Custom Search By Google

Custom Search

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ของประทานฝ่ายพระวิญญาณ

ในพระธรรม 1คร.12:1 (ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านเข้าใจเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณนั้น) เน้นให้เราเห็นว่า บรรดาผู้ที่เป็นคริสเตียนทั้งหลาย (ผู้อยู่ในพระวิญญาณ) จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณ “ดูก่อนท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านเข้าใจเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณนั้น เพราะของประทานฝ่ายพระวิญญาณ มีความสำคัญมากต่อพระกายของพระเยซูคริสต์ เป็นเรื่องน่าสนใจที่ควรมีโอกาสศึกษาของประทานต่างๆ ที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้บุตรของพระองค์ทุกคน ถ้าพระเจ้ามิได้ประทานของประทานต่างๆ ให้แก่บุตรของพระองค์แล้ว คริสตจักรของพระองค์ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ หรือไม่ก้าวหน้าและโดยฐานะที่เราเป็นคริสเตียน เราต้องเรียนที่จะรู้จักของประทานทุกชนิด เมื่อเรามีความรู้มากขึ้น เราก็จะมีโอกาสใช้ของประทานในชีวิตและการรับใช้พระเจ้ามากขึ้น ชีวิตของเราจะเป็นพระพรยิ่งขึ้นต่อพี่น้องคริสเตียนและทำงานเกิดผลมากขึ้นในการประกาศข่าวประเสริฐ ในการค้นคว้าและแสวงหา เราจะพบว่าพระคัมภีร์เน้นให้เราแลเห็นของประทานฝ่ายพระวิญญาณแบ่งเป็น

ของประทานในการรับใช้
ของประทานในการรับใช้อื่นๆ
ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์


กลุ่มแรก

ของประทานในการรับใช้คือ ของประทานต่างๆที่พระเจ้าประทานให้แก่บางคน เพื่อทำหน้าที่ในการนำคริสตจักร

กลุ่มสอง

ของประทานในการรับใช้อื่นๆ เราจะศึกษาของประทานต่างๆ ที่พระเจ้าทรงเตรียมไว้สำหรับคริสเตียนทุกคน

กลุ่มสาม

ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์มี 9 อย่าง พระวิญญาณฯ ประทานให้ผู้เชื่อตามพระประสงค์ของพระองค์


พระเจ้าทรงประทานของประทานฝ่ายพระวิญญาณให้เฉพาะสมาชิกในพระกายของพระองค์เท่านั้น

เพราะฉะนั้นเราต้องศึกษาให้ดีถึงพระกายของพระองค์และศึกษาอวยวะต่างๆทำงานอย่างไร เมื่อใครก็ตามได้ต้อนรับเอาพระเยซูคริสต์เข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเขา เขาก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของพระกายของพระองค์ ในพระกายนี้ ผู้เชื่อทุกคนเป็นสมาชิกที่สำคัญมากและพระเจ้าทรงประทานของประทานแก่เขาทุกคน และแต่ละคนจะได้รับไม่เหมือนกัน เมื่อตัวเราแต่ละคนคลอดออกจากครรภ์ของมารดาก็ถูกนับว่าเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว หรือของสังคมแล้ว ในทำนองเดียวกัน เมื่อเรารับเชื่อในพระเยซูคริสต์ เราก็ถูกนับเข้าในครอบครัวหรือในสังคมที่มีความสำคัญมากกว่าเดิมอีก นั่นคือ คุณเป็นสมาชิกของพระกายพระคริสต์ ในข้อความต่อไปนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า เรามีค่าเพียงไร สำหรับพระเจ้าและสำหรับพี่น้องในพระกายคนอื่นๆ เราจะพบด้วยว่า พระองค์ทรงมีของประทานพิเศษสำหรับเราและทรงต้องการเรา เราทุกคนคือพระกายของพระคริสต์ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นศรีษะ ผู้เชื่อทุกคนเป็นสมาชิก สมาชิกแต่ละคนมีความสำคัญมาก สมาชิกทุกคนคืออวัยวะต่างๆ ในพระกายนี้ สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เฉพาะของตนเอง เราต้องไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น การเปรียบเทียบทำให้คนอื่นท้อใจ เราต้องซื่อสัตย์ที่จะให้ของประทานที่ได้รับจากพระเจ้า เราต้องรู้จักของประทานต่างๆ ดี เราต้องใช้ของประทานนั้นๆ ที่พระเจ้าประทานให้ เราทุกคนคือพระกายของพระคริสต์ พระกายของพระคริสต์ประกอบด้วย พระเยซูทรงเป็นศรีษะ นี่คือตัวอย่างถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระคริสต์กับผู้เชื่อทุกคน อัครสาวกเปาโลใช้ร่างกายมนุษย์มาเป็นตัวอย่างแสดงความสัมพันธ์นี้ โดยชี้ให้เห็นว่า พระเยซูทรงเป็นศรีษะของร่างกาย เราทุกคนรู้ดีว่า ศรีษะของเราแต่ละคนมีความสำคัญมากเพียงไร ถ้าเราไม่มีศรีษะ เราจะเป็นอย่างไร

ประการแรก เราจะต้องตาย เพราะเราอยู่ไม่ได้โดยไม่มีศรีษะ

ประการที่สอง เราจะเคลื่อนไหวร่างกายส่วนอื่นไม่ได้เลยและร่างกายจะกลายเป็นเหมือนท่อนไม้ที่ไม่มีประโยช์ ศรีษะเปรียบเหมือนกองบัญชาการ สั่งการให้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ ในทำนองเดียวกัน พระคริสต์ซึ่งเป็นศรีษะของพระกายก็ต้องการบัญชาให้พระกายของพระองค์กระทำทุกสิ่งตามพระประสงค์ พระกายนั้นคือ “คริสตจักร”

พระองค์ทรงเป็นพระฉายของพระเจ้า ผู้ซึ่งไม่ประจักษ์แก่ตา ทรงเป็นบุตรหัวปีเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง. เพราะว่าในพระองค์สรรพสิ่งได้ถูกสร้างขึ้น ทั้งในท้องฟ้าและที่แผ่นดินโลก สิ่งซึ่งประจักษ์แก่ตาและซึ่งไม่ประจักษ์แก่ตา ไม่ว่าจะเป็นเทวบัลลังก์ หรือเป็นเทพอาณาจักร หรือเป็นเทพผู้ครองหรือศักดิเทพ สรรพสิ่งทั้งสิ้นถูกสร้างขึ้น โดยพระองค์และเพื่อพระองค์, พระองค์ทรงดำรงอยู่ก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง และสรรพสิ่งทั้งปวงเป็นระเบียบอยู่โดยพระองค์, พระองค์ทรงเป็นศีรษะของกาย คือคริสตจักร พระองค์ทรงเป็นปฐม เป็นผู้แรกที่ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย เพื่อพระองค์จะได้ทรงเป็นเอกในสรรพสิ่งทั้งปวง…., เพราะว่าในพระองค์นั้น สภาพของพระเจ้าดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์…….คส.1:15-18 ; 2:19;

พระเจ้าได้ทรงปราบสิ่งสารพัดลงไว้ใต้พระบาทของพระคริสต์ และได้ทรงตั้งพระองค์ไว้เป็นประมุขเหนือสิ่งสารพัดแห่งคริสตจักร ซึ่งเป็นพระกายของพระองค์ คือซึ่งเต็มบริบูรณ์ด้วยพระองค์ ผู้ทรงอยู่เต็มทุกอย่างทุกแห่งหน….., แต่ให้เรายึดความจริงด้วยใจรัก เพื่อจะจำเริญขึ้นทุกอย่างสู่พระองค์ผู้เป็นศีรษะ คือพระคริสต์, คือเนื่องจากพระองค์นั้น ร่างกายทั้งสิ้นที่ติดต่อสนิทและประสานกันโดยทุกๆข้อต่อที่ทรงประทาน ได้จำเริญเติบโตขึ้นด้วยความรัก เมื่ออวัยวะทุกอย่างทำงานตามความเหมาะสมแล้ว.., เพราะว่าสามีเป็นศีรษะของภรรยา เหมือนพระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของคริสตจักร ซึ่งเป็นพระกายของพระองค์ และพระองค์ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของคริสตจักร……….อฟ.1:22-23; 4:15-16; 5:23

ผู้เชื่อทุกคนคือพระกายของพระองค์ ร่างกายที่ไม่มีศรีษะ ไม่มีประโยชน์ฉันใด ศรีษะที่ไม่มีกายก็ไร้ประโยชน์ฉันนั้น ศรีษะมีความสำคัญพอๆกับร่างกาย, พระกายของพระคริสต์ประกอบขึ้นด้วยผู้เชื่อในนามของพระองค์ทุกคน ในฐานะที่เราแต่ละคนเป็นผู้เชื่อคนหนึ่ง เราแต่ละคนก็เป็นส่วนพระกายของพระองค์ด้วย นี่คือความจริงดังที่อ.เปาโลเขียนใน โรม12:5 ว่า “พวกเราผู้เป็นหลายคนยังเป็นกายอันเดียวในพระคริสต” ถึงกายนั้นเป็นกายเดียว ก็ยังมีอวัยวะหลายส่วน และอวัยวะเหล่านั้นแม้จะมีหลายส่วนก็ยังเป็นกายเดียวกันฉันใด พระคริสต์ก็ทรงเป็นฉันนั้น, เพราะว่าถึงเราจะเป็นพวกยิว หรือพวกกรีก เป็นทาสหรือมิใช่ทาสก็ตาม เราทั้งหลายได้รับบัพติสมาโดยพระวิญญาณองค์เดียวเข้าเป็นกายเดียวกัน และพระวิญญาณองค์เดียวนั้นซาบซ่านอยู่……1คร.12:12-13;

มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนมีความหวังใจอันเดียวที่เนื่องในการที่ทรงเรียกท่าน…, เพราะว่าไม่มีผู้ใดเกลียดชังเนื้อหนังของตนเอง มีแต่เลี้ยงดูและทนุถนอม เหมือนพระคริสต์ทรงกระทำแก่คริสตจักร, เพราะว่าเราเป็นอวัยวะแห่งพระกายของพระองค์……อฟ.4:4, 5:29-30;

บัดนี้ข้าพเจ้าปลื้มปีติในการที่ได้รับความทุกข์ยากเพื่อท่าน ส่วนการทนทุกข์ของพระคริสต์ที่ยังขาดอยู่นั้น ข้าพเจ้าก็รับทนจนสำเร็จในเนื้อหนังของข้าพเจ้า เพราะเห็นแก่พระกายของพระองค์ คือคริสตจักร……. คส.1:24

ผู้เชื่อแต่ละคนเป็นสมาชิก พระกายของพระเยซูคริสต์ประกอบด้วย 2 ส่วน ใหญ่ๆ คือ 1 ศรีษะ 2, สมาชิกทุกคน สังเกตุดูร่างกายของเราเอง จะเห็นว่าประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่าง ไม่ใช่มีเพียงอย่างเดียวและแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน เช่น เรามีแขน, ขา, นิ้ว หัวใจและอื่นๆ พระกายของพระคริสต์ก็มีลักษณะเช่นนี้ด้วย ทุกคนที่มีความเชื่อย่างแท้จริงแล้ว ก็มาเข้าส่วนในพระกายของพระองค์ ไม่ว่าเขาจะเป็นคริสเตียนที่อาศัยอยู่ในมุมใดของโลกก็ตาม

ดังใน 1คร.12:14 กล่าวว่า “เพราะว่าร่างกายไม่ได้ประกอบไปด้วยอวัยวะเดียว แต่ด้วยหลายอวัยวะ”

หมายความว่า พระกายของพระคริสต์ประกอบด้วยคนจากทุกเชื้อชาติทุกเผ่าพันธุ์ทั่วโลกที่มาเชื่อในพระองค์

สมาชิกแต่ละคนมีความสำคัญ สมาชิกทุกคนคืออวัยวะต่างๆ ในพระกายนี้

ลองคิดดูซิว่า ถ้านิ้วหัวแม่เท้าของเราขาดจากเท้าของเรา มันจะเป็นอย่างไร มันจะอยู่ต่อไปไม่ได้ แต่จะเน่าและกลายเป็นดินในที่สุด ร่างกายของเราจำเป็นต้องมีนิ้วหัวแม่เท้าด้วย ถ้าไม่มีถือว่าร่างกายเราไม่สมประกอบครบถ้วน ร่างกายที่มีอวัยวะไม่ครบก็ทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ และถูกจำกัดที่จะทำกิจกรรมบางอย่าง ตัวอย่างเช่น คนที่มีขาเพียงข้างเดียวไม่สามารถเป็นนักวิ่งได้ คนตาบอดก็อ่านบทความนี้ไม่ได้ และคนที่แขนด้วนขึ้นต้นไม้ไม่ได้ สมาชิกทุกคนในพระกายของพระคริสต์มีความสำคัญมากในสายพระเนตรของพระองค์

ใน 1คร. 12:27 กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นกายของพระคริสต์ และต่างก็เป็นอวัยวะของกายนั้น คำว่า “อวัยวะ” ในภาษากรีกมีความหมายว่า “หุ้นหนึ่ง” “ชิ้นหนึ่ง” นั่นคือสมาชิกทุกคนในพระกายของพระคริสต์คือ หุ้นส่วนหรือชิ้นหนึ่งในร่างกายนั้น แต่ละคนคือส่วนประกอบชิ้นต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้น เช่นเดียวกับนิ้วหัวแม่เท้าเป็นหุ้นหรือชิ้น หรือส่วนหนึ่งของร่างกายคุณ ถ้าเท้าจะพูดว่า "เพราะข้าพเจ้ามิได้เป็นมือ ข้าพเจ้าจึงไม่ได้เป็นอวัยวะของร่างกายนั้น" เท้าจะไม่เป็นอวัยวะของร่างกายเพราะเหตุนั้นก็หามิได้, ถ้าหูจะพูดว่า "เพราะข้าพเจ้ามิได้เป็นตา ข้าพเจ้าจึงมิได้เป็นอวัยวะของร่างกายนั้น" การพูดเช่นนั้นจะทำให้หูไม่เป็นอวัยวะของร่างกายก็หามิได้, ถ้าอวัยวะทั้งหมดในร่างกายเป็นตา การได้ยินจะอยู่ที่ไหน ถ้าทั้งร่างกายเป็นหู การดมกลิ่นจะอยู่ที่ไหน, แต่พระเจ้าได้ทรงตั้งอวัยวะไว้ในร่างกายตามชอบพระทัยของพระองค์, ถ้าอวัยวะทั้งหมดเป็นอวัยวะเดียว ร่างกายจะมีที่ไหน, ความจริงมีอวัยวะหลายอย่าง แต่ก็ยังเป็นร่างกายเดียวกัน, และตาจะว่าแก่มือว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้ หรือศีรษะจะว่าแก่เท้าว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้, ที่จริงอวัยวะที่เราเห็นว่าอ่อนแอ เราก็ขาดเสียไม่ได้, และอวัยวะที่เราถือว่ามีเกียรติน้อย เราก็ยังทำให้มีเกียรติยิ่งขึ้นและอวัยวะที่ไม่น่าดูนั้น เราก็ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น, เพราะว่าอวัยวะที่น่าดูแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตกแต่งอีก แต่พระเจ้าได้ทรงให้อวัยวะของร่างกายเสมอภาคกัน ทรงให้อวัยวะที่ต่ำต้อยเป็นที่นับถือมากขึ้น, เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งกันในร่างกาย แต่ให้อวัยวะทุกส่วนพะวงซึ่งกันและกัน, ถ้าอวัยวะอันหนึ่งเจ็บ อวัยวะทั้งหมดก็พลอยเจ็บด้วย ถ้าอวัยวะอันหนึ่งได้รับเกียรติอวัยวะทั้งหมดก็พลอยชื่นชมยินดีด้วย…1คร.12:15-26

สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เฉพาะเป็นของตนเอง ตัวอย่างเช่น นิ้วเท้าไม่ได้ทำหน้าที่ของหู หรือตาไม่ได้ทำหน้าที่ของเท้า เช่นเดียวกันอวัยวะต่างๆ ในพระกายของพระคริสต์ทำหน้าที่แตกต่างกัน คำว่าหน้าที่หมายถึง งานหรือหน้าที่เฉพาะ เช่นหน้าที่ของตาก็คือการมอง ให้ย้อนคิดถึงหัวแม่เท้าของเราอีกครั้ง โดยทั่วๆ ไปแล้วมันจะถูกปกปิดอยู่ภายในรองเท้า เราอาจจะลืมนึกถึงมันไปบ้าง แต่มันก็ยังคงทำหน้าที่เฉพาะของมันอยู่ในเวลานั้น นิ้วหัวแม่เท้ายังเป็นนิ้วที่มีความสำคัญต่อนิ้วเท้า นิ้วอื่นๆ คือทำให้เท้ามีอวัยวะครบถ้วน สามารถรับน้ำหนักของร่างกายอย่างสมดุลย์ ถ้าวันใดคุณต้องสูญเสียมันไป วันนั้นคุณจะเห็นคุณค่าของมันอย่างมหาศาลทีเดียว เพราะมันคอยอำนวยประโยชน์ให้อวัยวะทุกชิ้นในร่างกาย คุณลองคิดดูก็ได้ ถ้านิ้วหัวแม่เท้าไม่มี คุณจะหกล้มได้ง่ายแล้วก็จะวิ่งไม่ถนัด เราอาจได้ชื่อว่าเป็นคนขาพิการไปแล้ว สมาชิกในพระกายของพระคริสต์ มีลักษณะคล้ายอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของคุณเช่นกัน สมาชิกแต่ละคนมีหน้าที่เป็นของตนเองและมีความสำคัญต่อทั้งศรีษะและสมาชิกอื่นๆ ในร่างกายนี้ และเราทุกคนมีของประทานที่ต่างกัน ตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา คือถ้าเป็นการเผยพระวจนะ ก็จงเผยตามกำลังของความเชื่อ, ถ้าเป็นการปรนนิบัติก็จงปรนนิบัติ ถ้าเป็นการสั่งสอนก็จงสั่งสอน, ถ้าเป็นการเตือนสติก็จงเตือนสติ ถ้าเป็นการบริจาค ก็จงให้ด้วยใจกว้างขวาง ผู้ที่ครอบครอง ก็จงครอบครองด้วยเอาใจใส่ ผู้ที่แสดงความเมตตา ก็จงแสดงด้วยใจยินดี…..รม.12:6-8;

แต่พระเจ้าได้ทรงตั้งอวัยวะไว้ในร่างกายตามชอบพระทัยของพระองค์, ถ้าอวัยวะทั้งหมดเป็นอวัยวะเดียว ร่างกายจะมีที่ไหน, ความจริงมีอวัยวะหลายอย่าง แต่ก็ยังเป็นร่างกายเดียวกัน, และตาจะว่าแก่มือว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้ หรือศีรษะจะว่าแก่เท้าว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้, ที่จริงอวัยวะที่เราเห็นว่าอ่อนแอ เราก็ขาดเสียไม่ได้, และอวัยวะที่เราถือว่ามีเกียรติน้อย เราก็ยังทำให้มีเกียรติยิ่งขึ้น และอวัยวะที่ไม่น่าดูนั้น เราก็ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น, เพราะว่าอวัยวะที่น่าดูแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตกแต่งอีก แต่พระเจ้าได้ทรงให้อวัยวะของร่างกายเสมอภาคกัน ทรงให้อวัยวะที่ต่ำต้อยเป็นที่นับถือมากขึ้น, เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งกันในร่างกาย แต่ให้อวัยวะทุกส่วนพะวงซึ่งกันและกัน……1คร.12:18-25

เราต้องไม่นำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

การเปรียบเทียบทำให้พระเจ้าไม่พอพระทัย พระเจ้าทรงสร้างเราแต่ละคนให้มีลักษณะเฉพาะ ที่แตกต่างจากคนอื่น เช่นเดียวกันทรงสร้างให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราแตกต่างกัน ถ้าเราบ่นว่าทำไมนิ้วหัวแม่เท้าไม่ทำหน้าที่ของจมูก เราคิดว่าพระเจ้าพอพระทัยไหม พระองค์ไม่ทรงพอพระทัยแน่ พระเจ้าทรงสร้างอวัยวะแต่ละอย่างของเรา และทรงตั้งไว้อย่างสมควรแล้วในร่างกาย เพื่ออวัยวะแต่ละชิ้นจะทำหน้าที่ของมันตามที่ทรงตั้งพระทัยไว้

เมื่อเรานำตัวเปรียบเทียบกับสมาชิกคนอื่นในพระกายของพระคริสต์และบ่นต่อว่าคนเหล่านั้น เพราะเราไม่ชอบให้เขาเป็นอย่างนั้น เรากำลังทำให้พระเจ้าไม่พอพระทัย เราแต่ละคนต้องเรียนรู้ว่าพระเจ้าทรงสร้างเราอย่างที่เราเป็นอยู่นี้ และทรงวางเราอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว ที่จะทำหน้าที่ให้อวัยวะของพระกายทั้งหมดทำหน้าที่ได้อย่างดี เพื่อพระเจ้าจะได้รับเกียรติสูงสุด

เราแต่ละคนต่างมีของประทานส่วนตัว บางคนมีหนึ่งอย่างและบางคนมีมากกว่านั้น ถ้าเราอิจฉาคนอื่นเพราะเราไม่มีของประทานเหมือนเขา เรากำลังตัดสินพระเจ้าว่า พระองค์เจ้าข้า ทำไมไม่ทรงประทานของประทานอย่างนั้นให้ข้าพระองค์บ้าง?

ถ้าเท้าจะพูดว่า "เพราะข้าพเจ้ามิได้เป็นมือ ข้าพเจ้าจึงไม่ได้เป็นอวัยวะของร่างกายนั้น" เท้าจะไม่เป็นอวัยวะของร่างกายเพราะเหตุนั้นก็หามิได้, ถ้าหูจะพูดว่า "เพราะข้าพเจ้ามิได้เป็นตา ข้าพเจ้าจึงมิได้เป็นอวัยวะของร่างกายนั้น" การพูดเช่นนั้นจะทำให้หูไม่เป็นอวัยวะของร่างกายก็หามิได้, ถ้าอวัยวะทั้งหมดในร่างกายเป็นตา การได้ยินจะอยู่ที่ไหน ถ้าทั้งร่างกายเป็นหู การดมกลิ่นจะอยู่ที่ไหน, แต่พระเจ้าได้ทรงตั้งอวัยวะไว้ในร่างกายตามชอบพระทัยของพระองค์…1คร.12:15-18 พระธรรมตอนนี้สอนเราว่า เราไม่ควรเปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น การเปรียบเทียบทำให้คนอื่นท้อใจ คนบางคนยกตัวเองขึ้นสูง ถือว่าสำคัญกว่าคนอื่น ไม่มีใครกล้าเปรียบเทียบกับเท้าได้ เขาเป็นคนขาดความเข้าใจ เพราะเขาสร้างมาตรฐานของเขาขึ้น เพื่อใช้วัดกันและกัน และตัดสินพวกเขาเองด้วยมาตรฐานอันนั้น

เราไม่ต้องการที่จะเปรียบเทียบตัวเราเองกับคนบางคนที่ยกย่องตัวเอง แต่เมื่อเขาเอาตัวของเขาเป็นเครื่องวัดกันและกัน และเอาตัวเปรียบเทียบกันและกันแล้ว เขาก็เป็นคนขาดความเข้าใจ…. 2คร.10:12

เมื่อเรานำเอาของประทานของเราออกเปรียบเทียบกับคนอื่น จะมีสองสิ่งเกิดขึ้น สิ่งแรกคือ เราอาจรู้สึกท้อถอยเพราะของประทานของเราไม่เหมือนของคนอื่นและอาจคิดว่า ของประทานของเราด้อยความสำคัญกว่า อีกสิ่งหนึ่งเราอาจคิดหยิ่ง (สำคัญตัวผิด) เพราะคิดว่า ของประทานของเราดีกว่าคนอื่น ซึ่งเราอาจทำให้คนอื่นท้อใจ จะเป็นสิ่งดี ถ้าเราเรียนรู้ว่า พระเจ้าทรงประทานของประทานให้เราแต่ละคนเหมาะสมแล้ว ตัวอย่างของรองเท้า เพื่อให้เราเข้าใจมากขึ้นคือ เมื่อเราพยายามใส่รองเท้าของคนอื่น ถ้าขนาดต่างกัน เราจะรู้สึกลำบากมาก ถ้าเท้าของเราใหญ่กว่าของผู้นั้น และคนอื่นนั้นก็ไม่อาจใส่รองเท้าของเราได้เช่นกัน รองเท้าใครก็เหมาะกับคนนั้น เช่นเดียวกันของประทานของพระเจ้าที่ประทานให้เรา ก็ย่อมเหมาะสมกับเราเท่านั้น ส่วนของคนอื่นก็มีเหมาะสมสำหรับเขาด้วย ถ้าเป็นเช่นนั้น เรานำของประทานของเราออกมาเปรียบเทียบกันเพื่ออะไรกัน มีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่เปาโลกล่าวถึงในโรมว่า พวกเราผู้เป็นหลายคนยังเป็นกายอันเดียวในพระคริสต์ และเป็นอวัยวะแก่กันและกันฉันนั้น….. รม.12:5) จึงไม่เป็นการสมควรเลยที่เราจะเปรียบเทียบของประทานของกันและกัน เพราะเราเป็นกายเดียวกัน และแต่ละคนก็ได้รับประโยชน์จากกันและกัน ทำไมเราจึงต้องเอาเท้าของเรามาเปรียบเทียบกับปากล่ะ มันไม่เหมือนกันเลย และมันก็ทำหน้าที่ต่างกันด้วย แต่ทั้งสองก็มีความจำเป็นและทำประโยชน์เพื่อกายเดียวกันนี้ นั่นคือเท้าของเราจะนำเราไปหาอาหาร และปากจะกินอาหารนั้น ผลก็คือร่างกายทั้งหมดได้รับประโยชน์ สมาชิกในพระกายของพระคริสต์ก็เป็นเช่นนี้ด้วย และตาจะว่าแก่มือว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้ หรือศีรษะจะว่าแก่เท้าว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้, ที่จริงอวัยวะที่เราเห็นว่าอ่อนแอ เราก็ขาดเสียไม่ได้, และอวัยวะที่เราถือว่ามีเกียรติน้อย เราก็ยังทำให้มีเกียรติยิ่งขึ้น และอวัยวะที่ไม่น่าดูนั้น เราก็ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น, เพราะว่าอวัยวะที่น่าดูแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตกแต่งอีก แต่พระเจ้าได้ทรงให้อวัยวะของร่างกายเสมอภาคกัน ทรงให้อวัยวะที่ต่ำต้อยเป็นที่นับถือมากขึ้น, เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งกันในร่างกาย แต่ให้อวัยวะทุกส่วนพะวงซึ่งกันและกัน, ถ้าอวัยวะอันหนึ่งเจ็บ อวัยวะทั้งหมดก็พลอยเจ็บด้วย ถ้าอวัยวะอันหนึ่งได้รับเกียรติอวัยวะทั้งหมดก็พลอยชื่นชมยินดีด้วย, ฝ่ายท่านทั้งหลายเป็นกายของพระคริสต์ และต่างก็เป็นอวัยวะของพระกายนั้น….1คร.12:21-27

เราต้องสัตย์ซื่อในการใช้ของประทานที่ได้รับจากพระเจ้า และนั่นคือ เราต้องรู้จักของประทานต่างๆดี เพื่อรู้ที่มาของของประทานฝ่ายวิญญาณและรู้วิธีการใช้ว่า ควรใช้ของประทานของพระเจ้าอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของพระกายของพระคริสต์ คุณได้รับมอบพันธกิจแห่งการรับใช้ให้กระทำ พระเจ้าทรงประทานอุปกรณ์ให้เราในการรับใช้ โดยทรงมอบของประทานให้เรา 1 อย่างหรืออาจมากกว่านั้น สมาชิกทุกคนได้รับอย่างน้อย 1 อย่าง ของประทานต่างๆ ที่คุณอ่านพบในพระคัมภีร์เกือบทั้งหมดนั้น พระเจ้ามีพระประสงค์ที่จะมอบให้สมาชิกทุกคนในพระกายของพระองค์ ของประทานเหล่านี้ พ่อแม่หรือครูบาอาจารย์ให้เราไม่ได้ ไม่มีมนุษย์คนใดมีอำนาจพอที่จะให้กับเราได้ และของประทานก็ไม่ใช่พรสวรรค์ที่เราได้รับมาแต่กำเนิด

พรสวรรค์คือ ความสามารถพิเศษที่ได้รับมาแต่กำเนิด แต่ละคนจะมีความสามารถพิเศษแตกต่างกัน บางคนเรียกพรสวรรค์นี้ว่า เป็นของประทาน นั้นคือความเข้าใจผิด เพราะไม่เหมือนกับของประทานฝ่ายวิญญาณ เราจะเห็นว่าคนไม่เชื่อมากมายก็มีพรสวรรค์เช่น บางคนมีพรสวรรค์ด้านการเล่นดนตรีหรือพูดในที่สาธารณะเก่ง สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ของประทานฝ่ายพระวิญญาณ เพราะว่าของประทานฝ่ายวิญญาณนั้น เราได้รับจากพระเจ้าเท่านั้น

…ของประทานอันดีทุกอย่าง และของประทานอันเลิศทุกอย่างย่อมมาจากเบื้องบน และส่งลงมาจากพระบิดาแห่งบรรดาดวงสว่าง ในพระบิดาไม่มีการแปรปรวน หรือไม่มีเงาอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง…..ยก.1:17

เราต้องใช้ของประทานนั้นๆ วิธีใช้ของประทาน พระคัมภีร์ให้หลักง่ายๆ ในการใช้ของประทานทุกชนิดของพระเจ้า กล่าวไว้ใน

