Custom Search By Google

Custom Search

วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ติดตามพระเจ้าอย่างสุดใจ


หัวข้อ“ความเชื่ออย่างคาเลบ” โยชูวาบทที่ 14:1-15

โดย ศจ.สิริกานต์ มาศตะยาสิริ


Intro: วันนี้เราตื่นขึ้นมา เราได้ทำการสำรวจตัวเราเองว่า เรากำลังมีความเชื่อแบบไหนในชีวิตของเรา เรากำลังมีความเชื่อ(ความศรัทธา) ขนาดไหน 50/50 หรือ เต็มร้อย ทำไมผู้เขียนหนังสือโรม 1:17 จึงกล่าวว่า
17เพราะว่าในข่าวประเสริฐนั้น ความชอบธรรมของพระเจ้าก็ได้สำแดงออก โดยเริ่มต้นก็ความเชื่อ สุดท้ายก็ความเชื่อ ตามที่พระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า คนชอบธรรมจะมีชีวิตดำรงอยู่โดยความเชื่อ
คนที่เชื่อข่าวประเสริฐของพระเยซูเป็นคนมีเหตุผลหรือไม่ แน่นอนมีเหตุผลตั้งแต่เริ่มต้น และจบลงด้วยเหตุผล แต่เหตุผลนั้นต้องเป็นเหตุผลของพระเจ้า มิใช่เหตุผลอย่างมนุษย์ อิสยาห์ 55:8-9
8เพราะความคิดของเราไม่เป็นความคิดของเจ้า ทั้งทางของเจ้าไม่เป็นวิถีของเรา” พระเจ้าตรัสดังนี้ 9“เพราะฟ้าสวรรค์สูงกว่าแผ่นดินโลกฉันใด วิถีของเราสูงกว่าทางของเจ้า และความคิดของเราก็สูงกว่าความคิดของเจ้าฉันนั้น”
ความเชื่อในพระเจ้าจึงเป็นการใช้เหตุผลของพระเจ้ามาแทนที่เหตุผลของตัวเราเอง และหนังสือโยชูวาบทนี้ จะให้เราได้เห็นความเชื่อของคาเลบ ที่รอคอยและเฝ้าสังเกตุ จดจำทุกถ้อยคำที่เป็นสัญญา และมิได้ลืมที่จะทวงถามสัญญานั้น ในเวลาที่เหมาะสม โยชูวา 14:1-15
Background: ดินแดนคานาอันสำหรับอีกเก้าเผ่าครึ่ง กำลังรอให้อิสราเอลเข้ายึดครอง พระคัมภีร์บันทึกว่า คานาอันถูกแบ่งออกด้วยฉลาก เพื่อแจกจ่ายให้แก่คนเก้าเผ่าครึ่ง วิธีจับฉลาก เป็นวิธีที่ยอมรับการกำหนดของพระเจ้าว่า ใครจะได้ดินแดนไหนไปเป็นมรดก สำหรับสองเผ่าครึ่ง คือ รูเบน กาด และมนัสเสห์อีกครึ่งเผ่า ได้รับแผ่นดินไปแล้ว แต่ยังต้องทำหน้าที่เข้าร่วมรบกับพี่น้องอีกเก้าเผ่าครึ่งที่ข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปอีกฝั่งเพื่อจะรับส่วนแบ่งแผ่นดินข้างหน้า เราอาจรู้สึกว่า สองเผ่าครึ่งแรกที่รับแผ่นดินไปแล้ว ได้รับของตายแน่นอน แล้วอีกเก้าเผ่าครึ่งรู้สึกอย่างไร การจับฉลากได้เป็นตัวบอกให้เรารู้ว่า อีกเก้าเผ่าครึ่งไม่ได้รู้สึกว่า ใครได้ก่อน ใครได้ของตาย หรือใครได้เปรียบ การจับฉลากเป็นสิ่งที่อิสราเอลเวลานั้นเชื่อว่า แผ่นดินคานาอันเป็นของเขาตั้งแต่ยังไม่ยึดครอง การจับฉลากเป็นการยอมรับพระเจ้าว่าเป็นผู้แบ่งดินแดนให้กับเขา มิใช่มนุษย์
App. ความเชื่อของอิสราเอลในเวลานั้น เป็นอย่างที่หนังสือฮีบรู 11:1 กล่าวว่า
1ความเชื่อคือความแน่ใจในสิ่งที่เราหวังไว้ เป็นความรู้สึกมั่นใจว่า สิ่งที่ยังไม่ได้เห็นนั้นมีจริง
ความเชื่อของอิสราเอล เหมือนกับนางราหับ ดังที่ ยากอบ 2: 25-26
25เช่นเดียวกัน ราหับหญิงแพศยาก็ได้ความชอบธรรมเนื่องด้วยความประพฤติมิใช่หรือ เมื่อนางได้รับรองผู้ส่งข่าวเหล่านั้น และส่งเขาไปเสียทางอื่น 26เพราะกายที่ปราศจากจิตวิญญาณนั้นไร้ชีพแล้วฉันใด ความเชื่อที่ปราศจากการประพฤติตามก็ไร้ผลฉันนั้น
นั่นหมายความว่า เขาไม่ได้มีความเชื่อและตั้งตารอคอยให้สิ่งที่พระเจ้าสัญญาลอยมาประเคนตรงหน้า ความเชื่อของอิสราเอลคือ ไปทำให้ความเชื่อนั้นเป็นจริง พระคัมภีร์ตอนนี้กล่าวถึงการจับฉลาก แต่ก็มีความจริงอีกอันหนึ่งปรากฏคือ ก่อนที่จะมีการทอดฉลาก คาเลบผู้นำของเผ่ายูดาห์แสดงตนว่า ส่วนของเขาไม่ต้องทอดฉลาก ส่วนของเขาเป็นไม่ต้องพึ่งพาการทอดฉลาด เพราะการทอดฉลากเป็นส่วนของคนที่ไม่รู้ว่าพระเจ้ากำหนดตรงไหนไว้ให้เขา แต่สำหรับคาเลบ เขารู้ เพราะเขาเป็นหนึ่งในผู้สอดแนมสิบสองคนที่มีความเชื่อในเรื่องแผ่นดินคานาอันที่พระเจ้ายกให้กับอิสราเอล เขาเป็นผู้สอดแนมที่เข้าไปในเมืองคนยักษ์ กำแพงสูงใหญ่ และกลับออกมาด้วยความมั่นใจในพระสัญญาว่าเป็นของเขาแน่ เวลาที่ผ่านไปขณะที่รอคอยจนถึงเวลาที่อิสราเอลจะเข้ายึดดินแดน คาเลบจึงเป็นฝ่ายเริ่มต้นการสนทนากับโยชูวา เพื่อขอส่วนแบ่งดินแดน เพราะเขามีความชัดเจนว่า
1. ด้วยจิตใจที่แตกต่างและตามพระเจ้าอย่างมั่นคง โยชูวา 14:6-8
6ขณะนั้นคนยูดาห์มาหาโยชูวา ณ เมืองกิลกาล และคาเลบบุตรเยฟุนเนห์ชาวตระกูลเคนัส ได้กล่าวแก่ท่านว่า “ท่านทราบเรื่อง ซึ่งพระเจ้าตรัสกับโมเสสผู้รับใช้ของ พระเจ้าที่คาเดชบารเนีย เกี่ยวกับท่านและข้าพเจ้าแล้ว 7เมื่อโมเสสผู้รับใช้ของพระเจ้าใช้ให้ข้าพเจ้าไปจาก คาเดชบารเนีย เพื่อสอดแนมดูแผ่นดิน ข้าพเจ้ามีอายุสี่สิบปี ข้าพเจ้าได้นำข่าวมาแจ้งแก่ท่านตามความคิดเห็นของ ข้าพเจ้า 8แต่ส่วนพี่น้องซึ่งขึ้นไปพร้อมกับข้าพเจ้าได้กระทำให้จิตใจ ของประชาชนกลัว แต่ข้าพเจ้าได้ติดตามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของข้าพเจ้า อย่างสุดใจ
พระคัมภีร์ตอนนี้เป็นรายละเอียดของบทที่ 11 ที่บันทึกว่า โยชูวาได้ยึดแผ่นดินทั้งสิ้น ใน 11:21 บทที่ 14 เป็นรายละเอียดก่อนมีการทอดฉลากเพื่ออิสราเอลจะเข้ายึดดินแดนเพื่อเผ่าต่างๆที่เหลืออีกเก้าเผ่าครึ่ง คาเลบพูดกับโยชูวาเพื่อทบทวนความเป็นมาของการมาขอดินแดนนี้ ด้วยคำสัญญาที่พระเจ้าทรงตรัสกับโมเสส และโยชูวาเป็นพยานนั้น ในกันดารวิถี 14:24 24แต่ส่วนคาเลบผู้รับใช้ของเรา เพราะมีจิตใจต่างกันและได้ตามเราอยู่ตลอดมา เราก็จะได้นำเขาไปถึงแผ่นดินที่เขาได้ไปมา และเผ่าพันธุ์ของเขาจะได้กรรมสิทธิ์เมืองนั้น
จิตใจที่แตกต่างของคาเลบ คำแปลมาจากคำว่า อีกวิญญาณหนึ่ง หรืออีกอารมณ์หนึ่ง ( another spirit) มาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรู แปลว่า ลม หรือวิญญาณ ที่แปรปรวนไปตามการถูกกระตุ้น ซึ่งวิญญาณของคาเลบแตกต่างจากผู้สอดแนมอีกสิบคน คาเลบจึงกล่าวด้วยความชัดเจนว่า แต่ส่วนพี่น้องซึ่งขึ้นไปพร้อมกับข้าพเจ้าได้กระทำให้จิตใจ ของประชาชนกลัว คาเลบกล่าวถึงอารมณ์ของผู้สอดแนมสิบคนตกอยู่ภายใต้อีกวิญญาณหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับเขา เป็นวิญญาณที่ทำให้คนรอบข้างเต็มไปด้วยความกลัว ผู้สอดแนมสิบคนได้รายงานผลการสอดแนมในทางลบ ด้วยความไม่เชื่อว่า ดินแดนที่พระเจ้าสัญญายกให้นั้นจะเป็นจริง การรายงานจึงตรงกันข้ามกับความจริง ซึ่งพระเจ้าทรงถือว่าเป็นการสบประมาทพระองค์ กันดารวิถี 14: 23,26-30
23คนเหล่านี้จะมิได้เห็นแผ่นดินที่เราสัญญาไว้กับ ปู่ย่าตายายของเขาฉันนั้น คนทั้งปวงที่สบประมาทเราจะไม่ได้เห็นแผ่นดิน นั้นสักคนเดียว.... 26พระเจ้าตรัสกับโมเสสและอาโรนว่า 27“เราจะทนชุมนุมชนชั่วร้ายนี้บ่นต่อเรานานสักเท่าใด เราได้ยินเสียงบ่นของคนอิสราเอลซึ่งเขาบ่นว่าเรา 28เจ้าจงกล่าวแก่เขาว่า พระเจ้าตรัสว่า 'เรามีชีวิตอยู่ฉันใด เราจะกระทำสิ่งที่เจ้าทั้งหลายบ่นให้เราได้ยินแก่ เจ้าฉันนั้น 29ซากศพของเจ้าจะตกหล่นอยู่ในถิ่นทุรกันดารนี้ จำนวนคนทั้งหมดของเจ้านับตั้งแต่อายุยี่สิบปีขึ้นไป ผู้ใดที่บ่นว่าเรา 30จะไม่มีสักคนหนึ่งที่มาถึงแผ่นดินที่เราสัญญาว่า จะให้เจ้าอาศัยอยู่ เว้นแต่คาเลบบุตรเยฟุนเนห์และโยชูวาบุตรนูน
ผลลัพธ์คือ มีแต่โยชูวาและคาเลบที่มีอายุจนแก่ชราเมื่อได้เข้าแผ่นดินคานาอัน นอกนั้นตายหมด คาเลบยังได้ยืนยันจิตใจที่แตกต่างของตนเองด้วยด้วยคำว่า แต่ข้าพเจ้าได้ติดตามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของข้าพเจ้า อย่างสุดใจ คำว่าสุดใจนี้คือจิตใจที่แตกต่างที่พระเจ้าทรงสนพระทัย เป็นความมั่นใจที่ไม่มีความสงสัยเลย ยากอบ 1: 6-8
....เพราะว่าผู้ที่สงสัยเป็นเหมือนคลื่นในทะเลซึ่งถูกลมพัดซัดไปมา 7ผู้นั้นจงอย่าคิดว่าจะได้รับสิ่งใดจากพระเจ้าเลย 8เขาเป็นคนสองใจไม่มั่นคงในบรรดาทางที่ตนประพฤตินั้น นี่เป็นความหมายเดียวกับที่พระเจ้าตรัสกับโมเสสเรื่องคาเลบว่า เขามีความมั่นคงในการติดตามพระเจ้า ไม่กลับไปกลับมา คาเลบมั่นใจว่าเขาเป็นผู้ที่สมควรจะได้รับแผ่นดินตามที่พระเจ้าสัญญา เพราะพฤติกรรมของเขาสอดคล้องกับความเชื่อของตัวเขาเอง จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะแสดงความเป็นเจ้าของแผ่นดินคานาอันส่วนเมืองเฮโบรนว่าเป็นของเขา และขอจากผู้นำโยชูวา อย่างเต็มปากเต็มคำ
App. วันนี้เราขอพระเจ้าอย่างเต็มปากเต็มคำ หรืออ้อมๆแอ้มๆ เพราะไม่แน่ใจในการที่จะเข้าครอบครองสิ่งที่เรากำลังขอ เพราะเราเองยังรู้สึกอ้อมๆแอ้มในการติดตามและเชื่อฟังพระเจ้าอย่างไม่เต็มใจในบางครั้งหรือบ่อยๆอยู่หรือไม่
2. ความเชื่อที่สำแดงออกมา โยชูวา 14:9
9ในวันนั้นโมเสสได้ปฏิญาณว่า 'แท้จริงแผ่นดินซึ่งเท้าของท่านได้เหยียบย่ำไปนั้น จะตกเป็นมรดกของท่านและของบุตรหลานของท่าน สืบไปเป็นนิตย์ เพราะว่าท่านได้ติดตามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของ ข้าพเจ้าอย่างสุดใจ
คาเลบได้อ้างถึงโมเสส ผู้นำของอิสราเอลที่ได้กล่าวเป็นเหมือนตัวแทนของคนทั้งหมดว่า คนอิสราเอลทั้งหมดได้เห็นความเชื่อของคาเลบที่สำแดงออกมา เป็นการติดตามพระเจ้าอย่างสุดใจ การติดตามพระเจ้าอย่างสุดใจเป็นอย่างไร รากศัพท์คำว่าสุดใจนี้ แปลว่า เต็มๆ ที่จริงคาเลบใช้สำหรับตัวเองไปแล้วในข้อ 8 และคาเลบได้ยืนยันคำพูดของโมเสสอีกครั้ง นั่นคือการไม่ได้พูดด้วยตัวเองอย่างเดียว แต่เป็นคำพูดที่มาจากคนรอบข้าง และโมเสสสามารถเป็นตัวแทนของคนรอบข้าง เป็นพยานที่ดีเกี่ยวกับความเชื่อของคาเลบในการติดตามพระเจ้าอย่างสุดใจ ในทำนองเดียวกัน ความเชื่อของคริสเตียนไม่ใช่แค่เก็บไว้ในใจคนเดียว แต่ต้องสำแดงออกมาเป็นการกระทำให้คนรอบข้างได้เห็นความเชื่อของตนเอง ไม่ใช่บอกกับบางคน แต่ไม่บอกกับบางคน หรือปกปิดการเป็นคริสเตียนเพราะกลัวจะสูญเสียคะแนนนิยม มัทธิว 10:33
32 “เหตุดังนั้นทุกคนที่จะรับเราต่อหน้ามนุษย์ เราจะรับผู้นั้นต่อพระพักตร์พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ 33แต่ผู้ใดจะไม่ยอมรับเราต่อหน้ามนุษย์ เราจะไม่ยอมรับผู้นั้นต่อพระพักตร์พระบิดาของเราผู้ทรงสถิตในสวรรค์ด้วย
คาเลบได้ดำเนินชีวิตแห่งความเชื่อที่ระดับโมเสสตัวแทนของคนทั้งชาติมองเห็นและได้พยากรณ์ไว้ว่า 'แท้จริงแผ่นดินซึ่งเท้าของท่านได้เหยียบย่ำไปนั้น จะตกเป็นมรดกของท่านและของบุตรหลานของท่าน สืบไปเป็นนิตย์ นี่เป็นคำสัญญาที่คาเลบได้รับ วันที่คาเลบไปหาโยชูวา เขาแน่ใจเลยว่า ความเชื่อของเขาในสายตาของโมเสส จนมาถึงรุ่นโยชูวาเป็นผู้นำ ความเชื่อของเขายังเหมือนเดิม คือ เต็มๆ ในการติดตามพระเจ้า เขามั่นใจว่าเขาจะได้รับ และคนรอบข้างก็ยืนยันความเชื่อของคาเลบ
3. ความเชื่อที่กลายเป็นจริง โยชูวา 14:10-12
10และบัดนี้ ดูเถิด พระเจ้ายังทรงให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ตลอดสี่สิบห้าปีนี้ ดังที่พระองค์ตรัสตั้งแต่พระเจ้าตรัสเช่นนี้แก่โมเสส เมื่อคนอิสราเอลเดินทางอยู่ในถิ่นทุรกันดาร และนี่แน่ะวันนี้ข้าพเจ้ามีอายุแปดสิบห้าปีแล้ว11ข้าพเจ้ายังมีกำลังแข็งแรง เช่นเดียวกับวันที่โมเสสใช้ให้ข้าพเจ้าไป กำลังของข้าพเจ้าในการทำศึกสงคราม หรือออกไปและเข้ามาเดี๋ยวนี้ก็เป็นเหมือนครั้งนั้น 12เพราะฉะนั้นขอมอบแดนเทือกเขานี้ ซึ่งพระเจ้าตรัสในวันนั้นให้แก่ข้าพเจ้า เพราะท่านได้ยินในวันนั้นแล้วว่าคนอานาคอยู่ที่นั่น มีหัวเมืองใหญ่ที่มีกำแพงล้อมอย่างเข้มแข็ง ชะรอยพระเจ้าจะทรงสถิตกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะขับไล่เขาออกไปได้ ดังที่พระเจ้าตรัสไว้แล้ว”
อายุเป็นเพียงตัวเลข สำหรับคาเลบ มีคำพูดหนึ่งกล่าวว่า ความรักทำให้คนแก่แค่ไหนก็ยังรู้สึกหนุ่ม รู้สึกสาวขึ้นมาเสมอ เมื่อใกล้ถึงวันที่จะสมหวัง ความใฝ่ฝันกำลังจะกลายเป็นจริง ในทำนองเดียวกัน ยิ่งเราดำเนินชีวิตกับพระเจ้านานเท่าใด ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้าและกับพี่น้องยิ่งทำให้เรายิ่งมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ไม่ใช่ยิ่งเป็นคริสเตียนนานเท่าไร ยิ่งแห้ง ยิ่งเหี่ยว รู้สึกจืดชืด น่าเบื่อ เหมือนบางคนที่กลัวการแต่งงานเพราะกลัวแต่งแล้วเกิดเบื่อแล้วเลิกไม่ได้ ขอเราอย่าเอาความรู้สึกที่เรารู้สึกกับมนุษย์มาใช้กับพระเจ้าหรือกับพี่น้องในคริสตจักร บทพิสูจน์ความเชื่อของคาเลบคือใจรัก ที่จะเห็นพระสัญญาของพระเจ้าเป็นจริง เวลาที่ผ่านไปถึงสี่สิบห้าปี ไม่ได้ทำให้ใจรักของคาเลบจางลงไปเลย กำลังที่จะรบในศึกสงครามเพื่อให้ได้รับตามพระสัญญายังเหมือนเดิม เป็นเหมือนไฟที่ไม่เคยมอด พี่น้อง วันนี้ ไฟในใจของเราที่ครั้งหนึ่งเคยกระตือรือร้นในพระเจ้า ดับมอดไปนานแล้วตามสังขารของเราหรือไม่ จงรับการจุดติดไฟนั้นอีกครั้ง และรักษาไฟนั้นไว้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน เราก็ยังมีไฟอยู่ อีกมุมหนึ่งของคาเลบ คือการขอดินแดนส่วนที่ยากที่สุด เพราะมีคนยักษ์ (คนอานาค) เมืองที่มีกำแพงใหญ่ ภูมิประเทศเป็นเทือกเขา คาเลบใช้สิทธิ์ของผู้อาวุโส (ซึ่งยังไม่จับฉลาก) เพราะคนที่อายุเกินยี่สิบปีขึ้นไปตอนโมเสสนับผู้ชายที่จะออกรบคราวก่อน คนเหล่านั้นตายหมด ซึ่งเวลานั้น คาเลบอายุได้สี่สิบปี มาถึงเวลานี้ เขาอายุแปดสิบห้าปี น่าจะเป็นผู้ที่คนอิสราเอลให้เกียรติมีสิทธิ์เลือกดินแดนก่อน โดยไม่ต้องจับฉลาก คาเลบเลือกสิ่งที่ยาก ตามความอาวุโสด้วย ท่าทีของคาเลบนี้เหมาะสำหรับผู้นำในยุคปัจจุบันของเราที่ได้รับเกียรติจากสมาชิก ก็ต้องเลือกวิถีการดำเนินชีวิตที่ยาก หรือทางแคบมากกว่าสมาชิกด้วย มิใช่ดำเนินชีวิตสบาย ไม่เป็นแบบอย่าง นอนมาก ตื่นสาย เฝ้าเดี่ยวก็ไม่เฝ้า เหมือนกับพ่อแม่ ก็ต้องเลือกทางแคบกว่าลูก ต้องทำงานหนักมากกว่าลูก มีวินัยมากกว่าลูก คนเป็นหัวหน้างานก็ต้องทำงานมากกว่าและใช้สมองมากกว่าลูกน้อง นี่คือวิถีของผู้ทำให้ความเชื่อกลายเป็นความจริง
4. พระเจ้าสถิตอยู่กับคาเลบ โยชูวา 14: 12,13-15
12เพราะฉะนั้นขอมอบแดนเทือกเขานี้ ซึ่งพระเจ้าตรัสในวันนั้นให้แก่ข้าพเจ้า เพราะท่านได้ยินในวันนั้นแล้วว่าคนอานาคอยู่ที่นั่น มีหัวเมืองใหญ่ที่มีกำแพงล้อมอย่างเข้มแข็ง ชะรอยพระเจ้าจะทรงสถิตกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะขับไล่เขาออกไปได้ ดังที่พระเจ้าตรัสไว้แล้ว” 13แล้วโยชูวา ก็อวยพรแก่ท่านและยกเมืองเฮโบรนให้คาเลบ บุตรเยฟุนเนห์เป็นมรดก 14เฮโบรนจึงตกเป็นมรดกแก่คาเลบบุตรเยฟุนเนห์ ตระกูลเคนัสจนทุกวันนี้ เพราะว่าท่านติดตามพระเยโฮวาห์พระเจ้าของ อิสราเอลอย่างสุดใจ 15เมืองเฮโบรนนั้นแต่เดิมมีชื่อว่าคีริยาทอารบา อารบาคนนี้เป็นคนใหญ่โตที่สุดในคนอานาค แผ่นดินจึงได้สงบจากการศึกสงคราม
แม้คาเลบจะอาวุโสในท่ามกลางอิสราเอล แต่ก็ยังมีโยชูวาอีกคนที่เป็นผู้อาวุโส ที่นี่เราจะเห็นบทบาทของคาเลบกับโยชูวาสลับกัน เมื่อครั้งที่ทั้งสองยังเป็นคนหนุ่มผู้สอดแนม คาเลบถูกยกขึ้นในเวลานั้นให้เป็นประมุขของเผ่า และชื่อของเขาถูกกล่าวถึงว่า เป็นผู้ที่จะได้เข้าแผ่นดินคานาอัน ส่วนโยชูวาในเวลานั้น ไม่มีการกล่าวถึง แม้โยชูวาจะมีความเชื่อเหมือนคาเลบ แต่มีคาเลบคนเดียวที่ถูกยกขึ้น เป็นเพราะบทบาทของโยชูวาเวลานั้น เป็นนักรบที่ออกแนวหน้าอยู่เคียงคนสองคน(โมเสสและอาโรน) เท่านั้น ไม่ได้เป็นประมุขเผ่าหรือเป็นผู้นำกลุ่มคน วันนี้ โยชูวาเป็นคนที่อวยพรให้คาเลบออกไปยึดดินแดนตามพระสัญญา คือ เมืองเฮโบรน โยชูวาเป็นผู้นำของประมุขเผ่าทั้งหมด ซึ่งในพระคัมภีร์ไม่ได้มีที่ใดบันทึกว่าทั้งสองคนมีปัญหากันเกี่ยวกับเรื่องของบทบาทและตำแหน่ง และจนถึงเวลานี้ ทุกคนต่างรู้จักบทบาทตัวเอง และยอมรับการกำหนดของพระเจ้าด้วยความเต็มใจ วันนี้เราจึงเห็นภาพที่สวยงามของผู้อาวุโสสองคนที่คุยกันและอวยพรกัน แทนการแย่งที่จะเป็นผู้นำหรือตกลงยอมก้มหัวให้กันไม่ได้
นี่เป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งของการพิสูจน์ความเชื่อในชีวิตของเรา คือ อย่าเป็นคนที่ทำอะไรง่ายๆ แค่ขอให้ผ่าน ขอแค่สุกเอาเผากิน จงเป็นคนที่ใช้ความเชื่อที่เป็นเหตุผลของพระเจ้า มิใช่ ใช้ความเชื่ออย่างงมงายแบบมนุษย์ การใช้ความเชื่อของคาเลบเกิดจากพระสัญญาของพระเจ้า ไม่ใช่กิเลศตัณหาความอยากได้ของเนื้อหนัง ความเชื่อของคาเลบจึงเป็นจริง เป็นของจริง ไม่ใช่แค่ฝันกลางวัน นั่นคือสิ่งที่คาเลบพูดกับโยชูวาว่า ที่เขาเลือกเมืองที่ยากนี้ เพราะ ชะรอยพระเจ้าจะทรงสถิตกับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็จะขับไล่เขาออกไปได้ ดังที่พระเจ้าตรัสไว้แล้ว”
ความยาก ที่ต้องใช้ความเชื่อ ไม่ได้เกิดจากคาเลบเป็นผู้กำหนด แต่พระเจ้าเป็นผู้กำหนด และคาเลบใช้ความเชื่อ (ไว้วางใจ) ตามพระสัญญา นี่แหล่ะคือจิตใจที่แตกต่างของคาเลบที่พระเจ้าทรงพอพระทัย คำพูดของคาเลบนี้แตกต่างจากที่พระเจ้าทรงตรัสกับโยชูวาในแต่ละครั้งที่ให้อิสราเอลยึดดินแดนคานาอันส่วนแรกๆ เพราะพระเจ้าจะเป็นผู้ขับไล่ศัตรูออกไปเอง แต่ที่นี่ การทรงสถิตอยู่ที่ตัวคาเลบ และตัวเขาเองจะเป็นเครื่องมือของพระเจ้าในการขับไล่ศัตรูออกไปได้ เขามีความเชื่อและพระสัญญา ทำให้การทรงสถิตอยู่ที่ตัวเขาแล้ว เหมือนที่พระธรรมโรม 8:31 กล่าวว่า
31ถ้าเช่นนั้นเราจะว่าอย่างไร ถ้าพระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเรา ใครจะขัดขวางเรา
ความเชื่ออย่างคาเลบ เป็นต้นแบบของคริสเตียนทุกคนที่จะดำเนินชีวิตชนะความกลัว ด้วยวิญญาณที่แตกต่าง พระวิญญาณของพระเจ้าเท่านั้นที่ทำให้เรามีวิญญาณที่แตกต่างได้ 2 โครินธ์ 3:17
17องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณ และพระวิญญาณขององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่ที่ไหน เสรีภาพก็มีอยู่ที่นั่น
เสรีภาพ ที่ว่านี้ ทำให้เราหลุดจากอิทธิพลของวิญญาณแห่งความกลัว วันนี้ เรากำลังวิตกกังวลถึงวันข้างหน้าอยู่หรือไม่ คนของพระเจ้า อย่างเราทั้งหลายมีเสรีภาพที่จะดำเนินชีวิตโดยปราศจากความกลัว เพราะพระวิญญาณของพระเจ้าได้ทำให้เราได้รู้จักความรักของพระเจ้าที่ปราศจากความกลัว 1ยอห์น 4:18 18ในความรักนั้นไม่มีความกลัว แต่ความรักที่สมบูรณ์นั้นก็ได้ขจัดความกลัวเสีย เพราะความกลัวเข้ากับการลงโทษและผู้ที่มีความกลัวก็ยังไม่มีความรักที่สมบูรณ์

