลาหนึ่งปีกับอีกห้าเดือน (1 ปี ห้าเดือน) คนงานหลายเหมือนคนถูกว่าจ้างและรถเข็นปูนหลายคันถูกนำมาขนย้ายอิฐและวัสดุก่อ สร้างอื่นๆที่แสดงถึงมาตรฐานการก่อสร้างที่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐาน


เฮโรดได้สร้างเฉลียงกษัตริย์ (Royal Stoa) ขึ้นจรดด้านในสุดของกำแพงใต้ของพระวิหาร (ปัจจุบันตั้งอยู่ในAlaqsa Mosque) ในปัจจุบันไม่มีสิ่งก่อสร้างเหล่านี้หลงเหลืออยู่อีกแล้ว เพาระถูกกองกำลังทหารโรมรื้อถอนและทำลายในเวลาเดียวกับเยรูซาเล็ม แต่มันได้ถูกบรรยายไว้ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่งดงามที่สุดที่เคยมีมาในแผ่นดินอิสราเอล และใหญ่ที่สุดในยุคสมัยนั้น (แหล่งที่มาจาก คัมภีร์ยิวโบราณ หนังสือ Josephus เล่มที่ 15 บททที่ 11 ข้อ 410)



เฉลียงกษัตริย์มีความยาวประมาณ 180 เมตร ความยาวทั้งหมดใกล้เคียงกับลานของเนินเขาพระวิหาร หลังคาวางบน 4 แนวตั้ง 5 แถว วัสดุหินถูกนำมาแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ และเลขาคณิตรูปทรงต่างๆ มีก้อนหินเล่านั้นเพียงไม่กี่ก้อนที่ถูกค้นพบในทางใต้ของกำแพงในเนินเขา พระวิหาร เป็นหลักฐานแห่งการเคยมีอยู่ของพระวิหารที่งดงามวิจิตรตระการตา


เฉลียงกษัตริย์นั้นถูกใช้เพื่อจุดประสงค์ทางโลกอย่างเช่น การซื้อขายสัตว์เป็นเครื่องสัตว์บูชา และการแลกเปลี่ยนเหรียญสำหรับครึ่งเชเคล Tyrian โดยส่วนใหญ่ผู้แสวงบุญมักจะจ่ายเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาพระวิหาร (อพยพ 30:11-16) โดยส่วนใหญ่เรามักจะคุ้นหูว่าพระเยซูได้คว่ำโต๊ะของพวกพ่อค้าแลกเปลี่ยนเงิน (มัทธิว 21:12) ซึ่งโดยทั่วไปเฉลียงใช้สำหรับการประกอบพิธีทางศาสนาและการปรึกษาหารือในประเด็นทางสังคมมากมาย


หลังจากการโอบล้อมสี่เดือนของทหารโรม ในวันที่ 9 และ 10 ของเดือน Av ในปี 70 CE กอง กำลังโรมได้ทะลวงผ่านเนินพระวิหารและเผ่ามันทิ้ง โดยที่ไม่มีร่องรอยของพระวิหารทั้งหลังที่1และ2อยู่เลย สิ่งหลงเหลืออยู่ทุกวันนี้ก็มีแค่พระคัมภีร์ การบันทึกใน Josephus และหนังสือบันทึกของนักบวช ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม ก็ยังมีบางส่วนของกำแพงเนินพระวิหารหลงเหลืออยู่ ทำให้เราสามารถเห็นหลักฐานที่จับต้องและแลเห็นได้ถึงความวิจิตรและสง่างาม ของอาณาบริเวณนั้น

แปลโดย: Pigazzo

อ้างอิง: http://www.bibletopics.com/biblestudy/115.htm

คุณค่าแห่งการนมัสการ

ความล้ำค่าแห่งการนมัสการ 1
เขียนโดย Wichitra
Tuesday, 20 January 2009

ตอนที่ 1 นิยามของการนมัสการ


คาร์ล บาร์ธ กล่าวว่า“การนมัสการของคริสเตียนเป็นพระราชกิจของพระเจ้าในการทรงนำให้มนุษย์มีแรงจูงใจในนมัสการเกิดขึ้นทั้งนี้เพื่อถวายคุณค่ากลับคืนแด่พระองค์เอง”

เคนเนธ ดอบสัน กล่าวว่า “การนมัสการ คือ การถวายเกียรติแด่พระเจ้าผู้สูงสุด อันเป็นการประกาศด้วย กาย วาจา และใจว่า มีสิ่งที่สูงและยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์ นั่นคือ พระเจ้า”


เอฟ. เอ็ม. เซกเลอร์ และ อาร์. แบรดลี่ย์ กล่าวว่า “การนมัสการ คือ การตระหนักถึงความบริสุทธิ์ของพระเจ้า การบรรจุพระวจนะของพระเจ้าไว้ในจิตใจ การสร้างจินตนาภาพถึงพระสิริของพระองค์ การเปิดใจรับความรักของพระเจ้า และการอุทิศตัวเพื่อทำตามพระประสงค์ของพระองค์”


จอห์น แม็คอาร์เธอร์ จูเนียร์ กล่าวว่า “การนมัสการ คือ การกล่าวถึงคุณค่าของพระเจ้า การยอมรับถึงคุณค่าสูงสุดของพระองค์มีความปรารถนาที่จะอุทิศถวายแด่พระเจ้าอย่างเต็มใจอันเป็นการถวายตัวความคิดทัศนคติและทุกสิ่งที่มีแด่พระองค์ โดยการกระทำเป็นประจำ จนกลายเป็นวิถีชีวิต”


แม้ว่าความบริสุทธิ์และความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าจะทำให้เกิดความเคารพยำเกรงพระองค์อย่างมากก็ตาม แต่ในส่วนลึกของจิตใจนั้น เรียกร้องให้เราอยากจะนมัสการพระเจ้าเพื่อยกย่องพระองค์ด้วยความรู้สึกที่สำนึกในพระคุณของพระองค์ แม้ว่าจะเป็นการยากในการพยายามบรรยายความหมายของการนมัสการพระเจ้าออกมาด้วยถ้อยคำ เพราะเป็นประสบการณ์ในการสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคลระหว่างผู้นมัสการกับพระเจ้า แต่การนมัสการก็เป็นประสบการณ์ที่ลึกซึ้งยิ่งอย่างหนึ่งของชีวิตที่ไม่อาจลดคุณค่าลงจนเหลือเพียงแค่เป็นกฏระเบียบหลักข้อเชื่อ

หรือพิธีกรรมใดๆได้เลย


1. การนมัสการเป็นความลับลึก


การนมัสการเป็นทั้งการสำแดงของพระเจ้า แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นความลับลึกของพระองค์ด้วย ผู้นมัสการพบว่าตนกำลังเข้าเฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยความยำเกรงในความมหัศจรรย์ล้ำลึกของพระองค์ที่เกินความเข้าใจของมนุษย์ ด้วยความรู้สึกเหมือนกับอาจารย์เปาโล เมื่อท่านเห็นนิมิต และได้รู้จักชายคนหนึ่งผู้เลื่อมใสในพระคริสต์สิบสี่ปีก่อนที่ถูกรับขึ้นไปยังเมืองบรมสุขเกษม เขาได้ยินวาจาซึ่งจะพูดเป็นคำไม่ได้ และมนุษย์จะออกเสียงก็ต้องห้าม (2 โครินธ์ 12:3-4) เพราะว่าในทางหนึ่งพระเจ้าสำแดงพระองค์ก็จริง แต่ในอีกทางหนึ่ง พระองค์ก็ยังทรงซ่อนเร้นพระองค์ด้วย อย่างที่ท่านอิสยาห์กล่าวว่า แท้จริงพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงซ่อนพระองค์ (อิสยาห์ 45:15) และปาสคาลก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “ทรงเป็นพระเจ้าที่ซ่อนเร้น (Deus Absconditus) หรือ Hidden God อย่างไรก็ตาม พระเจ้าที่ทรงซ่อนเร้นอยู่นั้นก็ได้สำแดงพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์ด้วย ดังนั้น มนุษย์จึงสามารถรู้จักพระเจ้าได้ก็ต่อเมื่อพระองค์ได้ทรงสำแดงพระองค์เองแก่มนุษย์


คุณค่าที่ลึกซึ้งของการนมัสการ อยู่ที่ความลับลึกของพระเจ้าเองและอยู่ที่การให้มนุษย์มีโอกาสได้สัมผัสทั้งความลับลึก หรือ อุตรภาพของพระเจ้า (God’s Transcendence) และการสำแดงของพระเจ้า หรือ อันตรภาพของพระองค์(God’s Immanence)ไปพร้อมๆกันดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นมัสการกับพระเจ้าจึงเป็นความสัมพันธ์อันมหัศจรรย์ทำนองเดียวกับการทรงสำแดงผ่านพระเยซูคริสต์ หรือผ่านพระราชกิจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ คริสตจักรจึงร่วมกันนมัสการด้วยท่าทีแห่งความเคารพยำเกรงในความลับลึกของพระองค์


2. การนมัสการเป็นการเฉลิมฉลอง


การนมัสการเป็นการเฉลิมฉลองในพระราชกิจอันยิ่งใหญ่ที่พระเจ้าได้ทรงกระทำเพื่อประชากรของพระองค์ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นการทรงสร้างการเสด็จเข้ามาบังเกิดของพระเยซูคริสต์เรื่องของกางเขนและการคืนพระชนม์ การนมัสการจึงเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระคริสต์ เราจึงนมัสการพระเจ้าด้วยความชื่นชมยินดีและชื่นบานในความรอด


การนมัสการเป็นการเฉลิมฉลองความเป็นพระเจ้าผู้ทรงเป็นจอมกษัตริย์เหนือกษัตริย์และจอมเจ้านายเหนือเจ้านาย เฉลิมฉลองด้วยท่าทีแห่งความเปรมปรีดิ์และด้วยใจโมทนาพระคุณที่ได้รับเลือกเป็นประชากรที่ได้รับการไถ่ เฉลิมฉลองด้วยความร่าเริงยินดีที่มีพระเจ้าประทับอยู่ด้วย ดังเช่นกษัตริย์ดาวิดที่ทรงเต้นรำด้วยความรื่นเริงยินดี ในขณะที่พระองค์อัญเชิญหีบพันธสัญญาอันเป็นสัญลักษณ์ของการทรงสถิตของพระเจ้านั้นขึ้นมายังศิโยนในกรุงเยรูซาเล็มกษัตริย์ดาวิดทรงเฉลิมฉลองด้วยการเต้นรำถวายแด่พระเจ้าอย่างสุดกำลังของท่านส่วนประชากรก็เฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ทั้งด้วยเสียงโห่ร้องและด้วยเสียงเป่าเขาสัตว์ (2 ซามูเอล 6:14-16)



3. การนมัสการเป็นการอุทิศถวาย


การนมัสการเป็นการอุทิศถวายแด่พระเจ้าเป็นโอกาสที่ผู้นมัสการจะตอบสนองความรักของพระองค์พระเจ้าทรงพร้อมที่จะรับการอุทิศถวายเหมือนอย่างในพันธสัญญาเดิมนั้นประชากรอิสราเอลนมัสการพระเจ้าโดยการนำเครื่องบูชาชนิดต่างๆมาให้ปุโรหิตเป็นตัวกลางมอบถวายแด่พระองค์ในพันธสัญญาใหม่การนมัสการเป็นการที่มนุษย์ตอบสนองต่อพระเจ้าพระผู้สร้างด้วยใจที่สำนึกในพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์โดยการถวายสิ่งที่ดีที่สุดแด่พระเจ้าเพื่อถวายพระเกียรติและสง่าราศีกลับคืนสู่พระองค์ ดังนั้นการนมัสการจึงมีตั้งแต่การสรรเสริญในพระลักษณะของพระองค์การขอบพระคุณในพระราชกิจของพระองค์การรับพระวจนะจากพระองค์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต การมอบความวางใจในพระองค์และการยอมจำนนต่อน้ำพระทัย และการอุทิศถวาย (โรม 12:1)



ริค วอร์เรนกล่าวว่าการนมัสการเป็นการตอบสนองความรักของพระเจ้าด้วยความรักของผู้นมัสการที่ตามด้วยใจที่จำนนและมอบถวายแด่พระองค์ออสวอลด์แชมเบอร์สกล่าวว่าการนมัสการเป็นการถวายพระพรอันล้ำค่าที่พระเจ้าทรงประทานกลับคืนให้พระองค์เป็นการใช้เวลาใคร่ครวญต่อพระพักตร์พระเจ้าเพื่อถวายพระเกียรตินั้นคืนแด่พระองค์ในรูปของการนมัสการด้วยความตั้งใจกระทำอย่างแท้จริง


4. การนมัสการเป็นการทรงเรียกให้กระทำภารกิจ


การนมัสการเป็นการทรงเรียกให้กระทำภารกิจเหมือนโมเสสที่ได้พบทูตของพระเจ้าที่ปรากฏ ณ ภูเขาโฮเร็บเป็นพุ่มไม้ที่ลุกเป็นเปลวไฟพระเจ้าสั่งให้ท่านถอดรองเท้าออกเพื่อนมัสการพระองค์เพราะ