มัทธิว 10:8 ว่า “ท่านทั้งหลายได้รับเปล่าๆ จงให้เปล่าๆ” ข้อความนี้เมื่อนำมาใช้ในเรื่องของของประทานฝ่ายพระวิญญาณ ก็มีความหมายว่า สมาชิกผู้ใดในพระกายได้รับของประทานอันใด เขาต้องใช้ของประทานนั้นตามหลักนี้ ถ้าเมื่อใดคริสเตียนไม่ยอมใช้ของประทานของเขาหรือใช้อย่างเห็นแก่ตัว ขาดความรัก เขาก็ไม่ได้ทำตามจุดมุ่งหมายของพระเจ้าในการใช้ของประทาน ดังนั้นหน้าที่ของคริสเตียนที่ต้องทำก็คือ

ใช้ของประทานตามจุดประสงค์ที่พระเจ้าต้องการ
ใช้ของประทานด้วยความรัก ดังใน 1ปต.4:10 กล่าวว่า “ตามซึ่งทุกคนได้รับของประทานที่ทรงประทานให้แล้ว ก็ให้ใช้ของประทานนั้นเพื่อประโยชน์แก่กันและกัน เป็นผู้รับมอบฉันทะที่ดีที่แจกและสำแดงพระคุณนานาประการของพระเจ้า พระคัมภีร์ใช้คำว่า “ผู้รับมอบฉันทะ” เมื่อกล่าวถึงหน้าที่รับผิดชอบของเรา การรับมอบฉันทะหมายความถึงการดูแลและเอาใจใส่ทรัพย์สิ่งของของคนอื่น ในฐานะที่เราเป็นคริสเตียน เราเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ของประทานฝ่ายพระวิญญาณที่พระเจ้าประทานให้และใช้เพื่อขยายอาณาจักรของพระเจ้าออกไป มีกฎสำหรับผู้รับมอบฉันทะต้องรู้ด้วยใน 1คร.4:2 “ฝ่ายผู้อารักขาเหล่านั้น ต้องเป็นคนที่ไว้วางใจได้ทุกคน ผู้อารักขาที่ ไว้วางใจได้” นี้จะทำให้พระองค์ผู้ประทานของประทานได้รับเกียรติและนำพระพรมากมายมาสู่พระกายนั้น
ความรักเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การใช้ของประทานต่างๆ เกิดผลดี ถ้าไม่มีความรักแล้ว การใช้ของประทานต่างๆ ก็ไม้ได้พาเราเข้าสู่เป้าหมายเลย กะลาเทีย 5:6 กล่าวว่า “ความเชื่อซึ่งเราแสดงออกเป็นกิจที่ทำด้วยความรักนั้นก็สำคัญ พระเจ้าต้องการให้คุณรู้จักของประทานทุกอย่าง จำเป็นที่คริสเตียนทุกคนจะต้องได้เรียนที่จะรู้จักของประทานฝ่ายพระวิญญาณที่พระเจ้าประทานให้แก่เรา และเมื่อเราได้ทราบแล้ว เราก็จะได้เริ่มพัฒนาของประทานนั้นๆ ให้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น

ต้องมีความรู้ก่อน

ความรู้ทำให้เกิดความเชื่อ
ความรู้ทำให้ความเชื่อมั่นคง
ความรู้เป็นเครื่องกำหนดประสบการณ์
กลุ่มของประทาน
ของประทานในการรับใช้ โดยตำแหน่งซึ่งมาจากการทรงเจิมเป็นพิเศษ ให้กับบางคนทำหน้าที่
ของประทานในการรับใช้อื่นๆ
ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์
และโดยจุดประสงค์ทั้งหมดนี้จะบรรลุเป้าหมายนั้นคือ ทำให้เรารู้และเข้าใจถึงความสำคัญของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับของประทานฝ่ายพระวิญญาณ

จัดประเภทของประทานฝ่ายพระวิญญาณได้
ความรู้ทำให้เกิดความเชื่อ
ความเชื่อเป็นแกนหลักสำคัญของของประทานฝ่ายพระวิญญาณทุกอย่าง และในการนำของประทานนั้นมาใช้ เพราะความจริงก็คือว่า ของประทานเหล่านี้เป็นสิ่งจับต้องไม่ได้ เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ จึงจำเป็นต้องมีความเชื่อ เรามาเป็นคริสเตียนได้ด้วยความเชื่อและด้วยความเชื่อที่เราได้รับของประทานต่างๆ ซึ่งทำให้เรากลายเป็นคนที่ใช้การได้





ความรู้ในพระคัมภีร์ ความเชื่อ ของประทานฝ่ายพระวิญญาณบริสุทธิ์


ความเชื่อเกิดได้อย่างไร? ความเชื่อของเราเกิดจากความรู้ในพระคัมภีร์ ฉะนั้นเราจึงต้องมีความรู้ในของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อเราจะใช้ของประทานเหล่านั้นด้วยความเชื่อ เปาโลเขียนชัดเจนถึงเรื่องนี้

ในโรม 10:14 ว่า “แต่ผู้ที่ยังไม่เชื่อในพระองค์จะทูลขอต่อพระองค์ได้อย่างไร?” ความรู้ในข่าวประเสริฐเกิดจากการได้ยินและความรู้นี้ย่อมทำให้คนมีความเชื่อได้

ให้เราคิดถึงสาวกที่เมืองเอเฟซัส เมื่อเปาโลพบพวกเขาครั้งแรกนั้น ท่านถามเขาว่า “เมื่อท่านทั้งหลายเชื่อนั้น ท่านได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือเปล่า กจ.19:2 เขาตอบว่า “เปล่า เรื่องพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้น เรายังไม่เคยได้ยินเลย” เพราะเขาไม่เคยได้ยิน เขาจึงไม่รู้ และเพราะเขาไม่รู้ เขาก็เชื่อไม่ได้ ดังนั้นเปาโลจึงเริ่มสอนพวกเขา การสอนทำให้พวกเขาได้รับความรู้ และความรู้ทำให้ความเชื่อผุดขึ้นในจิตใจของเขา ความรู้ในเรื่องของของประทานฝ่ายพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงเป็นขั้นแรกที่จะทำให้เกิดความเชื่อจนพร้อมที่จะรับและรู้จักของประทานนั้นๆ พร้อมทั้งใช้ของประทานนั้นอย่างเกิดผล เราไม่อาจใช้ของประทานใดได้อย่างเหมาะสม จนกว่าเราจะได้เรียนรู้จักของประทานนั้นๆ ดังที่พระเจ้าต้องการให้เรารู้ …ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านเข้าใจเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณนั้น, พระวจนะของพระเจ้าเกิดมาจากพวกท่านหรือ ได้ประทานมาถึงท่านแต่พวกเดียวหรือ .. 1คร.12:1, 14:36; ขณะที่อปอลโลยังอยู่ในเมืองโครินธ์ เปาโลได้ไปตามที่ดอน แล้วมายังเมืองเอเฟซัส ท่านพบสาวกบางคนที่นั่น, จึงถามเขาว่า "เมื่อท่านทั้งหลายเชื่อนั้น ท่านได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือเปล่า" เขาตอบว่า "เปล่า เรื่องพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้นเราก็ยังไม่เคยได้ยินเลย" เปาโลจึงถามเขาว่า "ถ้าอย่างนั้นท่านได้รับบัพติศมาอันใดเล่า" เขาตอบว่า "บัพติศมาของยอห์น" เปาโลจึงว่า "ยอห์นให้รับบัพติศมาสำแดงถึงการกลับใจใหม่ แล้วบอกคนทั้งปวงให้เชื่อในพระองค์ผู้จะเสด็จมาภายหลังคือพระเยซู" เมื่อเขาได้ยินอย่างนั้น เขาจึงรับบัพติศมาในพระนามของพระเยซูเจ้า, เมื่อเปาโลได้วางมือบนเขาแล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์ก็เสด็จลงมาบนเขา เขาจึงพูดภาษาแปลกๆและได้ทำนายด้วย, คนเหล่านั้นมีประมาณสิบสองคน…กจ.19:1-7; และเราทุกคนมีของประทานที่ต่างกัน ตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา คือถ้าเป็นการเผยพระวจนะ ก็จงเผยตามกำลังของความเชื่อ….รม.12:6

ความรู้ทำให้ความเชื่อมั่นคง
ความรู้ไม่เพียงทำให้เกิดความเชื่อเท่านั้น แต่ยังทำให้ความเชื่อมั่นคง ความเชื่อมั่นคงเพราะมีความรู้เป็นเครื่องกำหนดทิศทางและขอบเขตให้เชื่อ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ความรู้ของเรานั้นจะต้องสมบูรณ์และเป็นความจริง เพราะถ้าความรู้ของเราไม่สมบูรณ์และเป็นเท็จแล้ว ความเชื่อของเราจะวางอยู่บนรากฐานที่ผิดเพี้ยน เรารู้แล้วว่ารากฐานคือส่วนที่ทำให้สิ่งที่วางอยู่บนนั้นตั้งอยู่ได้ ถ้าความเชื่อตั้งอยู่บนรากฐานของความรู้ที่ผิดๆ ก็เหมือนบ้านที่ตั้งอยู่บนรากฐานเพียงครึ่งเดียว ยกตัวอย่างเช่น มีหลายคนได้รับการสอนว่า ของประทานในการพูดภาษาแปลกๆ เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่ต้องมีอีก เมื่อพวกเขาได้รับคำสอนที่ผิดพลาดเช่นนี้ ทำให้เขาขาดความเชื่อในการรับของประทานนี้ คนจะเชื่อได้เฉพาะสิ่งที่เขารู้เท่านั้น แม้ว่าความเชื่อจะไม่ก้าวล้ำเส้นออกไปนอกขอบเขตของความรู้ที่เขารู้ ถ้าคริสเตียนเหล่านี้ไม่มีฐานของความรู้ที่ถูกต้องแล้ว ตลอดชีวิตเขาก็จะเชื่อว่า ของประทานในการพูดภาษาแปลกๆนั้น ไม่ใช่สำหรับยุคของเขา เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ครบถ้วนและเป็นความจริง (เมื่อพระเยซูตรัสดังนี้ ก็มีคนเป็นอันมากวางใจในพระองค์, พระเยซูจึงตรัสกับพวกยิวที่ศรัทธาในพระองค์แล้วว่า "ถ้าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในคำของเรา ท่านก็เป็นสาวกของเราอย่างแท้จริง…ยน. 8:30-31)


ความรู้เป็นเครื่องกำหนดประสบการณ์

เนื่องจากความรู้ทำให้เกิดความเชื่อและทำให้ความเชื่อมั่นคง ความรู้ยังควรจะเป็นสิ่งกำหนดประสบการณ์ของเราด้วย ขั้นตอนก่อนหลังที่เราน่าจะจำได้คือ

ความรู้
ความรู้ในเรื่องของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ต้องมีก่อนที่เราจะมีความเชื่อ
และความเชื่อจะทำให้เรามีประสบการณ์ในการใช้ของประทานนั้นๆ ตามที่พระเจ้าตั้งพระทัยไว้






ความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์


ขอให้เราทบทวนดูประสบการณ์ของเปาโลที่เมืองเอเฟซัส ในกิจการบทที่ 19 เราสังเกตุเห็นว่า ที่ชาวเอเฟซัสไม่มีความเชื่อในพระวิญญาณบริสุทธิ์ ก็เพราะเขาไม่เคยรู้จักพระองค์ เราจึงสรุปได้ว่า เพราะเขาไม่รู้เขาจึงไม่มีความเชื่อ ทำให้ขาดประสบการณ์ตามที่พระเจ้ามีน้ำพระทัยจะประทานให้ เมื่อเห็นว่า คนเหล่านั้นไม่รู้จักพระวิญญาณบริสุทธิ์ เขาจึงตั้งต้นสั่งสอนพวกเขา เปาโลให้ความรู้ใหม่แก่เขา ทำให้เขามีความรู้เพิ่มขึ้นในสิ่งที่เขาไม่เคยเชื่อมาก่อนและเมื่อเขาแสดงความเชื่อออกมาตามความรู้ใหม่ที่ได้รับ เขาก็ก้าวสู่ประสบการณ์ใหม่ ซึ่งประสบการณ์นี้วางอยู่บนรากฐานของความรู้ที่เขาได้รับคำสอนของเปาโล

จากตัวอย่างนี้ทำให้เราเห็นว่า ความรู้ในเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณมีความสำคัญเพียงไรและประสบการณ์ของเรายังมีจำกัด ถ้าขาดความรู้ให้เราคิดถึงเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย คือเมื่อเปาโลเขียนจดหมายถึงชาวเมืองโครินธ์ ท่านกล่าวว่าพวกเขามีของประทานของพระวิญญาณฯ พร้อมแล้ว “เพราะท่านทั้งหลายพรั่งพร้อมด้วยทุกสิ่งทุกอย่างในพระองค์ คือพร้อมด้วยวาจาและความรู้ทุกอย่าง ด้วยว่าพยายามเรื่องพระคริสต์นั้นเป็นที่รับรองแน่นอนในพวกท่านแล้ว ท่านทั้งหลายมิได้ขาดของประทานเลย” 1คร.1:5-7 เห็นได้ว่า ชาวคริสเตียนเมืองโครินธ์มีความรู้ในเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณและพวกเขามีของประทานเหล่านั้น

พระธรรม 1คร.1:5-7 มิได้กล่าวว่า แต่ละคนมีของประทานครบหมดในตนเอง แต่ในที่นี้ชี้ให้เห็น เมื่อชุมนุมชนหรือกลุ่มคน (ทั้งหลาย) มีความรู้ในเรื่องพระคำของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ ท่ามกลางเขาเหล่านั้นจะไม่ขาดของประทานเลย นั่นคือของประทานในสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในท่ามกลางเขาทั้งหลาย คือพระเจ้า จะให้มีบางคนเป็นอัครทูต, ผู้พยากรณ์, ผู้ประกาศฯ, ศิษยาภิบาลและครูบาอาจารย์ และทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ของทุกคนในสังคมนั้นๆ ซึ่งเป็นเหมือนสมบัติล้ำค่าที่พระเจ้าประทานมาให้เขาทั้งหลาย มีสิทธิเป็นเจ้าของดูแลและใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นสมบัติส่วนรวมของประทานในตำแหน่งเหล่านี้จึงเป็นเหมือนภาชนะสำหรับคนทั้งหลายใช้ตักตวงพระพรของพระเจ้า ของประทานเหล่านี้จะทำให้คนทั้งหลายจำเริญขึ้น มีของประทานเท่านั้น ยังไม่เป็นการเพียงพอ พวกเขาต้องรู้ว่าจะใช้ของประทานนั้นๆ อย่างไร เปาโลได้กล่าวไว้ใน 1คร.12:1 ว่า “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านเข้าใจเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณ การรู้ความจริงในเรื่องของประทานต่างๆ ทำให้เราสามารถใช้ของประทานได้อย่างเกิดผลยิ่งขึ้น นี่เป็นเหตุที่ว่าทำไม เราจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทุกอย่างในเรื่องนี้สุดความสามารถ เพราะฉะนั้น ขั้นตอนที่ถูกต้องในการรับของประทานฝ่ายพระวิญญาณฯต่างๆ คือมีความรู้และมีความเชื่อ ความเชื่อเกิดขึ้นและถูกทำให้มั่นคงโดยความรู้ การรู้ความจริงในเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณต่างๆ

ทำให้เราเกิดผลมากขึ้นในด้านจิตวิญญาณ


ของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่ง ซึ่งมาจากการทรงเจิมเป็นพิเศษสำหรับ….