ความเชื่ออย่างคาเลบทำให้เขามั่นใจในความรักของพระเจ้าที่มีต่อเขา เขาไม่ระแวงความรักของพระเจ้า ไม่ระแวงพระสัญญาของพระเจ้า จงมีความเชื่ออย่างคาเลบ

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คริสเตียนดำเนินชีวิตในอิทธิพลของโลกนี้

การอนุญาติให้ทนทุกข์
http://www.letsworship.com/index.php?option=com_content&task=view&id=179&Itemid=111

โยนาห์ 4.6-8 ………และพระเจ้าทรงกำหนดให้ต้นละหุ่งต้นหนึ่งงอกขึ้นมาเหนือโยนาห์ ให้เป็นที่กำบังศีรษะของท่านเพื่อให้บรรเทาความร้อนรุ่มกลุ้มใจในเรื่องนี้เพราะเหตุต้นละหุ่งต้นนี้โยนาห์จึงมีความยินดียิ่งนัก แต่ในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น พระเจ้าทรงกำหนดให้หนอนตัวหนึ่งมากัดกินต้นละหุ่งต้นนั้น จนมันเหี่ยวไป เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระเจ้าทรงกำหนดให้ลมตะวันออกที่ร้อนผากพัดมา และแสงแดดก็แผดลงบนศีรษะของโยนาห์จนท่านอ่อนเพลียไปและท่านก็ทูลขอว่า ให้ท่านตายเสียเถิด ท่านว่า "ข้าตายเสียก็ดีกว่าอยู่"

มีแม่คนหนึ่งได้บอกลูกของเขาหลายครั้งหลายหนว่าให้นั่งลง แต่ลูกคนนั้นก็ยืนต่อไปโดยไม่ได้เชื่อฟังคำสั่งของแม่เขา แล้วในที่สุดแม่คนนั้นก็เข้าไปหาและบังคับให้ลูกของเขานั่งลง เมื่อเด็กคนนั้นนั่งลงเขาก็พูดออกมาด้วยความโกรธว่า ภายนอกนั้นผมนั่งลงแต่ภายในนั้นผมกำลังยืนขึ้นมีพวกเราหลายคนที่มองดูภายนอกดูเหมือนเป็นคนที่เชื่อฟังแต่ภายในของเรานั้นกำลังกบฎ การกบฎนั้นบางครั้งไม่ได้เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนเสมอและบางครั้งเป็นสิ่งที่แอบซ่อนอยู่ภายใน การกบฎเป็นปฐมบาปและเป็นปัญหาอันหนักหน่วงสำหรับมนุษย์ บาปแห่งการกบฏครั้งแรกเกิดขึ้นจากซาตานและมันก็ลากเอาอาดัมและเอวาล้มลงไปกับมันด้วย จากการกบฏในครั้งนั้นทำให้อาดัมและเอวาสูญเสียสิทธิในการครอบครองพร้อมกับรับเอาลักษณะวิญญาณจิตแห่งการกบฏมาไว้กับตัวและถ่ายทอดสู่พงศ์พันธ์ของตน ลักษณะจิตวิญญาณที่กบฏนั้นสังเกตได้ง่ายมองหาไม่ยากเพราะคนทุกคนต่างมีด้วยกันทั้งนั้น คนของพระเจ้าก็เป็นเช่นกันแม้เราจะได้รับการทรงไถ่จากพระโลหิตพระเมษโปดกแล้ว แต่หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตของเราก็จะต้องได้รับการชำระและเปลี่ยนแปลงต่อไป

คริสเตียนไม่ได้ถูกเรียกออกจากโลกและจำเป็นที่จะต้องดำเนินชีวิตอยู่ในโลกของความบาปต่อไปเพื่อทำพระมหาบัญชาให้สำเร็จ แต่อิทธิพลของโลกนี้ก็ส่งผลต่อลักษณะการดำเนินชีวิตต่อเราอย่างคาดไม่ถึงทีเดียว แต่ขอบคุณพระเจ้าที่เรากำลังมุ่งไปสู่ชัยชนะและอาณาจักรของพระเจ้า เราจะไม่เห็นการกบฎอีกต่อไป และเมื่อเราดำเนินชีวิตอยู่ในกายของเราขณะนี้ ชีวิตจิตใจภายในของเราอาจไม่ได้เป็นไปอย่างที่พระเจ้าปราถนา แต่การปลดปล่อยอย่างสิ้นเชิงนั้นจะมาในที่สุด เพราะฉะนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อเราในการตระหนักถึงจุดต่างๆ ในชีวิตในการกบฎต่อพระเจ้าแม้ไม่รู้ตัวก็ตามการกบฎอาจเป็นถ้อยคำที่แสดงความคิดแง่ลบที่เราเองก็ไม่อยากจะเชื่อฟัง แต่ถ้าเราคิดในแง่บวกเราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากเรื่องราวนี้ พระเจ้าเรียกเราให้มีส่วนประกาศข่าวประเสริฐในทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ข่าวประเสริฐแห่งไม้กางเขนจะเป็นจุดศูนย์กลางในโลกของเราและการที่จะมีส่วนในงานพระเจ้านั้นจำเป็นที่จะต้องมีหยาดเหงื่อและน้ำตาเพื่องานของพระเจ้า และบ่อยครั้งในสภาพมนุษย์ที่เรามีความขัดแย้งและความเจ็บปวดภายใน ในการที่จะทำตามน้ำพระทัยพระเจ้าและสิ่งนี้หลายครั้งเกิดขึ้นกับโยนาห์ในการไปประกาศข่าวประเสริฐพระเจ้าที่เมืองนีนาเวห์และจากการศึกษาพระธรรมโยนาห์เล่มนี้เราจะพบว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ถึงจุดต่ำสุดของชีวิตโยนาห์ในการปฎิบัติรับใช้พระเจ้าในโยนาห์บทที่ 1 ส่วนที่ 1 นั้นคือส่วนของการปฎิเสธการทรงเรียกจากพระเจ้า ในส่วนที่ 2 เป็นส่วนของการยอมรับการทรงเรียกและจะเห็นส่วนที่ 3 ในบทที่ 3 คือส่วนของการเชื่อฟังการทรงเรียก และในส่วนสุดท้ายในบทสุดท้ายที่คือส่วนของการไม่พอใจในการที่จะตามการทรงเรียกที่มาจากพระเจ้า

โยนาห์เป็นคู่มือแห่งพันธกิจในทุกวันนี้ เรียกเราให้มีส่วนในงานพันธกิจในฐานะที่เราเป็นคนของพระเจ้า และพระคุณของพระเจ้าจะทำให้เรายอมรับการทรงเรียกของพระเจ้าในชีวิตของเราได้ และช่วยเราเชื่อฟังด้วยความชื่นชมยินดีและไม่ใช่ด้วยความไม่พอใจและจะมีความขัดแย้งกันในชีวิตคริสเตียน เมื่อเราไม่ทำตามการทรงเรียกของพระเจ้า มนุษย์นั่นยากที่จะเข้าใจได้และบ่อยครั้งที่เราไม่เข้าใจตัวเราเอง แต่จากการศึกษาพระวจนะของพระเจ้าจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเราเองว่าตัวเราเองควรจะทำอย่างไรและช่วยวิเคราะห์ท่าทีภายในใจเราเพื่อเราจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับน้ำพระทัยพระเจ้าและเราได้พบในโยนาห์ บทที่ 4 ในส่วนของการไม่พอใจในการทำตามการทรงเรียกและใน 4 ข้อแรกเป็นลักษณะของการไม่พอใจในการทำตามการทรงเรียกและส่วนที่ชัดเจนในชีวิตของโยนาห์ และได้ศึกษาท่าทีในการกบฎแม้จะเป็นการกบฎเงียบก็ตาม และเราได้พบ 4 วิธีในการสำแดงออกของโยนาห์ในข้อที่ 5 และเราได้เห็นการตอบสนองของพระเจ้าต่อเขาอย่างไร

วันนี้เราจะมาดูการตอบสนองของพระเจ้าต่อการกบฎเงียบของโยนาห์ และเราอาจกบฎเงียบหลายๆ ครั้งในชีวิตคริสเตียนของเรา และบ่อยๆที่พระเจ้าตอบสนองต่อเราเมื่อเราทำตามสิ่งที่เราทำไปและเราจะใช้ชีวิตของโยนาห์ เป็นห้องทดลองในการศึกษาชีวิตของโยนาห์ และมาดูการตอบสนองของพระเจ้าต่อโยนาห์ในการกบฎต่อพระเจ้าและเมื่อเขามีท่าทีอย่างนั้น เขาไปเทศนาต่อชาวนีนะเวห์อย่างไม่เต็มใจ และแท้ที่จริงเขามีความเกลียดชังต่อ คนเมืองนั้นและมีใจปรารถนาให้ชาวนีนะเวห์ตกนรกบึงไฟและว่าพระคุณความรักของพระเจ้าไม่สามารถไปแตะต้องเมืองนั้นได้ แต่ว่าพระเจ้าได้ผลักดันเขาให้พบสถานการณ์หลายๆ อย่างที่ผลักดันเขาเข้าไปสู่เมืองนั้นเขาไปเทศนาข่าวประเสริฐของพระเจ้าที่นั่นและเขาเข้าไปเทศนาด้วยความไม่พอใจด้วยเสียงที่ไม่พอใจและเมื่อเขาเทศนาเสร็จ แล้วเขาก็ออกมานอกเมืองมาดูว่าพระเจ้าจะทำอะไรต่อไป และลึกๆ เขาคาดหวังว่าคนเมืองนี้ไม่ตอบสนองต่อพระคำของพระเจ้า และพระเจ้าจะจัดการต่อคนเมืองนั้นให้หมดสิ้นไปและเราจะเห็นการกบฎเช่นนี้ในชีวิตของเขาและพระเจ้าได้ตอบสนองอย่างไรต่อคนของพระเจ้าที่ได้กบฎต่อพระองค์มี 2 สิ่งที่เราจะเห็นได้จาก ข้อที่ 6-8 ที่จะสอนบทเรียนที่มีคุณค่าแก่เราได้ การตอบสนองอันแรกอยู่ในข้อที่ 6

1. เป็นการที่พระเจ้าได้อวยพระพร
2. การทนทุกข์ให้เราดูการตอบสนองของพระเจ้าด้วยกัน อยู่ในข้อที่7-8

ประการที่ 1

พระพรในข้อที่ 6 ในพระคัมภีร์ได้กล่าวว่า “ แล้วพระเจ้าทรงกำหนดให้ต้นละหุ่งต้นหนึ่งงอกขึ้นมาเหนือโยนาห์ให้เป็นที่กำบังศรีษะของท่านเพื่อให้บรรเทาความร้อนรุ่มกลุ้มใจในเรื่องนี้เพราะเหตุต้นละหุ่งนี้โยนาห์จึงมีความยินดียิ่งนัก” เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจที่โยนาห์กบฎต่อพระเจ้าแต่พระเจ้าก็อวยพรเขาด้วยวิธีการนี้ แม้เป็นช่วงขณะหนึ่งก็ตามหลายครั้งที่เราแปลกประหลาดใจที่หลายครั้งเราไม่ได้เดินกับพระเจ้าแต่ก็มีพระพรหลายอย่างเข้ามาในชีวิตของเรา และในบทที่ 4 เราจะเห็นท่าทีภายในของเขาได้สับสนไปใน 4 ข้อแรกเราได้เห็นโยนาห์บ่นต่อพระเจ้าที่สำแดงวิญญาณการกบฎที่มีต่อพระเจ้า และข้อที่ 5 แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแสดงการกบฎออกมาอย่างไรในขณะที่เขาได้นั่งอยู่ในแถบตะวันออกของเมืองนั้นอยู่ในสภาพที่เกือบจะหลงหายจากทางพระเจ้า แล้วพระเจ้าได้สงสารเขาและอวยพรเขาถึงความต้องการในชีวิต แล้วเมื่อโยนาห์ได้นั่งในแดดอันร้อนกล้านั้นและพระเจ้าได้มองจากสวรรค์และพูดออกมาว่า สงสารๆ จัง ที่เขาได้รับความทุกข์ยากเช่นนั้นและพระเจ้าได้ให้ต้นไม้งอกขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพื่อจะเป็นร่มเงาให้แก่เขา และในสภาพร้อนชื้นนั้นพระเจ้าได้ให้ต้นไม้บางอย่างงอกขึ้นอย่างรวดเร็วสูงถึง 12 นิ้ว ภายในเวลา 1 วัน และในฐานะคริสเตียนนั้นเราจะต้องตระหนักเสมอว่า แม้พระเจ้าอวยพรเรานั้นไม่ได้แสดงถึงการที่พระเจ้ายอมรับในสิ่งที่เรากระทำและเราไม่ควรตีว่าการที่พระเจ้าอวยพรเราเป็นสิ่งที่พระเจ้ายอมรับในสิ่งที่เรากระทำ พระเจ้าอาจจะอวยพรเรานั้นมีหลายๆ เหตุผลแต่มีเพียงผู้เดียวคือพระเจ้าเท่านั้นที่รู้และพระเจ้าจะสำแดงให้เรารู้เมื่อเราได้เข้ามาแสวงหาเป้าหมายและน้ำพระทัยพระเจ้าเท่านั้นแต่พระเจ้าทรงเป็นพระเจ้า และพระเจ้าไม่ได้จำกัดด้วยกฎและความคิดของมนุษย์และแท้ที่จริงพระเจ้าเปี่ยมด้วยพระคุณความรักตามที่โยนาห์ได้บรรยายไว้ในข้อที่ 2 โยนาห์ได้กล่าวไว้ว่า “เพราะข้าพระองค์ทรงทราบว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระคุณและทรงพระกรุณา ทรงกริ้วช้า” และเพราะความเมตตาคุณและความรักที่ทรงมีต่อเรา และบ่อยครั้งที่พระเจ้ารู้ถึงความต้องการอย่างมากในชีวิตของเราและพระหัตถ์พระเจ้าไม่สั้นเกินไปที่จะยืดมาอวยพรเราแม้ว่าพระเจ้าจะไม่เห็นด้วยกับท่าทีของเราก็ตามแม้ว่าบางครั้งพระเจ้าจะไม่ชอบและรังเกียจต่อลักษณะชีวิตของเราก็ตาม หรือพระเจ้ารังเกียจพฤติกรรมของเรา คริสเตียนจะเข้าใจผิดถึงวิธีการของพระเจ้า และมักตีความผิดคิดว่าพระพรที่พระเจ้าให้นั้นพระเจ้ายอมรับในสิ่งที่เราทำและบางคนอาจพูดว่าถ้าพระเจ้าไม่ชอบวิถีการดำเนินชีวิตของเรา แต่ทำไมพระเจ้าจึงอวยพรให้มีงานที่ดีทำมีเงินทองมากมาย ทำไมกระเป๋าของเราหนาแน่นไปด้วยเงิน และไม่ว่าเราจะเดินไปที่ไหนเงินก็จะหลุดออกมาเยอะแยะไปหมด และบางคนอาจจะบอกว่าการไม่มาคริตสจักรเป็นสิ่งที่ผิด แล้วทำไมพระเจ้าจึงปกป้องเราเมื่อเราไปเที่ยววันอาทิตย์ไปเที่ยวดิสโก็เธค และบางคนอาจจะกล่าวว่า เมื่อเราเป็นคริสเตียนเราต้องมีส่วนในการรับใช้ในคริสตจักรของเรา ทำไมพระเจ้าจึงรักษาเราล่ะเมื่อเราเจ็บป่วยแม้ว่าเราจะไม่มีส่วนในการรับใช้พระเจ้าในคริสตจักรเลย เพียงแต่มานอนหลับในตอนฟังเทศน์เท่านั้นและนักศึกษาบางคนอาจพูดว่าแม้เราไม่มีส่วนในการรับใช้พระเจ้าในคริสตจักรและเราไม่ได้อธิษฐานตอนเช้า ดูเหมือนว่าคะแนนของเราจะสูงขึ้นแม้เราจะอธิษฐานพระเจ้าตอนเช้าและร่วมรับใช้พระเจ้าดูเหมือนเราจะเพียงสอบผ่านเท่านั้น อาจเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่เราไม่ต้องมามีส่วนร่วมในคริตสจักรแล้วบางคนอาจจะพูดว่า ถ้าเป็นสิ่งที่ผิดในการทุจริตทำไมเรายิ่งทุจริตเรายิ่งได้ไต่เต้ามากขึ้นเท่านั้น พี่น้องที่รักจงฟังข้าพเจ้าเถิดว่าพระพรที่พระเจ้าให้ไม่ได้หมายถึงการที่พระเจ้าเห็นด้วยกับการที่เราทำเสมอไปในข้อพระคัมภีร์ เราจะเห็นสิ่งนี้ปรากฎครั้งแล้วครั้งเล่าใน (กดว 11: 31-33) และได้เห็นการที่อิสราเอลได้บ่นต่อว่าพระเจ้าในมานา ที่พระเจ้าได้ให้กับเขาและอยากจะทานเนื้อวัวบ้าง แล้วได้ทานสิ่งที่พระเจ้าส่งลงมาจากสวรรค์ และได้กินไก่ย่างบางครั้งบางคราว เป็นสิ่งที่ดีแล้วพระเจ้าก็เบื่อหน่ายต่อการบ่นต่อว่าของเขาแล้วพระเจ้าได้สั่งให้เกิดนกคุ่มมากมาย และมีนกคุ่มมากมายจนพระคัมภีร์ข้อที่ 31 ได้กล่าวว่า “มีลมพัดมาจากพระเจ้าพาฝูงนกคุ่มมาจากทะเลให้มาตกอยู่ที่ข้างค่ายรอบค่ายทุกทิศ ห่างออกไปเป็นหนทางเดิน วันหนึ่งสูงพ้นพื้นดินประมาณ 2 ศอก” และข้อที่ 33 กล่าวว่า “ เมื่อนกยังติดพันเขาทั้งหลายอยู่ ยังรับประทานไม่ทันหมดพระเจ้าทรงกริ้วประชาชนเสียด้วยภัยพิบัติอย่างร้ายแรง”