ณที่นั่นเป็นสถานที่บริสุทธิ์ที่พระเจ้าประทับอยู่โมเสสได้นมัสการพระเจ้าในท่าทีเคารพยำเกรงแล้วแต่การนมัสการนี้ยังไม่สมบูรณ์ เพราะพระเจ้ามีทรงมีภารกิจสำคัญยิ่งที่พระองค์จะมอบหมายให้แก่โมเสส คือการนำทาสชาวฮีบรูออกจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์ถึงแม้ว่าโมเสสจะไม่กล้ารับภารกิจนี้ในทันทีแต่เมื่อท่านยอมจำนนต่อน้ำพระทัยของพระองค์แล้วท่านก็ยอมทำภารกิจสำคัญตามที่พระเจ้าบัญชาทุกประการการยอมรับการทรงเรียกให้กระทำภารกิจ

เช่นนี้แหละจึงจะถือว่าเป็นการนมัสการที่สมบูรณ์


5. การนมัสการเป็นการให้ค่าที่คู่ควรแด่พระเจ้า


การนมัสการเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ผู้ที่จะนมัสการพระองค์นั้นต้องมีมือที่สะอาดและใจที่บริสุทธิ์เพราะพระเจ้าทรงบริสุทธิ์แต่ชีวิตของทุกคนย่อมมีความผิดบาปแอบซ่อนอยู่ภายในจึงต้องอธิษฐานสารภาพความผิดบาปเสียก่อนถ้ามีเหตุขัดเคืองกับพี่น้องอยู่ก็ต้องให้อภัยและกลับไปคืนดีกับผู้นั้นก่อนจึงจะสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์เพื่อการให้ค่าที่คู่ควรแก่พระองค์ได้ (มัทธิว 5:24)


ราล์ฟ พี.มาร์ติน กล่าวว่า การนมัสการเป็นการเฉลิมฉลองความเป็นพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ เพราะพระองค์ทรงสูงส่งและทรงคู่ควรแก่การยกย่องอย่างยิ่งการนมัสการพระเจ้าเป็นทั้งกิริยาที่แสดงออกและเป็นแรงบันดาลใจจากภายในที่กระตุ้นให้ถวายพระเกียรติที่คู่ควรแด่พระองค์.

บทความนี้ เป็นฉบับย่อของสารนิพนธ์เรื่อง “คุณค่าแห่งการนมัสการ” ของบีไอที


ผู้เขียน: วิจิตรา อัครพิชญธร, อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์: ศาสนาจารย์ ดร. รุ่ง เริงสันติ์อาจิณ,



ตอนที่ 2 การนมัสการในยุคต่างๆ


การนมัสการได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ยุคก่อนบรรพชนอิสราเอลเรื่อยมาไปจนกระทั่งถึงการนมัสการในสวรรค์ ตามนิมิตที่พระเจ้าสำแดงแก่ท่านอัครสาวกยอห์น


ก. การนมัสการในยุคพันธสัญญาเดิม


1. ยุคโบราณ


มนุษย์ยุคโบราณนมัสการเทพเจ้าหรือพระต่างๆโดยการถวายเครื่องบูชาเพื่อขอพรตามที่ตนต้องการและขอการคุ้มครองจากภูตผีปีศาจต่างๆสิ่งที่ถวายบูชามีทั้งพืชและสัตว์นอกจากนี้บางกลุ่มมีการบูชายัญเด็กเล็กหรือมีการติดต่อกับวิญญาณของบรรพบุรุษผู้ล่วงหลับไปแล้วอีกด้วยลักษณะของการนมัสการในยุคโบราณนั้นเป็นการนมัสการสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติและการมีพระเจ้าหลายองค์การถวายเครื่องบูชาและการบูชายัญการประกอบพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อความเป็นสิริมงคลปัดเป่าวิญญาณที่ชั่วร้ายลบล้างความโกรธของพระต่างๆเพื่อให้อยู่ดีกินดีการเพาะปลูกอุดมสมบูรณ์และเพื่อติดต่อกับวิญญาณของบรรพบุรุษ


2. ยุคบรรพชนอิสราเอล


การนมัสการในยุคบรรพชนอิสราเอลมีลักษณะสำคัญ4ประการได้แก่ประการแรกการนมัสการพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวประการที่สองการสร้างแท่นบูชาโดยการใช้ก้อนหินมาเรียงซ้อนกันเป็นแท่นโดยเลือกสถานที่พิเศษที่ตนมีประสบการณ์กับพระเจ้าเป็นสถานที่สร้างแท่นบูชาแล้วมีการตั้งชื่อไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงประการที่สามมีการนำสัตว์ที่ปราศจากมลทินและตำหนิมาเป็นเครื่องบูชาบนฟืนที่เรียงอย่างเป็นระเบียบบนแท่นบูชามักใช้มีดแทงสัตว์นั้นจนตายและโลหิตไหลออกมาแล้วจึงเริ่มเผาด้วยไฟในที่สุดประการสุดท้ายผู้กระทำพิธีต้องมีท่าทีที่ยำเกรงพระเจ้าและมีการดำเนินชีวิตที่เชื่อฟังพระองค์


3. ยุคอพยพ

การนมัสการที่ภูเขาซีนายมีองค์ประกอบ5ประการได้แก่ประการแรก การชุมนุมของประชากรที่ได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้าประการที่สองการจัดให้ประชากรทุกคนมีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการนมัสการตั้งแต่ผู้นำโมเสส,อาโรน,นาดับ,อาบีฮู,พวกผู้ใหญ่เจ็ดสิบคนรวมทั้งคณะนักดนตรีโดยให้มีหน้าที่ที่แตกต่างกันประการที่สามการประกาศพระวจนะพระเจ้าโดยการที่โมเสสอ่านหนังสือพันธสัญญาให้ชนอิสราเอลฟังประการสุดท้ายการรื้อฟื้นพันธสัญญาแห่งการอุทิศตนแด่พระเจ้าซึ่งเมื่อประชากรฟังแล้วก็ยอมรับว่าจะกระทำตามเงื่อนไขของพันธสัญญานั้นประการที่ห้าการประทับตราพันธสัญญาด้วยเลือดของโค(อพย.19-24)ในยุคอพยพนี้ถือว่าการนมัสการได้หล่อหลอมเข้าไปในชีวิตของชนชาติอิสราเอลโดยผ่านสถานที่ศักดิ์สิทธิ์พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และปุโรหิตผู้บริสุทธิ์หน้าที่หลักของปุโรหิตคือการถวายเครื่องบูชาส่วนชนชาติอิสราเอลก็นำสัตวบูชาและธัญญบูชามาถวายเพื่อลบล้างความผิดของตนพระเจ้าจะทรงอภัยโทษและรับของถวายนั้น


4. ยุคผู้วินิจฉัย


ในยุคผู้วินิจฉัยนี้ยังมีการนมัสการในเต๊นท์พลับพลาอยู่เพียงแต่ไม่มีการเคลื่อนย้ายเนื่องจากในยุคนี้คนอิสราเอลเข้ายึดครองดินแดนคานาอันได้อย่างสมบูรณ์แล้ว พวกเขาได้ตั้งพลับพลาไว้ที่เมืองชิโลห์(1ซ้อ1:3)และอยู่ที่นั่นถึง200ปีมีการสร้างแท่นบูชาขึ้นณที่ต่างๆสถานที่นมัสการพระเจ้าแห่งแรกในดินแดนคานาอันก็คือกิลกาล(ผู้วินิจฉัย2:1)และเป็นสถานที่ที่ซาอูลได้รับการเจิมตั้งขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของอิสราเอลและหลังจากนั้นมาทุกปีก็ได้มีการนมัสการเฉลิมฉลองการเข้าสู่ดินแดนแห่งพระสัญญาที่นี่ด้วยแท่นบูชาทุกแห่งถูกสร้างขึ้นก็เพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงชัยชนะของคนอิสราเอลในการรบกับศัตรูและเป็นการนมัสการเพื่อถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า


5. ยุคกษัตริย์


ต่อมา หลังยุคผู้วินิจฉัยอิสราเอลเริ่มมีกษัตริย์ปกครองกษัตริย์ก็มักจะเป็นผู้นำในการนมัสการเพราะถือว่าเป็นผู้ที่พระเจ้าเจิมตั้งให้เป็นผู้นำชนชาติประชากรของพระองค์กษัตริย์ดาวิดเป็นผู้หนึ่งที่รักในการนมัสการพระเจ้ามากทรงสร้างแท่นบูชาขึ้นในกรุงเยรูซาเล็มเป็นครั้งแรกหลังจากที่พระองค์ได้ทรงนำขบวนแห่เพื่อนำหีบพันธสัญญาเข้าไปในกรุงเยรูซาเล็มแล้ว ที่นั่นก็กลายเป็นศูนย์กลางของการนมัสการของชนอิสราเอลพระองค์ได้ทรงสร้างพลับพลาขึ้นที่ศิโยนด้วยที่เรียกว่า“พลับพลาของดาวิด”ถึงกระนั้นการนมัสการในพลับพลาของดาวิดก็ยังมีความแตกต่างกับพลับพลาแบบโมเสสมากเพราะไม่มีการถวายสัตวบูชาคงเน้นแต่การร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าการบรรเลงดนตรีอันไพเราะโดยเผ่าเลวีและการร่ายรำอันงดงามเท่านั้นโดยผู้ปรนนิบัติคือบุตรหลานของอาสาฟ,เฮมานและเยดูธูน(1พงศาวดาร25:1)ยิ่งกว่านั้นการนมัสการในพลับพลานี้มีต่อเนื่องตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน(1พงศาวดาร16:4)ดังนั้นความล้ำค่าของการนมัสการในสมัยนั้นจึงเปลี่ยนไปอยู่ที่การเฉลิมฉลองการสรรเสริญและยกย่องพระเจ้าด้วยเสียงเพลงและศิลปะต่างๆแทนการถวายสัตวบูชาในยุคก่อนๆ


พระวิหารและเต็นท์พลับพลาต่างมีคุณค่าในการนมัสการพระเจ้าคุณค่าที่เหมือนกันคือทั้งสองแบบต่างก็เป็นสัญลักษณ์ของการสถิตอยู่ด้วยและการปกครองของพระเจ้าเหนือชนชาติอิสราเอลอีกทั้งยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชากรทั่วไปสามารถเข้าเฝ้าพระเจ้าได้ทุกเมื่อแม้ว่าพระวิหารอาจต่างจากเต๊นท์พลับพลาตรงที่เป็นสิ่งก่อสร้างแบบถาวรที่มั่นคงและใหญ่โตกว่า แต่สำหรับบทบาทหน้าที่และความหมายในเชิงสัญลักษณ์นั้นทั้งพระวิหารและเต็นท์พลับพลามีคุณค่าที่เท่าเทียมกันทุกประการ


6. ยุคผู้เผยพระวจนะ

ต่อมาชาวอิสราเอลไม่สัตย์ซื่อต่อพระเจ้าหันไปกราบไหว้พระอื่นบรรดาผู้เผยพระวจนะจึงออกมาประณามพิธีกรรมทางศาสนาที่กระทำกันแต่เพียงเปลือกนอกตำหนิการนมัสการรูปเคารพและพระเทียมเท็จทั้งหลายตลอดจนตักเตือนประชาชนที่นมัสการพระเจ้าด้วยแรงจูงใจที่ไม่ถูกต้องผู้เผยพระวจนะอาโมสรังเกียจเทศกาลฉลองของอิสราเอลและการถวายเครื่องบูชาอย่างไม่จริงใจของประชาชนและเรียกร้องให้เขากลับใจเสียใหม่ให้กระทำต่อผู้อื่นอย่างยุติธรรมและชอบธรรม“จงให้ความยุติธรรมหลั่งไหลลงอย่างน้ำและให้ความชอบธรรมเป็นอย่างลำธารที่ไหลอยู่เป็นนิตย์”(อาโมส 5:24)ผู้เผยพระวจนะโฮเชยาเผยพระวจนะว่าสิ่งที่พระองค์ต้องการจากประชากรของพระองค์มากที่สุดคือความรักที่จะเขาจะถวายให้พระองค์และทรงต้องการให้เขาแสวงหาความรู้ในพระองค์ให้มากขึ้น แทนการถวายแต่เครื่องสัตวบูชาเท่านั้น(โฮเชยา 6:6)


ข. การนมัสการในยุคพันธสัญญาใหม่

ความล้ำค่าของการนมัสการได้เปลี่ยนจากระบบการถวายสัตวบูชาไปเป็นการสอนพระวจนะเนื่องจากการถวายบูชานั้นไม่จำเป็นต้องกระทำอีกต่อไปแล้วหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์เพื่อเป็นเครื่องบูชาไถ่บาปของมนุษย์ซึ่งกระทำเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอดังนั้นความล้ำค่าของการนมัสการจึงเปลี่ยนมาอยู่ที่การนมัสการสรรเสริญพระเจ้าการอธิษฐานและการอ่านพระวจนะร่วมกัน