พระคัมภีร์ไม่ได้แบ่งแยกของประทานต่างๆ ออกเป็นกลุ่มๆ ที่ชัดเจน ในบางครั้งเป็นการกล่าวถึงแบบรวมกันทั้งหมดด้วย แสดงให้เห็นว่าของประทานฝ่ายพระวิญญาณทุกชนิดมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม การแบ่งของประทานออกเป็นกลุ่มๆ จะช่วยเราได้มากที่จะเข้าใจบทความนี้ ของประทานแต่ละอย่างจะมีกลุ่มของตัวเอง ซึ่งบางอย่างอาจจะคล้ายกับของประทานในกลุ่มอื่นด้วย แต่คงไม่เป็นปัญหามากนักในเรื่องนี้ เพราะของประทานทุกชนิดประทานมาจากพระเจ้า ด้วยจุดประสงค์เดียวกันก็คือ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระองค์ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชื่อทุกคน และเพื่อพระองค์จะรับสง่าราศี

รายชื่อของของประทานกลุ่มแรก ประกอบด้วยของประทานที่ต้องรับผิดชอบสูงสุดต่อพระกายของพระคริสต์ เปาโลพูดถึงของประทานเหล่านี้ ต่อชาวเอเฟซัสใน อฟ.4:7-8,11 ดังนี้ แต่ว่าพระคุณทั้งหลายทรงโปรดประทานแก่เราทุกๆ คน ตามขนาดที่พระคริสต์ประทานให้ เหตุฉะนั้นจึงมีพระวจนะว่า ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูง พระองค์ทรงนำพวกเชลยไป และประทานของประทานแก่มนุษย์ ของประทานของพระองค์ก็คือ ให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์ เพราะ นี้จึงเป็นรายชื่อที่ควรถูกกำหนดไว้ในกลุ่มของประทานในการรับใช้ นั่นคือ

อัครทูต
ผู้เผยพระวจนะ
ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ
ศิษยาภิบาล
ครูบาอาจารย์
ในเรื่องการใช้ของประทานแต่ละอย่างในข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น จะเป็นกว้างๆ ถึงจุดประสงค์ทั่วๆ ไปของของประทานในการรับใช้ทุกอย่างซึ่งเปาโลสอนคริสเตียนชาวเมืองเอเฟซัสใน อฟ.4:12 ว่า ของประทานเหล่านี้ เพื่อเตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้เพื่อเสริมสร้างพระกายพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น

ของประทานในการรับใช้อื่นๆ
รายชื่อของประทานในการรับใช้อื่นๆ มีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ ตอนคือ โรม และ คร. เราอาจสังเกตเห็นของประทานเหล่านี้ไม่ชัดเท่าของประทานในการรับใช้หรือของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์บางอย่าง แค่นี้ไม่ได้หมายความว่า ของประทานกลุ่มนี้ไม่มีความสำคัญ เพราะทุกอย่างมีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะอย่างต่อพระกายให้เราลองคิดถึงหัวใจของเรา มันมีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่มีใครเห็นและพูดไม่ได้ มันไม่มีความสำคัญใช่ไหม? ไม่ใช่แน่นอน ถ้าไม่มีหัวใจ มือของเรา เท้าศรีษะและทุกส่วนในร่างกายของเราจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ เห็นแล้วว่ามีอวัยวะที่เล็กๆ ในร่างกายหลายอย่าง แต่ทำหน้าที่สำคัญมาก อวัยวะเหล่านี้ให้ความช่วยเหลือร่างกายทุกส่วน เราอาจจะมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้ แต่สิ่งนี้ไม่สำคัญอะไร ความสำคัญของอวัยวะต่างๆ อยู่ที่ว่า มันได้ทำหน้าที่ครบถ้วนตามจุดมุ่งหมายในร่างกายนั้นหรือยัง ถ้าร่างกายขาดอวัยวะนั้นๆ ร่างกายจะไม่สมบูรณ์และทำงานได้ไม่ดีหรือไม่ได้เลย นี่เป็นความจริง เช่นเดียวกับ ในเรื่องของของประทานในการรับใช้อื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ ในพระกายของพระคริสต์ ของประทานกลุ่มนี้ประกอบด้วย

- การเตือนสติ

การให้ด้วยใจกว้างขวาง
การครอบครอง (ปกครอง)
แสดงความเมตตา
ความรัก
ความช่วยเหลือ
เมื่อได้แบ่งกลุ่มออกมาแล้ว โดยของประทานในการรับใช้ต่างๆ ที่เราจัดให้อยู่ในกลุ่มของประทานในการรับใช้อื่นๆ มีความสำคัญที่ว่า

ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ
ทำหน้าที่ตามจุดประสงค์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น
ทำให้จำง่ายในฐานะที่เป็นของประทานในการรับใช้ที่มีความสำคัญ
ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์
ของประทานฝ่ายพระวิญญาณทุกอย่าง ประทานมาจากพระเจ้า มีกลุ่มหนึ่งที่เราเรียกว่าของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของประทานเหล่านี้มีความพิเศษที่เหนือธรรมชาติ คำว่า เหนือธรรมชาติ มีความหมายว่า สิ่งที่อยู่เหนือความเป็นจริงที่เป็นปกติธรรมดาในโลก ฉะนั้น เมื่อเรากล่าวว่า ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ เราหมายความว่าของประทานเหล่านี้อยู่เหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติของโลก ตัวอย่างเช่น ของประทานในการพูดภาษาแปลกๆ ตามกฎธรรมชาติแล้ว คนจะพูดได้แค่ภาษาที่เราได้รับการสอนมาเท่านั้น ไม่มีใครคิดว่าจะพูดภาษาที่เขาได้รับการสอนมาเท่านั้น ไม่มีใครคิดว่าจะพูดภาษาที่ยังไม่เคยเรียนรู้มาก่อนได้ แต่เมื่อคนนั้นได้รับของประทานในการพูดภาษาแปลกๆ เขาสามารถพูดภาษาที่เขาไม่เคยเรียนรู้มาเลยได้ เราเรียกของประทานนี้ว่าเป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติ คือเขามีความสามารถทำในสิ่งที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติในชีวิตของเขา คือพูดภาษาอื่นได้ทั้งๆ ที่ไม่เคยเรียนมาเลย และภาษาแปลกๆ นั้นมีทั้งภาษามนุษย์ และภาษาทูตสวรรค์หรือเรียกว่าภาษาพระวิญญาณ แต่ตามตัวอย่างข้างต้นเป็นภาษาแปลกในรูปแบบภาษามนุษย์ ซึ่งมนุษย์สามารถเข้าใจได้โดยเจ้าของภาษาเองและถ้าไม่ใช่เจ้าของภาษาก็สามารถค้นคว้าแปลออกมาได้ แต่ภาษาทูตสวรรค์ ไม่มีมนุษย์คนใดเข้าใจได้เลย นอกจากผู้นั้นจะมีของประทานในการแปลภาษาแปลกๆ ได้ (คร.) ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่มีใครทำให้ของประทานนี้เกิดขึ้นได้ โดยความเป็นจริงแล้ว ความสามารถของมนุษย์ประทานมาจากพระเจ้า ไม่มีสักสิ่งเดียวที่ใครจะบอกได้ว่ามาจากความสามารถพิเศษของมนุษย์ แต่ของประทานฝ่ายพระวิญญาณเป็นของประทานพิเศษ ที่อยู่เหนือความสามารถพิเศษทั่วๆ ไปที่มนุษย์มีของประทานเหล่านี้คือ

- ถ้อยคำที่ประกอบด้วยสติปัญญา

- ถ้อยคำที่ประกอบด้วยความรู้

- ความเชื่อ

- ความสามารถรักษาคนป่วยได้

- ทำอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้

- พูดภาษาแปลกๆ

- แปลภาษาแปลกๆ


ทำความเข้าใจ ของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่งซึ่งมาจากการทรงเจิมตั้งเป็นพิเศษให้บางคนทำหน้าที่เหล่านี้

อัครทูตและผู้เผยพระวจนะ
ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นการปูพื้นฐานที่จะเข้าใจในเรื่องของประทานฝ่ายวิญญาณ เราเห็นถึงความสำคัญของความรู้และความเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับเรื่องของประทาน ทั้งยังได้รู้ว่าความรู้และความเชื่อของเราเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตประสบการณ์ของเรา จากความเข้าใจข้างต้นรวมถึงการพอที่จะรู้จักกลุ่มของของประทานชนิดต่างๆ แล้ว คราวนี้เราก็พร้อมที่จะเริ่มศึกษาถึงของประทานในกลุ่มแรกคือ ของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่งฯ เราจะเน้นให้เห็นถึงหน้าที่ของของประทานแต่ละอย่างและจะดูว่าของประทานเหล่านั้นทำหน้าที่อย่างไรในพระกายของพระคริสต์ จากการศึกษาจะทำให้เราเริ่มรู้จักของประทานในการรับใช้ชนิดต่างๆ ได้ ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อความรู้ของเราเพิ่มพูนขึ้น เราอาจจะรู้สึกว่าพระเจ้าทรงพอพระทัยจะใช้คุณในของประทานเหล่านี้ด้วยได้

พิจารณาหัวข้อเหล่านี้ เพื่อเป็นแนวทางการศึกษา

พระเจ้าตั้งบางคนให้เป็นอัครทูต

ใครคือผู้ให้ของประทาน
ใครคือผู้รับ
การงานของเขาแสดงความเป็นอัครทูต
ชีวิตของเขามีการพัฒนาขึ้น
พระเจ้าทรงตั้งบางคนให้เป็นผู้เผยพระวจนะ

ใครคือผู้ให้ของประทาน
ใครคือผู้รับ
การงานของเราแสดงความเป็นผู้เผยพระวจนะ
ชีวิตของเขามีการพัฒนาขึ้น
ถ้าเราได้ศึกษาจบในหัวข้อนี้แล้ว

เราจะสามารถที่จะอธิษฐานของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่งนี้ได้
เข้าใจของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่งแต่ละอย่างได้
เราจะสามารถเห็นจริงว่า ของประทานในการรับใช้อาจได้รับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปได้


พระคัมภีร์เกี่ยวข้อง

(เหตุฉะนั้นข้าพเจ้า ผู้ถูกจำจองเพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอวิงวอนท่านให้ดำเนินชีวิตสมกับพันธกิจอันเนื่องจากการทรงเรียกท่านนั้น, คือจงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง และใจอ่อนสุภาพอดทนนาน และอดกลั้นต่อกันและกันด้วยความรัก, จงเพียรพยายามให้คงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งพระวิญญาณทรงประทานนั้นด้วยสันติภาพเป็นพันธนะ, มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนมีความหวังใจอันเดียวที่เนื่องในการที่ทรงเรียกท่าน, มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติศมาเดียว, พระเจ้าองค์เดียวผู้เป็นพระบิดาของคนทั้งปวง ผู้ทรงอยู่เหนือคนทั้งปวง และทั่วคนทั้งปวง และในคนทั้งปวง, แต่ว่าพระคุณนั้นทรงโปรดประทานแก่เราทุกๆคน ตามขนาดที่พระคริสต์ประทานให้, เหตุฉะนั้นจึงมีพระวจนะว่า ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูง พระองค์ก็ทรงนำพวกเชลยไป และประทานของประทานแก่มนุษย์, (ที่กล่าวว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปนั้น จะหมายความอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากว่าพระองค์ได้เสด็จลงไปสู่เบื้องต่ำของแผ่นดินโลกแล้วด้วย, องค์ผู้เสด็จลงไปนั้นก็คือพระองค์ผู้ที่เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูงเหนือฟ้าสวรรค์ทั้งปวงนั่นเอง เพื่อจะได้สถิตอยู่ทั่วในสิ่งสารพัด), ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์, เพื่อเตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น, จนกว่าเราทุกคนจะบรรลุถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในความเชื่อ และในความรู้ถึงพระบุตรของพระเจ้า จนกว่าเราจะโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ คือเต็มถึงขนาดความไพบูลย์ของพระคริสต์, เพื่อเราจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป ถูกซัดไปซัดมาและหันไปเหมาด้วยลมปากแห่งคำสั่งสอนทุกอย่าง และด้วยเล่ห์กลของมนุษย์ตามอุบายฉลาดอันเป็นการล่อลวง, แต่ให้เรายึดความจริงด้วยใจรัก เพื่อจะจำเริญขึ้นทุกอย่างสู่พระองค์ผู้เป็นศีรษะ คือพระคริสต์, คือเนื่องจากพระองค์นั้น ร่างกายทั้งสิ้นที่ติดต่อสนิทและประสานกันโดยทุกๆข้อต่อที่ทรงประทาน ได้จำเริญเติบโตขึ้นด้วยความรัก เมื่ออวัยวะทุกอย่างทำงานตามความเหมาะสมแล้ว….อฟ.4:1-16 และพิจารณา…ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์……อฟ.4:11


ใครคือผู้รับของประทาน





ผู้ให้ของประทาน ของประทาน ผู้รับ

การให้ของประทานเป็นความเกี่ยวพันระหว่าง 2 ฝ่ายคือ ผู้ให้และผู้รับ ความสำคัญของของประทานขึ้นอยู่กับว่า ใครเป็นผู้ให้และให้อะไร เมื่อครั้งพระราชินีแห่งอังกฤษเสด็จเยี่ยมสหรัญอเมริกาในสมัยที่ดไวท์ดี ไอเซนฮาวร์ เป็นประธานาธิบดี ท่านประธานาธิบดีได้ถวายแจกันแก้วเจียรไนที่สวยงามมากให้พระราชินีเป็นที่ระลึก ท่านซื้อมาด้วยราคาสูงลิบลิ่ว เพื่อนำมาเป็นของขวัญนี้ เราจึงไม่แปลกใจเลยที่พระราชินีถือว่า แจกันนี้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของพระองค์ชิ้นหนึ่งในบรรดาราชสมบัติทั้งสิ้น ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ

บุคคลสำคัญเป็นผู้ให้ของขวัญนี้และ
เป็นของขวัญที่สวยงามและมีค่ามาก
ของประทานในการเป็นอัครทูตมีความสำคัญด้วยเหตุผลที่คล้ายกันดังนี้ ประการแรกก็คือ ผู้ที่มอบให้เป็นบุคคลสำคัญและประการที่สอง สิ่งที่ให้มีความสำคัญ เราพิจารณาถึงความสำคัญของสิ่งที่ภายหลัง ตอนนี้เราต้องการเรียนรู้ว่า ใครเป็นผู้ “เลือกบางคนให้เป็นอัครทูต”

ใน อฟ.4:11 เขียนแทนชื่อ “ผู้ให้” ว่าคือ “เขา” เราจะต้องดูว่า เขาคือใคร ในข้อ 8 ในบทเดียวกันนี้เป็นคำพูดที่ยกมาจาก สดุดี 68:18 คำกล่าวในข้อ 7 ทำให้เราเข้าใจชัดเจนขึ้นที่กล่าวว่า “แต่ว่าพระคุณนั้นทรงโปรดประทานแก่เราทุกคน ตามขนาดที่พระคริสต์ประทานให้ เพราะฉะนั้นเราจึงสรุปได้ว่า พระคริสต์เป็นผู้ประทาน ของประทานในการรับใช้ให้เรา ที่จะรักษาถึงพระองค์ในฐานะผู้ประทานของประทานมากขึ้นในบทนี้ ให้เราสังเกตคำว่าพระคุณนั้นทรงโปรดประทานแก่เราทุกคน (คือมีของขวัญที่สวยงามอยู่ท่ามกลางเราทุกคน)