เมื่อท่าทีและวิญญาณเขาผิดแม้ดูสภาพภายนอกเหมือนพระเจ้าได้อวยพรเรา ข้าพเจ้าขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าไม่ได้หมายความว่าพระเจ้ายอมรับสิ่งที่เราทำ ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าเห็นด้วยกับท่าทีที่เราทำ เราเห็นแบบอย่างของอับราฮัมที่พระเจ้าสัญญาว่าจะให้เขาเป็นบิดาของบรรดาประชาชาติทั้งปวงและสัญญาวานางซาราห์จะให้กำเนิดอิสอัคแต่ซาราห์นั้นแก่ และดูเหมือนจะไม่สามารถให้กำเนิดอิสอัคได้และซาราห์ก็คิดอย่างชาญฉลาดขึ้นมาทำไมไม่เอานางฮาการ์ผู้เป็นทาสของเราไป แล้วไปสืบลูกจากฮาการ์นั้นเอง ผลของการคิดที่ชาญฉลาดของเธอและรวดเร็วก็คือ อิสราเอลและปัญหาก็เกิดขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ (ปฐก 16:12) กล่าวไว้ว่า “บุตรนั้นจะเป็นดังลาป่า มือเขาจะต่อสู้คนทั้งปวง และมือคนทั้งปวงจะต่อสู้เขา เขาจะอาศัยอยู่หน้าพี่น้องของเขา” แม้พระเจ้าจะอณุญาตบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นเราต้องตระหนักว่าสิ่งนั้นไม่ได้เป็นน้ำพระทัยพระเจ้าไม่ได้เป็นน้ำพระทัยสมบูรณ์ การที่พระเจ้าอวยพรเราไม่ได้หมายความว่าพระเจ้ายอมรับในสิ่งที่เราทำมีคริสเตียนแบบโยนาห์ลายคนไปรับความคิดเหล่านี้ โดยไม่ได้มีความคิดเห็นอื่นใด เราจะต้องระมัดระวังในการตีความบนพื้นฐานพระวจนะคำของพระเจ้า พระคัมภีร์เป็นสิ่งที่แน่นอนที่สำแดงเป้าหมายของพระเจ้าที่จะให้เราดำเนิน จะบอกเราว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกสิ่งใดเป็นสิ่งที่ผิด เพราะฉะนั้นเราจะต้องศึกษาพระวจนะของพระเจ้า เพื่อเราจะเข้าใจเป้าหมายของพระองค์ พระคัมภีร์หลายๆ ตอนจะสอนให้เราไม่ควรจะอิจฉา คนร่ำรวย เพราะมีหลายคนที่ไม่รู้จักพระเจ้า แต่ร่ำรวยกว่าคริสเตียน ความร่ำรวยไม่ได้เป็นตัวมาวัดจิตใจของพระเจ้าได้มีคำสอนในแถบตะวันตกที่กล่าวว่า ถ้าเราดำเนินชีวิตด้วยความชอบธรรม เราจะเป็นคนที่รวยโดยอัตโนมัติเราจะสามารถสั่งรถเบนซ์มาได้โดยทันทีทันใด ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเจ้าปราถนาที่จะอวยพรคนของพระองค์และพระเจ้าปรารถนาให้คนของพระองค์มีเกินความต้องการของเขาและพระเจ้าปรารถนาที่จะให้เขาไปถึงจุดสูงสุดที่เขาสามารถที่จะรับได้ แต่เพื่อจะให้เป้าหมายสำเร็จในชีวิตของเรา แต่ถ้าปรารถนาให้คนของพระองค์มีเกินความต้องการของเขาและพระเจ้าปรารถนาที่จะให้เขาไปถึงจุดสูงสุดที่เขาสามารถที่จะรับได้ แต่เพื่อจะให้เป้าหมายสำเร็จในชีวิตของเราแต่ถ้าความร่ำรวยมาฉุดเรา พระเจ้าก็จะนำสิ่งนั้นออกไปแต่ขอบคุณพราะเจ้าที่พระเจ้าได้เอาสิ่งนั้นออกไปจากชีวิตเราหลายคน

และขอบคุณพระเจ้าที่ความร่ำรวยไม่ได้เป็นจุดวัดของพระเจ้าแต่ขอบคุณที่พระองค์ทำให้พระองค์ร่ำรวยในแผ่นดินสวรรค์ และให้พระองค์ยากจนในสายตาของเราและขอบคุณพระเจ้าสำหรับ อ.เปาโลที่ยอมรับในการปรับตัวเข้ากับสภาพต่างๆ ได้แต่ขอบคุณพระเจ้าที่จุดการร่ำรวยไม่สามารถวัดการอวยพรจากพระเจ้าได้ เป็นน้ำพระทัยพระเจ้าที่พระเจ้าจะรักษาทุกๆ คน พระเจ้าปรารถนาให้เราเป็นคนที่มีสุขภาพที่ดี ความเจ็บป่วยเข้ามาในโลกนี้ก็เพราะความบาปแต่ก็จริงเสมอไปที่การมีสุขภาพที่ดีจะดีกว่าความเจ็บป่วยแต่สุขภาพที่ดีทำให้เราห่างเหินจากพระเจ้าทำให้เราเย่อหยิ่ง และทำให้เราห่างเหินจากพระเจ้า และเป็นไปได้ที่พระเจ้าให้ความเจ็บป่วยเข้ามาในชีวิตเรามากเพื่อจะทำให้เราถ่อมใจลงต่อพระองค์ และสุขภาพที่ดีนั้นก็ทำให้เราตกนรกบึงไฟนั่นเอง เราต้องระมัดระวังท่าทีฉาบฉวยของเราที่มีผลต่อน้ำพระทัยของพระเจ้า ในพระคัมภีร์ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้ากระทำก็เพื่อแผนการณ์อันนิรันดร์ของพระองค์ เราจะต้องศึกษาพระคัมภีร์ครบทั้งหมดเพื่อเราจะเข้าใจแผนการณ์ของพระเจ้า อย่าพึงพอใจความคิดของเราในการดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวัน ที่สิงคโปร์พยายามการะจายความคิดในด้านนี้ แล้วทุกคนพึงพอใจในรัฐบาลของเขารัฐบาลนี้มีอพาตเมนต์ให้อยู่มีรถให้ขับ และมีลูกได้ 2 คน และเป็นแบบอย่างประเทศที่มีความสำเร็จแต่ข้าพเจ้าจะบอกไว้ว่าวัตถุไม่สามารถทำให้มนุษย์พึงพอใจได้ ทำให้มนุษย์บ้า และทำให้มนุษย์ห่างเหินจากพระเจ้า เราควรระมัดระวังไม่ให้ชีวิตของเราควบคู่ไปกับวัตถุเพราะว่าสิ่งนั้นสิ่งเดียวไม่ได้อยู่ในชีวิตมนุษย์ การอวยพระพรของพระเจ้า ควบคู่ไปกับวัตถุเพราะว่าสิ่งนั้นสิ่งเดียวไม่ได้อยู่ในชีวิตมนุษย์ การอวยพรของพระเจ้าอยู่เหนือความคิดของเราที่เราจะคิดว่าพระพรของพระเจ้าจะเป็นอย่างไร เพราะว่าความคิดของพระเจ้าสูงกว่า ความคิดของเรา และโดยพระคุณของพระเจ้าก็จะอวยพรเราแม้เราจะเลวร้ายสักปานใดก็ตามในข้อที่ 6 ได้ให้ตัวอย่าง 2 ประการที่พระเจ้าอวยพรโยนาห์อย่างไร แม้เขาจะเป็นคนที่กบฎทำไมพระเจ้าจึงอวยพระพรโยนาห์ในช่วงแรกของข้อที่พระเจ้าได้ให้เหตุผลประการแรกแก่เราเพื่อที่จะตอบสนองต่อเขา พระเจ้าได้ให้ต้นละหุ่งเกิดขึ้นมา เพื่อที่จะให้เป็นร่มกำบังเขาโยนาห์ในช่วงที่แดดจ้าโดยที่เขาคิดว่าพระเจ้าจะทำอะไรกับเมืองนั้น ดังที่ข้าพเจ้าได้บอกท่านว่าเขาเกลียดชังชาวนีนะเวห์ และได้ไปเทศนาอย่างไม่เต็มใจโยนาห์ได้นั่งที่นั่นด้วยความยากลำบากในจิตใจทั้งทางด้านสภาพร่างกายและจิตใจ แต่พระเมตตาคุณได้เข้ามาถึงชีวิตของเขาในความต้องการทันทีทันใด และหลักการเหล่านั้นเราจะเห็นได้จากชีวิตคริตสเตียนของเราเอง เพราะความรักและเมตตาคุณของพระเจ้านั้นพระเจ้าจะตอบสนองความ ต้องการของเราที่มีนั้นชั่วขณะ แม้เราไม่สมควรที่จะรับก็ตามแม้เรามีความกดดันพระเจ้าก็จะปลดปล่อยเรา เพื่อเราจะได้รับการปลดปล่อยนั้นเพราะในชีวิตเรานั้นสามารถที่จะมีความชื่นชมยินดีได้และบ่อยครั้งที่มนุษย์จะถูกผลักดันเข้าหาพระเจ้าก็ต่อเมื่อเขามีความต้องการบางอย่างในชีวิตของเขา แม้บางครั้งเขามีปัญหามากมายเกินกว่าที่เขาจะเผชิญปัญหาได้และเมื่อนั้นเขาจะเรียนรู้ที่จะถ่อมใจลงต่อพระเจ้าผู้ทรงพระชนม์และเราต้องตระหนักว่าการที่พระเจ้าอวยพระพรเรานั้นไม่ใช่ว่าพระเจ้าจะยอมรับในสิ่งที่เราทำและไม่ได้ประกันว่าพระเจ้าพอพระทัยในสิ่งที่เราทำ

และเหตุผลประการที่ 2 อยู่ในข้อที่ 6 ช่วงท้ายว่าทำไมพระเจ้าถึงอวยพระพรโยนาห์ สิ่งแรกคือการตอบสนองความต้องการชั่วขณะของโยนาห์ ประการที่ 2 เราเห็นว่าที่จะปลดปล่อยจากความทุกข์ยากจากพระคัมภีร์ที่บอกว่าเพื่อที่จะบรรเทาความร้อนรุ่ม โยนาห์นั้นมีความไม่สบายในช่วงเวลานี้ อุณหภูมิที่อยู่ภายในตัวสูงกว่าอุณหภูมิที่อยู่ภายนอกแม้อุณหภูมิภายนอกก็ร้อนพออยู่แล้ว ที่ซีเรียแดดร้อนมากจนชาวอาหรับจะต้องเดินทางในเวลากลางคืนเพราะว่าสถานการณ์เป็นเช่นนั้น พระเจ้าจึงได้มีพระเมตตาคุณต่อโยนาห์และได้ปลดปล่อยความทุกข์ของเขาชั่วขณะหนึ่งโดยคาดหวังว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงท่าทีของโยนาห์และในชีวิตคริตสเตียนเราจะเห็นได้ว่า พระเจ้าได้อวยพระพรแก่เราในท่าทีบางลักษณะและถ้าเรามีสติปัญญาบ้างเราจะปรับตัวเข้ามาเดินอยู่ในวิถีทางของพระเจ้าและพระเจ้าได้อวยพรเราเพื่อจะปลดปล่อยเราให้ออกจากสถานการณ์บางอย่างของเราเพื่อเราจะมีความไวและตระหนักต่อวิธีการของพระเจ้า เราไม่ควรพึงพอใจในการดำเนินชีวิตในการอวยพระพรบางอย่างเท่านั้น และเราต้องตระหนักว่าพระเจ้าปรารถนาจะอวยพระพรเราอย่างมากมายเพราะเราเต็มใจที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในวิถีทางของพระเจ้าบ่อยครั้งที่เราห่างเหินจากทางพระเจ้าเราก็ยังเห็นพระพรจากพระเจ้าติดตามเรามาเพราะพระเจ้าเป็นพระเจ้าที่อดทนนานเวลาที่พระเจ้าอดทนนั้น เป็นเวลาที่ยาวนานและเราไม่สามารถที่จะมาวัดสิ่งนั้นได้ ถ้าพวกเราเป็นพระเจ้าชั่วขณะ เราจะพบว่าโลกนี้สับสนวุ่นวาย พระเจ้าปรารถนาให้เราตระหนักว่าที่เราได้รับการปลดปล่อยจากการทนทุกข์นั้นก็เพื่อจะให้เรากลับมาหาพระเจ้าและเราจะพบว่าการตอบสนองของพระเจ้าไม่ใช่วิธีการเดียวเท่านั้น ในข้อที่ 6 เราจะเห็นพระพรที่มาจากพระเจ้า ในข้อที่ 7 และ 8
เราจะเห็นการตอบสนองของพระเจ้า

ประการที่ 2

และสิ่งนี้ในที่สุดก็ต้องมา ถ้าเรากบฎคือการทนทุกข์ ในข้อที่ 7-8 พระคัมภีร์กล่าวว่า“ แต่ในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้นพระเจ้าทรงกำหนดให้ลมตะวันออกที่ร้อนผากพัดมา และแสงแดดก็แผดลงบนศรีษะโยนาห์จนท่านอ่อนเพลียไปและท่านก็ทูลขอว่าให้ท่านตายเสียเถิดท่านว่าข้าตายเสียดีกว่าอยู่ หลังจากอวยพระพรโยนาห์ชั่วขณะหนึ่งแล้วและได้ปลดปล่อยชั่วขณะนั้นแทนที่สถานการณ์จะคลี่คลายลงไปบ้าง พระเจ้าจึงได้จัดการกับชีวิตของโยนาห์ ปัญหาต่างๆ และการกลับใจใหม่และพระเจ้าได้เปิดโอกาสแบ่งการทนทุกข์เข้ามาในชีวิตของเขา วิธีการของพระเจ้าในการจัดการกับคนของพระเจ้าคือวิธีการนี้ ถ้าเราทำความบาปแล้วเราจะต้องทนทุกข์เหมือนในพระคัมภีร์ที่บอกว่าความบาปของเรานั้นจะต้องปรากฎถ้าไม่ใช่เวลานี้ในช่วงเวลาหนึ่งก็จะชัดเจนและผลร้ายที่สุดของความทุกข์ก็คือการเผาอยู่ในนรกบึงไฟ แต่เพราะพระเมตตาคุณของพระเจ้า พระเจ้าได้ให้ความทุกข์บางส่วนเข้ามาก็เพื่อที่เราจะกลับเข้ามาหาพระเจ้าได้เพื่อเราจะไม่เอาหัวทิ่มไปสู่ความบาป ความทุกข์นั้นไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ บ่อยครั้งเรานั้นผูกมัดและขับไล่มาร เมื่อเราเผชิญปัญหาต่างๆ การทำอย่างนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเมื่อเราดำเนินชีวิตอยู่ในความชอบธรรม ถ้าเราดำเนินชีวิตอยู่ในวิถีการของพระเจ้าและเชื่อฟังอยู่ในน้ำพระทัยของพระทัยของพระองค์ด้วยสิ้นสุดใจของเรา แต่ถ้าเรากำลังกบฎต่อพระเจ้าเราจะขับไล่มารซาตานได้ตลอดแต่มันจะไม่ตอบสนองเรา และซาตานจะบอกว่า อย่ามาโทษฉัน ฉันไม่ได้ทำในเวลานี้เพราะผลของคุณนั่นแหละ และพระเจ้าก็จะเดินลงมาจากสวรรค์อีกครั้งหนึ่งและจะตะโกนบอกว่าเป็นเราเองนั่นแหละ เข้าใจไหม ไม่ใช่มารซาตานๆ นั้นน่าสงสาร ถูกพูดตลอดเวลาเลย อย่าไปคิดว่าการทนทุกข์มาจากมารซาตานเสมอไป พระเจ้าได้อนุญาตให้ความทุกข์ยากมาถึงเราเป็นบางขณะเพื่อให้เราตระหนักถึงความเลวร้ายที่เราห่างเหินจากพระเจ้าในโลกที่สมบูรณ์ปราศจากความบาปเหมือนสวนเอเดนก่อนที่มนุษย์จะทำความบาป และในอาณาจักรนิรันดร์ที่องค์พระเยซูเสด็จกลับมาทุกสิ่งทุกอย่างจะปรับเข้าสู่วิถีทางของพระเจ้า การทนทุกข์จะไม่ปรากฎอีกต่อไป พระคัมภีร์กล่าวว่าจะไม่มีน้ำตาอีกต่อไปและจะไม่มีความเจ็บปวดอีกต่อไป และความชื่นชมยินดีจะเป็นของเราชั่วนิจนิรันดร์ แต่ในยุคนี้ที่เรากำลังดำเนินอยู่ในโลกนี้นั้นปัญหาต่างๆก็กำลังดำเนินอยู่ต่อไป จนกว่าความผิดบาปได้ถูกทำลายไปและความบาปจะได้รับการยกออกไปในเวลาที่จะมาถึงเพราะฉะนั้นเราจะต้องตระหนักว่าเราจะต้องทนทุกข์ในความยากลำบากจนชั่วชีวิต และรอคอยและคาดหวังอาณาจักรของพระเจ้าจอมเจ้านายของเรานั้นจะเสด็จกลับมา และพระเยซูจะนำความทุกข์ยากออกไปจากชีวิตเราจนหมดสิ้น แต่จะมีความทุกข์ยากลำบากบางอย่างที่ดีต่อชีวิตของเรา ถ้าเป้าหมายบางอย่างที่พระเจ้าจะให้เกิดขึ้นมีตามความต้องการของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมือนเราทำความผิดบาปแต่บางครั้งเหตุผลก็เพื่ออาณาจักรของพระเจ้าเหมือนกับที่ยากอบได้กล่าวไว้ว่า จงถือว่าเป็นความชื่นชมยินดีเมื่อทนทุกข์ให้เราใช้ความทนทุกข์เป็นบันไดก้าวไปสู่สง่าราศีของพระเจ้า ความทุกข์ยากไม่ได้เป็นสัญลักษณ์ของการที่พระเจ้าไม่พอพระทัยในสิ่งที่เราทำเสมอไป อาจจะเป็นสิ่งที่พระเจ้าอณุญาตให้เกิดขึ้นเพื่อเราจะจำเริญขึ้นต่อไป เพื่อจะมีสันติสุขในเราในโลกนี้ท่านจะประสบความทุกข์ยากแต่จงชื่นใจเถิด เพราะว่าเราได้ชนะโลกแล้วและพระเยซูได้บอกเราอย่างชัดเจนแล้วว่า ในโลกนี้เราจะต้องทนทุกข์แล้วเปโตรได้กล่าวกับเราใน ( 1ปต 1: 6-7 ) ในความรอดนั้นท่านทั้งหลายชื่นชมยินดี ถึงแม้ว่าเดี๋ยวนี้จำเป็นที่ท่านจะต้องทนทุกข์ทรมานชั่วขณะหนึ่งในการถูกทดลองต่างๆ เพื่อการลองดูความเชื่อของท่านอันประเสริฐยิ่งกว่าทองคำ ซึ่งแม้เสียไปได้ก็ยังถูกลองด้วยไฟจะได้เป็นเหตุให้เกิดความสรรเสริญ เกิดศักดิ์ศรีและเกรียรติในเวลาที่พระเยซูจะเสด็จมาปรากฎ และใน (ฮบ 12:7-8) ท่านทั้งหลายจะรับและทนเอาเถิดเพราะเป็นการตีสอน พระเจ้าทรงปฎิบัติต่อท่านในฐานะที่ท่านเป็นบุตรของพระองค์ด้วยว่ามีบุตรคนใดเล่าที่บิดาไม่ได้ตีสอนเขาบ้าง แต่ถ้าท่านทั้งหลายไม่ได้ถูกตีสอนเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ท่านก็ไม่ได้เป็นบุตรแต่เป็นลูกที่ไม่มีพ่อ และในข้อที่ 11 กล่าวว่า เมื่อมีการตีสอนนั้นดูไม่เป็นที่ชื่นใจเลย เป็นเรื่องเศร้าใจ แต่ต่อมาภายหลังก็จะก่อให้เกิดความสุขสำราญแก่บรรดาคนที่ต้องทนอยู่นั้คือความชอบธรรมนั้นเอง และมีข้อพระคัมภีร์มากมายที่หนุนใจเราเพื่อให้เราทนทุกข์ชีวิตที่พระเจ้าอวยพระพรนั้นไม่ได้ปราศจากความทนทุกข์ แต่ชีวิตที่ดำเนินอยู่ใแผนการณ์และน้ำพระทัยของพระองค์ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้าพระเจ้าอณุญาตให้เกิดขึ้นก็เพื่อพัฒนาตัวเราเองให้อยู่ในทางของพระองค์ อ.เปาโลได้บอกเราใน (2คร 1) เพราะการทนทุกข์ของอ.เปาโล สามารถหนุนใจให้คนอื่นทนทุกข์ต่อไปได้ ถ้าเราจำได้ในเรื่องราวของ วอซ์ธานี เป็นคนที่ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าที่มีผลต่อคนจีนมากกว่าคนจีนด้วย เขาได้ใช้เวลา 20 ปี ในการเทศนาเรื่องราวของพระเจ้าและเมื่อคอมมิวนิสต์ได้มาปกครองประเทศจีนนั้น เขาก็ถูกจับขังคุกแลัวเขาก็ถูกขังคุกเป็นเวลา 20 ปี หลายครั้งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการดีหรือไม่ที่เขาถูกปล่อยให้อยู่นอกคุกเทศนาคนอยู่นอกคุกแต่พระเจ้าไม่มีแผนการณ์และเป้าหมายที่สูงกว่านั้น แล้วมีใครเล่าที่จะเข้าใจแผนการณ์และน้ำพระทัยของพระเจ้าได้ แล้วใครเล่าจะบอกได้ว่าคนกี่ล้านคนได้รับการหนุนน้ำใจจากการทนทุกข์ เราไม่ควรตีความหมายว่าการทนทุกข์เป็นการสาปแช่งจากพระเจ้าเพราะว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ว่าจะเลวหลายเสมอไปบ่อยครั้งที่เป็นพระพรที่แอบแฝงอยู่ และบ่อยครั้งที่เป็นวิธีที่พระเจ้าจะอวยพรเราอย่างมากมายในที่สุด เมื่อเราดำเนินชีวิตอยู่ในความชอบธรรมเราสามารถที่จะยึดการอวยพระพรจากพระเจ้าได้ ถ้าเราพบตัวเราเองในความบาปนั้น เราสามารถที่จะคลาดความทนทุกข์ได้ และครั้งต่อไปที่ท่านป่วยสิ่งแรกที่ท่านทำคือพิจารณาตัวเองว่าชีวิตเรากำลังทำอยู่ แล้วพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ให้สันติสุขภายในท่าน ท่านสามารถบังคับให้การอวยพระพรการรักษาโรคมาถึงท่านได้ แต่ถ้าท่านช่วยและจิตใจของเรารบเร้าอยู่เสมอนั่น คือสิ่งที่มาจากพระเจ้าแล้วให้เราตรวจสอบตัวเราเองเพื่อที่จะให้พระเจ้าปลดปล่อยเราเพื่อเราจะกลับเข้ามาได้ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับโยนาห์ พระเจ้าไม่ได้อนุญาตให้เกิดการทนทุกข์ธรรมดาๆ เท่านั้นแต่เป็นความทุกข์อย่างมากมายด้วย เราสามารถพบได้อีก 3 สิ่งในข้อที่ 7และข้อที่ 8 ประการแรกเราจะพบได้ในข้อที่ 7ถึง 8 ในช่วงต้น

1.ต้องเผชิญกับความทุกข์หลายอย่าง
การทนทุกข์มากมายได้เข้าสู่ชีวิตของเขา หนอนได้เข้ามากัดกินต้นระหุ่งจนมันเหี่ยวไปดวงอาทิตย์ได้ส่องเหนือศรีษะเขาจนค่อยๆ ร้อน แล้วลมก็ได้พัดมาทั้งหนอน ดวงอาทิตย์และลมดูเหมือนปัญหาซัดเข้ามาทีละอย่างๆ สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในชีวิตคริตสเตียน หลายๆ ครั้งที่ปัญหาจะเข้ามาทีละอย่างๆ แล้วรวมตัวเข้ามาอยู่ในตัวเรา ท่านอาจมีความเจ็บป่วยเข้ามาประการแรกและก่อนที่เราจะได้แก้ไข ปัญหาอื่นก็เข้ามา ทีละอย่างๆ แม้เราจะไม่ได้ส่งบัตรเชิญออกไปก็ตามปัญหาซัดเข้ามาทีละอย่างๆ มีแต่บันทึกความจำของพระเจ้าที่มาถึงเราเพื่อจะให้เราตระหนักและระลึกถึงสภาพของเรา ว่าเรามีปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตของเรา มีปัญหามากมายนั่นคือข้อที่ 1 ประการที่ 2 ในข้อที่ 8 ตอนท้าย “จนท่านได้อ่อนเพลียไป”