1. คริสตจักรยุคแรก


ในคริสตจักรยุคแรกความล้ำค่าของการนมัสการอยู่ที่การอ่านพระคัมภีร์เดิมและจดหมายฝากการเล่าเรื่องราวของการทนทุกข์ทรมานและการคืนพระชนม์แล้วจบลงด้วยการรับประทานอาหารร่วมกันซึ่งเป็นอาหารที่สมาชิกแต่ละคนนำมาและมีพิธีหักขนมปังและดื่มเหล้าองุ่นด้วยต่อมาเมื่อพระกิตติคุณได้เผยแผ่ออกไปสู่รอบนอกไปจนถึงพวกยิวพลัดถิ่นที่กระจัดกระจายออกไปนอกประเทศมีการสอนให้ชาวยิวพลัดถิ่นเข้าใจกันใหม่ให้ตรงกันว่าพิธีกรรมถวายบูชาทั้งหมดได้สำเร็จแล้วในพระเยซูคริสต์ดังนั้นการถวายบูชาตามพิธีกรรมเดิมของชาวยิวก็เป็นอันล้มเลิกไป


2. คริสตจักรยุคกลาง


ในยุคกลางนี้มีการเปลี่ยนความหมายของการนมัสการไปมากการนมัสการที่เคยมีรูปแบบอิสระอีกทั้งการประกอบศาสนพิธีที่กระทำต่อเนื่องกันมาในคริสต์ศตวรรษที่ 3-4นั้นเริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงให้เป็นทางการมากขึ้นจนกลายเป็นรูปแบบที่ตายตัวการนมัสการในยุคกลางเน้นที่พิธีมิสซาซึ่งเป็นศูนย์กลางของการนมัสการประเด็นสำคัญคือเรื่องของศาสนศาสตร์ในพิธีมิสซาที่เชื่อในทฤษฎีของการแปรสาร(Theory of Transubstantiation)ที่ว่าเหล้าองุ่นและขนมปังเปลี่ยนไปเป็นพระโลหิตและพระวรกายของพระเยซูจริงในทันทีที่บาทหลวงผู้ประกอบพิธี


3. คริสตจักรยุคปฏิรูป

จุดศูนย์กลางของการนมัสการอยู่ที่พระวจนะไม่ใช่ให้พระวจนะเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยมีการพัฒนาการนมัสการอย่างสร้างสรรค์โดยการระดมความคิดใหม่ๆจากสมาชิกทุกคนภายในคริสตจักรและนำสิ่งที่ดีจากคริสตจักรอื่นเข้ามาประมวลด้วยเน้นการปรับปรุงกระบวนการนำผู้คนเข้ามาสู่คริสตจักรในการประกาศ และการเลี้ยงดูจิตวิญญาณรื้อฟื้นความสำคัญของพิธีมหาสนิทให้ผู้นมัสการมีส่วนร่วมมากขึ้นมีการใช้ดนตรีและเพลงร้องเพื่อมาเกื้อหนุนบรรยากาศโดยให้ที่ประชุมมีส่วนร่วมร้องสรรเสริญที่สำคัญคือ มีการปรับเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคริสตชนในทุกด้านไม่ใช่ปรับเปลี่ยนแต่เพียงการนมัสการหรือพิธีกรรมเท่านั้น


4. คริสตจักรยุคสมัยใหม่


คริสตจักรหลังการปฏิรูปยังเปลี่ยนแปลงต่อไปจนถึง“ยุคสว่าง”(The Enlightenment) ในคริสต์ศตวรรษที่18ที่เชื่อว่าโดยการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลมนุษย์สามารถมาถึงความเข้าใจในเรื่องกฎหมาย ศาสนาหรือปรัชญาเป็นยุคที่ใช้เหตุผลมาแทนความเชื่อและเน้นการใช้สติปัญญาของมนุษย์ในการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆเช่นมนุษย์,สังคมและจักรวาลช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่18นี้จึงเป็น“ยุคแห่งเหตุผล”(The age of reason)เรียกว่าลัทธิเหตุผลนิยม(Rationalism)เชื่อในการดำรงอยู่ขององค์ผู้สูงสุดแต่พระองค์ผู้ทรงพระชนม์อยู่นั้นทรงปฏิบัติพระราชกิจของพระองค์บนพื้นฐานแห่งเหตุผลที่เน้นการใช้เหตุผลของมนุษย์มาอธิบายสิ่งลึกลับต่างๆซึ่งเท่ากับลดคุณค่าของการดำรงอยู่ของพระเจ้าลดคุณค่าความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์ลงเหลือเพียง“เยซูแห่งประวัติศาสตร์”เท่านั้นและลดความล้ำค่าของการนมัสการพระเจ้าลงเหลือเพียงน้อยนิดด้วยสติปัญญาที่จำกัดของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง


5. คริสตจักรยุคหลังสมัยใหม่


มีการปฏิรูปด้านวรรณกรรมและศิลปะและในช่วงค.ศ.1960-1980มีการตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์เป็นยุคแห่งปฏิสัมพันธ์ต่อหลักการของยุคสมัยใหม่ยุคนี้มีข้อดีตรงที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจที่จะยึดเอาตนเองเป็นศูนย์กลางไม่ได้แสวงหาความสำเร็จหรือตอบสนองความต้องการของตนเองอีกต่อไปแต่จะใส่ใจกับการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งมากกว่าดังนั้นจึงสามารถลดการแบ่งแยกระหว่างชนชั้นลงได้มากคริสตจักรส่วนใหญ่จัดการนมัสการแบบร่วมสมัยโดยมีจุดเด่นในการร้องเพลงสรรเสริญอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย20-30นาทีแต่บางครั้งอาจเน้นดนตรีและการร้องเพลงมากจนแทบจะลืมความสำคัญของพระวจนะและพิธีมหาสนิทไปยุคนี้เป็นยุคที่ผู้นมัสการเน้นเรื่องสาระฝ่ายวิญญาณมากที่สุดจึงรักในการนมัสการมากที่สุดด้วย


บทความนี้ เป็นฉบับย่อของสารนิพนธ์เรื่อง
“ความล่ำค่าแห่งการนมัสการ 2”

ของสถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้เขียน: วิจิตรา อัครพิชญธร,อาจารย์ที่ปรึกษา: ศาสนาจารย์ ดร. รุ่ง เริงสันติ์อาจิณ(ผู้อำนวยการสถาบัน)

(ท่านที่สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากห้องสมุดของสถาบันบีไอที)

พลับพลาของพระเจ้า

วันที่เทศนา 7 กันยายน 2008
หัวข้อเทศนา เส้นทางสู่การครอบครองแผ่นดินพระสัญญา – รู้จักความรู้สึกของพระเจ้า
ข้อพระคัมภีร์ อพยพ 25: 1 – 8

“องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสกับโมเสสว่า จงสั่งชนอิสราเอลให้นำสิ่งของมาถวายเรา เจ้าจงรับของที่ทุกคนนำมาถวายเราด้วยความสมัครใจ เจ้าจงรับของถวายที่เขานำมามอบให้ได้แก่ ทองคำ เงิน และทองสัมฤทธิ์ ด้วยสีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดง ผ้าลินินเนื้อดี ขนแพะ หนังแกะตัวผู้ย้อมสีแดง หนังพะยูน ไม้กระถินเทศ น้ำมันมะกอกสำหรับจุดประทีป เครื่องเทศสำหรับปรุงน้ำมันเพื่อใช้เจิมและสำหรับเครื่องหอม โกเมนและอัญมณีอื่นๆ สำหรับฝังในเอโฟดและทับทรวง แล้วให้ประชากรอิสราเองสร้างสถานนมัสการให้เรา และเราจะอยู่ท่ามกลางพวกเขา” (อพยพ 25: 1 – 8)
“The LORD said to Moses, "Speak to the people of Israel, that they take for me an offering; from every man whose heart makes him willing you shall receive the offering for me. And this is the offering which you shall receive from them: gold, silver, and bronze, blue and purple and scarlet stuff and fine twined linen, goats' hair, tanned rams' skins, goatskins, acacia wood, oil for the lamps, spices for the anointing oil and for the fragrant incense, onyx stones, and stones for setting, for the ephod and for the breastpiece. And let them make me a sanctuary, that I may dwell in their midst.” (Exodus 25: 1 – 8)

นอกจากธรรมบัญญัติต่างๆ ที่พระเจ้าประทานให้แก่ประชากรของพระองค์แล้ว พระองค์ยังบัญชาให้โมเสสสร้างพลับพลาหรือเต็นท์ พลับพลาหรือเต็นท์ปกติเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวสามารถรื้อถอนหรือสร้างตามแต่ต้องการ ตามวิถีชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในถิ่นทุรกันดารในสมัยนั้น แต่พลับพลาหรือเต็นท์ที่พระเจ้าให้โมเสสสร้างขึ้นมีความหมายและความสำคัญมากกว่าเป็นที่อยู่อาศัยทั่วไป แต่สถานที่นี้จะได้รับการสถาปนาเป็นสถานที่บริสุทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าเลือกสถานที่นี้ให้เป็นที่ๆ พระองค์ประทับอยู่ และพระองค์จะตรัสผ่านสถานที่นี้ ฉะนั้นพลับพลาจึงเป็นศูนย์กลางแห่งคุณค่าทางวิญญาณ
พลับพลาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ลานภายนอก ห้องบริสุทธิ์ และห้องบริสุทธิ์ที่สุดที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อภิสุทธิสถาน ที่นี่มีแท่นแห่งพระคุณหรือหีบแห่งพันธสัญญา ภายในหีบนั้นมีมานา ศิลาจารึกพระบัญญัติ 10 ประการ และไม้เท้าของอาโรนที่ผลิดอก ห้องนี่ไม่มีใครเข้าไปได้นอกจากมหาปุโรหิตเข้าไปปีละครั้งทำหน้าที่ถวายเครื่องหอมและเครื่องบูชาเพื่อชนชาติอิสราเอล ห้องนี้ถือว่าบริสุทธิ์ที่สุด เป็นที่ๆ พระเจ้าประทับอยู่
พลับพลาของพระเจ้าที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์ถือว่ามีสาระธรรมสำคัญแฝงอยู่อย่างลึกซึ้งหลายเรื่อง มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศาสนศาสตร์ และเรื่องเปรียบเทียบต้นแบบ (Typology)
แต่ในบทเรียนนี้จะให้ความสำคัญกับ ความรู้สึกของพระเจ้าที่ประสงค์จะประทับอยู่ใกล้ประชากรของพระองค์

I. สามัคคีธรรมที่ขาดหายไป
“เย็นวันนั้นเขาทั้งสองได้ยินเสียงพระเจ้าพระยาห์เวห์ทรงดำเนินอยู่ในสวน จึงหลบซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้ให้พ้นจากพระองค์ พระเจ้าพระยาห์เวห์ตรัสเรียกหาชายนั้นว่า เจ้าอยู่ที่ไหน”
(ปฐมกาล 3: 8 – 9)
“And they heard the sound of the LORD God walking in the garden in the cool of the day, and the man and his wife hid themselves from the presence of the LORD God among the trees of the garden. But the LORD God called to the man, and said to him, "Where are you?"” (Genesis 3: 8 – 9)

“พระเจ้าพระยาห์เวห์จึงทรงขับไล่เขาออกจากสวนเอเดนให้ไปหาเลี้ยงชีพบนผืนดินซึ่งเขาถือกำเนินมานั้น หลังจากทรงขับไล่เขาออกไปจากสวนแล้ว พระองค์ทรงตั้งเหล่าเครูบไว้ที่ด้านตะวันออกของสวนเอเดน และตั้งดาบเพลิงเล่มหนึ่งที่พุ่มไปมาเพื่อคอยพิทักษ์ทางซึ่งนำไปสู่ต้นไม้แห่งชีวิตนั้น” (ปฐมกาล 3: 23 – 24)
“Therefore the LORD God sent him forth from the garden of Eden, to till the ground from which he was taken. He drove out the man; and at the east of the Garden of Eden he placed the cherubim, and a flaming sword which turned every way, to guard the way to the tree of life.” (Genesis 3: 23 – 24)

พระเจ้าสร้างมนุษย์ตามแบบพระฉายของพระองค์ก็เพื่อว่า พระองค์จะสามารถ สามัคคีธรรมกับพวกเขาได้ พระเจ้ามีความปิติเมื่อพระองค์เสด็จมาพบกับมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้าง แต่ทุกสิ่งเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์และสามัคคีธรรมขาดสะบั้นเมื่อมนุษย์เลือกฟังเสียงและทำตามมารซาตานมากกว่าเชื่อและทำตามพระเจ้า ความบาปเป็นเครื่องกั้นระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า พระเจ้าไม่อาจเข้าหามนุษย์ และมนุษย์ไม่อาจเข้าหาพระเจ้าได้อย่างเสรี ในยุคพันธสัญญาเดิมมนุษย์กับพระเจ้าสามัคคีธรรมได้ผ่านทางเครื่องบูชา ความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ในรูปของพระเจ้ากับมนุษย์ ไม่ใช่พ่อกับลูก