ใครคือผู้รับ

เราได้เรียนรู้มาแล้วในตอนต้นว่า ของประทานทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่ายคือ ผู้ให้และผู้รับ เราทราบด้วยแล้วว่า พระคริสต์ทรงเป็นผู้ประทานของประทานในการรับใช้ในส่วนนี้ ให้เราศึกษาดูว่า ใครคือผู้รับของประทาน คำตอบมี 2 ลักษณะ ให้เราดูใน อฟ.4:8…(ที่กล่าวว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปนั้น จะหมายความอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากว่าพระองค์ได้เสด็จลงไปสู่เบื้องต่ำของแผ่นดินโลกแล้วด้วย) เราจะเห็นว่าของประทานในการรับใช้นั้นพระคริสต์มอบให้กับมนุษย์ เพราะพระคัมภีร์กล่าวว่า “ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูง พระองค์ก็ทรงนำพวกเชลยไปและประทานของประทานแก่มนุษย์” (มนุษย์เท่านั้นที่ได้รับในของประทานนี้) อย่างไรก็ตาม เราต้องค้นหาความจริงในพระคัมภีร์ตอนอื่นๆ ด้วย และนี่เป็นหลักการที่ดีที่ควรจดจำไว้เพื่อจะศึกษาคำสอนพระคัมภีร์ให้เข้าใจ คือว่า พระคัมภีร์ข้อเดียวอาจบอกความจริงกับเราได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เราควรอ่านทั้งตอนของบทนี้ ใน อฟ.4:1-16 เราจะเห็นว่า เปาโลต้องการกล่าวถึงคริสตจักรทั้งคริสตจักร พระกายทั้งพระกาย ดังที่เราเห็นในข้อที่ 4 กล่าวว่า “มีกายเดียว” และข้อ 12 กล่าวถึง “พระกายทั้งสิ้นของพระคริสต์” สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เรามีความเข้าใจว่า ของประทานในการรับใช้นั้น พระองค์ประทานให้แก่ บางคนในพระกายของพระคริสต์และทั้งพระกาย ในเวลาพร้อมกัน แต่แท้จริงแล้วเป็นขั้นตอน ให้เรามาดู






พระคริสต์ ของประทานในการรับใช้ บางคนในพระกายของพระคริสต์



ทั้งพระกาย


ถ้าท่านพิจารณาข้อความนี้ที่เปาโลพูด ถ้าเราไม่เข้าใจ เราก็จะบอกว่าทุกคนเป็นอัครทูตเหมือนกันหมด ไม่ใช่ เพราะพระคัมภีร์กล่าวว่าให้บางคนเท่านี้ แค่นี้คือขั้นตอนที่เราได้แลเห็นว่า ทั้งพระกายได้รับเวลาเดียวกับที่มีอัครทูตเกิดขึ้นโดยพระเจ้าเลือกบางคนได้รับ

ขบวนการนี้ก็คือ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับของขวัญชิ้นพิเศษมีค่ามากที่พระเจ้าประทานให้ทั้งคริสตจักร (ทุกคน) ในเวลานั้นของขวัญชิ้นนี้เป็นของทุกคนในคริสตจักร หลายคนยังคงผิดพลาดในความเข้าใจอยู่ ทำให้ความรู้ผิดไป เมื่อความรู้ไม่สมบูรณ์แล้วมนุษย์จะเข้าถึงเรื่องราวในของประทานในฝ่ายวิญญาณไม่ได้เลย

ของประทานที่มอบให้บางคนในพระกายเป็นอัครทูตนั้น โดยการทรงเรียกและให้มีความสามารถพิเศษในการเป็นอัครทูต ส่วนของประทานที่มอบให้แก่ทั้งพระกายนั้นคือ ทรงประทานอัครทูตให้ เพื่อทำหน้าที่ของเขาในพระกายของพระคริสต์อย่างสมบูรณ์ ดูใน อฟ.2:10 และ 3:5-6 เพราะว่าเราเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ที่ทรงสร้างขึ้นในพระคริสต์ เพื่อให้ประกอบการดี ซึ่งพระเจ้าได้ทรงดำริไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เรากระทำ ซึ่งในสมัยก่อนพระองค์ไม่ได้ทรงโปรดสำแดงแก่มนุษย์ เหมือนอย่างบัดนี้ ซึ่งทรงโปรด เผยแก่พวกอัครทูตผู้บริสุทธิ์

การงานของเขาแสดงให้เห็นความเป็นอัครทูต

ตำแหน่งการเป็นอัครทูตในพระกายของพระคริสต์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ตำแหน่งหนึ่งคำว่า “ตำแหน่ง” เราหมายความถึงงานในความรับผิดชอบหรือหน้าที่ของประทานนี้ได้รับการกล่าวถึงเป็นชื่อแรก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหน้าที่ของของประทานนี้คือ การก่อตั้งและการปกครองดูแล เราเข้าใจว่ามีอัครทูต 2 จำพวก พวกแรกคือสาวก 12 คน ของพระคริสต์ แม้ว่ายูดาสได้อายัดองค์พระผู้เป็นเจ้าของเขาและสูญเสียตำแหน่งไปแล้ว อีกคนหนึ่งก็ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่แทน ปรากฏในกิจการ 1:26 ว่า “เขาทั้งหลายจึงจับสลากกัน และสลากนั้นได้แก่ มัทธีอัส จึงจับเข้ากับอัครทูตสิบเอ็ดคนนั้น” คุณสมบัติของอัครทูตพวกแรกนี้ต้องมี สิ่งที่ลูกาบันทึกไว้ในกิจการ 1:21-22 กล่าวว่า “ในบรรดาคนที่เป็นพวกเดียวกับเราเสมอตลอดเวลาที่พระคริสต์เสด็จเข้าออกกับเรา คือตั้งแต่บัพติสมาของยอห์นจนถึงวันที่พระเจ้าทรงรับพระองค์ขึ้นไปจากเรา” อย่างไรก็ตามเราไม่ทราบแน่ชัดว่า นี่คือความประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ อาจเป็นเพียงการตกลงกันของอัครทูต 11 คนก็ได้ เรากำลังมาถึงคำถามหนึ่งที่ยาก ว่า เปาโลเป็นอัครทูตเช่นเดียวกับสาวก 12 คนนั้นหรือเปล่า? มีหลายคำถามที่เราตอบได้ยาก ฉะนั้น เราจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า มีหลายคำถามที่ตอบไม่ได้จนกว่าเราจะได้คำตอบในสวรรค์ แต่เราจะไม่ยกสิ่งที่เป็นข้ออ้างที่ทำให้เราไม่พยายามค้นคำตอบ การค้นคว้าทำให้เราได้ฝึกความคิดของเราและทำให้เราเป็นผู้รับใช้ที่ใช้งานได้ดีขึ้นขององค์พระผู้เป็นเจ้า ให้เราย้อนคิดถึง อ.เปาโลอีกครั้ง เรารู้จากคำพยานของท่าน ท่านเป็นอัครทูตเช่นเดียวกับสาวกคนอื่นๆ ต่อไปนี้คือคำพยานของท่านที่ท่านกล่าวไว้อย่างชัดเจนในตำแหน่งอัครทูตของท่าน ในท่ามกลางอัครทูตอื่นๆ

1คร.4:9 “เพราะข้าพเจ้าเห็นว่า พระเจ้าได้ทรงตั้งเราผู้เป็นอัครทูตไว้ในที่สุด” เปาโลใช้คำว่า “เรา” เหมือนกับว่าท่านนำตัวท่านเข้าเป็นคนหนึ่งในท่ามกลางอัครทูตอื่น
1คร.9:5 “เราไม่มีสิทธิ์ที่จะพาพี่น้องซึ่งเป็นภรรยาไปไหนๆ ด้วยกันเหมือนอัครทูตอื่นๆ หรือในที่นี้ใช้คำว่า “พวกอัครทูตอื่นๆ” ชี้ให้เห็นว่าท่านเป็นคนหนึ่งในกลุ่มนั้น
1คร.15:9 “เพราะว่าข้าพเจ้าเป็นผู้น้อยที่สุดในพวกอัครทูต และไม่สมควรจะได้ชื่อว่าเป็นอัครทูต” เปาโลใช้คำหนึ่งที่สำคัญแทนตัวเองว่า “เป็นผู้น้อยที่สุด” ในท่ามกลางอัครทูตอื่น ท่านจะเป็นผู้น้อยที่สุดในท่ามกลางอัครทูตอื่นไม่ได้ นอกจากท่านจะเป็นคนหนึ่งในพวกเขาด้วยนั้น
มีบางคนเข้าใจว่า การประชุมกันในห้องชั้นบนของพวกสาวก แล้วแต่งตั้งมัทธีอัสให้รับตำแหน่งอัครทูตนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ได้ เราจะตัดสินเรื่องนี้ไม่ได้ แม้ว่าชื่อของมัทธีอัสจะไม่ได้รับการกล่าวถึงอีกเลยในพระคัมภีร์ มีแต่เปาโลที่ได้ทำหน้าที่สำคัญนี้ หลายคนอาจคิดไปถึงว่า ชื่อของใครจะปรากฏบนฐานศิลา ฐานที่สิบสองในนครเยรูซาเล็มใหม่ จะเป็นชื่อของมัทธีอัสหรือเปาโล “กำแพงนครนั้นมีฐานศิลาสิบสองฐานและที่ฐานศิลานั้น จารึกชื่ออัครทูตสิบสองคนของพระเมษโปดก” (วว.21:14) เราจะเห็นความจริงเมื่อเราไปถึงที่นั่น

อัครทูต 12 คนทำหน้าที่ที่จะไม่มีใครทำอีกในพระกายของพระคริสต์คือ การมีส่วนร่วมในการก่อตั้งคริสตจักรขึ้นในโลกนี้ และมีหลายท่านที่เขียนพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่เราใช้กันอยู่

ในขณะที่อัครทูต 12 คน ได้ทำหน้าที่ที่สำคัญมากในตำแหน่งของอัครทูตแล้ว เราก็ยังมีของประทานในการเป็นอัครทูตอีก ซึ่งมีความแตกต่างจากงานของอัครทูต 12 คน แต่มีส่วนคล้ายกับงานของอัครทูต 12 คน เป็นงานที่พิเศษมากในพระกายของพระคริสต์และไม่ต้องมีการทำซ้ำอีก แค่ของประทานในการเป็น “อัครทูต” นี้คือของประทานที่จะต้องใช้ตลอดระยะเวลาของการก่อตั้งคริสตจักรหรือพระกาย พระเจ้าทรงตั้งให้อัครทูตทำงานหน้าที่พิเศษ ในพระกายของพระคริสต์ ไม่มีใครตัดสินใจเลือกทำหน้าที่นี้ได้ เหมือนดินเหนียว ไม่มีสิทธิ์เลือกว่าอยากจะเปรียบเป็นหม้อสักใบหนึ่ง บางที่คนที่ทำหน้าที่อัครทูตอย่างเต็มที่แล้ว อาจไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำ เพราะเขาไม่เคยคิดถึงตัวเองเช่นนั้น แต่สิ่งที่เขาทำ ทำให้คนอื่นรู้จักว่าเขาเป็นอัครทูต มีหลายคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นอัครทูตหรือได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครทูต อาจไม่ใช่อัครทูตที่แท้จริงก็ได้

“เจ้าได้ลองใจคนเหล่านั้นที่อวดว่า เป็นอัครทูตแต่หาได้เป็นไม่และเจ้าก็เห็นว่าเขาเป็นคนปลอม” …วว.2:2 ;

เพราะคนอย่างนั้นเป็นอัครทูตเทียม เป็นคนงานที่หลอกลวงปลอมตัวเป็นอัครทูตของพระคริสต์…2คร.11:13

ความหมายของคำว่า “อัครทูต” จะทำให้เราเข้าใจว่า ใครคืออัครทูตและหน้าที่ที่เขาทำด้วย คำนี้แปลว่า “ส่งออกไป” หรือ “ส่งออกมา” ในพระธรรมมัทธิว และมาระโกใช้คำนี้เพียงฉบับละครั้งเดียว (อัครทูตสิบสองคนนั้นมีชื่อดังนี้ คนแรกชื่อซีโมนที่เรียกว่าเปโตร กับอันดรูว์น้องของเขา ยากอบบุตรเศเบดี กับยอห์นน้องของเขา….มธ.10:2 และ.; ฝ่ายอัครทูตพากันมาหาพระเยซู และได้ทูลถึงบรรดาการซึ่งเขาได้กระทำ และได้สั่งสอน…มก.6:30) ในแต่ละกรณี ชี้ให้เห็นถึงหน้าที่พิเศษคือ หน้าที่ในการออกไปประกาศข่าวประเสริฐ ในส่วนของความหมายนี้เองที่ทำให้หน้าที่ของอัครทูต 12 คนแรก มีส่วนคล้ายกับหน้าที่ของผู้มีของประทานในการเป็นอัครทูตในยุคหลัง เพราะฉะนั้น การเป็นอัครทูตคือ บุคคลที่องค์พระผู้เป็นเจ้า สั่งให้ออกไปประกาศข่าวประเสริฐในดินแดนใหม่ๆ งานของพวกเขาก็คือ การวางรากฐานให้กับพระกายของพระคริสต์ในสถานที่ใหม่อื่นๆ งานของพวกเขายังกินความถึงการก่อสร้างพระกายส่วนนั้น และเป็นผู้ปกครองดูแลพระกายนั้น (สร้างคริสตจักร ปกครองดูแลด้วย) การงานของเขาก็เพื่อ เตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น (อฟ.4:12)

เพราะฉะนั้นงานของอัครทูต เป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักร ทำหน้าที่เลี้ยงดูผู้เชื่อใหม่ให้เจริญเติบโตและเป็นผู้ใหญ่เขายังทำหน้าที่ติดตามดูแลการงานของพระเจ้า ที่นั่นดุจเป็นบิดาและคนทั้งหลายจะรู้จัก ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นอัครทูตหรือมีของประทานอัครทูต ด้วยการงานที่เขาทำและเกิดผลตามเป้าหมายและรู้ว่าเขาคืออัครทูตที่แท้จริง ไม่ใช่มาจากมนุษย์ แต่มาจากพระเจ้า มนุษย์ไม่มีความสามารถทำได้ในหน้าที่เหล่านี้