2.การทนทุกข์ในสภาพทางร่างกาย
เราจะพบว่าโยนาห์ไม่ได้ทนทุกข์เพียงปัญหาหลายๆ อย่างด้วยกันแต่พระเจ้าได้มาแตะเขาในสภาพร่างกายด้วย บ่อยครั้งที่การทนทุกข์ได้เข้ามาแตะต้องถึงในสภาพร่างกายของเราเพราะร่างกายเป็นที่รวมสภาพจิตใจและจิตวิญญาณด้วย แม้เราจะประกอบไปด้วยร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณก็ตามแต่เราจะสัมผัสสิ่งเหล่านี้ง่ายดายเมื่อมันได้แตะต้องสภาพร่างกายของเรา เพราะฉะนั้นพระเจ้าอนุญาตให้การอวยพรและการทนทุกข์เพื่อมากระทบกับร่างกายของเราและเราจะพบว่าโยนาห์ได้ทนทุกข์ในสภาพร่างกายของเขาในเวลานี้ ในสวนเอเดนเมื่ออาดัมและเอวาได้ทำความบาปเขาไม่เพียงแต่ตายฝ่ายวิญญาณเท่านั้น แต่เขาได้ตายฝ่ายร่างกายด้วย ความเจ็บป่วยได้ถูกนำเข้ามาสู่โลกนี้ก็เพราะความบาป ในพระเจ้านั้นไม่มีการแยกแยะระหว่างร่างกายและจิตวิญญาณ เราเป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบพระเจ้าก็จะจัดการเราทุกวิถีทาง และเมื่อเราเจ็บป่วยบ่อยครั้งนั่นเป็นเพราะความบาปของเราและหลายครั้งนั้นอาจไม่ใช่ เพราะฉะนั้นเราจะต้องถามคำถามกับตัวเราเองถ้าเราเจ็บป่วยเป็นเพราะเราขาดการสามัคคีธรรมกับพระเจ้าหรือไม่ ขอพระวิญญาณบริสุทธิ์สำแดงให้เราเห็นสิ่งนี้ที่จะเข้าใจ

3. การทนทุกข์อย่างรุนแรง
พระคัมภีร์กล่าวว่าโยนาห์ต้องการตายและกล่าวว่าข้าตายเสียก็ดีกว่าอยู่ และเราจะพบว่าโยนาห์ได้มาถึงจุดสุดท้ายของชีวิต เขาไม่เพียงทนทุกข์อย่างมากมายจากสภาพรอบข้างของเขา ไม่เพียงแต่ทนทุกข์ทางร่างกายจากการอ่อนเพลียไปอย่างมากมาย แต่การทนทุกข์ของเขารุนแรงถึงขั้นอยากจะตาย คนเรานั้นจะมาถึงจุดที่อยากจะตายก็ต่อเมื่อมาถึงจุดที่ว่าการที่มีชีวิตอยู่ต่อไปนั้นไม่อาจจะมีความชื่นชมยินดีต่อไปได้ ความรุนแรงในสภาพที่โยนาห์จะต้องทนทุกข์นั้นเป็นการแสดงถึงความรักของพระเจ้าที่จะนำโยนาห์กลับคืนมาหาพระเจ้าอีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าคาดหวังว่าความรุนแรงจะผลักดันให้โยนาห์ มีท่าทีที่ถูกต้องต่อพระองค์โยนาห์มีท่าทีผิดต่อชาวนีนะเวห์เพราะไม่มีความรักความห่วงใยต่อชาวเมืองนั้น และในเวลานี้พระเจ้าได้ขับเคลื่ยนเขามาสู่จุดต่ำสุดในชีวิต ฝ่ายวิญญาณของเขาและความชื่นชมยินดีอย่างเดียวที่เขาคิดได้ก็คือการตายจากโลกนี้ไป การทนทุกข์อย่างรุนแรงที่สุดนี้เป็นเหตุที่พระคัมภีร์บอกเราหลายครั้งด้วยกันว่าเราทำบาป หลายคนจะตายก่อนเวลาของเขาเพราะพิธีมหาสนิทในวันอาทิตย์และพระคัมภีร์ได้เตือนเราว่าการรับพิธีนี้อย่างไม่ถูกต้องนั้นจะนำความพินาศมาสู่ตัวเราเอง(1 กร.12:27-30) พระเจ้าอนุญาตให้การทนทุกข์อย่างรุนแรงเข้ามาในชีวิตเราเพื่อเตือนใจเรา เพื่อไม่ให้เรามีใจแข็งกระด้าง ใน โรม 1 สอนเราว่า ถ้าเราทำให้ใจของเราแข็งกระด้าง ต่อไปวันหนึ่งเราจะเกิดความเย็นชาและไม่ตระหนักถึงความบาป ไม่สามารถจะกลับใจใหม่ได้และดำเนินชีวิตออกจากทางพระเจ้าอย่างสิ้นเชิง และโดยพระเมตตาคุณของพระเจ้าบางครั้งพระเจ้าจะให้การทนทุกข์อย่างรุนแรงเข้ามา ถ้าเราต้องตัดเท้าทิ้งเพื่อเราจะได้เข้าแผ่นดินสวรรค์ พระเจ้าก็จะอนุญาตให้สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะว่านรกเป็นที่ๆ เลวร้ายที่มนุษย์จะไปอยู่ และพระเจ้าทรงรักเขาและพระเมตตาคุณของพระเจ้านั้นมีต่อเราเสมอ ถ้าจำเป็นที่พระเจ้าจะนำเราไปถึงจุดเกือบจะล้มละลายเพื่อจะนำเรากลับมาอยู่ในทางพระเจ้าพระองค์ก็จะอนุญาตให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ขอคำสอนจากพระวจนะของพระเจ้านั้นจะสอนให้เราเข้าใจถึงน้ำพระทัยพระเจ้าที่มีต่อชีวิตของเรา น้ำพระทัยของพระเจ้าก็คือการที่เราจะมีส่วนในเป้าหมายของพระเจ้าคือ ในทุกๆ คนผ่านอาชีพของเรา ผ่านของประทาน,ทักษะ ,การใช้เวลา,การใช้สิ่งที่มีค่าของเรา

สรุป คนของพระเจ้าจะต้องมีส่วนในงานพันธกิจของพระองค์เพื่อการทรงเรียกในงานพันธกิจจะมาถึงทุกๆคน นั่นหมายถึงงานพันธกิจในบ้านของเราและต่างประเทศด้วย เราจะต้องมีส่วนร่วม เราไม่สามารถเป็นบุตรของพระองค์ ถ้าเราไม่มีจิตใจเหมือนพระองค์ได้ ถ้าเราไม่มีใจและความห่วงใยเหมือนพระเจ้า เราก็ไม่สามารถเป็นบุตรของพระเจ้าได้ขอพระเจ้าช่วยให้เรามีความห่วงใยคนที่เหมือนชาวนีนะเวย์ ที่เราจะมีส่วนในพระราชกิจของพระองค์ที่เราจะไม่มีชีวิตที่ดำเนินไปวันต่อวันเท่านั้น เรามีเป้าหมายสูงกว่าที่เราดำเนินชีวิตอยู่ และพระเจ้าเรียกเราให้มีเป้าหมายสูงสุดเหมือนกับพระองค์ ให้เราเชื่อฟังการทรงเรียกของพระเจ้า การเชื่อฟังภายในจิตใจของเราและถ้าเราทำสิ่งนั้น การอวยพระพรของพระเจ้าจะติดตามอยู่ในชีวิตของเราและการทนทุกข์นั้นก็จะเป็นส่วนเล็กน้อย อย่าถูกหลอกลวงเลยว่า พระพรของพระเจ้านั้นไม่ได้เห็นด้วยกับการกระทำของเราเสมอไป การทนทุกข์ไม่ได้หมายความว่าพระเจ้าไม่ได้มีส่วนในสิ่งนั้น ขอให้บทเรียนของโยนาห์สอนพวกเราท่านได้ยินเสียงของพระเจ้าในวันนี้หรือไม่