II. สะพานแห่งสามัคคีธรรม
“ในเมื่อบัดนี้เราได้ถูกนับเป็นผู้ชอบธรรมแล้วโดยพระโลหิตของพระองค์ ยิ่งไปกว่านั้นเราจะรอดพ้นจากพระพิโรธของพระเจ้าโดยพระองค์อย่างแน่นอน เพราะถ้าเรายังได้คืนดีกับพระเจ้าโดยการสิ้นพระชนม์ของพระบุตรของพระองค์ในขณะที่เราเป็นศัตรูกับพระองค์ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเราได้คืนดีกับพระองค์แล้ว เราก็จะได้รับความรอดโดยพระชนม์ชีพของพระองค์อย่างแน่นอน ไม่เพียงเท่านั้นแต่เรายังชื่นชมยินดีในพระเจ้าโดยทางองค์พระเยซูคริสต์เจ้าของเราด้วย บัดนี้พระองค์ทรงทำให้เราคืนดีกับพระเจ้าแล้ว” (โรม 5: 9 – 11)
“Since, therefore, we are now justified by his blood, much more shall we be saved by him from the wrath of God. For if while we were enemies we were reconciled to God by the death of his Son, much more, now that we are reconciled, shall we be saved by his life. Not only so, but we also rejoice in God through our Lord Jesus Christ, through whom we have now received our reconciliation.” (Roman 5: 9 – 11)

“เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสต์การทรงสร้างใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งเก่าได้ล่วงไป สิ่งใหม่ได้เข้ามา ทั้งหมดนี้มาจากพระเจ้าผู้ทรงให้เราคืนดีกับพระองค์โดยทางพระคริสต์ และทรงมอบหมายพันธกิจแห่งการคืนดีนี้แก่เรา คือพระเจ้าได้ทรงให้โลกคืนดีกับพระองค์ในพระคริสต์ไม่ถือโทษบาปของมนุษย์ และพระองค์ทรงมอบหมายเรื่องราวแห่งการคืนดีนี้ไว้กับเรา ฉะนั้นเราจึงเป็นทูตของพระคริสต์เสมือนหนึ่งพระเจ้าทรงร้องเรียกท่านทั้งหลายผ่านทางเรา เราจึงขอร้องท่านในนามของพระคริสต์ว่า จงคืนดีกับพระเจ้า พระเจ้าทรงกระทำพระองค์ผู้ปราศจากบาปให้เป็นบาปเพื่อเรา เพื่อในพระองค์เราจะกลายเป็นความชอบธรรมของพระเจ้า”
(2 โครินธ์ 5: 17 - 21)
“Therefore, if any one is in Christ, he is a new creation; the old has passed away, behold, the new has come. All this is from God, who through Christ reconciled us to himself and gave us the ministry of reconciliation; that is, in Christ God was reconciling the world to himself, not counting their trespasses against them, and entrusting to us the message of reconciliation. So we are ambassadors for Christ, God making his appeal through us. We beseech you on behalf of Christ, be reconciled to God. For our sake he made him to be sin who knew no sin, so that in him we might become the righteousness of God.” (2 Corinthians 5: 17 – 21)

ถึงแม้ว่ามนุษย์จะพลาดพลั้งหลงผิด หลงทาง แต่พระเจ้าไม่เคยลืมพระประสงค์ของพระองค์ ความล้มเหลวของมนุษย์ไม่ทำให้พระองค์ล้มเลิกแผนการรื้อฟื้นความสัมพันธ์นิรันดร
เมื่อเราศึกษา พลับพลา เราสามารถเห็นภาพแผนการล่วงหน้าว่าพระองค์จะนำมนุษย์คืนดีกับพระองค์อย่างไร เริ่มจากมนุษย์อยู่ภายนอกพลับพลาที่ประทับของพระเจ้า เขาเข้าผ่านประตูเล็งถึงพระเยซูคริสต์ และเข้ามาพบกับแท่นถวายบูชาพูดถึงการวายพระชนม์ของพระคริสต์ ผ่านการชำระด้วยน้ำเล็งถึงการชำระชีวิตด้วยพระคำ เข้ามาห้องบริสุทธิ์ร่วมสามัคคีธรรมกับพระคริสต์ผ่านโต๊ะขนมปัง และรับแสงสว่างจากพระเจ้าผ่านทางเชิงเทียน และเข้าไปสู่วิสุทธิสถาน แท่นแห่งพระคุณที่จะมองดูความบริสุทธิ์และความงดงามของพระเจ้า
บัดนี้เราได้กลับคืนดีกับพระเจ้าแล้ว เราทำให้พระเจ้าปลื้มปิติ และตัวเราเองก็มีความปิติยินดีในสามัคคีธรรมนี้ ไม่ใช่เราเท่านั้นที่หิวกระหายพระเจ้า แต่พระเจ้าเองก็โหยหาสามัคคีธรรมกับมนุษย์ที่พระองค์ทรงสร้างเช่นกัน

III. ตัวเราและคริสตจักรคือพลับพลาของพระเจ้า
“ท่านไม่รู้หรือว่าท่านเองเป็นวิหารของพระเจ้าและพระวิญญาณของพระเจ้าสถิตภายในท่าน”
(1 โครินธ์ 3: 16)
“Do you not know that you are God's temple and that God's Spirit dwells in you?”
(1 Corinthians 3: 16)

“เราบอกความจริงแก่ท่านว่าพวกท่านผูกมัดสิ่งใดๆ ในโลก สิ่งนั้นจะถูกผูกมัดในสวรรค์ และพวกท่านปลดปล่อยสิ่งใดๆ ในโลก สิ่งนั้นจะถูกปลดปล่อยในสวรรค์ เราบอกท่านอีกว่าหากท่านสักสองคนในโลกเห็นชอบร่วมกันในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ท่านทูลขอ พระบิดาของเราในสวรรค์จะทรงกระทำสิ่งนั้นให้แก่พวกท่าน เพราะที่ไหนมีสองสามคนมาร่วมชุมนุมกันในนามของเรา เราก็อยู่กับพวกเขาที่นั่น” (มัทธิว 18: 18 – 20)
“Truly, I say to you, whatever you bind on earth shall be bound in heaven, and whatever you loose on earth shall be loosed in heaven. Again I say to you, if two of you agree on earth about anything they ask, it will be done for them by my Father in heaven. For where two or three are gathered in my name, there am I in the midst of them."” (Matthew 18: 18 – 20)

ผลจากความสำเร็จในการไถ่มนุษย์ผ่านทางองค์พระเยซูคริสต์ ผู้เชื่อในพระคริสต์ได้รับการชำระความผิดบาป รับการสร้างใจใหม่ เราถูกแยกออกมาเป็นประชากรของพระองค์ พระเจ้าประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้มาประทับอยู่ภายในวิญญาณเรา โดยพระวิญญาณรังสีแห่งความยิ่งใหญ่เข้ามาในส่วนลึกที่สุดของชีวิตของเรา
นอกจากพระองค์จะประทับอยู่ภายในผู้เชื่อแต่ละบุคคลแล้ว พระองค์ก็สัญญาว่าพระองค์จะประทับอยู่ท่ามกลางประชากรของพระองค์ทุกครั้งที่มาประชุมร่วมกัน
พวกเรากลายเป็นพลับพลาหรือที่ประทับของพระองค์ ชีวิตของพวกเราขณะนี้เปรียบดังพลับพลาสมัยชนชาติอิสราเอล คือ เป็นที่ประทับชั่วคราวและเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะไปถึงพลับพลาถาวรในสวรรค์

สรุป
ณ ถิ่นทุรกันดารซีนาย เราสามารถเห็นประชากรของพระเจ้าเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
1. ชนชาติอิสราเอลไม่เพียงแต่เป็นประชาชนธรรมดาในสายตาของพระเจ้า พวกเขาเป็นปุโรหิตของพระเจ้า พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่เรียกได้ว่า เป็นศาสนิกชน
2. ชนชาติอิสราเอลรับพระบัญญัติ มีว่า ศาสนธรรม ศาสนพิธี และศาสนกิจ
3. พลับพลาที่พระเจ้าให้สร้างขึ้นให้เป็นศูนย์กลางทางวิญญาณ เราเรียกว่า ศาสนสถาน เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์
คริสเตียนทุกคนต้องไม่ลืมว่า พวกเราคือศาสนสถานที่ประทับของพระเจ้า พระองค์จะตรัสและทำพระราชกิจขอพระองค์ผ่านทางจิตวิญญาณภายในเรา

ไม่ละอายเพราะข่าวประเสริฐ

"16 เพราะว่า ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ เพราะว่าข่าวประเสริฐนั้น เป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด พวกยิวก่อน แล้วพวกต่างชาติด้วย


17 เพราะว่า ในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมของพระเจ้าก็ได้สำแดงออก โดยเริ่มต้นก็ความเชื่อ สุดท้ายก็ความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ" (โรม 1:16-17)


"37 แล้วพระองค์ตรัสกับพวกสาวกของพระองค์ว่า "ข้าวที่ต้องเกี่ยวนั้นมีมากนักหนา แต่คนงานยังน้อยอยู่
38 เหตุนั้น พวกท่านจงอ้อนวอนพระองค์ผู้ทรงเป็นเจ้าของนา ให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวพืชผลของพระองค์" (มัทธิว 9:37-38)

ตั้งแต่ 1941 BIT (ฺBangkok Institute of Theology, กรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์) ได้ก่อตั้งเพื่อเป็นสถานอบรมของผู้รับใช้ เพื่อคริสตจักรภาค 7 และคริสตจักรทั่วไป ซึ่ง BIT ได้พัฒนาเรื่อย ๆ จากครอบครัวเล็ก ๆ จนปัจจุบันก็เป็นสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยคริสเตียน โดยได้รับการดูแลจากกรรมการคริสตจักรภาคที่ 7 เสมอมา ปัจจุบันมีนักศึกษากว่าร้อยคน ขอบคุณคริสตจักรสะพานเหลืองที่ได้มีส่วนในการทุ่มเทสนับสนุนเพื่อสถานอบรม ผู้รับใช้พระเจ้าเสมอมา ซึ่งเป็นตอบสนองพระมหาบัญชาพระเยซูคริสต์ เนื่องจากสถาบันแห่งนี้เป็นสถานที่อบรมผู้รับใช้ เพื่อที่จะประกาศข่าวประเสริฐต่อไป

อยากหนุนใจคริสเตียนทุกคน ที่จะไม่ละอายในข่าวประเสริฐ ไม่ละอายที่จะยืนยันแก่คนไทยอีกมากมายที่ยังไม่รู้จักพระเจ้าว่า เราเป็นผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2008 สมเด็จพระสันตะปาปา ประมุขของคริสต์โรมันคาทอลิก และสมเด็จพระอัยกา ประมุขคริสต์ออร์ทอดอกซ์แห่งคอนสแตนติโนเปิ้ล ทรงร่วมกันเป็นประธานในการเปิดปีแห่งนักบุญเปาโล ที่มหาวิหารนักบุญเปาโล นอกกรุงโรม

ปีนักบุญเปาโล จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการเกิดครบ 2000 ปีของเปาโล อัครทูตผู้ยิ่งใหญ่ และเป็นที่ยกย่องของคริสตชนทุกนิกาย และยังเป็นการกระตุ้นให้คริสเตียนรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนอย่างที่อัคร ทูตเปาโลสอนใว้

ในวันเดียวกันนั้นเอง ที่ดามัสกัส ซึ่งเป็นเมืองที่อาจารย์เปาโลได้กลับใจต้อนรับพระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ช่วย ให้รอด ได้มีพิธีเปิดปีนักบุญเปาโลด้วย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคริสตชนทุกคณะนิกาย

อาจารย์เปาโลเป็นอาจารย์ของชาวต่างชาติ เป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐ และตลอดชีวิตของท่าน ท่านได้ยืนยันว่าเป็นอาจารย์ของชาวต่างชาติและเป็นผู้ติดตามพระเยซูคริสต์ เรื่องราว ของท่านมิได้เป็นเพียงปูชนียบุคคลในอดีต แต่ท่านเป็นบรมอาจารย์ เป็นอัครสาวก เป็นผู้ประกาศข่าวดีของพระเยซูคริสต์ให้กับเราซึ่งเป็นคนในยุคนี้

ในโรม 1:16-17 นี้ เป็นข้อพระคัมภีร์ที่น่าสนใจมาก เพราะอาจารย์เปาโลได้ยืนยันว่าท่านไม่ละอายในการประกาศข่าวประเสริฐ เหตุผลที่ท่านไม่ละอายในการประกาศข่าวประเสริฐ เพราะว่าข่าวประเสริฐเป็นฤทธิ์เดช มีฤทธานุภาพ นำความรอดมาสู่มนุษย์ ให้มนุษย์กลับคืนดีกับพระเจ้า

จากพระคัมภีร์ดังกล่าว ได้บอกความจริงแก่เรา 4 ประการด้วยกัน

1. พระกิตติคุณคือข่าวประเสริฐ
"เพราะว่า ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ เพราะว่าข่าวประเสริฐนั้น เป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด พวกยิวก่อน แล้วพวกต่างชาติด้วย" (โรม 1:16)

