ผู้เลี้ยงที่ดี
ข้อพระคัมภีร์ - ยอห์น 10:11 -14
“ เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ…. เรารู้จักแกะของเรา และแกะของเราก็รู้จักเรา”
นำเข้าสู่เนื้อหา
คำว่า “ เลี้ยง” หรือ “ เลี้ยงดู” เป็นคำที่เราพบกันทั่ว ๆ ไป เช่น พ่อแม่เลี้ยงลูก เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ คนเลี้ยงแกะเลี้ยงดูฝูงแกะ เจ้าพ่อเลี้ยงสมุนบริวาร การฉลองเนื่องในโอกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ก็มักจัดงานเลี้ยง เช่น เลี้ยงฉลองแต่งงาน เลี้ยงฉลองขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงฉลองวันคล้ายวันเกิด ตลอดจนการเลี้ยงฉลองเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ บางทีการเลี้ยงมีเหตุผลอยู่เบื้องหลัง เช่น การจัดเลี้ยงอาหารเพื่อหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจ การตกลงทางธุรกิจการค้ามักจะจบลงที่โต๊ะอาหาร ผู้ที่เป็นฝ่ายเลี้ยงย่อมมีความยิ่งใหญ่และมีเกียรติกว่าผู้ที่เป็นฝ่ายรับเลี้ยง เช่น บุคคลสำคัญ ๆ มีชื่อเสียงของภาคเหนือ เรามักให้เกียรติเรียกว่า “ พ่อเลี้ยง” เพราะเขาเลี้ยงดูลูกน้อง แต่คำว่า “ เลี้ยงดู” ในพระคัมภีร์นั้นมีความหมายแตกต่างกันออกไป
ความคิดหลักที่ 1 พระเจ้าทรงเป็นผู้เลี้ยงที่ดี
จากสดุดี 23:1-3 กล่าวว่า “ พระเจ้าทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสน พระองค์ทรงกระทำให้ข้าพเจ้านอนลงที่ทุ่งหญ้าเขียวสด พระองค์ทรงกระทำให้ข้าพเจ้านอนลงที่ทุ่งหญ้าเขียวสด พระองค์ทรงนำข้าพเจ้าไปริมน้ำแดนสงบ… ทรงฟื้นจิตวิญญาณของข้าพระองค์ ทรงนำข้าพเจ้าไปในทางชอบธรรม…” พระเจ้าทรงเลี้ยงดูเราทั้งหลายมิได้หวังผลประโยชน์ใด ๆ และไม่หวังในอำนาจเกียรติยศ แต่พระองค์ทรงเลี้ยงดูเราด้วยความรักที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยความรัก ไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ
ความคิดหลักที่ 2 พระเยซูเน้นความสำคัญของการเป็นผู้เลี้ยง
พระเยซูคริสต์ตรัสกับซีโมน เปโตรถึง 3 ครั้ง “ จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด” ( ยอห์น 21:15-17) ลูกแกะหมายถึงพี่น้องในพระคริสต์ หน้าที่ของผู้รับใช้พระเจ้าคือการเลี้ยงดูฝูงแกะ มิใช่ทำลายฝูงแกะ หรือทำให้ฝูงแกะกระจัดกระจาย ผู้รับใช้พระเจ้าทุกคนไม่ว่าจะเป็นศิษยาภิบาลในคริสตจักร อนุศาสก ครู อาจารย์ ผู้บริหารในสถานศึกษา เราคือเป็นผู้เลี้ยงดูฝูงแกะ ในคริสตจักรฝูงแกะย่อมหมายถึงสมาชิกคริสตจักรทุกคน ทุกเพศทุกวัย ถ้าหากเป็นสถาบันการศึกษา ลูกแกะคือนักเรียน ครู และบุคลากรทุกคน ถ้าหากเป็นครอบครัว ลูกแกะหมายถึงสมาชิกในครอบครัว บุตรหลาน การเลี้ยงดูฝูงแกะจำเป็นต้องคำนึงถึงชนิดของอาหารที่เหมาะสมกับวัยของแกะ หากเป็นแกะที่โตเต็มที่ เราให้อาหารที่เป็นหญ้าแก่หยาบแข็งได้ แต่ถ้าเป็นลูกแกะก็จำเป็นต้องให้ต้นหญ้าอ่อน เป็นต้น ดังนั้นหน้าที่ของ “ ผู้รับใช้พระเจ้า” ก็คือหน้าที่ “ ผู้เลี้ยง” นั่นเอง
ความคิดหลักที่ 3 เราทุกคนมีภาระในการเลี้ยงดูลูกแกะ
การเลี้ยงดูนั้นหมายถึง การดูแลเอาใจใส่ ให้อาหาร ทั้งอาหารฝ่ายกายและอาหารฝ่ายวิญญาณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งร่างกายและจิตใจ ปกป้องอันตราย ยอมสละเพื่อฝูงแกะ และสร้างสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด รู้จักลูกแกะเป็นรายตัว “ เรารู้จักแกะของเรา และแกะของเราก็รู้จักเรา” ( ยอห์น 10:14 ) ผู้เลี้ยงแกะรู้จักแกะของเขาทุกตัว และแกะก็จำเสียงของเขา และติดตามแกะที่หลงหายกลับคืน
ด้วยเหตุนี้ การเลี้ยงดูฝูงแกะจึงเป็นภาระงานที่สำคัญ เมื่อฝูงแกะได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ดี พระเจ้าจะทรงพอพระทัย และเป็นการปฏิบัติตามพระดำรัสั่งของพระเยซูคริสต์ที่ตรัสย้ำกับซีโมน เปตรถึง 3 ครั้ง ว่า “ จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด” ( ยอห์น 21:15 -17)
“ พระเจ้าทรงเลี้ยงดูข้าพเจ้าดุจเลี้ยงแกะ ข้าพเจ้าจะไม่ขัดสน” ( สดุดี 23:1)
วินัยของน้องหมา (ข้างถนน)
-
วันที่ 18/8/2011
เช้านี้ขณะที่รถติดไฟแดงอยู่บริเวณสี่แยกสามย่าน
ซึ่งเบื้องหน้าเป็นจามจุรีสแควร์นั้น
พลันก็เหลือบเห็นน้องหมาตัวหนึ่งเดินข้ามทางม้าลายด้วยอ...
13 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น