ชีวิตของเขาได้รับการพัฒนาขึ้น

การเป็นอัครทูตไม่ใช่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ทุกคนต้องเริ่มต้นเหมือนกันด้วยการกลับใจใหม่มาเชื่อพระเจ้า เขาอาจได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้าในช่วงใดของชีวิต ที่เขาติดตามพระเจ้าอยู่ แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจของตัวเองว่าจะทำหน้าที่อัครทูตของพระคริสต์ในคริสตจักร เมื่อพระเจ้าเรียกบุคคลใดให้ทำหน้าที่ของอัครทูต พระองค์ประทานเวลาให้เขาเจริญเติบโตเพียงพอที่จะรับงานนั้น เปาโลไม่ได้เข้ารับตำแหน่งของการเป็นอัครทูตทันทีที่เขารับเชื่อ แต่อย่างไรก็ตามพระเจ้าทรงประทานจิตใจที่มีความกระตือรือร้นที่จะทำหน้าที่พิเศษนี้ ดังอานาเนียได้กล่าวไว้ในกิจการ 22:14-15 ว่า “พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเราได้ทรงเลือกท่านไว้ ประสงค์ให้ท่านรู้จักน้ำพระทัยของพระองค์ ให้ท่านเห็นพระองค์ผู้ชอบธรรมและให้ได้ยินพระสุรเสียงจากพระโอษฐของพระองค์ เพราะว่าท่านจะเป็นพยานฝ่ายพระองค์ ให้คนทั้งปวงทราบถึงเหตุการณ์ซึ่งท่านเห็นและได้ยินนั้น เป็นความจริงที่ว่า เปาโลเป็นอัครทูตที่ไม่เหมือนคนอื่น แต่ขั้นตอนของการเตรียมท่านเป็นอัครทูตนั้นมีความคล้ายคลึงกับขั้นตอนที่พระเจ้าทรงเตรียมคริสเตียนในการเป็นอัครทูตในปัจจุบันด้วย

ขั้นตอนในการเตรียม

การทนทุกข์ คริสเตียนหลายคนไม่สามารถเป็นอัครทูตได้ เพราะเขาไม่เต็มใจที่จะรับการทนทุกข์ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดเตรียมการเป็นอัครทูต พระเจ้าได้ตรัสกับอานาเนียก่อนที่เปาโลจะเป็นอัครทูตว่า “เพราะว่าเราจะสำแดงให้เขาเห็นว่า เขาจะต้องทนทุกข์ลำบากมากเท่าใด เพราะนามของเรา” กจ.9:16) การทนทุกข์เป็นหนทางพิเศษที่ช่วยเตรียมคนของพระเจ้า ให้เป็นผู้นำในพระกายของพระคริสต์ คนที่ไม่เคยทนทุกข์เลยไม่สามารถรับใช้ผู้อื่นที่ได้รับความทุกข์ยาก และคนที่ไม่เต็มใจรับการทนทุกข์ ก็ไม่พร้อมที่จะนำข่าวประเสริฐไปยังดินแดนใหม่ๆ ที่เขาต้องประสบกับความทุกข์ลำบากมากมาย การทนทุกข์ทำให้คนพร้อมที่จะรับความทุกข์ลำบากมากขึ้น
การเพิ่มพูนขึ้น พระเยซูเองในขณะที่อยู่ในระหว่างเวลาแห่งการเตรียมนั้น พระราชกิจของพระองค์เพิ่มพูนขึ้น “พระเยซูก็ได้จำเริญขึ้นในด้านสติปัญญาในด้านร่างกายและเป็นที่ชอบจำเพาะพระเจ้า และต่อหน้าคนทั้งปวง” ลก.2:52) เมื่อเรากล่าวพระราชกิจเพิ่มพูนขึ้น เราหมายความว่า งานได้เจริญขึ้นหรือมีมากขึ้น พระเยซูทรงจำเริญขึ้นในด้านร่างกายและสติปัญญา พระองค์ทรงเอาใจใส่ต่อการเจริญเติบโตของทั้ง 2 ด้าน ถ้านี่เป็นความจำเป็นของพระองค์แล้ว จะยิ่งจำเป็นมากขึ้นเพียงไรสำหรับการเตรียมอัครทูต เปาโลได้รับขั้นตอนของการเตรียมโดยการเจริญขึ้นเช่นกัน ดังเช่นใน กจ.9:22 “แต่เซาโล (อีกชื่อหนึ่งของเปาโล) ยิ่งมีกำลังทวีขึ้น” คำว่า “กำลัง” ในที่นี้มีความหมายว่า “กำลังฝ่ายวิญญาณ” เปาโลต้องเรียนรู้ถึงพลังอันมหาศาลของพระเจ้าด้วยการเผชิญเหตุการณ์จริงๆ เช่นเดียวกัน ถ้าเปาโลผู้เป็นอัครทูตที่ยิ่งใหญ่ ยังจำเป็นต้องรับการเตรียมเช่นนี้ เราแน่ใจได้เลยว่า อัครทูตทุกคนต้องจำเป็นด้วย
การเรียนรู้ การเรียนรู้มีความจำเป็นต่อคริสเตียนทุกคน และยิ่งจำเป็นมากสำหรับอัครทูต เพราะเขาต้องเป็นผู้ที่เตรียมพระกายของพระคริสต์ ดูตัวอย่างของเปาโล เขาเป็นแบบอย่างที่ดี ก่อนที่เขาจะเป็นอัครทูต เขาใช้เวลา 3 ปี ในถิ่นทุรกันดาร ศึกษาหาความรู้ (ดูใน กท.1:16-17…ที่จะทรงสำแดงพระบุตรของพระองค์แก่ข้าพเจ้า เพื่อให้ข้าพเจ้าประกาศพระบุตรแก่ชนต่างชาตินั้น ข้าพเจ้าก็มิได้ปรึกษากับมนุษย์คนใดเลย และข้าพเจ้าก็ไม่ได้ขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อพบกับผู้ที่เป็นอัครทูตก่อนข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าได้ออกไปยังประเทศอาระเบียทันที แล้วก็กลับมายังกรุงดามัสกัสอีก) หลังจากปีนั้น ท่านทำงานอย่างใกล้ชิดกับเปโตรช่วงเวลาหนึ่ง แม้ไม่นานนัก ท่านกล่าวใน กท.1:18 ว่า “ข้าพเจ้าขึ้นไปหาเคฟาสที่กรุงเยรูซาเล็ม และพักอยู่กับท่าน 15 วัน” เพราะฉะนั้น เราสามารถสังเกตได้ว่า เราได้ดำรงชีวิตอยู่ในลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้นหรือเปล่า พระเจ้าได้เตรียมเราลักษณะนี้หรือไม่ เพื่อเราจะบรรลุถึงการทรงเรียกของพระองค์ ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมด้วยความรู้ที่สมบูรณ์ ไม่มีผู้ใดจะยกข้อโต้แย้งใดๆ ได้ว่า ของประทานอัครทูต ซึ่งสำคัญต่องานรับใช้พระเจ้า ไม่มีอีกแล้วหรือว่า มีอยู่ในทุกคน เพราะพระเจ้าให้บางคนไม่ใช่ทุกคน มีไว้เพื่อทุกคน


พระเจ้าตั้งบางคนให้เป็นผู้เผยพระวจนะ

ใครคือผู้ให้ ของประทาน

พระคริสต์เป็นผู้ประทานของประทานในการรับใช้ทุกชนิด ด้วยเหตุนี้ของประทานทุกอย่างจึงมีความสำคัญ สิ่งใดที่เป็นความจริงในเรื่องของของประทานในการเป็นอัครทูต ก็เป็นความจริงด้วยสำหรับของประทานในการเผยพระวจนะ และของประทานในการรับใช้ทุกอย่าง พระเยซูทรงเป็นผู้ประทานของประทาน แต่ละอย่างให้แก่พระกายของพระองค์ พระเยซูทรงเป็นผู้เรียกและประทานตามความสามารถในของประทานเหล่านี้ให้กับสมาชิกแต่ละคนในพระกายของพระองค์ เรากล่าวได้ว่า พระองค์ทรงแต่งตั้งผู้รับใช้ไว้ทำงานในพระกายของพระองค์ทุกๆ คน ไม่ได้ทำหน้าที่ของอัครทูตหรือเผยพระวจนะ พระคัมภีร์กล่าวว่า พระเจ้าทรงตั้งบางคนให้เป็นอัครทูตและบางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ คำว่า “บางคน” ทำให้เห็นชัดว่าไม่ใช่ทุกคนเป็นอัครทูตและผู้เผยพระวจนะ พระเจ้าทรงเลือกบางคนให้ทำหน้าที่นั้น สิ่งนี้ทำให้เราคิดถึงคำถามที่เปาโลถามว่า “ถ้าอวัยวะทั้งหมดในร่างกายเป็นตา การได้ยินจะอยู่ที่ไหน ถ้าทั้งร่างกายเป็นหู การดมกลิ่นจะอยู่ที่ไหน (1คร.12:7)

ในด้านของผู้ให้ของประทานนั้นให้เราดูใน 1คร.12:28 ที่กล่าวว่า “และพระเจ้าได้ทรงโปรดแต่งตั้งบางคนไว้ในคริสตจักร คือหนึ่ง อัครทูต สองผู้เผยพระวจนะ” ในพระธรรม เอเฟซัส กล่าวว่าผู้ให้ของประทานนั้นคือพระเจ้าและในตอนต่อมากล่าวว่าผู้ให้ของประทานคือพระคริสต์ เราจะทำความเข้าใจในเรื่องนี้ได้อย่างไร? แท้จริงแล้วไม่เป็นปัญหาเลย พระคริสต์คือพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระภาคหนึ่งในตรีเอกานุภาพ ตรีเอกานุภาพแปลว่า ทั้งสามรวมกันเป็นหนึ่งเดียว คือพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของประทานทุกอย่างนั้นพระเจ้าเป็นผู้ประทานให้โดยทางพระคริสต์ (..ผู้นั้นจงอย่าคิดว่าจะได้รับสิ่งใดจากพระเจ้าเลย..ยก.1:7 ; เหตุฉะนั้นข้าพเจ้า ผู้ถูกจำจองเพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอวิงวอนท่านให้ดำเนินชีวิตสมกับพันธกิจอันเนื่องจากการทรงเรียกท่านนั้น คือจงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง และใจอ่อนสุภาพอดทนนาน และอดกลั้นต่อกันและกันด้วยความรัก จงเพียรพยายามให้คงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งพระวิญญาณทรงประทานนั้นด้วยสันติภาพเป็นพันธนะ มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนมีความหวังใจอันเดียวที่เนื่องในการที่ทรงเรียกท่าน มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติศมาเดียว พระเจ้าองค์เดียวผู้เป็นพระบิดาของคนทั้งปวง ผู้ทรงอยู่เหนือคนทั้งปวง และทั่วคนทั้งปวง และในคนทั้งปวง แต่ว่าพระคุณนั้นทรงโปรดประทานแก่เราทุกๆคน ตามขนาดที่พระคริสต์ประทานให้ เหตุฉะนั้นจึงมีพระวจนะว่า ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูง พระองค์ก็ทรงนำพวกเชลยไป และประทานของประทานแก่มนุษย์ (ที่กล่าวว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปนั้น จะหมายความอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากว่าพระองค์ได้เสด็จลงไปสู่เบื้องต่ำของแผ่นดินโลกแล้วด้วย องค์ผู้เสด็จลงไปนั้นก็คือพระองค์ผู้ที่เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูงเหนือฟ้าสวรรค์ทั้งปวงนั่นเอง เพื่อจะได้สถิตอยู่ทั่วในสิ่งสารพัด) ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์…อฟ.4:1-11)


ใครคือผู้รับ

เราสามารถกล่าวได้ว่าผู้ที่รับของประทานนี้คือ ทั้งพระกายของพระคริสต์ เพราะบางคนที่มีของประทานนี้ ผู้เผยพระวจนะได้รับทั้งการทรงเรียกและการจัดเตรียมให้ทำหน้าที่นี้ในพระกายพระคริสต์ พระเจ้าตั้งผู้เผยพระวจนะไว้สำหรับคริสตจักร เราต้องใช้ความพยายามของเราเองหรือเปล่าที่จะเป็นผู้เผยพระวจนะ? พระเจ้าทรงแต่งตั้งใครให้มีตำแหน่งสูงอย่างเลื่อนลอยหรือ พระเจ้าทรงมีสิทธิที่จะทำสิ่งเหล่านี้ “สิ่งที่ถูกนั้นจะกล่าวแก่ผู้นั้นได้หรือว่า ทำไมท่านจึงปั้นข้าพเจ้าอย่างนี้” รม.9:20 แต่คริสเตียนมีความแตกต่างจากหม้อดินคือ เรามีจิตใจ มีความต้องการ เราเลือกได้ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับคริสเตียน สิ่งหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็คือ การตัดสินใจเลือกของเราเอง ท่าทีในใจของเราต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระประสงค์ของพระเจ้า หม้อดินไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่มนุษย์ “ท่าที” หมายถึง “แนวความคิดการกระทำหรือความรู้สึก” พระเจ้าทรงทราบถึงความตั้งใจของเรา พระองค์ทรงรู้จักแนวความคิด การกระทำและความรู้สึกของเราดี พระองค์ทรงตรวจสอบดูสิ่งเหล่านี้ เมื่อพระองค์ทรงเลือกผู้เผยพระวจนะ

ดาวิดเป็นกษัตริย์ในสมัยพระคัมภีร์เดิม พระองค์ทรงเป็นผู้เผยพระวจนะด้วย ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิมมีความแตกต่างจากในพระคัมภีร์อยู่บ้าง แต่เรายังได้รับบทเรียนมาจากที่พระเจ้าทรงเลือกดาวิดให้มีของประทานพิเศษ เพื่อประชากรของพระองค์ พระคัมภีร์บันทึกว่า ดาวิดไม่ได้รับการเลือก เพราะอายุของเขาพอดี หรือเพราะประสบการณ์ของเขา หรือเพราะรูปลักษณ์ภายนอก ตามประเพณีในสมัยนั้นแล้ว น่าจะเลือกเอลียาห์ พี่ชายของดาวิดให้ดำรงตำแหน่งผู้นำมากกว่าที่จะเลือกน้อง แต่แม้ว่าดาวิดจะมีอายุน้อยที่สุด พระเจ้าทรงเลือกให้เขารับตำแหน่งสูงในการเป็นผู้นำ เพราะอะไรล่ะ แท้จริงแล้ว เขาก็มีหน้าตาที่น่าดูน่าชม แต่พระเจ้าไม่ทรงเลือกด้วยเหตุผลนี้ เขาเป็นหนุ่มด้วย แต่ก็มิใช่ด้วยเหตุผลนี้ด้วยเช่นกัน คำตอบอยู่ในกิจการ 13:22 ที่ว่า “เราได้พบดาวิดบุตรของเจสซี เป็นคนที่เราชอบใจ เป็นผู้ที่จะทำให้ความประสงค์ของเราสำเร็จทุกประการ” ดาวิดได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์และผู้เผยพระวจนะ เพราะพระเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นความตั้งใจและแนวความคิดของเขา

พระเจ้าทรงจัดเตรียมของประทานในการเป็นผู้เผยพระวจนะ และของประทานในการรับใช้อื่นเพื่อสนองให้แก่เรา ซึ่งเป็นพระกาย ผู้ซึ่งพระองค์ได้ทอดพระเนตรดูคุณสมบัติภายในของเราแล้ว อ่าน 1ซมอ.16:1-3 …จงเชิญเจสซีมาที่การถวายสัตวบูชานั้น แล้วเราจะสำแดงให้เจ้ารู้ว่าเจ้าควรจะกระทำประการใด เจ้าจงเจิมให้เราผู้ซึ่งเราจะบอกชื่อแก่เจ้า"….การงานของเขาแสดงให้เห็นความเป็นผู้เผยพระวจนะ (บุคคลที่อยู่ตำแหน่งนี้)