"ข่าวประเสริฐ" แปลว่า ข่าวดีที่สุดท่ามกลางข่าวดี ๆ ทั้งหลาย เป็นเรื่องราวขององค์พระเยซูคริสต์ที่ ทรงเสด็จมาบนโลกนี้เพื่อช่วยมวลมนุษยชาติ เพื่อปลดปล่อยปวงชนให้พ้นจากการเป็นทาสของบาป ให้พ้นจากการพิพากษาลงโทษและรับชีวิตใหม่ เพื่อให้คนบาปสามารถกลับไปมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าได้อีกครั้งหนึ่ง ผู้ใดที่หันกลับจากความบาป มาเชื่อวางใจในองค์พระเยซูคริสต์ ก็จะได้รับการอภัยโทษบาปและเข้าในแผ่นดินของพระเจ้าได้

ข่าวประเสริฐเรื่องพระเยซู คริสต์ได้นำให้คนบาปมาเชื่อในพระองค์ เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้รับการอภัยโทษบาป ดังนั้น ข่าวประเสริฐ เรื่องราวของพระเยซูคริสต์จึงเป็นข่าวดี เราจึงไม่ควรที่จะละอาย

ปัจจุบัน มีข่าวร้ายมากมาย มีข่าวที่ทำให้ใจหดหู่เสมอ เป็นข่าวที่เราไม่ค่อยอยากจะพูดหรือรับฟัง หลายคนได้เลิกที่จะฟังข่าวหรือดูข่าว เพราะมักจะมีแต่ข่าวร้าย และนำความหดหู่ใจมาให้

สองพันปีผ่านมาแล้ว อาจารย์เปาโลเป็นแบบอย่างที่ดีในการประกาศข่าวประเสริฐเรื่องพระเยซูคริสต์ เจ้า ผู้มาบังเกิดในโลกนี้ เพื่อช่วยมวลมนุษยชาติให้พ้นจากความผิดบาป ไม่ต้องตกนรก พ้นอำนาจมืดของความบาป พระองค์คือผู้นำมนุษย์กลับไปหาพระบิดาที่อาณาจักรสวรรค์ นี่คือข่าวประเสริฐที่สุดที่เราไม่ควรละอาย

2. พระกิตติคุณคือความรอดของพระเจ้า
"เพราะว่า ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ เพราะว่าข่าวประเสริฐนั้น เป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด พวกยิวก่อน แล้วพวกต่างชาติด้วย" (โรม 1:16)

อาจารย์เปาโลได้บอกไว้ชัดเจนว่า "พระกิตติคุณคือความรอด"

ความรอด ในพระคัมภีร์เดิม หมายถึง "การปลดปล่อยหรือการให้รอดพ้นจากภยันตรายและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ"

ส่วนในพระคัมภีร์ใหม่ ความรอด หมายถึง "การทรงไถ่ผู้เชื่อทั้งหลายให้รอดพ้นจากโทษบาป คือความตาย เข้าสู่ชีวิตนิรันดร์และสันติสุข โดยทางองค์พระเยซูคริสต์เจ้าเท่านั้น"

"เพราะว่า พระเจ้ามิได้ทรงกำหนดเราไว้สำหรับพระอาชญา แต่สำหรับให้เข้าสู่ความรอด โดยพระเยซูคริสตเจ้าของเรา" (1เธสะโลนิกา 5:9)

ความบาปได้สืบทอดมาสู่มวลมนุษยชาติ ทำให้มนุษย์ตายทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตวิญญาณ คนบาปเหมือนนักโทษแดนประหาร รอวันลงอาญาถูกประหารชีวิต

นักประวัติศาสตร์คริสตจักร ได้กล่าวไว้ว่า มีนักโทษประหารชีวิตมากมายที่ตัดสินใจรับเชื่อในช่วงเวลาสุดท้ายก่อนถูก ประหาร ดังนั้น พันธกิจเรือนจำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และมีคริสเตียนที่ได้ร่วมในพันธกิจนี้อยู่ ซึ่งจุดประสงค์คือเพื่อให้นักโทษเหล่านั้นได้สัมผัสถึงความรักของพระเยซู คริสต์ มีนักโทษมากมายที่กลับใจเชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ และนักโทษเหล่านี้เมื่อออกจากเรือนจำ ก็ได้สัมผัสกับชีวิตใหม่จริง ๆ

การประกาศข่าวประเสริฐ เป็นวิธีในการนำความรอดมาสู่มนุษยชาติ และจะต้องมีผู้ประกาศ ผู้ประกาศจะต้องมีใจกล้า ดัง เช่นที่อาจารย์เปาโลที่ไม่ได้มีความละอายในข่าวประเสริฐ เพราะท่านเข้าใจว่าความรอดมาจากพระเมตตาของพระเจ้า เรื่องราวของพระเยซูคริสต์เป็นข่าวประเสริฐที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมให้นำความ รอดมาสู่มนุษย์

บางครั้งเราอาจจะไม่เข้าใจว่า บางครั้งอาจารย์บางท่านเทศนาได้ไม่ดีนัก แต่กลับมีคนรับเชื่อมากมาย ทั้งนี้เป็นเพราะว่าความรอดไม่ได้มาจากมนุษย์ แต่เป็นจากพระเมตตาของพระเจ้า ดังที่อาจารย์เปาโลได้ยืนยันว่า

"เพราะตามที่ ทรงกำหนดไว้ตามพระสติปัญญาของพระเจ้า โลกไม่รู้จักพระเจ้าได้ด้วยปัญญาของตน พระเจ้าจึงทรงโปรดช่วยคนที่เชื่อให้รอด โดยคำเทศนาเรื่องโง่ ๆ" (1โครินธ์ 1:21)

3. พระกิตติคุณคือฤทธิ์เดชและเป็นของมนุษย์ทุกคน
"เพราะว่า ข้าพเจ้าไม่มีความละอายในเรื่องข่าวประเสริฐ เพราะว่าข่าวประเสริฐนั้น เป็นฤทธิ์เดชของพระเจ้า เพื่อให้ทุกคนที่เชื่อได้รับความรอด พวกยิวก่อน แล้วพวกต่างชาติด้วย" (โรม 1:16)

เหตุที่อาจารย์เปาโลไม่ละอายในข่าวประเสริฐเป็นเหตุเพราะพระกิตติคุณคือ "ฤทธิ์เดช" หรือ "อาณุภาพ" ซึ่งฤทธิ์เดช ของข่าวประเสริฐ คือ การนำผู้ที่เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ได้รับความรอด

"และจะเป็นเช่นนี้คือ ทุกคนซึ่งได้ออกพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้าจะรอด" (กิจการ 2:21)

การประกาศข่าวประเสริฐนั้นมีหลายวิธี บางกลุ่มอาจชอบจัดงานประกาศ บางกลุ่มชอบแจกใบปลิว บางกลุ่มใช้วิธีประกาศตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ บางกลุ่มใช้สื่อทางโทรทัศน์ บางกลุ่มส่งข้อความทางโทรศัพท์ บางกลุ่มก็ชอบแปะข้อความตามต้นไม้สูง ๆ บางคนก็ประกาศตามเวปไซต์ จากการที่เรามุ่งทำการประกาศหลากหลายรูปแบบตามวิธีที่พระเจ้าทรงนำ แม้ว่าจะต่างคณะ ต่างนิกาย ต่างความคิด

อาจารย์เปาโลยืนยันเสมอว่า ข่าวประเสริฐต้องได้รับการประกาศ เป็นการประกาศเกี่ยวกับความรักและความเสียสละพระชนม์ชีพของพระเยซูคริสต์ พระมหาบัญชาของพระเยซูคริสต์ก็ได้กล่าวชัดว่าเราต้องประกาศ และการประกาศข่าวประเสริฐเราจะต้องไม่ละอาย แต่จะต้องภูมิใจ

อาจรารย์เปาโลต้องทนทุกข์ต่าง ๆ มากมาย 2โครินธ์ 11:25-28 ได้บอกชัดเจน และความตายของท่านก็โดนตัดสินประหารชีวิตพร้อมกับอาจารย์เปโตรในสมัยที่ จักรพรรดิเนโรข่มเหงคริสเตียน เหตุเพราะอาจารย์เปาโลซาบซึ้งในพระคุณความรักของพระเยซูคริสต์

อาจารย์เปาโลเริ่มต้นโดยการข่มเหงคริสเตียน แต่ไม่ว่าท่านจะร้ายอย่างไร หลังจากที่พระเยซูคริสต์ทรงเรียกท่าน ท่านก็ได้รับเชื่ออย่างกระทันหัน และอัศจรรย์ ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่ได้ข่มเหงคริสเตียนอีก แต่กลับถูกข่มเหงแทน ท่านห่วงใยคนบาป ไม่อยากให้เขาเหล่านั้นหลงหายไปจากพระผู้สร้าง ต้องการนำคนเหล่านั้นกลับมาหาพระเจ้า อาจารย์เปาโลจึงได้ถ่ายทอดนิมิตรนี้ให้ศิษย์รัก คือ ทิโมธี ทิทัส รวมถึงได้สืบทอดมายังพวกเราจนถึงทุกวันนี้

4. พระกิตติคุณคือการสำแดงแก่คนบาปว่าความชอบธรรมมาจากพระเจ้า
"เพราะว่า ในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมของพระเจ้าก็ได้สำแดงออก โดยเริ่มต้นก็ความเชื่อ สุดท้ายก็ความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ" (โรม 1:17)

ผลที่เราไม่ละอายในข่าวประเสริฐ ทำให้คนบาปรู้ว่า เขาสามารถรอดพ้นหรือได้รับการช่วยเหลือให้พ้นจากบาป และได้รับความชอบธรรม

"ความชอบธรรม" ในพระคัมภีร์มีความหมายทั่วไป คือการมีชีวิตสอดคล้องกับสิ่งที่พระเจ้าเรียกร้อง และการปฏิบัติตามกฎบัญญัติของพระองค์

เมื่อใช้คำว่า "ความชอบธรรม" ในการบรรยายถึงพระลักษณะของพระเจ้า จะหมายถึง ความสัตย์ซื่อของพระองค์ในการรักษาพระสัญญา แต่เมื่อกล่าวถึงประชากรของพระองค์ จะหมายถึง ลักษณะ ชีวิตที่พระเจ้าทรงยอมรับ และมีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์ โดยผ่านทางความเชื่อที่ผู้นั้นมีในพระเยซูคริสต์ และดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์

"เหตุฉะนั้น เมื่อเราได้เป็นคนชอบธรรม เพราะความเชื่อแล้ว เราจึง {หรือ ให้เรา} มีสันติสุขในพระเจ้า ทางพระเยซูคริสตเจ้าของเรา" (โรม 5:1)

"เมื่อท่านพ้นจากบาปแล้ว ท่านก็ได้เป็นทาสของความชอบธรรม" (โรม 6:18)

ตามธรรมชาติของมนุษย์ มีผลของความบาป และพร้อมที่จะทรยศพระเจ้า เพื่อให้พ้นจากคำสาปแช่ง จากการพิพากษาลงโทษตามพระพิโรธเราต้องการความชอบธรรม เพราะพระเจ้าทรงบริสุทธิ์และชอบธรรม ผู้ที่จะเข้าเฝ้าพระเจ้าได้ จึงต้องบริสุทธิ์และชอบธรรม


เรื่องราวของ ศจ. ดร. จอห์น ซง
ขอสรุปด้วยเรื่องราวของ ศจ.ดร. จอห์น ซง ดิฉันเคยได้ฟังคนที่เคยฟังคำเทศนาของท่าน ท่านมีอิทธิพลต่อคริสตจักรเอเชียอย่างมาก ทั้งในจีน เวียดนาม ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ และยังมีผลถึงทุกวันนี้ คนจำนวนมากได้กลับใจใหม่ คนที่เชื่อได้มีความเชื่อมากขึ้น คนที่ไม่เชื่อก็ได้รับเชื่อ ส่วนหนึ่งในชีวิตของดิฉันที่ไ่ด้รู้จักพระเจ้าก็ผ่านทางคำสอนของ ศจ.ดร. จอห์น ซุง ผ่านทางหนังสือของท่าน

หนังสือเล่มนั้นเป็นคำพยานของท่าน ท่านพูดในฐานะที่ท่านเป็นนักเคมี ท่านจบ ดร. ทางเคมีคนแรกของเอเชีย ท่านบอกว่า การทดลองต่าง ๆ ที่นักวิทยาศาสตร์เคยทดลอง เอาสารต่าง ๆ ที่อยู่ในตัวมดเล็ก ๆ แล้วมาสร้างใหม่เป็นตัวมด แต่ไม่เคยเป็นมดสักครั้งเดียว ในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์ ท่านได้ยืนยันว่า จะต้องมีพระผู้สร้างเท่านั้นที่เป็นผู้ให้ชีวิต มดจึงจะมีชีวิตได้