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ศีลมหาสนิท


http://lovejesuschurch.tripod.com/doctrines/033.doc

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปัสกา ความหมายของการถวายบูชา
ศีลมหาสนิท
ความหมายของพิธีศีลมหาสนิท
ศีลมหาสนิทเป็นของขวัญยิ่งใหญ่ที่สุด ที่พระเยซูเจ้าได้ประทานแก่ประชากรของพระองค์ เพราะความรักอันเปี่ยมล้นของพระองค์มีแต่พระองค์เท่านั้น ผู้ทรงเป็นมนุษย์แท้และพระเจ้าแท้ที่ทรงพระประสงค์ และอำนาจที่จะทำการมหัศจรรย์เช่นนี้ได้ เพื่อจะประทับอยู่กับเรา เป็นความบรรเทา พละกำลัง ความสุขและสันติของเรา
คำว่า ศีลมหาสนิท (Eucharist = การขอบพระคุณ) ประกอบด้วย
การถวายบูชา หรือปัสกา
การรับศีลมหาสนิท
การประทับอยู่อย่างแท้จริง ทั้งทางกาย(Substance) และทาง
ของพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท
ศีลมหาสนิทเป็นการบูชายัญ หรือการถวายบูชาปัสกาคือ
การถวายบูชายัญของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน ซึ่งได้รับการรื้อฟื้นทุกวันบนพระแท่นบูชา ตามพระประสงค์ของพระองค์
เป็นเครื่องหมายแห่งการเป็นหนึ่งเดียวและเป็นสายสัมพันธ์แห่งความรักของประชากรของพระเป็นเจ้า (ซึ่งมนุษย์ทุกคน ทุกเชื้อชาติได้รับการเรียกให้มาเป็น)
เป็นการเลี้ยงปัสกาซึ่ง (ในการรับศีลมหาสนิท) พระเยซูเจ้าเอง ผู้ทรงเจริญชีวิตอย่างแท้จริงได้เข้ามาประทับ และทรงทำให้วิญญาณของเราเต็มไปด้วยสิทธิอำนาจ มีพลังสันติ ความเชื่อ ความหวังและความรัก
มนุษย์ทุกคนจากทุกยุคทุกสมัยได้ถวายบูชาแด่พระของตนที่จริงแล้ว เขาถือว่า การถวายบูชานี้เป็นกิจกรรมสูงสุดของศาสนาจริงๆ แล้วมีบางครั้งในประวัติศาสตร์ที่พระเจ้าได้ตรัสล่วงหน้าถึงการถวายบูชาใหม่และเป็นบูชาของมนุษย์ทั่วไป คือการบูชาของพระบุตรของพระองค์เอง
พระเจ้าจอมโยธาตรัสว่า เราไม่พอใจเจ้าและเราจะไม่รับเครื่องบูชาจากมือของเจ้า ตั้งแต่ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นถึงที่ดวงอาทิตย์ตก นามของเราก็ยิ่งใหญ่ท่ามกลางประชาชาติทั้งหลาย และเขาถวายเครื่องหอมและของถวายที่บริสุทธิ์แด่นามของเราทุกที่ทุกแห่ง เพราะว่านามของเราใหญ่ยิ่งท่ามกลางประชาชาติทั้งหลายหรือกล่าวอย่างง่ายๆ เราไม่มีความโปรดปรานอันใดในตัวเจ้า พระเจ้าจอมโยธาได้ตรัสไว้ เราจะไม่รับบูชาใดๆ จากมือของเจ้า เพราะว่านามของเราจะยิ่งใหญ่ท่ามกลางนานาชาติและในสถานที่ทุกแห่ง เขาจะนำเครื่องบูชามาถวายแด่พระนามของเรา และเป็นการถวายที่บริสุทธิ์ เพราะพระนามของเรายิ่งใหญ่ท่ามกลางนานาชาติ พระเจ้าจอมโยธาตรัสดังนี้ (มลค.1:10-11)
การถวายบูชาใหม่ที่ว่านี้คือ พิธีศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นการรื้อฟื้นมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้าบนแท่นของชาวเรา บนไม้กางเขนที่เขากัลวารีโอ พระเยซูเจ้าทรงสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่กู้เรา ในพิธีศีลมหาสนิทซึ่งถวายแด่พระเจ้าทุกวันทั่วโลก พระเยซูเจ้าได้ประทานผลแห่งการกอบกู้แก่เรา การถวายบูชาทั้งหลายในอดีตรวมกันก็ยังไม่เป็นการเพียงพอที่จะชดเชยบาปของเราได้ มีแต่การถวายบูชาของพระเยซูเจ้าเท่านั้นที่นำมาซึ่งความเต็มเปี่ยมแห่งการกอบกู้ เพราะว่าถ้าเลือดแพะและเลือดวัวตัวผู้ และเถ้าของลูกโคตัวเมีย ที่ประพรมลงบนคนบาปสามารถชำระมนุษย์ให้บริสุทธิ์ได้ พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ ผู้ได้ทรงถวายพระองค์เองแด่พระเจ้าโดยพระวิญญาณนิรันดร์ ให้เป็นเครื่องบูชาอันปราศจากตำหนิ ก็จะทรงชำระได้มากยิ่งกว่านั้นสักเพียงใด เพื่อให้จิตใจของคนที่หมกมุ่นในการประพฤติที่นำไปสู่ความตาย หันไปรับใช้พระเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่…ฮบ.9:13-14
กล่าวอย่างง่ายๆ ว่า เพราะถ้าเลือดแพะและเลือดวัว และการโปรยเถ้าของลูกวัวสาวทำให้ผู้กระทำผิดเป็นผู้บริสุทธิ์ แล้วพระโลหิตของพระเยซูเจ้า ผู้ซึ่งโดยประสงค์นิรันดริ์ ที่จะถวายพระองค์เอง ผู้ไม่มีมลทินแด่พระเจ้า จะสามารถชำระจิตใจของเรา การงานที่ไม่มีคุณค่า เพื่อเป็นการคารวะแด่พระเป็นเจ้าสักเพียงไร
พูดถึงความจริงที่ยิ่งใหญ่ของการถวายบูชานี้ เปาโลได้ประกาศถ้อยคำว่า ท่านมิได้พูดอะไรด้วยตัวท่านเอง แต่ว่าได้เรียนรู้ว่าพิธีศีลมหาสนิทคืออะไร จากการสำแดงของพระเจ้าเอง เพราะว่าเรื่องซึ่งข้าพเจ้าได้มอบไว้กับท่านแล้วนั้น ข้าพเจ้าได้รับจากองค์พระผู้เป็นเจ้าคือ……(1คร.11:23 )
พระเยซูต้องเสด็จกลับไปหาพระบิดา แต่พระองค์ก็ทรงทราบว่า มนุษย์ต้องการพระองค์ ดังนั้นพระองค์ได้ทรงคิด ไม่เพียงหนทางที่จะช่วยพวกเขาให้รอดเท่านั้น แต่ยังทรงคิดว่าวิธีที่จะประทับอยู่กับเขา เพื่อจะได้โปรดประทานผลแห่งการไถ่กู้ให้ด้วย ทรงมีประสงค์จะให้ความมั่นใจว่า แม้ว่าการสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้วนั้น จะทรงรื้อฟื้นการถวายบูชาของพระองค์นี้อย่างแท้จริง ในรูปแบบที่มองไม่เห็น แต่เป็นจริงเที่ยงแท้ และเราก็สามารถที่จะได้รับพระคุณพร้อมความมุมานะที่จะรอคอยการเสด็จกลับมาของพระคริสต์
เป็นความจริงดังที่ท่านได้เคยพูดไว้ว่า การบูชาของพระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนก็เพียงพอแล้ว แต่ว่าเป็นความจำเป็นที่จะมีส่วนร่วมในการบูชานี้ เพื่อว่ากิจกรรมอันนำมาซึ่งความรอดจะได้สัมผัสกับชีวิตเรา
อพย.1:12 “ยิ่งถูกเบียดเบียน ยิ่งเพิ่มพูน” (แต่ยิ่งถูกเบียดเบียนมากเท่าไร ชนชาติอิสราเอลก็ยิ่งทวีมากขึ้น..)
อพย.1:19 “การคลอดที่ง่าย ถ้าท่านตั้งครรภ์” (ด้วยความเชื่อ)
“เพราะหญิงฮีบรูไม่เหมือนหญิงอียิปต์ เขาไวจึงคลอดบุตรง่าย (เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม)
ปฐก.28:38 ยาโคบลุกขึ้นแต่เช้ามืด เอาก้อนหินซึ่งใช้หนุนศีรษะ ตั้งขึ้นเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์ และเทน้ำมันยอดเสานั้น และเรียกสถานที่นั้นว่า เบธเอล (ยืนยันถึงการสถิตอยู่ของพระเจ้า)
ก่อนได้รับการปลดปล่อยมีทั้งการทดสอบของพระเจ้า และการกลั่นแกล้งจากมารร้าย ทุกข์เวทนาในเวลานี้
ถ้าผู้ใดอดทนได้จนถึงที่สุด ก็จะได้รับการปลดปล่อยอย่างสวยงาม (อพย.5: ) (แต่ผู้ใดทนได้จนถึงที่สุดผู้นั้นจะรอด..มธ.24:13)
ชัยชนะเหนือโลก คือยิ่งเผชิญจะยิ่งทุกข์ แต่อย่ากลัวเลย (ยน.16:20) โลกจะชื่นชมยินดี แต่เจ้าจะโศกเศร้า
พระเจ้าจะบังคับฟาโรห์ ด้วยมืออันทรงฤทธิ์
หมายสำคัญแรกที่พระเจ้าประทานแก่อิสราเอลผ่านโมเสส (พระองค์จึงตรัสว่า "เราจะอยู่กับเจ้าแน่ นี่เป็นหมายสำคัญให้เจ้ารู้ว่าเราใช้ให้เจ้าไป คือเมื่อเจ้านำประชากรออกจากอียิปต์แล้ว เจ้าทั้งหลายจะมานมัสการพระเจ้าบนภูเขานี้"…..อพย.3:12)
(ยืนยันถึงการสถิตอยู่ของพระเจ้า)
การเดินทางออกจากถิ่นทุรกันดาร พระเจ้ามิได้ให้เราไปตัวเปล่า และเราจะทวงคืนริบคืนได้หมดด้วย
(เราจะเหยียดมือออกประหารอียิปต์ด้วยอัศจรรย์ต่างๆ ที่เราจะกระทำในท่ามกลางประเทศนั้น หลังจากนั้น กษัตริย์ก็จะทรงยอมปล่อยพวกเจ้าไป….อพย.3:20)
การเดินด้วยพระวิญญาณ
พระคัมภีร์แยกความหมายระหว่าง “การมี” พระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นของผู้เชื่อทุกคน
กับการ “เติม” ด้วยพระวิญญาณ ซึ่งเป็นจริงสำหรับคนน้อยมาก
ใน ยน.3:3-8 เราได้รับชีวิตใหม่ (Regeneration) พระเยซูตรัสตอบเขาว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ถ้าผู้ใดไม่ได้บังเกิดใหม่ ผู้นั้นจะเห็นแผ่นดินของพระเจ้าไม่ได้" นิโคเดมัสทูลพระองค์ว่า "คนชราแล้วจะบังเกิดใหม่อย่างไรได้ จะเข้าในครรภ์มารดาครั้งที่สองและบังเกิดใหม่ได้หรือ" พระเยซูตรัสว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ถ้าผู้ใดไม่ได้บังเกิดใหม่จากน้ำและพระวิญญาณ ผู้นั้นจะเข้าในแผ่นดินของพระเจ้าไม่ได้ ซึ่งบังเกิดจากเนื้อหนังก็เป็นเนื้อหนัง และซึ่งบังเกิดจากพระวิญญาณก็เป็นวิญญาณ อย่าประหลาดใจที่เราบอกท่านว่า ท่านทั้งหลายต้องบังเกิดใหม่ ลมใคร่จะพัดไปข้างไหนก็พัดไปข้างนั้น และท่านได้ยินเสียงลมนั้น แต่ท่านไม่รู้ว่าลมมาจากไหนและไปที่ไหน คนที่บังเกิดจากพระวิญญาณ ก็เป็นอย่างนั้นทุกคน" โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์และเนื่องจากการบังเกิดใหม่ (New Birth)
มนุษย์ในฝ่ายวิญญาณ มีความหิวสิ่งซึ่งเป็นของพระเจ้า
อย่าช่วยพี่น้องด้วยทรัพย์สินของเจ้า ที่กำลังจะต้องถูกตีสอน เพราะไม่ทำให้เขาสำนึก มีแต่เขาจะลำพองตัวและถลำลึกลงไปอีก โดยคิดว่า สิ่งที่เขาเป็นอยู่ถูกต้อง เขาจะไม่หันกลับ แต่จะนำเขาไปสู่ความพินาศ แต่จงช่วยจิตวิญญาณให้เขาจำเริญขึ้น
สุภาษิตหรือพระวจนะที่อยู่ในปากของคนโง่ ก็เหมือนขาของคนพิการที่ห้อยลงมาอย่างไร้ประโยชน์
บุคคลผู้ให้เกียรติแก่คนโง่ ก็เหมือนผู้ที่มัดก้อนหินไว้กับสลิง
บุคคลที่จ้างคนโง่หรือคนขี้เมาที่ผ่านไป ก็เหมือนฝักธนูที่ยิงคนทุกคนไม่เลือกหน้า
คำแช่งสาปที่ไร้เหตุผล ย่อมไม่มาเกาะ เช่นเดียวกับนกกระจอกที่กำลังโผไปมาและนกนางแอ่นที่กำลังบิน
อย่าเป็นเครื่องมือนำความโกลาหลวุ่นวายเข้ามา อย่าเป็นคนน่าเกลียดและหยาบคาย
อย่าเป็นหมาลอบกัด หรือนินทาว่าร้ายใคร จงหุบปากเสีย ไม่เช่นนั้น ท่านก็จะเป็นคนนำคำแช่งสาปมาสู่ตัวท่านเอง
ถ้าเราเอ่ยปากพูดในสิ่งไม่ดี ท่านกำลังขอคำแช่งสาปให้กับวิญญาณของท่าน ท่านกำลังทำบาป จงขอแต่สิ่งที่ดี
ซาตานไม่ได้เข้มแข็งอะไรมากนักหลอก แต่เราให้อำนาจมันเกินควรต่างหาก
สั่ง เจ้าซาตาน จงออกไปจากครอบครัวของข้าเดี๋ยวนี้ ท่านสามารถเลือกได้ว่า จะให้พงศ์พันธ์ของท่านเดินไปทางไหน ทางของพระเจ้าหรือของมารซาตาน มารซาตานคอยจ้องจะเล่นงานครอบครัวของท่านอยู่ แต่ท่านสามารถหยุดมันได้ก่อนที่มันจะเริ่มต้นด้วยซ้ำไป
ทุกครั้งที่มีพระวจนะพระเจ้า จะต้องมีอะไรตามมาด้วย “พระวจนะนำมาซึ่งแสงสว่าง แสงสว่างแห่งพระวจนะของพระเจ้า กำลังเคาะอยู่ที่หน้าประตูของเรา
* จงบอกกับซาตานว่า “บ้านหลังนี้ได้รับการชำระแล้ว พระโลหิตของพระเยซูปกคลุมบ้านหลังนี้อยู่ เจ้าจะนำผีร้ายเข้ามาอีกเจ็ดตัวไม่ได้ ที่นี่ไม่ใช่บ้านของเจ้า ที่นี่เป็นบ้านของข้า ซึ่งเป็นบ้านของพระเยซู ซาตานเจ้าจงหยุดเดี๋ยวนี้ ในพระนามพระเยซู บ้านหลังนี้จะไม่มีวันเป็นของเจ้าเป็นอันขาด ไม่ว่าจะเป็นรุ่นลูกหรือหลานของข้าก็ตาม
ผู้ที่ไม่ทำตามพระวจนะพระเจ้า คือผู้นำคำแช่งสาปเข้ามา (ดูหน้า 71-72)
เรื่องส่วนใหญ่มาจากความคิด ถ้าความคิดของเราถูกต้องกับพระเจ้าก็ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้
เราสามารถทำได้สารพัดอย่าง เราสามารถเขย่าประชาชาติได้
จงหลีกเลี่ยงจากความบาป จงอยู่ในพระวจนะ แล้วท่านจะไม่ตกอยู่ภายใต้คำแช่งสาป และจะได้รับแต่พระพร เมื่อท่านโดนแช่งสาป พระเจ้าจะอวยพร ถ้าท่านอยู่ในพระวจนะ แต่ถ้าท่านล้มลงในความบาป ท่านเองคือคนนำคำสาปแช่งเข้ามาให้ตัวเอง
พระคำของพระเจ้าจะต้องเป็นแสงสว่างอยู่ภายในความคิดของพวกเขาตลอดเวลา
อับราฮัมเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือก เพื่อให้พระพรผ่านทางท่านมาสู่โลก พระเจ้าทรงเลือกอับราฮัมให้เป็นทางที่พระองค์จะทรงกระทำพันธกิจโดยมนุษย์ พระเจ้าแสวงหามนุษย์ที่พระองค์จะทรงกระทำกิจผ่านได้อยู่เสมอมา
คำสัญญาของพระเจ้า และ คำสัญญาของมนุษย์
เมื่อเราศึกษาแหล่งสัญญาเหล่านี้ เราก็พบว่า คำมั่นสัญญาของพระเจ้า ไม่ได้เริ่มต้นขึ้นในพระคัมภีร์ใหม่
พระเจ้าประทานสัญญาให้เป็นพิเศษแก่ชนชาติอิสราเอล (พวกเขาเป็นคนอิสราเอล ได้รับการทรงให้เป็นบุตรของพระเจ้าและพระสิริของพระเจ้าปรากฏแก่เขา และเขาได้รับบรรดาพันธสัญญา และการทรงประทานธรรมบัญญัติ และพิธีนมัสการพระเจ้า และพระสัญญา…โรม.9:4; จงระลึกว่า ครั้งนั้นท่านทั้งหลายเป็นคนอยู่นอกพระคริสต์ ขาดจากการเป็นพลเมืองอิสราเอลและไม่มีส่วนในบรรดาพันธสัญญาซึ่งทรงสัญญาไว้นั้น ไม่มีที่หวัง และอยู่ในโลกปราศจากพระเจ้า…อฟ.2:12) พระเจ้าประทานฐานะที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนชนชาติใดให้แก่ชนชาติอิสราเอล เป็นความหมายที่พิเศษว่า อิสราเอลนี้คือ ชนชาตินี้เข้าใจหน้าที่ของตนเองผิด คิดเอาเองว่าได้รับคำสัญญาให้มีเกียรติ มีสิทธิพิเศษ ซึ่งความจริงแล้วอิสราเอลเป็นชนชาติที่พระเจ้าให้หน้าที่และความรับผิดชอบเป็นพิเศษ ข้อเสนอของพระเจ้ามักเป็นข้อเสนอให้มีภาระหน้าที่ ที่ต้องกระทำเพื่อพระองค์เป็นพิเศษเสมอ
คำสัญญาของพระเจ้าที่ทรงมีต่อชนชาติอิสราอล เป็นคำสัญญาที่ตกทอดมาจากอับราฮัม คำสัญญาที่พระเจ้าประทานแก่อับราฮัมเป็นพระสัญญาที่มีผล 3 ขั้นดังนี้
ให้คำมั่นสัญญาเรื่องแผ่นดินแห่งพันธสัญญา (แต่พระองค์ไม่ทรงโปรดให้อับราฮัมมีมรดกในแผ่นดินนี้ แม้เท่าฝ่าเท้าก็ไม่ได้และขณะเมื่อท่านยังไม่มีบุตร พระองค์ทรงสัญญาไว้ว่า จะให้แผ่นดินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของท่าน และเชื้อสายของท่าน…กจ.7:5;
เพราะความเชื่อของท่าน ท่านได้พำนักในแผ่นดินซึ่งพระเจ้าทรงสัญญาไว้นั้น คือได้พำนักในเต็นท์เป็นคนต่างด้าว ดังอิสอัคและยาโคบซึ่งเป็นทายาทด้วยกัน ตามพระสัญญาอันเดียวกันนั้น, คนเหล่านั้นได้ตายไป ขณะที่มีความเชื่อเต็มที่ และไม่ได้รับสิ่งที่ได้ทรงสัญญาไว้ แต่เขาก็ได้เห็นและได้เตรียมรับไว้ตั้งแต่ไกล และรู้ดีว่าเขาเป็นคนแปลกถิ่นที่ท่องเที่ยวไปในโลก…ฮบ.11:9,13)
สัญญาว่าจะประทานลูกชายให้แก่นางซาราห์ทั้งที่ดูเหมือนว่า เป็นไปไม่ได้ (แล้วท่านก็จะกล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า "ถ้าเช่นนั้น ทำไมพระองค์จึงยังทรงติเตียน เพราะว่าผู้ใดจะขัดขืนพระทัยของพระองค์ได้"….รม.9:19;
บุตรที่เกิดจากหญิงทาสนั้นก็เกิดตามธรรมดา แต่ส่วนบุตรที่เกิดจากหญิงที่เป็นไทนั้น เกิดตามพระสัญญา, ดูก่อนพี่น้องทั้ง
หลาย เราเป็นบุตรแห่งพระสัญญาเช่นเดียวกับอิสอัค…..กท.4:23,28)
สัญญาว่าทุกชาติในโลกนี้จะได้รับพระพรทางอับราฮัม (เพราะว่าพระสัญญาที่ประทานแก่อับราฮัมและผู้สืบเชื้อสายของท่านที่ว่า จะได้ทั้งพิภพเป็นมรดกนั้น ไม่ได้มีมาโดยพระบัญญัติ แต่มีมาโดยความชอบธรรมที่เกิดจากความเชื่อ...รม.4:13;
บรรดาพระสัญญา ที่ได้ประทานไว้แก่อับราฮัมและพงศ์พันธุ์ของท่านนั้น มิได้ตรัสว่า และแก่พงศ์พันธุ์ทั้งหลาย เหมือนอย่างกับ
ว่าแก่คนมากคน แต่เหมือนกับว่าแก่คนผู้เดียวคือ แก่พงศ์พันธุ์ของท่าน ซึ่งเป็นพระคริสต์….กท.3:16;
เมื่อพระเจ้าได้ทรงสัญญาไว้กับอับราฮัมนั้น โดยเหตุที่ไม่มีใครเป็นใหญ่กว่าพระองค์ที่พระองค์จะทรงอ้างได้นั้น พระองค์ก็ได้
ทรงอ้างพระองค์เอง….ฮบ.6:13)
คำสัญญาของพระเจ้า เป็นคำสัญญาเรื่องพระมาซีฮา ทางเชื้อสายของกษัตริย์ดาวิด (คราวนั้นเกิดการวุ่นวายมากเพราะเหตุทางนั้น, บางคนได้ร้องว่าอย่างนี้ บางคนได้ร้องว่าอย่างนั้น เพราะว่าที่ประชุมวุ่นวายมาก และคนโดยมากไม่รู้ว่าเขาประชุมกันด้วยเรื่องอะไร…..กจ.19:23,32)
คำว่า พระมาซีฮา และคำว่า พระคริสต์ เป็นคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน มาซีฮาเป็นคำภาษาฮีบรู และคริสต์เป็นคำภาษากรีก แปลตรงตัวว่า ผู้ที่ได้รับการเจิม คำสัญญาของพระเจ้า เป็นคำสัญญาของกษัตริย์ อาณาจักรทั้งหลายในโลกนี้จะเป็นอาณาจักรของพระเจ้า โดยทางผู้ที่ได้รับการเจิมนี้
คำสัญญาทั้งหลายที่พระเจ้าประทานไว้ในพระคัมภีร์ พันธสัญญาเดิมปรากฏเป็นผล เป็นความจริงหรือพูดได้ว่า ทรงกระทำตามที่สัญญาไว้อย่างบริบูรณ์แล้วในพระเยซูคริสต์ (และเพื่อให้คนต่างชาติได้ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า เพราะพระเมตตาของพระองค์ ….เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์ขอสรรเสริญพระองค์ ท่ามกลางประชาชาติทั้งหลายและร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์….รม.15:9; บรรดาพระสัญญาของพระเจ้าก็จริงโดยพระเยซู เพราะเหตุนี้เราจึงพูดว่า อาเมน โดยพระองค์เป็นที่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า….2คร.1:20; ถ้าเช่นนั้นมีธรรมบัญญัติไว้ทำไม ที่เพิ่มธรรมบัญญัติไว้ก็เพื่อบาปจะปรากฏเป็นความละเมิด จนกว่าพงศ์พันธุ์ที่ได้รับพระสัญญานั้นจะมาถึง พวกทูตสวรรค์ได้ตั้งธรรมบัญญัตินั้นไว้โดยมือของคนกลาง, และถ้าท่านเป็นของพระคริสต์แล้วท่านก็เป็นพงศ์พันธุ์ของอับราฮัม คือเป็นผู้รับมรดกตามพระสัญญา…กท.3:19,29)
เมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จมาก็เหมือนกับว่า พระเจ้าตรัสกับมนุษย์ชาติว่า “นี่คือผู้ที่คำสัญญาของเราทุกข้อเป็นไปครบถ้วนในเขา”
พระเยซูทรงเป็นผู้ที่ความคิดฝันของพระเจ้าและความคิดความฝันของมนุษย์มาพบกันพอดี
ในพระเจ้าไม่มีธรรมดา เมื่อประทานอะไรนับได้ว่าเป็นพิเศษ ถ้ามนุษย์ทำหน้าที่พิเศษและมีความรับผิดชอบพิเศษ การครอบครองจะเกิดเมื่อมนุษย์ดำรงอยู่ในหน้าที่พิเศษอย่างถูกต้อง มนุษย์ผู้ที่จะบังคับบัญชาจักรวาลได้ เราเป็นตรีเอกานุภาพมนุษย์ ความรู้มนุษย์ถูกจำกัดด้วยประสาททั้งห้า ความล้ำเลิศความปรารถนามาจากพระเจ้า มีพลังอำนาจที่จะเลือกตัดสินที่จะทำอะไรก็ได้ ความสว่างวิเศษกว่าความมืด การเชื่อฟังในพระองค์เป็นผลของ…( ผู้ใดที่มีบัญญัติของเราและประพฤติตามบัญญัตินั้น ผู้นั้นแหละเป็นผู้ที่รักเราและผู้ที่รักเรานั้นพระบิดาของเราจะทรงรักเขาและเราจะรักเขา และจะสำแดงตัวให้ปรากฏแก่เขา" ยูดาส (มิใช่อิสคาริโอท) ทูลพระองค์ว่า "พระองค์เจ้าข้า เหตุใดพระองค์จึงจะสำแดงพระองค์แก่พวกข้าพระองค์ แต่ไม่ทรงสำแดงแก่โลก" พระองค์ตรัสตอบเขาว่า "ถ้าผู้ใดรักเรา ผู้นั้นจะประพฤติตามคำของเราและพระบิดาจะทรงรักเขา แล้วพระบิดากับเราจะมาหาเขา และจะอยู่กับเขา ผู้ที่ไม่รักเรา ก็ไม่ประพฤติตามคำของเรา และคำซึ่งท่านได้ยินนี้ไม่ใช่คำของเรา แต่เป็นพระวจนะของพระบิดาผู้ทรงใช้เรามา…. ยน.14:21-24 )
คำพูดของมนุษย์ศักดิ์สิทธิ์
คำว่า “ความรัก” เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในกระบวนการคุณงามความดีทั้งหมด เป็นคุณลักษณะแห่งความเชื่อของคริสเตียน จึงสมควรที่สุดที่เราจะมาศึกษาความหมายของคำนี้กันให้ชัดเจน
วิธีที่ดีที่สุดคือ เริ่มด้วยการเปรียบเทียบ ด้วยการพิจารณาลักษณะของความรัก
ความรักฝ่ายร่างกาย เช่น ความรักระหว่างเพศ, ความกระหายในความทะเยอทะยาน, ความรักชาติอย่างรุนแรง อาการของความรัก ลักษณะนี้เป็น “ความปรารถนาที่ร้อนแรงและไม่สามารถทนทานได้
ความรักแบบครอบครัว ความรักผูกพันฉันญาติ ความรักที่ประชาชนมีต่อผู้ปกครอง, มนุษย์ต่อพระเจ้าที่ปกป้องคุ้มครองเขา ความรักพ่อแม่ที่มีต่อลูกและลูกมีต่อพ่อแม่ รม.12:10 จงรักกันฉันพี่น้อง เป็นคำเสนอแนะความคิดให้เห็นว่า สังคมคริสเตียนไม่ใช่เป็นสมาคม แต่เป็นครอบครัวหนึ่ง
ความรักที่อบอุ่น คือการมองดูด้วยความรักใคร่ผูกพัน ใช้ได้ทั้งความรักระหว่างเพื่อน ความรักของสามีภรรยา ความรักของคริสเตียนเป็นความรักที่กว้างขวาง เป็นคำที่น่าฟังแต่เป็นคำที่เฉพาะเจาะจงของความอบอุ่น ความใกล้ชิดและความเสน่หา อาจจะใช้ได้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและเป็นที่รัก
เรื่องของคริสเตียนต้องการคำที่กินความกว้างกว่าคำนี้ ความคิดของคริสเตียนผูกพันอยู่กับความรัก เพราะเป็นคำเดียวที่สามารถบรรจุเนื้อหาความคิดที่ต้องการได้ เหตุผลที่ความคิดของคริสเตียนผูกพันแนบแน่นกับคำว่า ความรัก ก็คือ โดยความรักนั้นเรียกร้องให้มีภาคปฏิบัติทั้งความคิดจิตใจและการกระทำ ความรักของคริสเตียนต้องไม่จำกัดอยู่ในขอบเขตเฉพาะผู้ที่ใกล้ชิดหรือผู้ที่เรารัก หรือญาติมิตรของเราหรือเพื่อนฝูงที่เรารักเท่านั้น ความรักของคริสเตียนต้องแผ่ขยายออกไปจากสังคมของคริสเตียนไปสู่เพื่อนบ้าน ไปสู่ศัตรู ไปสู่โลก
ปัสกาจริงๆ แล้ว เป็นรูปแบบของการถวายบูชายัญบนภูเขากัลวารีโอ เครื่องบูชาก็คือ องค์พระคริสต์เจ้า ซึ่งเป็นเครื่องบูชาเดียวกับบูชาปัสกา เพียงแต่รูปแบบของการถวายบูชาเท่านั้นที่เปลี่ยนไป บูชาบนภูเขากัลวาริโอ พระเยซูเจ้าได้ทรงหลั่งโลหิตอันแท้จริงในบูชาปัสกา พระองค์ได้ทรงถวายพระองค์เองแด่พระบิดาเจ้าของพระองค์ในรูปแบบที่ไม่มีโลหิต แต่เป็นธรรมล้ำลึกที่ไม่อาจเข้าใจได้
6 สิ่ง พระเจ้าทรงเกลียด 7 สิ่งเป็นที่น่าเกลียดน่าชังสำหรับพระองค์
ตายโส ลิ้นมุสา มือที่ทำโลหิตไร้ผิดให้ตก จิตใจที่คิดแผนงานโหดร้าย เท้าซึ่งรีบวิ่งไปสู่ความชั่ว พยานเท็จซึ่งหายใจออกเป็นคำมุสา และคนผู้หว่านความแตกร้าวท่ามกลางพวกพี่น้อง
2คร.2:17 เพราะว่าเราไม่เหมือนคนเป็นอันมากที่เอาพระวจนะของพระเจ้าไปขายกิน แต่ว่าเราประกาศด้วยอาศัยพระคริสต์อย่างคนสัตย์ซื่อ อย่างคนที่มาจากพระเจ้า และอย่างคนที่อยู่จำเพาะพระพักตร์พระเจ้า
2คร.4:1 เพราะเหตุที่เรามีพันธกิจนี้โดยได้รับพระกรุณา เราจึงไม่ย่อท้อ
กายดิน วิญญาณอยู่ภายในร่างกาย
กายวิญญาณ วิญญาณอยู่ภายนอกร่างกายด้วยการสวมไว้ …(การซึ่งจะเป็นขึ้นมาจากความตายนั้นก็เหมือนกัน สิ่งที่หว่านลงนั้นเป็นของที่จะเน่าเปื่อย สิ่งที่เป็นขึ้นมาใหม่นั้นก็จะไม่รู้จักเน่าเปื่อย สิ่งที่หว่านลงนั้นไร้เกียรติ สิ่งที่เป็นขึ้นมาใหม่ก็จะมีศักดิ์ศรี สิ่งที่หว่านลงนั้นอ่อนกำลัง สิ่งที่เป็นขึ้นมาใหม่ก็จะทรงอานุภาพ สิ่งที่หว่านลงนั้นเป็นร่างกาย สิ่งที่เป็นขึ้นมาก็จะเป็นกายวิญญาณ ถ้าร่างกายมี กายวิญญาณก็มีด้วย มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า มนุษย์คนเดิมคืออาดัม จึงเป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่ แต่อาดัมผู้ซึ่งมาภายหลังนั้นเป็นวิญญาณผู้ประสาทชีวิต แต่ร่างกายซึ่งเกิดก่อนนั้นหาใช่เป็นกายวิญญาณไม่ แต่เป็นร่างกายแล้วภายหลังจึงเกิดมีกายวิญญาณขึ้น มนุษย์เดิมนั้นกำเนิดจากดินและเป็นมนุษย์ดิน มนุษย์ที่สองเสด็จมาจากสวรรค์ มนุษย์ดินผู้นั้นเป็นอย่างไร มนุษย์ดินทุกคนก็เป็นอย่างนั้น มนุษย์สวรรค์ผู้นั้นเป็นอย่างไร มนุษย์สวรรค์ทุกคนก็เป็นอย่างนั้น และเมื่อเราเกิดมามีลักษณะสมกับมนุษย์ดินแล้ว เราก็จะมีลักษณะสมกับมนุษย์สวรรค์ด้วย ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าหมายความว่า เนื้อและเลือดจะมีส่วนในแผ่นดินของพระเจ้าไม่ได้ และสิ่งซึ่งเน่าเปื่อยจะมีส่วนในสิ่งซึ่งไม่รู้จักเน่าเปื่อยก็ไม่ได้ ดูก่อนท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ามีความล้ำลึกที่จะบอกแก่ท่าน คือว่าเราจะไม่ล่วงหลับหมดทุกคน แต่เราจะถูกเปลี่ยนแปลงใหม่หมด ในชั่วขณะเดียว ในพริบตาเดียว เมื่อเป่าแตรครั้งสุดท้าย เพราะว่าจะมีเสียงแตร และคนที่ตายแล้วจะเป็นขึ้นมาปราศจากเน่าเปื่อย แล้วเราทั้งหลายจะถูกเปลี่ยนแปลงใหม่ เพราะว่า สิ่งซึ่งเน่าเปื่อยนี้ต้องสวมซึ่งไม่เน่าเปื่อย และสภาพมตะนี้ต้องสวมสภาพอมตะ เมื่อสิ่งซึ่งเน่าเปื่อยนี้ จะสวมซึ่งไม่เน่าเปื่อย และสภาพมตะนี้จะสวมสภาพอมตะ เมื่อนั้นตามซึ่งเขียนไว้ในพระคัมภีร์จะสำเร็จว่า ความตายก็ถูกกลืนถึงปราชัยแล้ว….1คร.15:42-54; เพราะเรารู้ว่า ถ้าเรือนดินคือกายของเรานี้จะพังทำลายเสีย เราก็ยังมีที่อาศัยซึ่งพระเจ้าทรงโปรดประทานให้ ที่มิได้สร้างด้วยมือมนุษย์ และตั้งอยู่เป็นนิตย์ในสวรรค์ เพราะว่าในร่างกายนี้เรายังครวญคร่ำอยู่ มีความอาลัยที่จะสวมที่อาศัยของเราที่มาจากสวรรค์ เพื่อว่าเมื่อเราสวมแล้ว เราก็จะมิได้เปลือย เพราะว่าเราผู้อาศัยในร่างกายนี้จึงครวญคร่ำเป็นทุกข์ มิใช่เพราะปรารถนาที่จะอยู่ตัวเปล่า แต่ปรารถนาจะสวมกายใหม่นั้น เพื่อว่าร่างกายของเราซึ่งจะต้องตายนั้นจะได้ถูกชีวิตอมตะกลืนเสีย….. 2คร.5:1-4
(เรากล่าวถึงเรื่องสิ่งเหล่านี้ ด้วยถ้อยคำซึ่งมิใช่ปัญญาของมนุษย์สอนไว้ แต่ด้วยถ้อยคำซึ่งพระวิญญาณได้ทรงสั่งสอน คือเราได้อธิบายความหมายของเรื่องฝ่ายวิญญาณ ให้คนที่มีพระวิญญาณฟัง….1คร.2:13) เรากล่าวถึงเรื่องสิ่งเหล่านี้ ด้วยถ้อยคำซึ่งมิใช่ปัญญาของมนุษย์สอนไว้ แต่ด้วยถ้อยคำซึ่งพระวิญญาณได้ทรงสั่งสอน คือเราได้อธิบาย ความหมายของเรื่องวิญญาณให้คนที่มีพระวิญญาณฟัง
โอ้ชีวิตฉันนี่หนาพระเจ้าลิขิต
หนทางชีวิตคิดอยู่อย่างมีจุดหมาย
เกิดมาทุกคนโลกนี้ไม่หนีความตาย
เมื่อยังไม่สายเกินไป ให้กลับคืนดี
กับองค์ผู้สร้างชีวิตลิขิตกำหนด (มาให้)
แล้วความงามงดผุดผ่องฉายส่องราศี
เวลาพระเจ้าฟื้นฟูมักเกิดผู้เผยพระวจนะเสมอ พระองค์จะรักษาแผ่นดินให้หายโดยทางผู้รับใช้ของพระองค์
คนหนึ่งคนใด คจ.หนึ่งคจ.ใด นิกายหนึ่งนิกายใด อาจจะเสื่อมลง คจ.เสื่อมลงหรือต่ำลงเหมือนเมื่อคราวอิสราเอลอยู่ภายใต้การปกครองของเอลีและบุตรชายคือ
1 ไม่มีการเทศนาที่เต็มไปด้วยฤทธิ์อำนาจ (1ซมอ.3:1) ในสมัยนั้นพระดำรัสของพระเจ้ามีมาแต่น้อย ไม่มีนิมิตบ่อยนัก มีการเทศนามากครั้ง แต่ไม่มีพระดำรัสของพระเจ้า มีความคิดโครงการ แผนการ รายการมากมาย แต่ไม่มีนิมิตบ่อยนัก
2 ความพ่ายแพ้ก่อตัวขึ้น ชาวอิสราเอลคิดอย่างตื้นๆ ว่าพวกเขาจะปลอดภัยภายใต้ความคิด นิมิตของพระเจ้าที่เกิดขึ้นอย่างจำกัด ดังนั้น พวกเขาจึงออกไปรบกับชาวฟิลิสเตียอย่างทะนง และคนฟิลิสเตีย ได้ฆ่าคนเสียประมาณ 4 พันคนในสนามรบ…1ซมอ.4:2
3 การแสวงหาเหตุผล พวกผู้ใหญ่ได้จัดประชุมขึ้น พวกเขาถามว่า ทำไมพระเจ้าจึงทรงให้เราพ่ายแพ้ต่อคนฟิลิสเตียในวันนี้…1ซมอ.4:3 พวกเขาเริ่มแสวงหาคำตอบ
อย่างไรก็ตาม ชาวอิสราเอลก็พากันเศร้าใจ แต่จิตวิญญาณไม่สั่นคลอน เราควรจะเป็นชนชาติผู้มีชัยชนะของพระเจ้า พวกเขาร้องว่า ทำไมพระเจ้าจึงยอมให้เราพ่ายแพ้
แล้วพวกเขาทำผิดมากยิ่ง ไม่ว่าการหาเหตุผล พวกเขาตัดสินใจจะให้พระเจ้าอยู่ท่ามกลางเขา โดยใช้วิธีการของพวกเขา โดยความคิดแห่งความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ พวกเขามองเห็นการสถิตอยู่ของพระเจ้า โดยคิดว่า เมื่อพวกเขามีหีบพันธสัญญา พวกเขาคิดว่าพระเจ้าอยู่ในหีบฯนั้น ไม่มีใครเคยเห็น นอกจากปุโรหิต เราจงเคลื่อนย้าย เขาเคลื่อนย้ายด้วยความอวดดี ด้วยความเชื่อที่อวดดีอย่างโง่เขลาที่ว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้พระเจ้าอยู่ท่ามกลางพวกเขา เขาจึงกล่าวว่า “ให้เรานำหีบฯแห่งพระเจ้ามา ให้เราจากเมืองชิโลห์เถิด” เพื่อพระองค์จะได้เสด็จมาท่ามกลางเขาและช่วยเขาให้พ้นศัตรู พวกเขากำลังทำให้หีบเป็นรูปเคารพ พระเจ้าไม่เคยพอพระทัยการกระทำเช่นนั้น
ไม่ได้อยู่ที่แผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาล หรืออิทธิพลทางการเมือง ไม่ได้อยู่ที่มีงบประมาณกองทัพอันเกรียงไกรหรือความมั่งคั่งร่ำรวย มีอาคารสวยๆ หรือสมาชิกนับพันๆ คน สง่าราศีของเราอยู่ที่การที่พระเจ้าสถิตอยู่ด้วย จงพร้อมเพรียงในการอธิษฐาน
ธุรกิจที่ทำให้ประเทศสั่นไหว เราไม่ได้ยิ่งใหญ่ แต่พระเยซูยิ่งใหญ่ ถ้าราบอกไม่มีผู้ใด ก็ไม่มีผู้ใด ประเทศสั่นไหว คนมีกำลังน้อย คนที่เต็มล้น กินไม่ได้ดื่มไม่ได้ เพราะไม่หิว อาหารอยู่ตรงหน้าก็ไม่ตัก
หิวกระหายได้รับเติมให้เต็มด้วยพระสิริของพระเจ้า พระวิญญาณได้เข้ามาอยู่ในตัวท่าน ร่างกายปัจจุบัน พระวิญญาณที่ทำให้พระเยซูฟื้นคืนพระชนม์ ปราบซาตาน นำพระเยซูสู่สวรรค์ อยู่ในตัวเราด้วย ออกมามากที่สุดตามความเชื่อของท่าน ตามความหิวของท่าน
…ในปีที่กษัตริย์อุสซียาห์สิ้นพระชนม์ ข้าพเจ้าเห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าประทับ ณ พระที่นั่งสูงและเทิดทูนขึ้น และชายฉลองพระองค์ของพระองค์เต็มพระวิหาร….อสย.6:1
พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอวิงวอนท่าน ให้สังเกตดูคนเหล่านั้นที่ก่อเหตุวิวาทและทำให้คนอื่นหลง ซึ่งเป็นการผิดคำสอนที่ท่านทั้งหลายได้เรียนมา จงเมินหน้าจากคนเหล่านั้น เพราะว่าคนเหล่านั้น ไม่ได้ปรนนิบัติพระคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา แต่ได้ปรนนิบัติท้องของตัวเอง และได้ล่อลวงคนซื่อให้หลงด้วยคำดีคำอ่อนหวาน การซึ่งท่านทั้งหลายได้เชื่อฟังก็เลื่องลือไปถึงหูคนทั้งปวงแล้ว ข้าพเจ้าจึงมีความยินดีเพราะท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าใคร่ให้ท่านเชี่ยวชาญในการดี และให้เป็นคนทึ่มในการชั่ว ไม่ช้าพระเจ้าแห่งสันติสุข จะทรงปราบซาตานให้ยับเยินลงใต้ฝ่าเท้าของท่านทั้งหลาย ขอพระคุณของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา จงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด…รม.16:17-20
สวรรค์สถานคือ โลกวิญญาณ
ทรงอยู่เหนือคนทั้งปวงและทั่วคนทั้งปวงและภายในคนทั้งปวง ..อฟซ.4:6;
หน้าที่ของอัครทูตเป็นผู้แต่งตั้งคจ….1คร.9:1-2 ; มีหมายสำคัญยืนยัน (ข้าพเจ้าเป็นคนเขลาไปแล้วซี ท่านบังคับข้าพเจ้าให้เป็น เพราะว่าสมควรแล้วที่ท่านจะยกย่องข้าพเจ้า เพราะว่า ข้าพเจ้าไม่ด้อยกว่าอัครทูตชั้นผู้ใหญ่เหล่านั้นแต่ประการใดเลย ถึงแม้ข้าพเจ้าจะไม่วิเศษอะไรเลยก็จริง แท้จริงลักษณะของอัครทูตก็ได้สำแดงให้ประจักษ์แจ้งในหมู่พวกท่านแล้ว ด้วยความเพียร โดยหมายสำคัญ โดยการอัศจรรย์และโดยการอิทธิฤทธิ์…2คร.12:11-12)