ผู้มีของประทานในการเป็นผู้เผยพระวจนะนี้มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ

“กล่าวคำพยากรณ์” หมายความว่า “บอกเหตุการณ์หนึ่งๆ ล่วงหน้าก่อนเหตุการณ์นั้นเกิดจริง รู้ถึงอดีตและ
ปัจจุบันด้วย คือมีถ้อยคำแห่งสติปัญญาและความรู้อยู่ในการพยากรณ์

“ประกาศ” หมายความว่า พูดต่อหน้าคนอื่นให้รู้ ผู้เผยพระวจนะกล่าวสิ่งต่างๆ ออกไปโดยรับการดลใจจากพระเจ้า ในการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เขาทำหน้าที่อธิบาย พระคำของพระเจ้าแก่ประชากร คำว่า “อธิบาย” แปลว่า “บอกความหมาย” เราจะรู้ว่าใครคือผู้เผยพระวจนะ ก็ต่อเมื่อเขาสามารถอธิบายความหมายของพระคำ พระเจ้า โดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์
ผู้เผยพระวจนะทำหน้าที่ในการทำนายด้วย คำว่า “ทำนาย” มีความหมายเช่นเดียวกับ “พยากรณ์” ในพระคัมภีร์เดิมผู้เผยพระวจนะจะกล่าวพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิดขึ้น และเขาจะอธิบายความหมายของคำตรัสของพะเจ้าให้ประชาชนได้ทราบ หน้าที่ของผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์ใหม่ มีความหมายคล้ายคลึงกับในพระคัมภีร์เดิม กล่าวคือเป็นผู้พยากรณ์ในสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้บอกประชาชนและเขาจจะบอกความหมายของคำพยากรณ์นั้น แต่มีข้อแตกต่างกันบ้างที่ว่า ในพระคัมภีร์เดิมผู้เผยพระวจนะรับคำตรัสมาจากพระเจ้าโดยตรง ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์ใหม่ส่วนใหญ่กล่าวคำพยากรณ์ในสิ่งที่พระเจ้าตรัสแล้วในพระคัมภีร์ เขากล่าวถึงสิ่งเหล่านี้และอธิบายความหมายโดยการทรงนำของพระวิญญาณฯ พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้นำเขาเองว่า จะกล่าวพระคำตอนใดๆ ให้กับประชาชนในช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่ผู้เผยรับถ้อยคำโดยตรงจากพระเจ้าในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ ในพระธรรมกิจการกล่าวถึงชายคนหนึ่งชื่ออากาปัส เขาเป็นผู้เผยพระวจนะ ดังปรากฏใน กจ.21:10…“ครั้นเราอยู่ที่นั่นหลายวันแล้ว มีชายผู้ทำนายคนหนึ่งลงมาจากแคว้นยูเดีย ชื่อ อากาปัส” เขากล่าวคำพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ล่วงหน้าถึง 2 ครั้ง…ใน กจ.11:28…“อากาปัสได้ลุกขึ้นแสดงโดยพระวิญญาณฯว่า จะบังเกิดการกันดารอาหารมากยิ่งขึ้นทั่วแผ่นดินโลก (การกันดารนั้นได้บังเกิดขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิคลาวดิอัส) และอีกครั้งหนึ่งปรากฏใน กจ.21:11…เปโตรเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์ใหม่ ท่านเป็นอัครทูตคนหนึ่งในกลุ่มอัครทูต 12 คน ท่านเป็นผู้เผยพระวจนะด้วย บางครั้งคนหนึ่งได้รับของประทานมากกว่า 1 อย่าง ใน กิจ.2:1-12…หลังจากที่พระวิญญาณฯเสด็จมา ฝูงชนพากันมาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วร้องถามกันว่า “มีอะไรกัน” ในเวลานั้นเปโตรลุกขึ้นทำหน้าที่ของผู้เผยพระวจนะ เขากล่าวถ้อยคำของพระเจ้า โดยการทรงนำของพระวิญญาณฯ พระองค์ทรงทำให้เขาระลึกถึงคำพยากรณ์ที่มีในพระคัมภีร์เดิม เปโตรไม่มีเวลาเตรียมในสิ่งที่ท่านจะพูด ท่านพูดออกมาเลย พระวิญญาณฯประทานความสามารถให้กับท่าน ในการแปลความหมายของถ้อยคำเหล่านั้นด้วย

หน้าที่สำคัญที่สุดของผู้เผยพะวจนะมีกล่าวถึงใน อฟซ.4:12 ว่า ”เพื่อเตรียมธรรมมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น” บุคคลที่กล่าวถ้อยคำของพระเจ้าโดยการทรงนำของพระวิญญาณฯ จะทำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างดีคือ เขาจะเป็นคนเตรียมธรรมมิกชนของพระเจ้า ให้พร้อมที่จะเป็นคนรับใช้ เพราะเมื่อคนได้สัมผัสถึงการทำงานของพระวิญญาณฯในตัวผู้สอน เขาจะเรียนได้รวดเร็ว คนจะเรียนจากสิ่งที่ผู้สอนและเรียนจากพระวิญญาณฯที่ประทานคำสอนให้นั้นในเวลาเดียวกัน ชีวิตของเขามีการพัฒนาขึ้น (บุคคลที่อยู่ในตำแหน่ง) โดยทั่วๆไปแล้ว ของประทานของพระเจ้าจะใช้งานได้ดีที่สุดในบุคคลที่ได้รับการเตรียมมาอย่างดี คือเต็มด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ให้เราคิดถึงถ้อยคำเปโตรอีกครั้ง ท่านได้รับการเตรียมอย่างดี ท่านมีความรู้ความเข้าใจในพระคำของพระเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาจิตวิญญาณของท่าน


ขั้นตอน 3 ประการในการพัฒนาผู้เผยพระวจนะ

อธิษฐานอย่างสม่ำเสมอ ผู้เผยพระวจนะที่ไม่อธิษฐานจะทำหน้าที่นี้ได้ไม่นาน การอธิษฐานเปิดทางให้ผู้
อธิษฐานเต็มไปด้วยพระวิญญาณฯ ถ้าบุคคลใดไม่เต็มไปด้วยพระวิญญาณฯ เขาจะเป็นผู้เผยพระวจนะไม่ได้

การอธิษฐานทำให้เขาไวต่อการนำของพระวิญญาณฯ

รู้จักพระคำของพระเจ้า ผู้เผยพระวจนะจะทำได้มากขึ้น เมื่อเขาเพิ่มพูนความรู้ของเขาในพระคำของพระเจ้ามากขึ้น ใน 2 ทธ. 2:15 กล่าวว่า “จงอุตส่าห์สำแดงตนว่าได้ทรงพิสูจน์แล้วว่าเป็นคนงานที่ไม่ต้องอาย ใช้พระวจนะแห่งความจริงอย่างถูกต้อง” ผู้เผยพระวจนะทำหน้าที่ของครูสอน เมื่อเขากล่าวพระคำของพระเจ้า
ใช้ของประทาน กล้ามเนื้อที่แขนและขาของเราจะแข็งแรงขึ้น เพราะเราใช้ฉันใด ของประทานที่เราได้รับจากพระเยซูคริสต์จะได้รับการพัฒนาขึ้น เมื่อเราใช้งานในหน้าที่นั้นๆ เช่นกัน เมื่อผู้เผยพระวจนะเริ่มต้นกล่าวคำพยากรณ์ เขาอาจตกอยู่ในความกลัวนั้นมิได้หมายความว่า เขาพูดโดยไม่ได้รับการทรงนำจากพระวิญญาณ เพียงแต่เขาจำเป็นต้องเรียนรู้มากขึ้น ในการยอมให้พระวิญญาณนำเขาอย่างอิสระมากขึ้น เมื่อของประทานได้รับการนำมาใช้ นั่นคือหนทางที่ของประทานนั้นจะได้รับการพัฒนาขึ้น
ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ, ศิษยาภิบาลและอาจารย์

เราได้ทำความเข้าใจถึงของประทานในการรับใช้ 2 อย่างคือ อัครทูตและผู้เผยพระวจนะ เราเรียนรู้ว่ามีอัครทูต 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ อัครทูต 12 คน ซึ่งทำงานร่วมกับพระเยซูคริสต์ในการวางรากฐานคจ.ขึ้นและมีบางคนที่เขียนพระคัมภีร์ใหม่

กลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่กล่าวถึงใน อฟซ.4:11 พวกเขาทำหน้าที่บุกเบิกเข้าไปในดินแดนใหม่ๆ เพื่อขยายและพัฒนาพระกายของพระคริสต์ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในกลุ่มนี้ไม่มีใครเป็นผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ ทั้งนี้เพราะงานชิ้นนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้เรายังเรียนถึงงานของผู้เผยพระวจนะด้วยว่ามี 2 ด้านคือ การกล่าวคำพยากรณ์และประกาศให้คนทราบ, ต่อไปเราจะทำความเข้าใจกับของประทานที่เหลืออีก 3 อย่างในกลุ่มนี้

ในที่นี้เราจะรวมของประทานในการเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์เข้าเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ของประทานทั้ง 2 ใช้ประโยชน์ร่วมกันในการรับใช้ พระเจ้าทรงใช้คริสเตียนมากมายในของประทานเหล่านี้ นั่นหมายความว่าพระองค์อาจจะต้องการใช้คุณหรือใครๆ เช่นเดียวกันในของประทาน อันหนึ่งอันใด ที่เราได้กล่าวถึงแล้ว ใครคือผู้ที่ให้ของประทาน เราทราบเรื่องของประทานในการรับใช้ เราทราบว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้ประทานของประทานทุกอย่าง ใน อฟซ.4:11..ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์; 1คร.12:28 .. และพระเจ้าได้ทรงโปรดตั้งบางคนไว้ในคริสตจักร คือหนึ่งอัครทูต สองผู้เผยพระวจนะ สามครูบาอาจารย์ แล้วต่อจากนั้นก็มีผู้กระทำการอันเป็นอิทธิฤทธิ์ ผู้รักษาโรค ผู้อุปการะ ผู้ครอบครองและผู้รู้ภาษาแปลกๆ) พระธรรมทั้งสองบทให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ เรามีความเข้าใจด้วยว่าพระเยซูคริสต์และพระบิดาทรงเป็นพระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงเป็นตรีเอกานุภาพ คือมีพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นพระเจ้าเดียวกับพระเยซูฯ ทรงเป็นพระภาคหนึ่งในสามและเป็นพระเจ้า

ต่อไปเราจะศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องผู้ให้ของประทานใน อฟซ.4:15 กล่าวว่า “แต่ให้เรายึดความจริงด้วยใจรัก เพื่อจะจำเริญขึ้นทุกอย่างสู่พระองค์ ผู้เป็นศีรษะ คือพระคริสต์” คำว่า “พระองค์” คือ ”พระคริสต์” ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นศีรษะ เรารู้ว่าศีรษะเป็นผู้ออกคำสั่งให้อวัยวะในร่างกายทุกชิ้นทำงานได้ นี่ร่วมถึงการใช้ของประทานในการรับใช้และบำรุงเลี้ยงร่างกายด้วย ใน คส.2:19 กล่าว “ศีรษะนั้นเป็นเหตุให้กายทั้งหมดได้รับการบำรุงเลี้ยงและติดต่อกันด้วยข้อและเอ็นต่างๆ จึงได้เจริญขึ้นตามที่พระเจ้าทรงโปรดให้เจริญขึ้นนั้น”


โดยธรรมชาติศีรษะของมนุษย์ทำหน้าที่ทั่วไป 3 อย่างคือ

1 รับรู้

สอดส่องดูความต้องการของร่างกายและตอบสนอง
ทำหน้าที่ควบคุม พระเยซูทรงทำหน้าที่นี้ในเรื่องการใช้ของประทานในการรับใช้เช่นกัน
ศีรษะรู้ถึงความต้องการของร่างกาย

เท้าของเราไม่มีทางรู้ถึงความต้องการของร่างกายในส่วนอื่นๆ หรืออวัยวะอื่นๆ ก็รู้ไม่ได้ แ ต่เราเห็นว่าบางครั้งในพระกายของพระคริสต์สมาชิกในคริสตจักรถือสิทธิเลือกบางคนเป็นอัครทูต ผู้เผยพระวจนะ ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐหรือศิษยาภิบาลและอาจารย์ ซึ่งก็คล้ายๆ กับว่า เท้ากำลังบอกมือว่าควรจะทำหน้าที่อะไร แท้จริงแล้วพระเยซูคริสต์เท่านั้นทรงเป็นศีรษะเป็นผู้ที่รู้ถึงความต้องการของทั้งพระกาย พระองค์ทรงสามารถตัดสินใจได้ว่า จะให้ผู้ใดทำหน้าที่ใดที่เป็นความจำเป็นของพระกาย สมาชิกในพระกายจะมีส่วนในกันและกันได้ โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ไม่อาจทำหน้าที่ให้ของประทานฝ่ายวิญญาณได้ มีแต่พระเยซูคริสต์เท่านั้นผู้เป็นศีรษะ เป็นผู้ประทานของประทาน

ศรีษะสอดส่องดูความต้องการของร่างกายและตอบสนอง

ถ้ากระดูกของเราหักง่าย ศรีษะจะรับรู้ว่าร่างกายของเราต้องการน้ำนมเพิ่มขึ้น ดังนั้นศรีษะจะคอยสอดส่องดูว่าร่างกายได้น้ำนมเท่าที่ควรหรือยัง ทำนองเดียวกันพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นศรีษะจะคอยสอดส่องดูความต้องการของพระกายและตอบสนองความต้องการนั้น