ดร. จอห์น ซุง ใช้เวลาในการรับใช้ไม่กี่ปี เป็นคนที่โดดเด่น เอาจริงเอาจัง เป็นนักอ่านพระคัมภีร์ เป็นนักอธิษฐาน กล้าตำหนิความผิดของคริสตจักร เพราะท่านต้องการให้คริสตจักรกลับใจเป็นคริสตจักรของพระเจ้า ท่านใช้เวลาทุกโอกาสในการประกาศข่าวประเสริฐ คำเทศนาของท่านลึกซึ้ง ชอบยกตัวอย่างแปลก ๆ ใช้เทคนิคแปลก ๆ ในการเทศนา เทศนาวันละ 6 ชั่วโมง 3 รอบ สอนพระคัมภีร์อย่างลึกซึ้ง เพราะว่าท่านไม่ละอายในข่าวประเสริฐ

หลายคริสตจักรในเอเชียได้ยกย่องท่าน และได้ยืนยันว่า สิ่งที่ท่านทำนั้น ยังมีผลอยู่จนปัจจุบันนี้

ดิฉันอยากยืนยันแก่พี่น้อง ที่จะไม่ละอายในการประกาศข่าวประเสริฐ เพราะมรดกที่ท่านจะทิ้งไว้ในชีวิตของคน จะดำรงอยู่ ดังเช่นที่ดิฉันได้รับข่าวประเสริฐผ่านทางคนหลาย ๆ คน หลาย ๆ โอกาส และข่าวประเสริฐนั้นทำให้ดิฉันได้กลับใจ รับเชื่อ และมาเป็นผู้รับใช้พระเจ้าผู้ทรงสูงสุด


คศ. นันทิยา เพ็ชรเกตุ

สรุปคำเทศนาโบสถ์จีน คริสตจักรสะพานเหลือง

เมื่อวันที่ 23/02/2009

เรื่อง ไม่ละอายเพราะข่าวประเสริฐ

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ท่าทีการรับใช้ ตามแบบอย่างพระเยซูคริสต์‏

ท่าทีการรับใช้ ตามแบบอย่างพระเยซูคริสต์‏

ขอบคุณพระเจ้า ที่พระองค์ทรงใช้พวกเราที่เป็นผู้รับใช้พระองค์ ขอให้พระวจนะคำของพระองค์ที่จะนำเราในการรับใช้

นับว่าเป็นเรื่องที่แปลกมาก ที่พระเจ้าทรงใช้มนุษย์ผู้ต่ำต้อย ให้ทำงานรับใช้พระเจ้า ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ถ้าพระองค์จะทรงใช้ทูตสวรรค์ สิ่งต่าง ๆ ก็คงจะเสร็จได้อย่างง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก แต่เป็นเพราะพระเจ้าทรงไว้ใจพวกเราให้ทำงานของพระองค์ พระองค์จึงทรงเลือกเราให้เป็นผู้รับใช้ ให้ทำราชกิจของพระองค์


"แต่ท่าน ทั้งหลายเป็นชาติที่พระองค์ทรงเลือกไว้แล้ว เป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็นประชาชาติบริสุทธิ์ เป็นชนชาติของพระเจ้าโดยเฉพาะ เพื่อให้ท่านทั้งหลายประกาศพระบารมีของพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกท่านทั้งหลาย ให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์" (1เปโตร 2:9)


เราเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือก เพราะพระเจ้าทรงไว้ใจเรา จึงเลือกเราให้เป็นผู้ทำพระราชกิจของพระองค์ และพระองค์ก็มิได้ปล่อยให้เราทำ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่พระองค์จะทรงร่วมลงทุนลงแรงด้วย

มีผู้ที่เปรียบเทียบถึงการรับใช้พระเจ้าว่า การรับใช้พระเจ้าเป็นเหมือนเป็นการร่วมทุนกับพระเจ้า คนละครึ่ง 50:50 เราลงแรงมากเท่าไร พระเจ้าก็ทรงลงทุนมากเท่านั้นถ้าเราลงทุนน้อย พระเจ้าก็จะทรงร่วมทุนกับเราน้อย แต่หากเราลงทุนมาก พระองค์ก็จะทรงร่วมทุนมากเช่นกัน

แน่นอนว่าการรับใช้ เราจะต้องอธิษฐานก่อน แต่ก็เป็นหน้าที่ของเราที่เราจะต้องเป็นผู้ทำด้วย ถ้าเราขาดพระเจ้า งานก็ไม่เดินและไม่สำเร็จ แต่ถ้าเราไม่ทำ พระเจ้าก็ไม่ทรงทำเช่นกัน

นี่จึงเป็นสิ่งที่เราจะสามารถสังเกตเห็นได้ คริสตจักรไหนที่ร้อนรน พระเจ้าก็ทรงอวยพรได้อย่างมากมาย พระเจ้าทรงเคลื่อนไหวอย่างมากมาย แต่ถ้าคริสตจ้กรเฉื่อยชา พระเจ้าก็จะมิได้ทรงเคลื่อนไหวมาก

ถ้าเราดูแบบอย่างของพระเยซู เราก็จะเห็นว่า พระองค์ได้ทรงสำแดงแบบอย่างในการเป็นผู้รับใช้ที่ดี


พระเยซูคริสต์เป็นผู้ที่ได้รับการทรงเลือกจากพระเจ้า พระเยซูคริสต์ ทรงเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้า ให้เป็นผู้ที่จะกระทำพระราชกิจของพระองค์ เช่นกัน เราที่เป็นผู้รับใช้ เราก็ได้รับการทรงเลือกจากพระเจ้าเช่นกัน


"มีพระสุรเสียงออกมาจากเมฆนั้นว่า "ผู้นี้เป็นบุตรของเรา เป็นผู้ถูกเลือกสรรไว้ จงเชื่อฟังท่านเถิด" (ลูกา 9:35)



"14 เหตุฉะนั้น เมื่อเรามีมหาปุโรหิตผู้เป็นใหญ่ ที่ผ่านฟ้าสวรรค์เข้าไปถึงพระเจ้าแล้ว คือ พระเยซูพระบุตรของพระเจ้า ขอให้เราทั้งหลายมั่นคงในพระศาสนาของเรา
15 เพราะว่า เรามิได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ได้ทรงถูกทดลองใจ เหมือนอย่างเราทุกประการ ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป
16 ฉะนั้น ขอให้เราทั้งหลายจงมีใจกล้าเข้ามาถึงพระที่นั่งแห่งพระคุณ เพื่อเราจะได้รับพระเมตตา และจะได้รับพระคุณที่จะช่วยเราในขณะที่ต้องการ" (ฮีบรู 4:11)


ุ"68 ซีโมนเปโตรทูลตอบพระองค์ว่า "พระองค์เจ้าข้า พวกข้าพระองค์จะจากไปหาผู้ใดเล่า พระองค์มีถ้อยคำซึ่งให้มีชีวิตนิรันดร์
69 และข้าพระองค์ทั้งหลายก็เชื่อ และมาทราบแล้วว่า พระองค์ทรงเป็นองค์บริสุทธิ์ของพระเจ้า" (ยอห์น 6:68-69)


พระเยซูคริสต์เป็นมหาปุโรหิตผู้ยิ่งใหญ่ เช่นกัน พระเจ้าทรงเลือกเราให้เป็นปุโรหิต ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า


"แต่ท่าน ทั้งหลายเป็นชาติที่พระองค์ทรงเลือกไว้แล้ว เป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็นประชาชาติบริสุทธิ์ เป็นชนชาติของพระเจ้าโดยเฉพาะ เพื่อให้ท่านทั้งหลายประกาศพระบารมีของพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกท่านทั้งหลาย ให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์" (1เปโตร 2:9)


"และท่าน ทั้งหลายก็เสมือนศิลาที่มีชีวิต ที่กำลังก่อขึ้นเป็นพระนิเวศฝ่ายพระวิญญาณ เป็นปุโรหิตบริสุทธิ์ เพื่อถวายสักการบูชาฝ่ายวิญญาณ ที่ชอบพระทัยของพระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์" (1เปโตร 2:5)


พระเยซูคริสต์ทรงบริสุทธิ์ พระเจ้าทรงให้เราเป็นชนชาติบริสุทธิ์ ซึ่งคำว่าบริสุทธิ์แปลว่า "แยกออกมา" เป็นการแยกออกมาเพื่อนมัสการพระเจ้า เพื่อพระสิริของพระเจ้า เป็นชนชาติของพระเจ้า เป็นบุตรของพระเจ้า มิใช่เป็นทาส เมื่อก่อนเราเป็นทาสของความบาป เราสามารถที่ย้ายออกจากความบาปมาสู่แผ่นดินของพระเจ้าได้ เพราะเป็นทาสก็มีโอกาสที่จะเปลี่ยนเจ้านายได้ โดยเราสามารถที่จะออกจากการเป็นทาสของบาป และมาเป็นบุตรของพระเจ้าได้ แต่ตรงกันข้าม ถ้าใครเป็นลูกของมาร ก็คงจะไม่สามารถย้ายมาที่แผ่นดินของพระเจ้าได้


" นี่คือพันธสัญญาซึ่งเราจะกระทำกับชนชาติอิสราเอล ภายหลังสมัยนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส เราจะบรรจุพระธรรมของเราไว้ในจิตใจของเขา และเราจะจารึกพระธรรมบัญญัตินั้นไว้ที่ในดวงใจของเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นชนชาติของเรา" (ฮีบรู 8:10)


"แต่พระ คริสต์นั้นทรงซื่อสัตย์ในฐานะพระบุตร ที่ทรงอำนาจเหนือชุมนุมชน อันเป็นครอบครัวของพระเจ้า และเราทั้งหลายเป็นครอบครัวนั้นแหละ หากเราจะยึดความกล้าหาญ และความภูมิใจในความหวังนั้นไว้" (ฮีบรู 3:6)



"34 พระเยซูตรัสตอบเขาทั้งหลายว่า 'เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ทุกคนที่ทำบาป ก็เป็นทาสของบาป 35 ทาสมิได้อยู่ในครัวเรือนตลอดไป บุตรต่างหากอยู่ตลอดไป' " (ยอห์น 8:34-35)


เราเป็นลูกของพระเจ้า เป็นชนชาติที่บริสุทธิ์ของพระเจ้า เพื่อที่เราจะประกาศพระบารมีของพระเจ้า เราไม่สามารถทำพันธกิจของพระเจ้าโดยลำพังได้ พระองค์ไม่ใช้ทูตสวรรค์ในงานที่พระองค์จะทรงใช้มนุษย์ทำ เพราะพระองค์ทรงไว้ใจมนุษย์ แล้วพระองค์จะทรงนำและคอยช่วยเหลือมนุษย์


"แต่ท่าน ทั้งหลายเป็นชาติที่พระองค์ทรงเลือกไว้แล้ว เป็นพวกปุโรหิตหลวง เป็นประชาชาติบริสุทธิ์ เป็นชนชาติของพระเจ้าโดยเฉพาะ เพื่อให้ท่านทั้งหลายประกาศพระบารมีของพระองค์ ผู้ได้ทรงเรียกท่านทั้งหลาย ให้ออกมาจากความมืด เข้าไปสู่ความสว่างอันมหัศจรรย์ของพระองค์" (1เปโตร 2:9)


บางคนอาจจะบอกว่า "ถ้าเราไม่ทำ เดี๋ยวพระเจ้าจะทรงใช้คนอื่นทำ" ซึ่งไม่อยากให้เราคิดอย่างนี้ เพราะถ้าคิดเช่นนี้ เราก็คงจะไม่ทำอะไรสักที เพราะว่าเราก็คงจะคิดว่าเดี๋ยวพระเจ้าจะใช้คนอื่นไปทำแทนเราเอง แต่ให้เราคิดว่า "ถ้าเราไม่ทำ งานของพระเจ้าก็จะยังไม่เสร็จ งานของพระเจ้าก็จะยังไม่เดินหน้า เพราะรอที่เราจะพร้อมที่จะทำ แล้วถ้าเราพร้อมเมื่อไร งานของพระเจ้าก็จะเริ่มเคลื่อน"

พระเจ้าทรงรอมนุษย์มาแล้ว 2000 กว่าปี ตั้งแต่ที่พระเยซูทรงเริ่มพันธกิจของพระองค์มาแล้ว และพระเยซูก็ทรงให้สาวกของพระองค์กระทำพันธกิจต่อ

ก่อนที่พระองค์ฺจะทรงเสด็จขึ้นสวรรค์ พระองค์ทรงสอนเหล่าสาวกถึงแผ่นดินสวรรค์ และยังไม่ทรงให้มนุษย์ทำงาน จนกระทั่งวันเพนเทคศเต พระองค์ทรงเริ่มให้มนุษย์กระทำพันธกิจต่อ เพื่อที่จะประกาศข่าวประเสริฐจนสุดปลายแผ่นดินโลก สานต่องานของพระองค์ในโลกนี้