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ถ่อมใจ ยอมรับใช้

เกรียงไกรด้วยเกียรติมานาน

วิศรุต จินดารัตน์

Aristotle นักปราชญ์ชาวกรีกได้พูดไว้ว่า “Dignity does not consist in having honors, but in deserving them” คนที่มีเกียรติไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาคนนั้นต้องเป็นคนมีชื่อเสียง แต่อยู่ที่ว่าเขาสมควรได้รับเกียรตินั้นหรือไม่ บุคคลจะมีศักดิ์ศรีหรือมีเกียรติยศนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนที่มียศถาบรรดาศักดิ์ แต่สำคัญที่ว่าตัวเขาเองมีความเหมาะสมกับเกียรติยศนั้นหรือไม่ หลายคนแสวงหาเกียรติยศโดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความเหมาะสมและสมควรจะได้รับเกียรตินั้นหรือไม่ แต่ได้พยายามไขว่คว้าโดยใช้เงินทองเข้าแลกเพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกาศเกียรติคุณหรือฐานะทางสังคม ทั้งนี้เพราะความอยากมีชื่อเสียง อยากเป็นคนเด่นดัง อยากมีเกียรติ


พระธรรมลูกา 14 : 7-11 “ ฝ่ายองค์พระเยซูคริสตเจ้าเมื่อทรงเห็นคนทั้งหลายที่ได้รับเชิญมาในงานเลี้ยงนั้น ได้เลือกเอาที่นั่งอันมีเกียรติ พระองค์จึงตรัสคำเปรียบแก่เขาว่า เมื่อผู้ใดเชิญท่าน ไปในงานเลี้ยงสมรส อย่านั่งในที่อันมีเกียรติเกลือกว่าเขาได้เชิญคนที่มียศมากกว่า ท่านอีก และเจ้าภาพได้เชิญท่านทั้งสองนั้นจะมาพูดกับท่านว่า จงให้ที่นั่งแก่ท่าน ผู้นี้เถิด แล้วท่านจะต้องเลื่อนลงมาที่ต่ำ ได้รับความอดสู แต่เมื่อท่านได้รับเชิญแล้ว จงไปนั่งในที่ต่ำก่อน เพื่อว่าเมื่อท่านเจ้าภาพมาพูดกับท่านว่า สหายเอ๋ย เชิญเลื่อน ไปนั่งในที่อันมีเกียรติ แล้วท่านจะได้เกียรติต่อหน้าคนทั้งหลายที่ร่วมโต๊ะด้วยกัน นั้น เพราะว่าทุกคนที่ได้ยกตัวขึ้นจะต้องถูกเหยียดลง และผู้ที่ถ่อมตัวลงนั้นจะได้รับ การยกขึ้น ”

คำอุปมาขององค์พระเยซูคริสตเจ้าดังกล่าวมีนัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราทุกคน ทรงสอนว่าอย่าแสวงหาตำแหน่ง เกียรติยศ หรือสถานภาพทางสังคม (social status) เมื่อได้รับเชิญไปงานเลี้ยงใดๆจงอย่าใจร้อนเลือกที่นั่งที่มีเกียรติ (A place of honor; The best seat at the table) ซึ่งเจ้าของบ้านอาจสงวนไว้สำหรับแขกคนสำคัญ (V.I.P.) ที่มักเดินทางมาทีหลังเสมอ หากเรานั่งอยู่ในที่นั้น (ซึ่งก็คือหัวโต๊ะ ที่มักเป็นที่ของประธาน) เราก็อาจถูกเจ้าของบ้านเชิญให้ลุก หลีกทางให้กับแขกคนสำคัญของเขา ทำให้เราขายหน้าได้รับความอับอาย ฉะนั้น อย่าทึกทักและคิดไปว่าตนเองเป็นคนสำคัญ มีเกียรติ โดยที่เจ้าของบ้านไม่ได้เชิญ เราก็อาจต้องยอมลุกจากที่นั่งนั้น แต่เมื่อข้าวของบ้านเชิญให้นั่ง เราจึงเป็นผู้ที่สมควรได้รับเกียรตินั้น ดังนั้นจึงต้องมีใจถ่อมสุภาพเสมอ เพราะความถ่อมสุภาพจะนำมาซึ่ง

ประการแรก : คนที่ถ่อมตัวจะได้รับการยกย่อง (Humble will be made great)

ดูเหมือนว่าจะเป็นการสวนทางกับความเป็นจริงที่บอกว่า คนที่ถ่อมตัวจะได้รับการยกย่อง เพราะคนทั่วไปมักพยายามทำตัวให้ยิ่งใหญ่ ทำให้น่าเกรงขามไว้ก่อนโดยการแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าราคาแพง ขับรถยนต์หรูหราเพื่อให้คนมองอย่างให้เกียรติ เคารพยกย่อง แต่องค์พระเยซูคริสตเจ้ามีทัศนคติต่อเรื่องนี้อย่างไร

พระธรรมมัทธิว 23 : 12 “ ...ผู้ใดถ่อมตัวลง ผู้นั้นจะได้รับการยกขึ้น ”

ในสายพระเนตรของพระเป็นเจ้าแล้ว ความมีเกียรตินั้นจะได้มาก็ด้วยการที่คนนั้นมีใจถ่อมสุภาพ ยอมรับใช้ผู้อื่น ไม่เป็นคนหยิ่งผยอง ถือตัว และอวดตัว แต่คำนึงถึงผู้อื่นเสมอ นี่คือคุณค่าที่แท้จริงของ ความเป็นคน ไม่แสวงหาสถานภาพที่สูงส่งแต่มีความสุขที่ได้ถ่อมใจรับใช้ผู้อื่น ซึ่งเป็นเกียรติที่คนทั้งหลาย เห็นว่าคนนั้นคือผู้ที่สมควรได้รับการยกย่อง

ประการที่สอง : คนที่ถ่อมตัวจะได้รับความสุข (Humble will be given happiness)

พระธรรมอิสยาห์ 29 : 19 “ ...ผู้ที่ถ่อมตัวลงจะพบกับความชื่นชมยินดีในพระเจ้า …”

ในสายพระเนตรของพระเจ้า คนที่มีความถ่อมสุภาพยอมลดตัวลง ไม่มีทัศนคติในการแสวงหาเกียรติยศ ความมีหน้ามีตาในสังคม แต่ยอมทำงานบริการที่แม้ดูเล็กน้อยในสายตาคนทั่วไปเขาจะได้รับสถานภาพที่สูงยิ่งจากพระเจ้า ความถ่อมสุภาพเป็นกฎเกณฑ์ที่พระเจ้าทรงกำหนดไว้ ในแผ่นดินของพระองค์นั้นไม่มีความหยิ่งผยอง ไร้ความยโส เป็นแผ่นดินแห่งความเสมอภาคและความชื่นชมยินดี สำหรับบรรดาผู้ที่ถ่อมใจลงและดำเนินชีวิตสอดคล้องตามน้ำพระทัยพระเจ้าก็จะพบกับความสุขที่แท้จริง

ประการที่สาม : คนที่ถ่อมตัวจะได้รับเกียรติยศ (Humble will be honored)

บางคนพยายามสร้างภาพว่าเป็นคนถ่อม ทั้งที่ชีวิตจิตใจไม่เป็นไปอย่างที่เสแสร้งออกมา เขาทำก็เพื่อหวังให้สังคมยอมรับให้เกียรติหรือลงคะแนนให้เขา ต่อเมื่อได้สมความตั้งใจก็แสดงตัวที่แท้จริงออกมา แต่ผู้ที่เป็นแบบอย่างของความถ่อมใจที่แท้จริงก็คือองค์พระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงยอมเสด็จมาในโลกนี้เพื่อรับใช้ผู้อื่น

พระธรรมสุภาษิต 15 : 33 “ ผู้ที่ยำเกรงพระเจ้าจะได้รับปัญญา และผู้ที่ถ่อมใจลงจะได้รับเกียรติยศ ”

คนที่ถ่อมใจย่อมมีความยำเกรงพระเจ้าเขาจึงได้รับการยกชู การให้เกียรติจากองค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์จะทรงมอบเกียรติยศศักดิ์ศรีให้แก่เขา “ วัฒนาวิทยาลัย เกรียงไกรด้วยเกียรติมานาน ” บทเพลงที่เรียงร้อยถ้อยคำได้อย่างประณีตบรรจงผสมผสานกับลีลาทำนองอย่างลงตัว ทำให้ทุกครั้งที่ร้องหรือได้ยินบทเพลงนี้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในเกียรติยศและศักดิ์ศรีของสถาบันอันเป็นที่รักยิ่งของเรา สังคมไทยยกย่องให้เกียรตินักเรียนวัฒนาวิทยาลัยมาช้านาน ทั้งนี้ก็เพราะความเป็น “ กุลสตรี ” ที่มีความสุภาพอ่อนน้อม ความมีน้ำใจ ความเป็นคนมีคุณธรรมนำวิชาการ อันเป็นที่มาของเกียรติยศชื่อเสียง ที่สืบทอดกันมาแต่อดีต ความเป็นวัฒนาวิทยาลัยที่เกรียงไกรด้วยเกียรติมานานจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า เรามีที่นั่งอันมีเกียรติ (The best seat at the table) นั่งอยู่ที่หัวโต๊ะ อยู่ในตำแหน่งสำคัญหรือมีฐานะทางการเงินที่สูง แต่อยู่ที่ว่า “ เราสมควรจะได้รับเกียรติที่สังคมมอบให้หรือไม่ ” (Dignity does not consist in having honors, but in deserving them)

พระธรรมโรม 2 : 1 0 “ ศักดิ์ศรี เกียรติยศ และสันติสุข จะเกิดมีแก่ทุกคนที่ประพฤติดี... ”
(God will give glory, honor, and peace to all who do what is good…)

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รู้จักพระเยซู


พระเยซูคือใคร
เมื่อพูดถึงชื่อพระเยซู หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องราวของพระองค์มาบ้างไม่มากก็น้อย บางคนคิดว่าพระเยซูก็คือคนๆหนึ่งที่เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์ พระเยซูก็คืออาจารย์ที่สอนเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้า แต่ในทัศนะของคนที่เป็นคริสเตียนละ เขามองว่าพระเยซูคือใคร เป็นแค่ศาสดาของคริสตศาสนาเท่านั้นหรือ หรือเป็นมากกว่านั้น เพื่อที่จะให้เข้าใจว่าแท้จริงแล้วพระเยซูคือใคร จึงได้นำเนื้อหาของหนังสือที่ชื่อว่า "เยซูคือใคร" ของสมาคมนักศึกษาคริสเตียนไทย มาให้อ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับพระเยซูมากยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มีดังต่อไปนี้

1. บทนำ
2. พระเจ้าที่สำแดงพระองค์เอง
3. หลักฐานทางประวัติศาสตร์

4. คำยืนยันที่โลกต้องตะลึง
4.1 พระเยซูคริสต์อ้างว่า "พระองค์เป็นบุคคลคนเดียวกันกับพระเจ้า"
4.2 พระเยซูคริสต์อ้างว่า "พระองค์เป็นบ่อเกิดแห่งชีวิต และเป็นผู้ประทานชีวิต แม้กระทั่งชีวิตหลังความตาย"
4.3 พระเยซูคริสต์อ้างว่า "พระองค์คือผู้พิพากษามนุษย์ ในวันสิ้นสุดของโลก"
4.4 พระเยซูคริสต์อ้างว่า "พระองค์เป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการยกความผิดบาปของมนุษย์ได้"
4.5 พระเยซูคริสต์อ้างว่า "ท่าทีของมนุษย์ต่อพระองค์ ก็คือท่าทีต่อพระเจ้า"

5. บทวิเคราะห์คำอ้างของพระเยซู
5.1 คำอ้างเป็นคำเท็จ
5.2 คำอ้างเป็นตำนานที่เชื่อไม่ได้
5.3 คำอ้างเป็นความจริง

6. ชีวิตที่สอดคล้องกับคำอ้าง
6.1 คำพูดของพระเยซูคริสตเป็นคำพูดอมตะ
6.2 พระเยซูคริสตบริสุทธิ์ ปราศจากบาป
6.3 พระเยซูคริสตสำแดงการมหัศจรรย์
6.4 พระเยซูคริสตเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตคนมากที่สุดในโลก
6.5 พระเยซูคริสตสามารถสนองตอบความต้องการส่วนลึกสุดของจิตใจมนุษย์
7. ความสรุป

ของประทานฝ่ายพระวิญญาณ

ในพระธรรม 1คร.12:1 (ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านเข้าใจเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณนั้น) เน้นให้เราเห็นว่า บรรดาผู้ที่เป็นคริสเตียนทั้งหลาย (ผู้อยู่ในพระวิญญาณ) จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณ “ดูก่อนท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านเข้าใจเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณนั้น เพราะของประทานฝ่ายพระวิญญาณ มีความสำคัญมากต่อพระกายของพระเยซูคริสต์ เป็นเรื่องน่าสนใจที่ควรมีโอกาสศึกษาของประทานต่างๆ ที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้บุตรของพระองค์ทุกคน ถ้าพระเจ้ามิได้ประทานของประทานต่างๆ ให้แก่บุตรของพระองค์แล้ว คริสตจักรของพระองค์ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ หรือไม่ก้าวหน้าและโดยฐานะที่เราเป็นคริสเตียน เราต้องเรียนที่จะรู้จักของประทานทุกชนิด เมื่อเรามีความรู้มากขึ้น เราก็จะมีโอกาสใช้ของประทานในชีวิตและการรับใช้พระเจ้ามากขึ้น ชีวิตของเราจะเป็นพระพรยิ่งขึ้นต่อพี่น้องคริสเตียนและทำงานเกิดผลมากขึ้นในการประกาศข่าวประเสริฐ ในการค้นคว้าและแสวงหา เราจะพบว่าพระคัมภีร์เน้นให้เราแลเห็นของประทานฝ่ายพระวิญญาณแบ่งเป็น

ของประทานในการรับใช้
ของประทานในการรับใช้อื่นๆ
ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์


กลุ่มแรก

ของประทานในการรับใช้คือ ของประทานต่างๆที่พระเจ้าประทานให้แก่บางคน เพื่อทำหน้าที่ในการนำคริสตจักร

กลุ่มสอง

ของประทานในการรับใช้อื่นๆ เราจะศึกษาของประทานต่างๆ ที่พระเจ้าทรงเตรียมไว้สำหรับคริสเตียนทุกคน

กลุ่มสาม

ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์มี 9 อย่าง พระวิญญาณฯ ประทานให้ผู้เชื่อตามพระประสงค์ของพระองค์


พระเจ้าทรงประทานของประทานฝ่ายพระวิญญาณให้เฉพาะสมาชิกในพระกายของพระองค์เท่านั้น

เพราะฉะนั้นเราต้องศึกษาให้ดีถึงพระกายของพระองค์และศึกษาอวยวะต่างๆทำงานอย่างไร เมื่อใครก็ตามได้ต้อนรับเอาพระเยซูคริสต์เข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเขา เขาก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของพระกายของพระองค์ ในพระกายนี้ ผู้เชื่อทุกคนเป็นสมาชิกที่สำคัญมากและพระเจ้าทรงประทานของประทานแก่เขาทุกคน และแต่ละคนจะได้รับไม่เหมือนกัน เมื่อตัวเราแต่ละคนคลอดออกจากครรภ์ของมารดาก็ถูกนับว่าเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว หรือของสังคมแล้ว ในทำนองเดียวกัน เมื่อเรารับเชื่อในพระเยซูคริสต์ เราก็ถูกนับเข้าในครอบครัวหรือในสังคมที่มีความสำคัญมากกว่าเดิมอีก นั่นคือ คุณเป็นสมาชิกของพระกายพระคริสต์ ในข้อความต่อไปนี้ จะช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า เรามีค่าเพียงไร สำหรับพระเจ้าและสำหรับพี่น้องในพระกายคนอื่นๆ เราจะพบด้วยว่า พระองค์ทรงมีของประทานพิเศษสำหรับเราและทรงต้องการเรา เราทุกคนคือพระกายของพระคริสต์ พระเยซูคริสต์ทรงเป็นศรีษะ ผู้เชื่อทุกคนเป็นสมาชิก สมาชิกแต่ละคนมีความสำคัญมาก สมาชิกทุกคนคืออวัยวะต่างๆ ในพระกายนี้ สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เฉพาะของตนเอง เราต้องไม่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น การเปรียบเทียบทำให้คนอื่นท้อใจ เราต้องซื่อสัตย์ที่จะให้ของประทานที่ได้รับจากพระเจ้า เราต้องรู้จักของประทานต่างๆ ดี เราต้องใช้ของประทานนั้นๆ ที่พระเจ้าประทานให้ เราทุกคนคือพระกายของพระคริสต์ พระกายของพระคริสต์ประกอบด้วย พระเยซูทรงเป็นศรีษะ นี่คือตัวอย่างถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระคริสต์กับผู้เชื่อทุกคน อัครสาวกเปาโลใช้ร่างกายมนุษย์มาเป็นตัวอย่างแสดงความสัมพันธ์นี้ โดยชี้ให้เห็นว่า พระเยซูทรงเป็นศรีษะของร่างกาย เราทุกคนรู้ดีว่า ศรีษะของเราแต่ละคนมีความสำคัญมากเพียงไร ถ้าเราไม่มีศรีษะ เราจะเป็นอย่างไร

ประการแรก เราจะต้องตาย เพราะเราอยู่ไม่ได้โดยไม่มีศรีษะ

ประการที่สอง เราจะเคลื่อนไหวร่างกายส่วนอื่นไม่ได้เลยและร่างกายจะกลายเป็นเหมือนท่อนไม้ที่ไม่มีประโยช์ ศรีษะเปรียบเหมือนกองบัญชาการ สั่งการให้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ ในทำนองเดียวกัน พระคริสต์ซึ่งเป็นศรีษะของพระกายก็ต้องการบัญชาให้พระกายของพระองค์กระทำทุกสิ่งตามพระประสงค์ พระกายนั้นคือ “คริสตจักร”

พระองค์ทรงเป็นพระฉายของพระเจ้า ผู้ซึ่งไม่ประจักษ์แก่ตา ทรงเป็นบุตรหัวปีเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง. เพราะว่าในพระองค์สรรพสิ่งได้ถูกสร้างขึ้น ทั้งในท้องฟ้าและที่แผ่นดินโลก สิ่งซึ่งประจักษ์แก่ตาและซึ่งไม่ประจักษ์แก่ตา ไม่ว่าจะเป็นเทวบัลลังก์ หรือเป็นเทพอาณาจักร หรือเป็นเทพผู้ครองหรือศักดิเทพ สรรพสิ่งทั้งสิ้นถูกสร้างขึ้น โดยพระองค์และเพื่อพระองค์, พระองค์ทรงดำรงอยู่ก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง และสรรพสิ่งทั้งปวงเป็นระเบียบอยู่โดยพระองค์, พระองค์ทรงเป็นศีรษะของกาย คือคริสตจักร พระองค์ทรงเป็นปฐม เป็นผู้แรกที่ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย เพื่อพระองค์จะได้ทรงเป็นเอกในสรรพสิ่งทั้งปวง…., เพราะว่าในพระองค์นั้น สภาพของพระเจ้าดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์…….คส.1:15-18 ; 2:19;