ศรีษะควบคุมการทำงานของร่างกาย

ศรีษะของเราควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อศรีษะเห็นถึงความต้องการของร่างกายแล้ว ศีรษะก็จะสั่งการให้อวัยวะแต่ละอย่างทำงานที่แข็งแรงของเรา ตัดสินใจเองไม่ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ดีสำหรับร่างกาย แต่เราต้องรับคำสั่งจากศีรษะให้เดินไปในที่ที่ร่างกายต้องการ เช่นเดียวกับพระคริสต์ เมื่อพระองค์ทรงมอบของประทานต่างๆ ให้แก่พระกายแล้ว พระองค์ยังทรงให้แนวทางในการใช้ของประทานนั้นๆ ด้วย ใครคือผู้รับของประทาน ของประทานทุกอย่างต้องมีผู้รับ เราเคยได้กล่าวถึงผู้รับของประทานแล้วว่า เป็นได้ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมของทั้งพระกาย กล่าวคือเมื่อสมาชิก แต่ละคนได้รับของประทานในการเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ คนเหล่านั้นก็ได้รับมอบหมายให้ทำงานกันทั้งพระกาย เราจะศึกษากันต่อไปว่า ใครได้รับเลือกให้รับของประทานในการเผยแพร่ข่าวประเสริฐ ในแง่หนึ่งผู้รับเชื่อทุกคนต้องทำหน้าที่ในการประกาศข่าวประเสริฐอยู่แล้ว ตามพระมหาบัญชาของพระเยซูใน มก..16:15-16 ที่ว่า “เจ้าทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวฯแก่มนุษย์ทุกคน ผู้ใดเชื่อและรับบัพติสมาแล้วผู้นั้นจะรอด แต่ผู้ใดไม่เชื่อจะต้องปรับโทษ” แต่บางคนพูดว่า “คำสั่งนี้ไม่ใช่เพื่อฉัน เป็นคำสั่งที่พระเยซูสั่งสาวก 11 คนต่างหาก เพราะพวกเขาเป็นอัครทูต” ให้เรามาดูพระคัมภีร์ตอนอื่นที่พระเยซูทรงตรัสกับสาวก 11 คน คือใน มธ.28:26 สอนเขา (ผู้เชื่อใหม่) ให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้” เป็นความจริงที่อัครทูต 11 คน รับคำสั่งให้ “ออกไปทั่วโลกและประกาศข่าวประเสริฐ” แต่หลังจากนั้น เขาต้องสั่งสอนผู้เชื่อใหม่ทุกคน ให้ถือรักษาสิ่งสารพัดคือ คำสั่งทุกอย่างซึ่งรวมถึงคำสั่งให้ออกไปทั่วโลกและประกาศข่าวประเสริฐด้วย ดังนั้นทุกคนจึงเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับของประทานในการเผยแพร่ข่าวประเสริฐ จะมีข้อแตกต่างบางประการจากที่กล่าวมาแล้ว พระเจ้าทรงทราบว่าใครคือผู้ที่พระองค์จะใช้ได้ดีที่สุดในงานนี้ งานเริ่มแรกของเขาอาจไม่ได้เริ่มต้นด้วยการเผยแพร่ข่าวประเสริฐ

ในพระธรรม กจ.เราได้เห็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ 2 คนแรกที่ไม่ได้เป็นอัครทูตคือ ฟิลิปและสเทเฟน ซึ่ง 2 คนเริ่มงานรับใช้ของเขาในหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน เราพบได้ใน กจ. 6:2-35, ว่าดังนี้ อัครทูต 12 กล่าวว่า ซึ่งเราจะละเลยพระวจนะของพระเจ้า มัวไปแจกอาหารอยู่ก็หาควรไม่ เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลายจงเลือก 7 คน ในพวกท่านที่มีชื่อเสียงดี ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และสติปัญญา เราจะตั้งเขาให้ดูแลการงานนี้ …คนทั้งหลายเห็นชอบกับคำนี้ จึงเลือกสเทเฟนผู้ประกอบด้วยพระวิญญาณฯ กับฟิลิป” คนอื่นๆ ก็ได้รับการเลือกให้ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วย แต่มีเพียงสเทเฟนและฟิลิปได้มาเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ ต่อมาสเทเฟนถูกฆ่า อาจจะหลังจากการประกาศหนเดียวของเขาเท่านั้น และฟิลิปได้รับการขนานนามว่า “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” ใน กจ. 21:6 ซึ่งเขียนว่า “เราก็เข้าไปในบ้านของฟิลิปผู้ประกาศข่าวประเสริฐ ฟิลิปเป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐตั้งแต่ ประมาณ คศ.33 เขาทำหน้าที่นี้จนถึง คศ.60 สิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ว่า งานส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาคือ การประกาศข่าวประเสริฐ เหตุผลหนึ่งที่สทเฟนและฟิลิปได้รับการเลือกให้หน้าที่ ที่มีความรับผิดชอบสูงนี้ น่าจะเป็นเพราะเขามีความสัตย์ซื่อต่อภารกิจขององค์พระผู้เป็นเจ้า …เมื่อเขาทั้งหลายได้ยินเหตุการณ์นั้น พระองค์ได้ตรัสคำอุปมาเรื่องหนึ่งให้เขาฟังต่อไป เพราะพระองค์เสด็จมาใกล้กรุงเยรูซาเล็มแล้ว และเพราะเขาทั้งหลายคิดว่าแผ่นดินของพระเจ้าจะปรากฏโดยพลัน เหตุฉะนั้นพระองค์จึงตรัสว่า "มีเจ้านายองค์หนึ่งไปเมืองไกล เพื่อจะรับอำนาจมาครองแผ่นดิน แล้วจะกลับมา ท่านจึงเรียกทาสของท่านสิบคนมามอบเงินไว้แก่เขาสิบมินา สั่งว่า 'จงเอาไปค้าขายจนเราจะกลับมา' แต่ชาวเมืองชังท่านผู้นั้น จึงใช้คณะทูตตามไปทูลว่า 'เราไม่ต้องการให้ผู้นี้ครอบครองเรา' เมื่อท่านได้รับอำนาจครองแผ่นดินกลับมาแล้ว ท่านจึงเรียกทาสทั้งหลายที่ท่านได้ให้เงินไว้นั้นมา เพื่อจะได้รู้ว่าเขาทุกคนค้าได้กำไรกี่มากน้อย ฝ่ายคนแรกมาทูลว่า 'พระเจ้าข้า เงินมินาหนึ่งของพระองค์ ได้กำไรสิบมินา' พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า 'ดีแล้วเจ้าเป็นทาสที่ดี เพราะเจ้าสัตย์ซื่อในของเล็กน้อยเจ้าจงมีอำนาจครอบครองสิบเมืองเถิด' คนที่สองมาทูลว่า 'พระเจ้าข้า เงินมินาหนึ่งของพระองค์ได้กำไรห้ามินา' พระองค์จึงตรัสกับเขาเหมือนกันว่า 'เจ้าจงครอบครองห้าเมืองเถิด'…ลก..19:11-19 ศึกษาดูว่า พระเจ้าทรงมอบบำเหน็จแก่ผู้ที่สัตย์ซื่อต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเขาอย่างไร เหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้พระเจ้าทรงเลือกคนทั้งสองให้ทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวประเสริฐอีกก็คือ เขาประกอบ (เต็ม) ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และสติปัญญาใน กจ.6:8 กล่าวว่า ..“สเทเฟนประกอบด้วยพระคุณและฤทธิ์เดช พระเจ้าทรงเลือกคนให้ทำหน้าที่ประกาศข่าวประเสริฐด้วยคุณลักษณะหลายประการในบรรดาคุณลักษณะเหล่านี้ ยังรวมถึงความสัตย์ซื่อ, ประกอบ(เต็ม)ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์, ประกอบด้วยสติปัญญา, ประกอบด้วยความเชื่อและฤทธิ์เดช พระองค์อาจมองดูคุณสมบัติอื่นๆด้วย ให้เราจำไว้ด้วยว่า พระเจ้าทรงทราบว่า ใครคือผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งบางทีเราอาจจะยังมองไม่เห็นในคนๆ นั้นก็ได้ ตัวอย่างเช่น พระองค์จะทรงเรียกอนุชนคนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐ ในขณะที่คนนั้นหรือคนอื่นๆ ยังคิดไม่ถึงว่าเขาจะทำได้ใน 1ซมอ.3 พระเจ้าทรงเรียกซามูเอลให้ทำหน้าที่เป็นผู้เผยพระวจนะในอิสราเอล ตั้งแต่เขายังเป็นเด็กมาก ดังนั้นผู้รับของประทานนี้คือ ผู้เชื่อที่พระเจ้าทรงทราบว่า เขามีคุณลักษณะเหมาะสมกับการนี้ หน้าที่ของเขา ชื่อที่เราเรียกเขาได้รวมเอาความหมายของหน้าที่หลักของเขาเอาไว้แล้ว คำว่า “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” หมายถึง “ผู้ที่โฆษณาข่าวดี” เราเห็นว่านี้ ข่าวดีหลายอย่างในโลกนี้ แต่ข่าวดีผู้ประกาศข่าวฯพูดถึงนี้ เกี่ยวข้องกับข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ ใน 1คร.15:1-4 เปาโลสรุปความหมายของข่าวฯ ไว้อย่างย่อๆ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ 3 อย่างคือ

พระเยซูคริสต์ได้ทรงวายพระชนม์เพราะบาปของเราทั้งหลายตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์
พระองค์ถูกฝังไว้และ
พระองค์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาใหม่ในวันที่สาม ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ นอกจากผู้ประกาศฯ จะทำหน้าที่หลักในการประกาศ เรื่องพระเยซูคริสต์แก่คนที่ไม่เชื่อแล้ว เขายังต้องทำหน้าที่อื่นด้วย เปาโลกล่าวถึงใน อฟซ.4:12 ว่าผู้ประกาศข่าวประเสริฐต้องมีส่วนรับผิดชอบในการเตรียม ธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น” หน้าที่นี้จะสำเร็จลงได้ก็โดยการเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น โดยเราเองดำเนินตามแบบอย่างที่ดีในพระคัมภีร์ก่อน
เราจะเข้าใจหน้าที่ของผู้ประกาศฯดีขึ้น ถ้าเราจะพิจารณาดูจากชีวิตและงานของ “ผู้ประกาศฯ” ที่พระคัมภีร์ คือฟิลิปให้ศึกษารายละเอียดต่างๆ ของฟิลิปต่อไปนี้อย่างถี่ถ้วน

เขาเดินทางไปยังแคว้นสะมาเรียและประกาศเรื่องพระคริสต์ให้ชาวเมืองนั้นฟัง (กจ.8:5)
เขาพูดกับประชาชนและได้ทำการอัศจรรย์หลายอย่าง (กจ.8:6)
เขาทำให้เมืองนั้นมีความปลื้มปีติ (กจ.8:8)
เขาให้บัพติสมาแก่ผู้ที่เชื่อ (กจ.8:12)
เขายอมให้พระเจ้านำว่า ควรจะไปประกาศที่ไหน (กจ.8:26-27)
เขายอมรับคำสั่งแบบเฉพาะเจาะจงของพระวิญญาณบริสุทธิ์ กจ.8:29
เขาเป็นพยานส่วนตัวกับรายบุคคล กจ.8:30-35
เขาประกาศข่าวประเสริฐในหลายเมือง กจ.8:40
เขาประกาศกับครอบครัวของเขาด้วย กจ.21:9
นอกจากนี้เรายังเรียนรู้ที่จะรู้จักผู้ประกาศข่าวฯ และงานของเขาได้จากชีวิตและการรับใช้ของสเทเฟนด้วย แม้ว่าพระคัมภีร์ไม่ได้ขนานนามเขาว่า ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ ให้เราศึกษารายละเอียดต่อไปนี้

1 เขาทำการอัศจรรย์และทำการเป็นนิมิตใหญ่ท่ามกลางประชาชน กจ.6:8

2 เขากล่าวถ้อยคำที่ประกอบด้วยสติปัญญาและด้วยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณฯ กจ.6:10

3 เขามีท่าทีที่ดีเมื่อถูกข่มเหง กจ.6:15

เขาสั่งสอนด้วยพระคำของพระเจ้าอย่างชัดเจนและด้วยฤทธิ์เดช กจ.7:2-53
เขาพูดความจริงของพระเจ้าด้วยใจกล้าหาญ แม้เขาต้องตายเพราะคำพูดนั้น กจ.7:51-53
เขาให้อภัยแก่ผู้ที่ฆ่าเขา กจ.7:60
เขาเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ คริสตจักรที่ถูกฆ่าตาย เพราะความเชื่อ
ผู้ประกาศข่าวประเสริฐทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์เช่นเดียวกับฟิลิปและสเทเฟน แต่เราสามารถเรียนรู้หน้าที่พื้นฐานของของประทานนั้นจากคนทั้งสอง

พระธรรมตอนอื่นใน 2ทม.4:5 ที่กล่าว “จงทำหน้าที่ของผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” ในตอนนี้ชี้ให้เราเห็นว่า บางครั้งของประทานในการประกาศฯ ใช้ควบคู่กับของประทานอื่นๆ ข้อความข้างต้นนี้กล่าวถึง ทม.ซึ่งเป็นศิษยาภิบาล เราจะศึกษาหน้าที่หลักของศิษยาภิบาลในบทต่อไป แต่ให้เราจำไว้ก่อนว่าศิษยาภิบาลอาจต้องทำหน้าที่ของผู้ประกาศฯ ด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

ชีวิตของเราได้รับการพัฒนาขึ้น

ของประทานในการรับใช้ทุกอย่างที่พระเยซูคริสต์ประทานให้ จำเป็นต้องรับการพัฒนาขึ้น เมื่อคิดถึงเด็กแรกเกิด แม้ว่าเขามีอวัยวะทุกอย่างสมบูรณ์ของคนคนหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า เขาไม่ต้องการการเจริญเติบโตขึ้น ต้องใช้เวลาหลายปีที่เขาจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เป็นต้น ของประทานในการประกาศข่าวฯ เป็นสิ่งที่ดี และสมบูรณ์ครบถ้วนที่พระเจ้าได้ทรงประทานให้แก่พระกาย แต่อย่างไรก็ตามของประทานนี้จำเป็นต้องรับการพัฒนาขึ้น เพื่อจะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ให้เรามาพิจารณาการพัฒนาของประทาน 4 ขั้นตอน

ขะมักเขม้นในการอธิษฐาน ให้สังเกตดูการอธิษฐานของอัครทูต 12 คนที่เป็นนักประกาศด้วยใน กจ.6:4 “ฝ่ายพวกเขาเราจะขะมักเขม้นอธิษฐานและรับใช้พระเจ้าในพันธกิจแห่งพระวจนะเสมอไป” และยังกล่าวอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

My Blog

  • วินัยของน้องหมา (ข้างถนน) - วันที่ 18/8/2011 เช้านี้ขณะที่รถติดไฟแดงอยู่บริเวณสี่แยกสามย่าน ซึ่งเบื้องหน้าเป็นจามจุรีสแควร์นั้น พลันก็เหลือบเห็นน้องหมาตัวหนึ่งเดินข้ามทางม้าลายด้วยอ...
    12 ปีที่ผ่านมา
  • บทความคริสเตียน - บทความคริสเตียน http://www.gracezone.org/index.php/christian-articles บทความทางด้านจิตวิญญาณ หลักข้อเชื่อ พระเจ้า พระคัมภีร์ พระเจ้า พระคัมภีร์ แนวทางในการ...
    15 ปีที่ผ่านมา
  • คริสเตียนกับการรับใช้พระเยซู - คริสเตียนกับการรับใช้พระเยซู วัน พุธ 08 ต.ค. 08@ 17:47:37 ICT หัวข้อ: สรุปคำเทศนาประจำอาทิตย์ ดร.ทะนุ วงค์ธนานุกุล วัน อาทิตย์ ที่ 21 กันยายน 2008 พระธร...
    15 ปีที่ผ่านมา
  • - แต่วาระนั้นใกล้เข้ามาแล้ว และบัดนี้ก็ถึงแล้ว คือเมื่อผู้ที่นมัสการอย่างถูกต้องจะนมัสการพระบิดา ด้วยจิตวิญญาณและความจริง เพราะว่าพระบิดาทรงแสวงหาคนเช่นนั้...
    15 ปีที่ผ่านมา

Christian Blog

บล็อกวาไรตี้

เทคโนโลยี

ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใหม่ล่าสุด |

วาไรตี้

ข่าวประจำวัน

สารบัญเว็บไทย

กินลม ชมทะเล ที่มาร์คเฮ้าส์บังกะโล เกาะกูด จ.ตราด

Thailand Map