"3 ครั้นพระองค์ทรงทนทุกข์ทรมานแล้ว ได้ทรงแสดงพระองค์แก่คนพวกนั้น ด้วยหลักฐานหลายอย่าง พิสูจน์ว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ และได้ทรงปรากฏแก่เขาทั้งหลายสี่สิบวัน และได้ทรงสนทนากับเขาถึงเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า
4 เมื่อพระองค์ได้ทรงพำนักอยู่กับอัครทูต จึงกำชับเขามิให้ออกไปจากกรุงเยรูซาเล็ม แต่ให้คอยรับตามพระสัญญาของพระบิดา คือ พระองค์ตรัสว่า "ตามที่ท่านทั้งหลายได้ยินจากเรานั่นแหละ
5 เพราะว่า ยอห์นให้รับบัพติศมาด้วยน้ำ แต่ไม่ช้าไม่นาน ท่านจะรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์" (กิจการ 1:3-5)


พระเจ้าผู้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก และพระเยซูทรงเริ่มพันธกิจ พระองค์ได้ทรงเลือกเราทั้งหลาย ที่จะสานต่องานของพระองค์ เป็นพระคุณอย่างยิ่ง ที่พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ทรงให้เรามีโอกาสที่จะร่วมในพันธกิจของพระองค์

พระองค์ทรงรักษาคนเจ็บป่วย พระองค์ทรงช่วยเหลือคนอ่อนแอ หนุนใจคนท้อถอย ช่วยคนบาป พระองค์มิได้ทรงเพียงแค่อยู่ในวิหาร แต่พระองค์ทรงออกไปและคลุกคลีกับคนบาป เพื่อช่วยเหลือพวกเขา เพื่อสำแดงพระบารมี สง่าราศีของพระเจ้า ดังนั้น งานของพระองค์ ก็คือ ที่เราจะทำพันธกิจดังที่พระเยซูได้ทรงกระทำไว้เป็นแบบอย่างแล้ว พระองค์ทรงใช้เราให้ประกาศอิสราภาพแก่เชลย ปลดปล่อยผู้ถูกบีบบังคับให้อิสระ ประกาศพระบารมีแก่พระเจ้า ช่วยเหลือคน สร้างคน ให้เข้มแข็งในพระเจ้า

สิ่งที่สาวกคงจะรู้สึก ก็คือ แล้วพวกเขาจะทำได้หรือ แต่ พระองค์ทรงให้พระสัญญาแก่เรา ว่าจะทรงอยู่กับเราเสมอไปจนกว่าจะสิ้นยุค ว่าจะทรงประทานพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้แก่เรา แล้วงานที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้เรา จะสามารถดำเนินไปได้อย่างอัศจรรย์

ถ้าเราขาดพระองค์ เราจะทำอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าหากเราพึ่งพาพระองค์ พระองค์จะทรงเสริมกำลังให้แก่เรา



ผป. วิวัฒน์ วุฒิกุลเจริญวงศ์


สรุปคำเทศนาในการนมัสการประชุมกรรมการเพื่อคุณต้นปี

เมื่อวันที่ 20/02/2009

วันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ชีวิตคู่...อยู่กินด้วยความเข้าใจโดย

ชีวิตคู่...อยู่กินด้วยความเข้าใจโดย

อ.ธวัช เย็นใจ

มีเรื่องเล่าว่า ชายคนหนึ่งชอบพกรูปของภรรยาไว้ในกระเป๋าสตางค์ หลายคนเห็นแล้วรู้สึกประทับใจว่า เขาเป็น Family Man และชอบควักเอารูปของเธอขึ้นมาดูบ่อยๆ วันหนึ่งก็มีคนถามว่า “คุณคงเป็นคนรักภรรยามากๆเลยนะ” “เมื่อใดก็ตามที่ผมเจอปัญหาหนัก” เขาตอบ “ผมก็จะเอารูปของภรรยาขึ้นมาดู และบอกกับตัวเองว่า จะมีปัญหาอะไรที่ใหญ่กว่านี้หรือ? ผมยังสามารถอดทนได้ แล้วปัญหาอื่นก็กลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปทันที” “???!!”

พระคัมภีร์สอนสอนว่า “ฝ่ายสามีจงอยู่กินกับภรรยาด้วยความเข้าใจในเธอ จงให้เกียรติแก่ภรรยา เพราะเป็นเพศที่อ่อนแอกว่า และเพราะท่านทั้งสองได้รับชีวิตอันเป็นพระคุณเป็นมรดก เพื่อว่าคำอธิษฐานของท่านจะไม่มีอุปสรรคขัดขวาง” (๑ ปต. ๓.๗)

พระธรรมเอเฟซัสบทที่ ๕ ได้กล่าวว่า “สามีจงรักภรรยาของตนเหมือนพระคริสต์ทรงรักคริสตจักร ภรรยาจะต้องเชื่อฟังสามี เหมือนคริสตจักรเชื่อฟังพระคริสต์ และทั้งสามีกับภรรยาจะต้องยอมฟังซึ่งกันและกันด้วยความเคารพในพระคริสต์”

มีเคล็ดลับเล็กน้อยๆที่ช่วยทำให้ชีวิตคู่มีความสุข

หนึ่ง แตะเนื้อต้องตัว เป็นการแสดงความเอื้ออาทรต่อกัน การสัมผัส แตะต้องและกอดมีผลดีมากมาย ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า “เวลาที่คนเราสัมผัสกัน ร่างกายจะหลั่งสารออกซิโทซิน ซึ่งทำให้รู้สึกสงบนิ่ง การสัมผัสช่วยให้ร่างกายแนบชิดและรู้สึกใกล้ชิดกันจริงๆ”

สอง เอาใจใส่ดูแลกัน สามีภรรยาที่แสดงความเอื้ออาทรจนกลายเป็นนิสัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะในงานบ้าน ทำอาหาร งานสวน งานสำนักงาน โดยเฉพาะในเรื่องบนเตียงนอน เพศสัมพันธ์ควรจะมีการทะนุถนอม อดทน และสลับบทบาทกันบ้างจะช่วยให้มีชีวิตชีวา

สาม จงเป็นเหมือนเด็ก พระคัมภีร์ว่าหากใครอยากจะเข้าในสวรรค์ จะต้องถ่อมใจลงเหมือนเด็กๆ คือ ตั้งใจฟัง ไม่พูดแทรกอีกฝ่ายหนึ่ง ขอความช่วยเหลือ (ไหว้วาน) รู้จักกล่าวคำขอบคุณและขอโทษเมื่อทำผิดพลาดไป การถลึงตาใส่กันเมื่อไม่พอใจ หรือการเหยียบเท้าใต้โต๊ะ หรือการแอบหยิกเป็นสิ่งที่สามีภรรยาคริสเตียนไม่ควรทำอย่างยิ่ง

สี่ คำชมเชย จริงอยู่คำชมเชยเป็นเหมือนน้ำหอม สำหรับพรมนิดๆหน่อยๆเท่านั้น ถ้ากินเข้าไปก็จะตายแต่ก็มีความจำเป็นสำหรับชีวิตคู่ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจ เช่นพูดว่า “เสื้อตัวนี้สวยดีนะ” แค่นี้ภรรยาจะยิ้มย่องผ่องใสไปทั้งวัน หรือชมว่า “วันนี้แต่งตัวหล่อ” สามีก็จะมีความสุขไปตลอดวัน ขอให้ตะหนักว่า เสียงชมเชยจากชาวบ้านไม่มีน้ำหนักเท่ากับเสียงชมของคนภายในบ้าน

ห้า เซอร์ไพรส สามีสามารถสร้างความประหลาดใจด้วยการชวนภรรยาไปกินข้าวที่ภัตตาคารหรูในมื้อเที่ยง หรือส่งอีเมลถึงด้วยถ้อยคำหวานๆและหนุนใจ ส่วนภรรยาก็จะสร้างความประหลาดใจให้แก่สามีได้ โดยพาไปซื้อเสื้อตัวที่เธอเคยหมายตาไว้

ขอบคุณพระเจ้า

หวังใจว่าคงจะได้รับพระพร
ทีมงานไทยเซอร์มอน

สาวก

สาวก

ข้าแต่พระองค์เจ้า ลักษณะเฉพาะของ "คนที่ดีพร้อม" คือ เขาจะไม่ยอมปล่อยให้ความคิดของเขาหย่อนการเอาใจใส่ในเรื่องเกี่ยวกับสวรรค์ และที่เขาก้าวผ่านปัญหามากมายได้เหมือนไม่มีอะไรกวนใจเขาเลย ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะเขาเป็นคนเกียจคร้านที่ขาดความรู้สึก แต่เป็นเพราะ เขามีจิตใจอันอิสระจึงสามารถที่จะไม่รักสิ่งทรงสร้างใด ๆ ในแบบที่ตัวเองควบคุมไม่ได้

ข้าแต่พระเจ้าผู้ทรงเมตตากรุณาอย่างยิ่ง ขอพระองค์ทรงปกป้องข้าพระองค์ให้พ้นจากความกระวนกระวายเรื่องสิ่งสารพัดใน โลกนี้ เพื่อไม่ให้ข้าพระองค์หมกมุ่นอยู่กับสิ่งเหล่านี้มากเกินไป ขอป้องกันไม่ให้ข้าพระองค์ขาดปัจจัยสำคัญฝ่ายร่างกายหลายอย่าง เพื่อข้าพระองค์จะไม่ติดกับของความสนุกสนาน ขอพระองค์ทรงปกป้องข้าพระองค์ให้พ้นจากจิตใจมืดมน เพื่อไม่ให้ความยากลำบากทำลายและชนะข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องขอให้หลุดพ้นจากสิ่งซึ่งความหยิ่งยโสของโลกปรารถนา อย่างเร่าร้อน แต่ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยากต่าง ๆ ซึ่งจากคำแช่งสาปของมนุษย์ทั่ว ๆ ไปกดดันจิตวิญญาณของผู้รับใช้ของพระองค์ดังโทษทัณฑ์ และทำให้เขาไม่สามารถเข้าสู่เสรีภาพฝ่ายวิญญาณบ่อยเท่าที่่เขาต้องการ

ข้าแต่พระเจ้าข้า ผู้ที่หวานชื่นเกินกว่าที่จะบรรยายได้ ขอทรงกระทำให้ความสบายด้านเนื้อหนังที่จูงใจข้าพระองค์จากความรักต่อสิ่ง นิรันดร์ และยั่วยวนข้าพระองค์ให้ติดตามความชั่วของมันเองโดยให้มองเห็นสิ่งที่ดีและ น่าสุขใจในโลกปัจจุบัน ขอทรงกระทำให้กลายเป็นสิ่งขมขื่น พระเจ้าของข้าพระองค์ ขออย่าให้มันชนะข้าพระองค์และอย่าให้ข้าพระองค์แพ้ต่อโลหิตและเนื้อ ขออย่าให้โลกและเกียรติชั่วคราวของมันหลอกลวงข้าพระองค์ หรือมารทำให้ข้าพระองค์สะดุดล้มลงด้านกลอุบายของมัน ขอพระองค์ทรงประทานความกล้าหาญเพื่อจะต่อต้านได้ ความเพียรเพื่อจะอดทนได้ และความเสมอต้นเสมอปลายเพื่อจะบากบั่นต่อไป ขอทรงประทานความสงบใจโดยการเจิมด้วยพระวิญญาณของพระองค์แทนสิ่งปลอบโยนของโลก และแทนความรักด้านเนื้อหนัง ขอพระองค์ทรงเทความรักต่อพระนามของพระองค์ลงมาในใจข้าพระองค์

ดูเถิด การกิน การดื่ม เครื่องนุ่งห่ม และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งช่วยเลี้ยงร่างกายเป็นภาระหนักแก่จิตใจที่ร้อนรน ขอ พระองค์ทรงประทานพระคุณเพื่อข้าพระองค์ได้ใช้สิ่งเหล่านี้ที่อำนวยความสะดวก สบายอย่างรู้จักประมาณตน และโดยไม่หลงไปกระหายสิ่งเหล่านั้นมากเกินไป จริงอยู่ การละทิ้งสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดก็ไม่ถูกต้อง เพราะเราจำต้องบำรุงกายธรรมชาติของเราอยู่ แต่กฎศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ห้ามไม่ให้เราเรียกร้องสิ่งที่เกินความจำเป็น และสิ่งที่ใช้เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น มิฉะนั้น เนื้อหนังจะกบฎต่อจิตวิญญาณ ในเรื่องเหล่านี้ ขอให้พระหัตถ์ของพระองค์ทรงนำและชี้แนะข้าพระองค์ เพื่อจะไม่ละเมิดบทบัญญัติของพระองค์แต่อย่างใด




เขียนโดย โธมัส อาเคมพิส


แปลโดย พญ. เออร์ซูลา โลเวนธอล


เรียบเรียงโดย กนกบรรณสาร

รักไม่มีเงื่อนไข‏

<พระธรรมประจำวัน> รักไม่มีเงื่อนไข‏


ปัจจุบัน คนสับสนกันมาก ระหว่างคำว่า ความรัก และ ความใคร่

"ความรักแท้" ย่อมไม่มีเงื่อนไข สามารถแสดงได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ "ความใคร่" ย่อมมีเงื่อนไข มีกรอบเวลา มีสถานที่

ถ้าความรักมีเงื่อนไข ก็จะต้องมีเหตุผล อย่างเช่น รัก เพราะว่า เธอหล่อ เธอสวย เป็นพวกเดียวกัน ฯลฯ