พระเจ้าได้ทรงปราบสิ่งสารพัดลงไว้ใต้พระบาทของพระคริสต์ และได้ทรงตั้งพระองค์ไว้เป็นประมุขเหนือสิ่งสารพัดแห่งคริสตจักร ซึ่งเป็นพระกายของพระองค์ คือซึ่งเต็มบริบูรณ์ด้วยพระองค์ ผู้ทรงอยู่เต็มทุกอย่างทุกแห่งหน….., แต่ให้เรายึดความจริงด้วยใจรัก เพื่อจะจำเริญขึ้นทุกอย่างสู่พระองค์ผู้เป็นศีรษะ คือพระคริสต์, คือเนื่องจากพระองค์นั้น ร่างกายทั้งสิ้นที่ติดต่อสนิทและประสานกันโดยทุกๆข้อต่อที่ทรงประทาน ได้จำเริญเติบโตขึ้นด้วยความรัก เมื่ออวัยวะทุกอย่างทำงานตามความเหมาะสมแล้ว.., เพราะว่าสามีเป็นศีรษะของภรรยา เหมือนพระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของคริสตจักร ซึ่งเป็นพระกายของพระองค์ และพระองค์ทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดของคริสตจักร……….อฟ.1:22-23; 4:15-16; 5:23

ผู้เชื่อทุกคนคือพระกายของพระองค์ ร่างกายที่ไม่มีศรีษะ ไม่มีประโยชน์ฉันใด ศรีษะที่ไม่มีกายก็ไร้ประโยชน์ฉันนั้น ศรีษะมีความสำคัญพอๆกับร่างกาย, พระกายของพระคริสต์ประกอบขึ้นด้วยผู้เชื่อในนามของพระองค์ทุกคน ในฐานะที่เราแต่ละคนเป็นผู้เชื่อคนหนึ่ง เราแต่ละคนก็เป็นส่วนพระกายของพระองค์ด้วย นี่คือความจริงดังที่อ.เปาโลเขียนใน โรม12:5 ว่า “พวกเราผู้เป็นหลายคนยังเป็นกายอันเดียวในพระคริสต” ถึงกายนั้นเป็นกายเดียว ก็ยังมีอวัยวะหลายส่วน และอวัยวะเหล่านั้นแม้จะมีหลายส่วนก็ยังเป็นกายเดียวกันฉันใด พระคริสต์ก็ทรงเป็นฉันนั้น, เพราะว่าถึงเราจะเป็นพวกยิว หรือพวกกรีก เป็นทาสหรือมิใช่ทาสก็ตาม เราทั้งหลายได้รับบัพติสมาโดยพระวิญญาณองค์เดียวเข้าเป็นกายเดียวกัน และพระวิญญาณองค์เดียวนั้นซาบซ่านอยู่……1คร.12:12-13;

มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนมีความหวังใจอันเดียวที่เนื่องในการที่ทรงเรียกท่าน…, เพราะว่าไม่มีผู้ใดเกลียดชังเนื้อหนังของตนเอง มีแต่เลี้ยงดูและทนุถนอม เหมือนพระคริสต์ทรงกระทำแก่คริสตจักร, เพราะว่าเราเป็นอวัยวะแห่งพระกายของพระองค์……อฟ.4:4, 5:29-30;

บัดนี้ข้าพเจ้าปลื้มปีติในการที่ได้รับความทุกข์ยากเพื่อท่าน ส่วนการทนทุกข์ของพระคริสต์ที่ยังขาดอยู่นั้น ข้าพเจ้าก็รับทนจนสำเร็จในเนื้อหนังของข้าพเจ้า เพราะเห็นแก่พระกายของพระองค์ คือคริสตจักร……. คส.1:24

ผู้เชื่อแต่ละคนเป็นสมาชิก พระกายของพระเยซูคริสต์ประกอบด้วย 2 ส่วน ใหญ่ๆ คือ 1 ศรีษะ 2, สมาชิกทุกคน สังเกตุดูร่างกายของเราเอง จะเห็นว่าประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่าง ไม่ใช่มีเพียงอย่างเดียวและแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน เช่น เรามีแขน, ขา, นิ้ว หัวใจและอื่นๆ พระกายของพระคริสต์ก็มีลักษณะเช่นนี้ด้วย ทุกคนที่มีความเชื่อย่างแท้จริงแล้ว ก็มาเข้าส่วนในพระกายของพระองค์ ไม่ว่าเขาจะเป็นคริสเตียนที่อาศัยอยู่ในมุมใดของโลกก็ตาม

ดังใน 1คร.12:14 กล่าวว่า “เพราะว่าร่างกายไม่ได้ประกอบไปด้วยอวัยวะเดียว แต่ด้วยหลายอวัยวะ”

หมายความว่า พระกายของพระคริสต์ประกอบด้วยคนจากทุกเชื้อชาติทุกเผ่าพันธุ์ทั่วโลกที่มาเชื่อในพระองค์

สมาชิกแต่ละคนมีความสำคัญ สมาชิกทุกคนคืออวัยวะต่างๆ ในพระกายนี้

ลองคิดดูซิว่า ถ้านิ้วหัวแม่เท้าของเราขาดจากเท้าของเรา มันจะเป็นอย่างไร มันจะอยู่ต่อไปไม่ได้ แต่จะเน่าและกลายเป็นดินในที่สุด ร่างกายของเราจำเป็นต้องมีนิ้วหัวแม่เท้าด้วย ถ้าไม่มีถือว่าร่างกายเราไม่สมประกอบครบถ้วน ร่างกายที่มีอวัยวะไม่ครบก็ทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ และถูกจำกัดที่จะทำกิจกรรมบางอย่าง ตัวอย่างเช่น คนที่มีขาเพียงข้างเดียวไม่สามารถเป็นนักวิ่งได้ คนตาบอดก็อ่านบทความนี้ไม่ได้ และคนที่แขนด้วนขึ้นต้นไม้ไม่ได้ สมาชิกทุกคนในพระกายของพระคริสต์มีความสำคัญมากในสายพระเนตรของพระองค์

ใน 1คร. 12:27 กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นกายของพระคริสต์ และต่างก็เป็นอวัยวะของกายนั้น คำว่า “อวัยวะ” ในภาษากรีกมีความหมายว่า “หุ้นหนึ่ง” “ชิ้นหนึ่ง” นั่นคือสมาชิกทุกคนในพระกายของพระคริสต์คือ หุ้นส่วนหรือชิ้นหนึ่งในร่างกายนั้น แต่ละคนคือส่วนประกอบชิ้นต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้น เช่นเดียวกับนิ้วหัวแม่เท้าเป็นหุ้นหรือชิ้น หรือส่วนหนึ่งของร่างกายคุณ ถ้าเท้าจะพูดว่า "เพราะข้าพเจ้ามิได้เป็นมือ ข้าพเจ้าจึงไม่ได้เป็นอวัยวะของร่างกายนั้น" เท้าจะไม่เป็นอวัยวะของร่างกายเพราะเหตุนั้นก็หามิได้, ถ้าหูจะพูดว่า "เพราะข้าพเจ้ามิได้เป็นตา ข้าพเจ้าจึงมิได้เป็นอวัยวะของร่างกายนั้น" การพูดเช่นนั้นจะทำให้หูไม่เป็นอวัยวะของร่างกายก็หามิได้, ถ้าอวัยวะทั้งหมดในร่างกายเป็นตา การได้ยินจะอยู่ที่ไหน ถ้าทั้งร่างกายเป็นหู การดมกลิ่นจะอยู่ที่ไหน, แต่พระเจ้าได้ทรงตั้งอวัยวะไว้ในร่างกายตามชอบพระทัยของพระองค์, ถ้าอวัยวะทั้งหมดเป็นอวัยวะเดียว ร่างกายจะมีที่ไหน, ความจริงมีอวัยวะหลายอย่าง แต่ก็ยังเป็นร่างกายเดียวกัน, และตาจะว่าแก่มือว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้ หรือศีรษะจะว่าแก่เท้าว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้, ที่จริงอวัยวะที่เราเห็นว่าอ่อนแอ เราก็ขาดเสียไม่ได้, และอวัยวะที่เราถือว่ามีเกียรติน้อย เราก็ยังทำให้มีเกียรติยิ่งขึ้นและอวัยวะที่ไม่น่าดูนั้น เราก็ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น, เพราะว่าอวัยวะที่น่าดูแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตกแต่งอีก แต่พระเจ้าได้ทรงให้อวัยวะของร่างกายเสมอภาคกัน ทรงให้อวัยวะที่ต่ำต้อยเป็นที่นับถือมากขึ้น, เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งกันในร่างกาย แต่ให้อวัยวะทุกส่วนพะวงซึ่งกันและกัน, ถ้าอวัยวะอันหนึ่งเจ็บ อวัยวะทั้งหมดก็พลอยเจ็บด้วย ถ้าอวัยวะอันหนึ่งได้รับเกียรติอวัยวะทั้งหมดก็พลอยชื่นชมยินดีด้วย…1คร.12:15-26

สมาชิกทุกคนมีหน้าที่เฉพาะเป็นของตนเอง ตัวอย่างเช่น นิ้วเท้าไม่ได้ทำหน้าที่ของหู หรือตาไม่ได้ทำหน้าที่ของเท้า เช่นเดียวกันอวัยวะต่างๆ ในพระกายของพระคริสต์ทำหน้าที่แตกต่างกัน คำว่าหน้าที่หมายถึง งานหรือหน้าที่เฉพาะ เช่นหน้าที่ของตาก็คือการมอง ให้ย้อนคิดถึงหัวแม่เท้าของเราอีกครั้ง โดยทั่วๆ ไปแล้วมันจะถูกปกปิดอยู่ภายในรองเท้า เราอาจจะลืมนึกถึงมันไปบ้าง แต่มันก็ยังคงทำหน้าที่เฉพาะของมันอยู่ในเวลานั้น นิ้วหัวแม่เท้ายังเป็นนิ้วที่มีความสำคัญต่อนิ้วเท้า นิ้วอื่นๆ คือทำให้เท้ามีอวัยวะครบถ้วน สามารถรับน้ำหนักของร่างกายอย่างสมดุลย์ ถ้าวันใดคุณต้องสูญเสียมันไป วันนั้นคุณจะเห็นคุณค่าของมันอย่างมหาศาลทีเดียว เพราะมันคอยอำนวยประโยชน์ให้อวัยวะทุกชิ้นในร่างกาย คุณลองคิดดูก็ได้ ถ้านิ้วหัวแม่เท้าไม่มี คุณจะหกล้มได้ง่ายแล้วก็จะวิ่งไม่ถนัด เราอาจได้ชื่อว่าเป็นคนขาพิการไปแล้ว สมาชิกในพระกายของพระคริสต์ มีลักษณะคล้ายอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของคุณเช่นกัน สมาชิกแต่ละคนมีหน้าที่เป็นของตนเองและมีความสำคัญต่อทั้งศรีษะและสมาชิกอื่นๆ ในร่างกายนี้ และเราทุกคนมีของประทานที่ต่างกัน ตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา คือถ้าเป็นการเผยพระวจนะ ก็จงเผยตามกำลังของความเชื่อ, ถ้าเป็นการปรนนิบัติก็จงปรนนิบัติ ถ้าเป็นการสั่งสอนก็จงสั่งสอน, ถ้าเป็นการเตือนสติก็จงเตือนสติ ถ้าเป็นการบริจาค ก็จงให้ด้วยใจกว้างขวาง ผู้ที่ครอบครอง ก็จงครอบครองด้วยเอาใจใส่ ผู้ที่แสดงความเมตตา ก็จงแสดงด้วยใจยินดี…..รม.12:6-8;

แต่พระเจ้าได้ทรงตั้งอวัยวะไว้ในร่างกายตามชอบพระทัยของพระองค์, ถ้าอวัยวะทั้งหมดเป็นอวัยวะเดียว ร่างกายจะมีที่ไหน, ความจริงมีอวัยวะหลายอย่าง แต่ก็ยังเป็นร่างกายเดียวกัน, และตาจะว่าแก่มือว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้ หรือศีรษะจะว่าแก่เท้าว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้, ที่จริงอวัยวะที่เราเห็นว่าอ่อนแอ เราก็ขาดเสียไม่ได้, และอวัยวะที่เราถือว่ามีเกียรติน้อย เราก็ยังทำให้มีเกียรติยิ่งขึ้น และอวัยวะที่ไม่น่าดูนั้น เราก็ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น, เพราะว่าอวัยวะที่น่าดูแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตกแต่งอีก แต่พระเจ้าได้ทรงให้อวัยวะของร่างกายเสมอภาคกัน ทรงให้อวัยวะที่ต่ำต้อยเป็นที่นับถือมากขึ้น, เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งกันในร่างกาย แต่ให้อวัยวะทุกส่วนพะวงซึ่งกันและกัน……1คร.12:18-25

เราต้องไม่นำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

การเปรียบเทียบทำให้พระเจ้าไม่พอพระทัย พระเจ้าทรงสร้างเราแต่ละคนให้มีลักษณะเฉพาะ ที่แตกต่างจากคนอื่น เช่นเดียวกันทรงสร้างให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเราแตกต่างกัน ถ้าเราบ่นว่าทำไมนิ้วหัวแม่เท้าไม่ทำหน้าที่ของจมูก เราคิดว่าพระเจ้าพอพระทัยไหม พระองค์ไม่ทรงพอพระทัยแน่ พระเจ้าทรงสร้างอวัยวะแต่ละอย่างของเรา และทรงตั้งไว้อย่างสมควรแล้วในร่างกาย เพื่ออวัยวะแต่ละชิ้นจะทำหน้าที่ของมันตามที่ทรงตั้งพระทัยไว้

เมื่อเรานำตัวเปรียบเทียบกับสมาชิกคนอื่นในพระกายของพระคริสต์และบ่นต่อว่าคนเหล่านั้น เพราะเราไม่ชอบให้เขาเป็นอย่างนั้น เรากำลังทำให้พระเจ้าไม่พอพระทัย เราแต่ละคนต้องเรียนรู้ว่าพระเจ้าทรงสร้างเราอย่างที่เราเป็นอยู่นี้ และทรงวางเราอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว ที่จะทำหน้าที่ให้อวัยวะของพระกายทั้งหมดทำหน้าที่ได้อย่างดี เพื่อพระเจ้าจะได้รับเกียรติสูงสุด

เราแต่ละคนต่างมีของประทานส่วนตัว บางคนมีหนึ่งอย่างและบางคนมีมากกว่านั้น ถ้าเราอิจฉาคนอื่นเพราะเราไม่มีของประทานเหมือนเขา เรากำลังตัดสินพระเจ้าว่า พระองค์เจ้าข้า ทำไมไม่ทรงประทานของประทานอย่างนั้นให้ข้าพระองค์บ้าง?

ถ้าเท้าจะพูดว่า "เพราะข้าพเจ้ามิได้เป็นมือ ข้าพเจ้าจึงไม่ได้เป็นอวัยวะของร่างกายนั้น" เท้าจะไม่เป็นอวัยวะของร่างกายเพราะเหตุนั้นก็หามิได้, ถ้าหูจะพูดว่า "เพราะข้าพเจ้ามิได้เป็นตา ข้าพเจ้าจึงมิได้เป็นอวัยวะของร่างกายนั้น" การพูดเช่นนั้นจะทำให้หูไม่เป็นอวัยวะของร่างกายก็หามิได้, ถ้าอวัยวะทั้งหมดในร่างกายเป็นตา การได้ยินจะอยู่ที่ไหน ถ้าทั้งร่างกายเป็นหู การดมกลิ่นจะอยู่ที่ไหน, แต่พระเจ้าได้ทรงตั้งอวัยวะไว้ในร่างกายตามชอบพระทัยของพระองค์…1คร.12:15-18 พระธรรมตอนนี้สอนเราว่า เราไม่ควรเปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น การเปรียบเทียบทำให้คนอื่นท้อใจ คนบางคนยกตัวเองขึ้นสูง ถือว่าสำคัญกว่าคนอื่น ไม่มีใครกล้าเปรียบเทียบกับเท้าได้ เขาเป็นคนขาดความเข้าใจ เพราะเขาสร้างมาตรฐานของเขาขึ้น เพื่อใช้วัดกันและกัน และตัดสินพวกเขาเองด้วยมาตรฐานอันนั้น

เราไม่ต้องการที่จะเปรียบเทียบตัวเราเองกับคนบางคนที่ยกย่องตัวเอง แต่เมื่อเขาเอาตัวของเขาเป็นเครื่องวัดกันและกัน และเอาตัวเปรียบเทียบกันและกันแล้ว เขาก็เป็นคนขาดความเข้าใจ…. 2คร.10:12

เมื่อเรานำเอาของประทานของเราออกเปรียบเทียบกับคนอื่น จะมีสองสิ่งเกิดขึ้น สิ่งแรกคือ เราอาจรู้สึกท้อถอยเพราะของประทานของเราไม่เหมือนของคนอื่นและอาจคิดว่า ของประทานของเราด้อยความสำคัญกว่า อีกสิ่งหนึ่งเราอาจคิดหยิ่ง (สำคัญตัวผิด) เพราะคิดว่า ของประทานของเราดีกว่าคนอื่น ซึ่งเราอาจทำให้คนอื่นท้อใจ จะเป็นสิ่งดี ถ้าเราเรียนรู้ว่า พระเจ้าทรงประทานของประทานให้เราแต่ละคนเหมาะสมแล้ว ตัวอย่างของรองเท้า เพื่อให้เราเข้าใจมากขึ้นคือ เมื่อเราพยายามใส่รองเท้าของคนอื่น ถ้าขนาดต่างกัน เราจะรู้สึกลำบากมาก ถ้าเท้าของเราใหญ่กว่าของผู้นั้น และคนอื่นนั้นก็ไม่อาจใส่รองเท้าของเราได้เช่นกัน รองเท้าใครก็เหมาะกับคนนั้น เช่นเดียวกันของประทานของพระเจ้าที่ประทานให้เรา ก็ย่อมเหมาะสมกับเราเท่านั้น ส่วนของคนอื่นก็มีเหมาะสมสำหรับเขาด้วย ถ้าเป็นเช่นนั้น เรานำของประทานของเราออกมาเปรียบเทียบกันเพื่ออะไรกัน มีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากที่เปาโลกล่าวถึงในโรมว่า พวกเราผู้เป็นหลายคนยังเป็นกายอันเดียวในพระคริสต์ และเป็นอวัยวะแก่กันและกันฉันนั้น….. รม.12:5) จึงไม่เป็นการสมควรเลยที่เราจะเปรียบเทียบของประทานของกันและกัน เพราะเราเป็นกายเดียวกัน และแต่ละคนก็ได้รับประโยชน์จากกันและกัน ทำไมเราจึงต้องเอาเท้าของเรามาเปรียบเทียบกับปากล่ะ มันไม่เหมือนกันเลย และมันก็ทำหน้าที่ต่างกันด้วย แต่ทั้งสองก็มีความจำเป็นและทำประโยชน์เพื่อกายเดียวกันนี้ นั่นคือเท้าของเราจะนำเราไปหาอาหาร และปากจะกินอาหารนั้น ผลก็คือร่างกายทั้งหมดได้รับประโยชน์ สมาชิกในพระกายของพระคริสต์ก็เป็นเช่นนี้ด้วย และตาจะว่าแก่มือว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้ หรือศีรษะจะว่าแก่เท้าว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการเจ้า" ก็ไม่ได้, ที่จริงอวัยวะที่เราเห็นว่าอ่อนแอ เราก็ขาดเสียไม่ได้, และอวัยวะที่เราถือว่ามีเกียรติน้อย เราก็ยังทำให้มีเกียรติยิ่งขึ้น และอวัยวะที่ไม่น่าดูนั้น เราก็ทำให้น่าดูยิ่งขึ้น, เพราะว่าอวัยวะที่น่าดูแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตกแต่งอีก แต่พระเจ้าได้ทรงให้อวัยวะของร่างกายเสมอภาคกัน ทรงให้อวัยวะที่ต่ำต้อยเป็นที่นับถือมากขึ้น, เพื่อไม่ให้มีการแก่งแย่งกันในร่างกาย แต่ให้อวัยวะทุกส่วนพะวงซึ่งกันและกัน, ถ้าอวัยวะอันหนึ่งเจ็บ อวัยวะทั้งหมดก็พลอยเจ็บด้วย ถ้าอวัยวะอันหนึ่งได้รับเกียรติอวัยวะทั้งหมดก็พลอยชื่นชมยินดีด้วย, ฝ่ายท่านทั้งหลายเป็นกายของพระคริสต์ และต่างก็เป็นอวัยวะของพระกายนั้น….1คร.12:21-27

เราต้องสัตย์ซื่อในการใช้ของประทานที่ได้รับจากพระเจ้า และนั่นคือ เราต้องรู้จักของประทานต่างๆดี เพื่อรู้ที่มาของของประทานฝ่ายวิญญาณและรู้วิธีการใช้ว่า ควรใช้ของประทานของพระเจ้าอย่างไร ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของพระกายของพระคริสต์ คุณได้รับมอบพันธกิจแห่งการรับใช้ให้กระทำ พระเจ้าทรงประทานอุปกรณ์ให้เราในการรับใช้ โดยทรงมอบของประทานให้เรา 1 อย่างหรืออาจมากกว่านั้น สมาชิกทุกคนได้รับอย่างน้อย 1 อย่าง ของประทานต่างๆ ที่คุณอ่านพบในพระคัมภีร์เกือบทั้งหมดนั้น พระเจ้ามีพระประสงค์ที่จะมอบให้สมาชิกทุกคนในพระกายของพระองค์ ของประทานเหล่านี้ พ่อแม่หรือครูบาอาจารย์ให้เราไม่ได้ ไม่มีมนุษย์คนใดมีอำนาจพอที่จะให้กับเราได้ และของประทานก็ไม่ใช่พรสวรรค์ที่เราได้รับมาแต่กำเนิด

พรสวรรค์คือ ความสามารถพิเศษที่ได้รับมาแต่กำเนิด แต่ละคนจะมีความสามารถพิเศษแตกต่างกัน บางคนเรียกพรสวรรค์นี้ว่า เป็นของประทาน นั้นคือความเข้าใจผิด เพราะไม่เหมือนกับของประทานฝ่ายวิญญาณ เราจะเห็นว่าคนไม่เชื่อมากมายก็มีพรสวรรค์เช่น บางคนมีพรสวรรค์ด้านการเล่นดนตรีหรือพูดในที่สาธารณะเก่ง สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ของประทานฝ่ายพระวิญญาณ เพราะว่าของประทานฝ่ายวิญญาณนั้น เราได้รับจากพระเจ้าเท่านั้น

…ของประทานอันดีทุกอย่าง และของประทานอันเลิศทุกอย่างย่อมมาจากเบื้องบน และส่งลงมาจากพระบิดาแห่งบรรดาดวงสว่าง ในพระบิดาไม่มีการแปรปรวน หรือไม่มีเงาอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง…..ยก.1:17

เราต้องใช้ของประทานนั้นๆ วิธีใช้ของประทาน พระคัมภีร์ให้หลักง่ายๆ ในการใช้ของประทานทุกชนิดของพระเจ้า กล่าวไว้ใน