พี่น้องครับ เรารัก เพราะว่าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเปล่า ถ้าเรารักพระเจ้าเพราะ ... ความรักของเราก็จะไม่มั่นคง เพราะว่าเราก็จะเลิกรักพระเจ้า ถ้าหากว่าเราไม่ได้ในสิ่งที่เคยได้ หรือไม่ได้ในสิ่งที่เราต้องการ

ถ้าเราเชื่อในความรักที่ไม่มีเงื่อนไขของพระเจ้า พระเจ้าจะทรงอวยพรเรา ยกชูเราขึ้นได้อย่างที่เราคาดไม่ถึง

เช่นเดียวกับชีวิตของโยเซฟ ที่ถูกขายเป็นทาส ติดคุก ต้องทุกข์ยากลำบากรวมเป็นเวลาประมาณ 13 ปี แม้จะยากลำบาก แต่เขาเชื่อมั่นในความรักของพระเจ้า ในที่สุด พระเจ้าก็ทรงยกชูเขาขึ้นอย่างสูง

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ดาวิด ดาวิดรักซาอูลอย่างไม่มีเงื่อนไข ดังนั้นเขาจึงจงรักภักดีต่อซาอูลเสมอ แม้ว่าซาอูลจะคิดร้ายต่อเขา ซึ่งตรงกันข้ามกับซาอูลที่รักอย่างมีเงื่อนไข ก็คือ ซาอูลรักดาวิดในตอนแรก เพราะว่าดาวิดรับใช้ซาอูล คอยเล่นดนตรีเพื่อให้ซาอูลผ่อนคลาย แต่ภายหลังประชาชนกลับนิยมชมชอบดาวิดมากกว่า ซาอูลจึงเลิกที่จะรักดาวิด แต่กลายเป็นการคิดร้ายในที่สุด

รักที่มีเงื่อนไข มักจะจบลงที่การแยกจากกัน มักจะประสบกับความผิดหวัง เพราะไม่ได้ดังที่หวังไว้

เราควรจะรักทุกคน แม้ว่าเราจะไม่ได้ชอบทุกคน คนที่เรารักอาจจะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่ชอบ แต่เราก็ยังควรที่รักเขา

เหมือนแบบอย่างของพระเจ้า พระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างไม่เงื่อนไข พระเจ้าทรงรักมนุษย์ทุกคน พระเจ้ารักคนบาป แม้ว่าพระเจ้าจะไม่ชอบในสิ่งที่คนบาปกระทำ เช่นเดียวกัน เราก็ควรที่จะรักเพื่อนบ้านอย่างไม่มีเงื่อนไขด้วยเช่นเดียวกัน แล้วเพื่อนบ้านของเราก็จะสัมผัสถึงความรักของพระเจ้าผ่านทางความรักที่เรามี ให้แก่เขาได้ ซึ่งเราไม่สามารถที่รักได้เอง แต่เราต้องอาศัยความรักของพระเจ้าเป็นกำลังให้แก่เรา

ถ้าเราจะรักใคร เพราะ ... ขอที่เราจะเปลี่ยนท่าที่ โดยเปลี่ยนเป็น "เรารักเขา ถึงแม้ว่า ..."


อ. ธงชัย ประดับชนานุรัตน์


คำแบ่งปันคณะเพื่อคุณ คริสตจักรสะพานเหลือง
เมื่อวันที่ 15/02/2009

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สะสมพระวจนะ

หีบสมบัติของพระเจ้า
วัน จันทร์ 17 มี.ค. 08@ 15:10:44 ICT
หัวข้อ: บทความหนุนใจเพื่อการเสริมสร้าง


สวัสดีครับพี่น้องในองค์พระเยซูคริสตืเจ้าทุกคน

คุณเคยอยากเป็นนักล่าสมบัติหรือเปล่า

คุณเคยดูสารคดีเรืองการหาสมบัติจากใต้ท้องทะเลหรือเปล่า
และหากคุณค้นพบหีบสมบัติลำค่าใบหนึ่ง แต่ไม่สามารถเปิดหีบสมบัติได้คุณจะรู้สึกอย่าไร

เมื่อก่อนนี้ตอนที่ผมเพิ่งรับเชื่อในองค์พระเยซูคริสต์ใหม่ๆ ผมก็เป็นเหมือนนักล่าสมบัติที่แสวงหาพระเจ้าเหมือนกับแสวงหาหีบสมบัตินั้นเอง คืออยากจะได้รู้จักพระเจ้า ซึ่งในตอนแรกก็มีความกระตือรือร้นฝ่ายวิญญาณดีอยู่ คือไปโบสถ์ทุกอาทิตย์ ไม่เคยขาด และรู้สึกดีที่มีคนอื่นเรียกเราว่าเป้นคริสเตียน แต่เมื่อผมได้ค้นพบพระเยซูคริสต์ในชีวิตแล้ว ผมก็มีชีวิตฝ่ายวิญญาณที่ไม่เติบโตในพระเยซูคริสต์เลย คือเป็นคริสเตียนแต่โดยนาม ( ขึ้นชื่อแต่ว่าเป้นคริสเตียนเท่านั้น ) และทั้งๆที่มีหีบสมบัติลำค่าคือพระภีร์อยู่ในมือ ผมก็ไม่เคยที่อ่านหรือศึกษาพระวจนะของพระเจ้าเลย เปรียบเหมือนผมมีหีบสมบัตลำค่าแต่ไม่สามารถเปิดมันได้ ดังนั้นจึงเหมือนมีหีบหีบสมบัติลำค่าที่ไม่มีประโยขน์อะไรเลย

พี่น้องคริสเตียนส่วนใหญ่นั้น มีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านพระคัมภีร์อย่างมาก ด้วยเพราะมักละเลยไม่อ่านพระคัมภีร์ ซึ้งเป็นเหตุให้มีชีวิตที่ขาดการสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับพระเจ้าไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยเพราะเขาปิดกั้นตัวเองจากการเรียนรู้นำพระทัยของพระเจ้า ผ่านทางพระคัมภีร์ ชีวิตคริสเตียนของพวกเขาจึงไม่เติบโต เพราะจิตวิญญาณอ่อนแอขาดการบำรุงเลี้ยงจากพระคำของพระเจ้า ชีวิตในการติดตามองค์พระเยซูคริสต์ในมรรคาของพระองค์ จึงไม่มั่นคงและเข้มแข็ง และยามใด เมื่อถูกมรสุมแห่งปัญหาชีวิตรุมเร้าขึ้น หลายคนจึงต้องล้มลงอย่างท้อแท้ สิ้นหวัง และไร้เรียวแรงลุกขึ้นมาใหม่ และยอมพ่ายแพ้ให้กับอุปสรรค์แห่งโลกไปอย่างขมขืน ชีวิตจึงเหมือนตกอยู่ในความมืดมิดอีกครั้ง แต่กษัตริย์ดาวิดเป้นตัวอย่างที่ดี ในการแสวงหาพระวจนะของพระเจ้า เพื่อเป้นแสงส่ว่างในการชี้นำชีวิต ด้วยเขียนไว้ในพระธรรมสดุดีว่า : พระวจนะของพระองค์เป็นโคมสำหรับเท้าของข้าพระองค์ และเป้นความสว่างของมรรคาของข้าพระองค์ : ( สด.199:105 ) เพราะกษัตริย์ดาวิดใคร่ครวญในพระคำของพระเจ้าเสมอ ท่านจึงย่างเท้าอย่างมั่นคงอยู่ในพระดำรัสของพระเจ้าและมรรคาของพระเจ้าได้อย่าถูกต้องและมั่นใจ และมีความสว่างในหนทางของชีวิต

พี่น้องครับ คุณเป็นคนหนึ่งที่อ่านพระคัมภีร์อย่างสมำเสมอหรือเปล่า เพราะพระคัมภีร์เป้นอีกหนทางหนึ่งที่พระเจ้าจะทรงตรัสกับคุณผ่านทางพระคำแห่งชีวิต กฏเกณฑ์แห่งพระบัญญัติที่พระองค์ทรงดำริไว้ในพระคำภีร์ เป็นวีถีแห่งชีวิตนิรันดร์ที่ชอบธรรมและดีงามอย่างยิ่ง ซึ่งคุณทุกคนควรเรียนรู้ด้วยใคร่ครวญในยึดมั่นไว้ในใจ เพราะพระวจนะของพระเจ้าเป็นอาวุธอันแข็งแกร่งที่เราจะใช้ในการต่อสู้กับกความผิดบาปและมารซาตาน เพราะถ้าหากคุณอ่านพระวจนะของพระเจ้าอย่างสมำเสมอ คุณก็จะรู้เท่าทันเลห์กลของบาป ไม่ถูกบาปล่อลวงได้ง่ายๆ กษัตริย์ดาวิด คือข้อพิสูจน์ที่ดีต่อความจริงในเรื่องนี้ ด้วยกล่าวไว่ในพระธรรมสดุดีว่า : ข้าพระองค์สะสมพระดำรัสของพระองค์ไว้ในใจของข้าพระองค์ เพื่อข้าพระองค์จะไม่ทำบาปต่อพระองค์ : ( สด. 199:11 ) เพราะกษัตริย์ดาวิดสะสมพระวจนะของพระเจ้าไว้ในใจอยู่เสมอ ท่านจึงมีความรู้อย่างครบทวน และ รอบครอบ ในการที่จะกระทำตามนำพระทัยของพระเจ้าได้โดยไม่กระทำความผิดบาป

วันนี้คุณอ่านพระคัมภีร์แล้วหรือยัง เพราะพระคัมภีร์คือหีบสมบัติที่พระเจ้าได้ทรงประทานไว้ให้กับคุณทุกคน ขุมทรัพย์แห่งพระคำอันลำค่าในพระคัมภีร์ จะช่วยเติมเต็มชีวิตของคุณให้บริบูรณ์ด้วยพระพรของพระเจ้า คุณจะไม่มีวันอับจนเลย เมื่อมีพระวจนะของพระเจ้าสะสมไว้ในหัวใจ เพราะพระวจนะของพระเจ้าเป็นสมบัติลำค่าที่สุดเท่าที่โลกมี ดังที่กษัตริย์ดาวิดกล่าวไว้ว่า : สำหรับข้าพระองค์ พระธรรมแห่งพระโอษฐ์ของพระองค์ ก็ดีกว่าทองคำและเงินพันๆแท่ง : ( สด. 119:72 )
วันนี้คุณอย่าปล่อยพระคัมภีร์ทิ้งไว้ให้ฝุ่นจับเสียเปล่า จงแบ่งเวลาในแต่ละวันให้กับการอ่านพระคัมภีร์อย่างสมำเสมอ และจงใครครวญพระคำของพระเจ้าอย่างจริงจัง และนำเอามาปฏิบัติให้เกิดผลในชีวิตฝ่ายวิญญาณ อย่าให้พระคัมภีร์เป้นเพียงหีบสมบัติไร้ค่าที่คุณไม่เคยเปิดออกดูเลย
และสำรหรับผมแล้ว ผมยังคงเปิดๆปิดๆหีบสมบัติลำค่านี้อยู่เสมอ

ขอให้ฤทธิ์เดชแห่งพระคำของพระเจ้าสำแดงผลในชีวิตของคุณทุกคน
ปิยะฤทธิ์ พลายมณี

My Blog

  • วินัยของน้องหมา (ข้างถนน) - วันที่ 18/8/2011 เช้านี้ขณะที่รถติดไฟแดงอยู่บริเวณสี่แยกสามย่าน ซึ่งเบื้องหน้าเป็นจามจุรีสแควร์นั้น พลันก็เหลือบเห็นน้องหมาตัวหนึ่งเดินข้ามทางม้าลายด้วยอ...
    12 ปีที่ผ่านมา
  • บทความคริสเตียน - บทความคริสเตียน http://www.gracezone.org/index.php/christian-articles บทความทางด้านจิตวิญญาณ หลักข้อเชื่อ พระเจ้า พระคัมภีร์ พระเจ้า พระคัมภีร์ แนวทางในการ...
    14 ปีที่ผ่านมา
  • คริสเตียนกับการรับใช้พระเยซู - คริสเตียนกับการรับใช้พระเยซู วัน พุธ 08 ต.ค. 08@ 17:47:37 ICT หัวข้อ: สรุปคำเทศนาประจำอาทิตย์ ดร.ทะนุ วงค์ธนานุกุล วัน อาทิตย์ ที่ 21 กันยายน 2008 พระธร...
    15 ปีที่ผ่านมา
  • - แต่วาระนั้นใกล้เข้ามาแล้ว และบัดนี้ก็ถึงแล้ว คือเมื่อผู้ที่นมัสการอย่างถูกต้องจะนมัสการพระบิดา ด้วยจิตวิญญาณและความจริง เพราะว่าพระบิดาทรงแสวงหาคนเช่นนั้...
    15 ปีที่ผ่านมา

Christian Blog

บล็อกวาไรตี้

เทคโนโลยี

ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใหม่ล่าสุด |

วาไรตี้

ข่าวประจำวัน

สารบัญเว็บไทย

กินลม ชมทะเล ที่มาร์คเฮ้าส์บังกะโล เกาะกูด จ.ตราด

Thailand Map