มัทธิว 10:8 ว่า “ท่านทั้งหลายได้รับเปล่าๆ จงให้เปล่าๆ” ข้อความนี้เมื่อนำมาใช้ในเรื่องของของประทานฝ่ายพระวิญญาณ ก็มีความหมายว่า สมาชิกผู้ใดในพระกายได้รับของประทานอันใด เขาต้องใช้ของประทานนั้นตามหลักนี้ ถ้าเมื่อใดคริสเตียนไม่ยอมใช้ของประทานของเขาหรือใช้อย่างเห็นแก่ตัว ขาดความรัก เขาก็ไม่ได้ทำตามจุดมุ่งหมายของพระเจ้าในการใช้ของประทาน ดังนั้นหน้าที่ของคริสเตียนที่ต้องทำก็คือ

ใช้ของประทานตามจุดประสงค์ที่พระเจ้าต้องการ
ใช้ของประทานด้วยความรัก ดังใน 1ปต.4:10 กล่าวว่า “ตามซึ่งทุกคนได้รับของประทานที่ทรงประทานให้แล้ว ก็ให้ใช้ของประทานนั้นเพื่อประโยชน์แก่กันและกัน เป็นผู้รับมอบฉันทะที่ดีที่แจกและสำแดงพระคุณนานาประการของพระเจ้า พระคัมภีร์ใช้คำว่า “ผู้รับมอบฉันทะ” เมื่อกล่าวถึงหน้าที่รับผิดชอบของเรา การรับมอบฉันทะหมายความถึงการดูแลและเอาใจใส่ทรัพย์สิ่งของของคนอื่น ในฐานะที่เราเป็นคริสเตียน เราเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ของประทานฝ่ายพระวิญญาณที่พระเจ้าประทานให้และใช้เพื่อขยายอาณาจักรของพระเจ้าออกไป มีกฎสำหรับผู้รับมอบฉันทะต้องรู้ด้วยใน 1คร.4:2 “ฝ่ายผู้อารักขาเหล่านั้น ต้องเป็นคนที่ไว้วางใจได้ทุกคน ผู้อารักขาที่ ไว้วางใจได้” นี้จะทำให้พระองค์ผู้ประทานของประทานได้รับเกียรติและนำพระพรมากมายมาสู่พระกายนั้น
ความรักเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การใช้ของประทานต่างๆ เกิดผลดี ถ้าไม่มีความรักแล้ว การใช้ของประทานต่างๆ ก็ไม้ได้พาเราเข้าสู่เป้าหมายเลย กะลาเทีย 5:6 กล่าวว่า “ความเชื่อซึ่งเราแสดงออกเป็นกิจที่ทำด้วยความรักนั้นก็สำคัญ พระเจ้าต้องการให้คุณรู้จักของประทานทุกอย่าง จำเป็นที่คริสเตียนทุกคนจะต้องได้เรียนที่จะรู้จักของประทานฝ่ายพระวิญญาณที่พระเจ้าประทานให้แก่เรา และเมื่อเราได้ทราบแล้ว เราก็จะได้เริ่มพัฒนาของประทานนั้นๆ ให้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น

ต้องมีความรู้ก่อน

ความรู้ทำให้เกิดความเชื่อ
ความรู้ทำให้ความเชื่อมั่นคง
ความรู้เป็นเครื่องกำหนดประสบการณ์
กลุ่มของประทาน
ของประทานในการรับใช้ โดยตำแหน่งซึ่งมาจากการทรงเจิมเป็นพิเศษ ให้กับบางคนทำหน้าที่
ของประทานในการรับใช้อื่นๆ
ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์
และโดยจุดประสงค์ทั้งหมดนี้จะบรรลุเป้าหมายนั้นคือ ทำให้เรารู้และเข้าใจถึงความสำคัญของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับของประทานฝ่ายพระวิญญาณ

จัดประเภทของประทานฝ่ายพระวิญญาณได้
ความรู้ทำให้เกิดความเชื่อ
ความเชื่อเป็นแกนหลักสำคัญของของประทานฝ่ายพระวิญญาณทุกอย่าง และในการนำของประทานนั้นมาใช้ เพราะความจริงก็คือว่า ของประทานเหล่านี้เป็นสิ่งจับต้องไม่ได้ เป็นเรื่องของจิตวิญญาณ จึงจำเป็นต้องมีความเชื่อ เรามาเป็นคริสเตียนได้ด้วยความเชื่อและด้วยความเชื่อที่เราได้รับของประทานต่างๆ ซึ่งทำให้เรากลายเป็นคนที่ใช้การได้





ความรู้ในพระคัมภีร์ ความเชื่อ ของประทานฝ่ายพระวิญญาณบริสุทธิ์


ความเชื่อเกิดได้อย่างไร? ความเชื่อของเราเกิดจากความรู้ในพระคัมภีร์ ฉะนั้นเราจึงต้องมีความรู้ในของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพื่อเราจะใช้ของประทานเหล่านั้นด้วยความเชื่อ เปาโลเขียนชัดเจนถึงเรื่องนี้

ในโรม 10:14 ว่า “แต่ผู้ที่ยังไม่เชื่อในพระองค์จะทูลขอต่อพระองค์ได้อย่างไร?” ความรู้ในข่าวประเสริฐเกิดจากการได้ยินและความรู้นี้ย่อมทำให้คนมีความเชื่อได้

ให้เราคิดถึงสาวกที่เมืองเอเฟซัส เมื่อเปาโลพบพวกเขาครั้งแรกนั้น ท่านถามเขาว่า “เมื่อท่านทั้งหลายเชื่อนั้น ท่านได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือเปล่า กจ.19:2 เขาตอบว่า “เปล่า เรื่องพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้น เรายังไม่เคยได้ยินเลย” เพราะเขาไม่เคยได้ยิน เขาจึงไม่รู้ และเพราะเขาไม่รู้ เขาก็เชื่อไม่ได้ ดังนั้นเปาโลจึงเริ่มสอนพวกเขา การสอนทำให้พวกเขาได้รับความรู้ และความรู้ทำให้ความเชื่อผุดขึ้นในจิตใจของเขา ความรู้ในเรื่องของของประทานฝ่ายพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงเป็นขั้นแรกที่จะทำให้เกิดความเชื่อจนพร้อมที่จะรับและรู้จักของประทานนั้นๆ พร้อมทั้งใช้ของประทานนั้นอย่างเกิดผล เราไม่อาจใช้ของประทานใดได้อย่างเหมาะสม จนกว่าเราจะได้เรียนรู้จักของประทานนั้นๆ ดังที่พระเจ้าต้องการให้เรารู้ …ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านเข้าใจเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณนั้น, พระวจนะของพระเจ้าเกิดมาจากพวกท่านหรือ ได้ประทานมาถึงท่านแต่พวกเดียวหรือ .. 1คร.12:1, 14:36; ขณะที่อปอลโลยังอยู่ในเมืองโครินธ์ เปาโลได้ไปตามที่ดอน แล้วมายังเมืองเอเฟซัส ท่านพบสาวกบางคนที่นั่น, จึงถามเขาว่า "เมื่อท่านทั้งหลายเชื่อนั้น ท่านได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์หรือเปล่า" เขาตอบว่า "เปล่า เรื่องพระวิญญาณบริสุทธิ์นั้นเราก็ยังไม่เคยได้ยินเลย" เปาโลจึงถามเขาว่า "ถ้าอย่างนั้นท่านได้รับบัพติศมาอันใดเล่า" เขาตอบว่า "บัพติศมาของยอห์น" เปาโลจึงว่า "ยอห์นให้รับบัพติศมาสำแดงถึงการกลับใจใหม่ แล้วบอกคนทั้งปวงให้เชื่อในพระองค์ผู้จะเสด็จมาภายหลังคือพระเยซู" เมื่อเขาได้ยินอย่างนั้น เขาจึงรับบัพติศมาในพระนามของพระเยซูเจ้า, เมื่อเปาโลได้วางมือบนเขาแล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์ก็เสด็จลงมาบนเขา เขาจึงพูดภาษาแปลกๆและได้ทำนายด้วย, คนเหล่านั้นมีประมาณสิบสองคน…กจ.19:1-7; และเราทุกคนมีของประทานที่ต่างกัน ตามพระคุณที่ได้ประทานให้แก่เรา คือถ้าเป็นการเผยพระวจนะ ก็จงเผยตามกำลังของความเชื่อ….รม.12:6

ความรู้ทำให้ความเชื่อมั่นคง
ความรู้ไม่เพียงทำให้เกิดความเชื่อเท่านั้น แต่ยังทำให้ความเชื่อมั่นคง ความเชื่อมั่นคงเพราะมีความรู้เป็นเครื่องกำหนดทิศทางและขอบเขตให้เชื่อ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ความรู้ของเรานั้นจะต้องสมบูรณ์และเป็นความจริง เพราะถ้าความรู้ของเราไม่สมบูรณ์และเป็นเท็จแล้ว ความเชื่อของเราจะวางอยู่บนรากฐานที่ผิดเพี้ยน เรารู้แล้วว่ารากฐานคือส่วนที่ทำให้สิ่งที่วางอยู่บนนั้นตั้งอยู่ได้ ถ้าความเชื่อตั้งอยู่บนรากฐานของความรู้ที่ผิดๆ ก็เหมือนบ้านที่ตั้งอยู่บนรากฐานเพียงครึ่งเดียว ยกตัวอย่างเช่น มีหลายคนได้รับการสอนว่า ของประทานในการพูดภาษาแปลกๆ เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้ว เดี๋ยวนี้ไม่ต้องมีอีก เมื่อพวกเขาได้รับคำสอนที่ผิดพลาดเช่นนี้ ทำให้เขาขาดความเชื่อในการรับของประทานนี้ คนจะเชื่อได้เฉพาะสิ่งที่เขารู้เท่านั้น แม้ว่าความเชื่อจะไม่ก้าวล้ำเส้นออกไปนอกขอบเขตของความรู้ที่เขารู้ ถ้าคริสเตียนเหล่านี้ไม่มีฐานของความรู้ที่ถูกต้องแล้ว ตลอดชีวิตเขาก็จะเชื่อว่า ของประทานในการพูดภาษาแปลกๆนั้น ไม่ใช่สำหรับยุคของเขา เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่ครบถ้วนและเป็นความจริง (เมื่อพระเยซูตรัสดังนี้ ก็มีคนเป็นอันมากวางใจในพระองค์, พระเยซูจึงตรัสกับพวกยิวที่ศรัทธาในพระองค์แล้วว่า "ถ้าท่านทั้งหลายดำรงอยู่ในคำของเรา ท่านก็เป็นสาวกของเราอย่างแท้จริง…ยน. 8:30-31)


ความรู้เป็นเครื่องกำหนดประสบการณ์

เนื่องจากความรู้ทำให้เกิดความเชื่อและทำให้ความเชื่อมั่นคง ความรู้ยังควรจะเป็นสิ่งกำหนดประสบการณ์ของเราด้วย ขั้นตอนก่อนหลังที่เราน่าจะจำได้คือ

ความรู้
ความรู้ในเรื่องของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ต้องมีก่อนที่เราจะมีความเชื่อ
และความเชื่อจะทำให้เรามีประสบการณ์ในการใช้ของประทานนั้นๆ ตามที่พระเจ้าตั้งพระทัยไว้






ความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์


ขอให้เราทบทวนดูประสบการณ์ของเปาโลที่เมืองเอเฟซัส ในกิจการบทที่ 19 เราสังเกตุเห็นว่า ที่ชาวเอเฟซัสไม่มีความเชื่อในพระวิญญาณบริสุทธิ์ ก็เพราะเขาไม่เคยรู้จักพระองค์ เราจึงสรุปได้ว่า เพราะเขาไม่รู้เขาจึงไม่มีความเชื่อ ทำให้ขาดประสบการณ์ตามที่พระเจ้ามีน้ำพระทัยจะประทานให้ เมื่อเห็นว่า คนเหล่านั้นไม่รู้จักพระวิญญาณบริสุทธิ์ เขาจึงตั้งต้นสั่งสอนพวกเขา เปาโลให้ความรู้ใหม่แก่เขา ทำให้เขามีความรู้เพิ่มขึ้นในสิ่งที่เขาไม่เคยเชื่อมาก่อนและเมื่อเขาแสดงความเชื่อออกมาตามความรู้ใหม่ที่ได้รับ เขาก็ก้าวสู่ประสบการณ์ใหม่ ซึ่งประสบการณ์นี้วางอยู่บนรากฐานของความรู้ที่เขาได้รับคำสอนของเปาโล

จากตัวอย่างนี้ทำให้เราเห็นว่า ความรู้ในเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณมีความสำคัญเพียงไรและประสบการณ์ของเรายังมีจำกัด ถ้าขาดความรู้ให้เราคิดถึงเรื่องนี้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย คือเมื่อเปาโลเขียนจดหมายถึงชาวเมืองโครินธ์ ท่านกล่าวว่าพวกเขามีของประทานของพระวิญญาณฯ พร้อมแล้ว “เพราะท่านทั้งหลายพรั่งพร้อมด้วยทุกสิ่งทุกอย่างในพระองค์ คือพร้อมด้วยวาจาและความรู้ทุกอย่าง ด้วยว่าพยายามเรื่องพระคริสต์นั้นเป็นที่รับรองแน่นอนในพวกท่านแล้ว ท่านทั้งหลายมิได้ขาดของประทานเลย” 1คร.1:5-7 เห็นได้ว่า ชาวคริสเตียนเมืองโครินธ์มีความรู้ในเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณและพวกเขามีของประทานเหล่านั้น

พระธรรม 1คร.1:5-7 มิได้กล่าวว่า แต่ละคนมีของประทานครบหมดในตนเอง แต่ในที่นี้ชี้ให้เห็น เมื่อชุมนุมชนหรือกลุ่มคน (ทั้งหลาย) มีความรู้ในเรื่องพระคำของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ ท่ามกลางเขาเหล่านั้นจะไม่ขาดของประทานเลย นั่นคือของประทานในสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในท่ามกลางเขาทั้งหลาย คือพระเจ้า จะให้มีบางคนเป็นอัครทูต, ผู้พยากรณ์, ผู้ประกาศฯ, ศิษยาภิบาลและครูบาอาจารย์ และทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ของทุกคนในสังคมนั้นๆ ซึ่งเป็นเหมือนสมบัติล้ำค่าที่พระเจ้าประทานมาให้เขาทั้งหลาย มีสิทธิเป็นเจ้าของดูแลและใช้ประโยชน์ร่วมกัน เป็นสมบัติส่วนรวมของประทานในตำแหน่งเหล่านี้จึงเป็นเหมือนภาชนะสำหรับคนทั้งหลายใช้ตักตวงพระพรของพระเจ้า ของประทานเหล่านี้จะทำให้คนทั้งหลายจำเริญขึ้น มีของประทานเท่านั้น ยังไม่เป็นการเพียงพอ พวกเขาต้องรู้ว่าจะใช้ของประทานนั้นๆ อย่างไร เปาโลได้กล่าวไว้ใน 1คร.12:1 ว่า “ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าอยากให้ท่านเข้าใจเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณ การรู้ความจริงในเรื่องของประทานต่างๆ ทำให้เราสามารถใช้ของประทานได้อย่างเกิดผลยิ่งขึ้น นี่เป็นเหตุที่ว่าทำไม เราจึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทุกอย่างในเรื่องนี้สุดความสามารถ เพราะฉะนั้น ขั้นตอนที่ถูกต้องในการรับของประทานฝ่ายพระวิญญาณฯต่างๆ คือมีความรู้และมีความเชื่อ ความเชื่อเกิดขึ้นและถูกทำให้มั่นคงโดยความรู้ การรู้ความจริงในเรื่องของประทานฝ่ายพระวิญญาณต่างๆ

ทำให้เราเกิดผลมากขึ้นในด้านจิตวิญญาณ


ของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่ง ซึ่งมาจากการทรงเจิมเป็นพิเศษสำหรับ….

พระคัมภีร์ไม่ได้แบ่งแยกของประทานต่างๆ ออกเป็นกลุ่มๆ ที่ชัดเจน ในบางครั้งเป็นการกล่าวถึงแบบรวมกันทั้งหมดด้วย แสดงให้เห็นว่าของประทานฝ่ายพระวิญญาณทุกชนิดมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม การแบ่งของประทานออกเป็นกลุ่มๆ จะช่วยเราได้มากที่จะเข้าใจบทความนี้ ของประทานแต่ละอย่างจะมีกลุ่มของตัวเอง ซึ่งบางอย่างอาจจะคล้ายกับของประทานในกลุ่มอื่นด้วย แต่คงไม่เป็นปัญหามากนักในเรื่องนี้ เพราะของประทานทุกชนิดประทานมาจากพระเจ้า ด้วยจุดประสงค์เดียวกันก็คือ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระองค์ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชื่อทุกคน และเพื่อพระองค์จะรับสง่าราศี

รายชื่อของของประทานกลุ่มแรก ประกอบด้วยของประทานที่ต้องรับผิดชอบสูงสุดต่อพระกายของพระคริสต์ เปาโลพูดถึงของประทานเหล่านี้ ต่อชาวเอเฟซัสใน อฟ.4:7-8,11 ดังนี้ แต่ว่าพระคุณทั้งหลายทรงโปรดประทานแก่เราทุกๆ คน ตามขนาดที่พระคริสต์ประทานให้ เหตุฉะนั้นจึงมีพระวจนะว่า ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูง พระองค์ทรงนำพวกเชลยไป และประทานของประทานแก่มนุษย์ ของประทานของพระองค์ก็คือ ให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์ เพราะ นี้จึงเป็นรายชื่อที่ควรถูกกำหนดไว้ในกลุ่มของประทานในการรับใช้ นั่นคือ

อัครทูต
ผู้เผยพระวจนะ
ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ
ศิษยาภิบาล
ครูบาอาจารย์
ในเรื่องการใช้ของประทานแต่ละอย่างในข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น จะเป็นกว้างๆ ถึงจุดประสงค์ทั่วๆ ไปของของประทานในการรับใช้ทุกอย่างซึ่งเปาโลสอนคริสเตียนชาวเมืองเอเฟซัสใน อฟ.4:12 ว่า ของประทานเหล่านี้ เพื่อเตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้เพื่อเสริมสร้างพระกายพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น

ของประทานในการรับใช้อื่นๆ
รายชื่อของประทานในการรับใช้อื่นๆ มีบันทึกไว้ในพระคัมภีร์ ตอนคือ โรม และ คร. เราอาจสังเกตเห็นของประทานเหล่านี้ไม่ชัดเท่าของประทานในการรับใช้หรือของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์บางอย่าง แค่นี้ไม่ได้หมายความว่า ของประทานกลุ่มนี้ไม่มีความสำคัญ เพราะทุกอย่างมีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะอย่างต่อพระกายให้เราลองคิดถึงหัวใจของเรา มันมีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่มีใครเห็นและพูดไม่ได้ มันไม่มีความสำคัญใช่ไหม? ไม่ใช่แน่นอน ถ้าไม่มีหัวใจ มือของเรา เท้าศรีษะและทุกส่วนในร่างกายของเราจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ เห็นแล้วว่ามีอวัยวะที่เล็กๆ ในร่างกายหลายอย่าง แต่ทำหน้าที่สำคัญมาก อวัยวะเหล่านี้ให้ความช่วยเหลือร่างกายทุกส่วน เราอาจจะมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้ แต่สิ่งนี้ไม่สำคัญอะไร ความสำคัญของอวัยวะต่างๆ อยู่ที่ว่า มันได้ทำหน้าที่ครบถ้วนตามจุดมุ่งหมายในร่างกายนั้นหรือยัง ถ้าร่างกายขาดอวัยวะนั้นๆ ร่างกายจะไม่สมบูรณ์และทำงานได้ไม่ดีหรือไม่ได้เลย นี่เป็นความจริง เช่นเดียวกับ ในเรื่องของของประทานในการรับใช้อื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆ ในพระกายของพระคริสต์ ของประทานกลุ่มนี้ประกอบด้วย

- การเตือนสติ

การให้ด้วยใจกว้างขวาง
การครอบครอง (ปกครอง)
แสดงความเมตตา
ความรัก
ความช่วยเหลือ
เมื่อได้แบ่งกลุ่มออกมาแล้ว โดยของประทานในการรับใช้ต่างๆ ที่เราจัดให้อยู่ในกลุ่มของประทานในการรับใช้อื่นๆ มีความสำคัญที่ว่า

ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ
ทำหน้าที่ตามจุดประสงค์ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น
ทำให้จำง่ายในฐานะที่เป็นของประทานในการรับใช้ที่มีความสำคัญ
ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์
ของประทานฝ่ายพระวิญญาณทุกอย่าง ประทานมาจากพระเจ้า มีกลุ่มหนึ่งที่เราเรียกว่าของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของประทานเหล่านี้มีความพิเศษที่เหนือธรรมชาติ คำว่า เหนือธรรมชาติ มีความหมายว่า สิ่งที่อยู่เหนือความเป็นจริงที่เป็นปกติธรรมดาในโลก ฉะนั้น เมื่อเรากล่าวว่า ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติ เราหมายความว่าของประทานเหล่านี้อยู่เหนือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติของโลก ตัวอย่างเช่น ของประทานในการพูดภาษาแปลกๆ ตามกฎธรรมชาติแล้ว คนจะพูดได้แค่ภาษาที่เราได้รับการสอนมาเท่านั้น ไม่มีใครคิดว่าจะพูดภาษาที่เขาได้รับการสอนมาเท่านั้น ไม่มีใครคิดว่าจะพูดภาษาที่ยังไม่เคยเรียนรู้มาก่อนได้ แต่เมื่อคนนั้นได้รับของประทานในการพูดภาษาแปลกๆ เขาสามารถพูดภาษาที่เขาไม่เคยเรียนรู้มาเลยได้ เราเรียกของประทานนี้ว่าเป็นสิ่งที่เหนือธรรมชาติ คือเขามีความสามารถทำในสิ่งที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ธรรมชาติในชีวิตของเขา คือพูดภาษาอื่นได้ทั้งๆ ที่ไม่เคยเรียนมาเลย และภาษาแปลกๆ นั้นมีทั้งภาษามนุษย์ และภาษาทูตสวรรค์หรือเรียกว่าภาษาพระวิญญาณ แต่ตามตัวอย่างข้างต้นเป็นภาษาแปลกในรูปแบบภาษามนุษย์ ซึ่งมนุษย์สามารถเข้าใจได้โดยเจ้าของภาษาเองและถ้าไม่ใช่เจ้าของภาษาก็สามารถค้นคว้าแปลออกมาได้ แต่ภาษาทูตสวรรค์ ไม่มีมนุษย์คนใดเข้าใจได้เลย นอกจากผู้นั้นจะมีของประทานในการแปลภาษาแปลกๆ ได้ (คร.) ของประทานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่มีใครทำให้ของประทานนี้เกิดขึ้นได้ โดยความเป็นจริงแล้ว ความสามารถของมนุษย์ประทานมาจากพระเจ้า ไม่มีสักสิ่งเดียวที่ใครจะบอกได้ว่ามาจากความสามารถพิเศษของมนุษย์ แต่ของประทานฝ่ายพระวิญญาณเป็นของประทานพิเศษ ที่อยู่เหนือความสามารถพิเศษทั่วๆ ไปที่มนุษย์มีของประทานเหล่านี้คือ

- ถ้อยคำที่ประกอบด้วยสติปัญญา

- ถ้อยคำที่ประกอบด้วยความรู้

- ความเชื่อ

- ความสามารถรักษาคนป่วยได้

- ทำอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้

- พูดภาษาแปลกๆ

- แปลภาษาแปลกๆ


ทำความเข้าใจ ของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่งซึ่งมาจากการทรงเจิมตั้งเป็นพิเศษให้บางคนทำหน้าที่เหล่านี้

อัครทูตและผู้เผยพระวจนะ
ที่ได้กล่าวมาข้างต้นเป็นการปูพื้นฐานที่จะเข้าใจในเรื่องของประทานฝ่ายวิญญาณ เราเห็นถึงความสำคัญของความรู้และความเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับเรื่องของประทาน ทั้งยังได้รู้ว่าความรู้และความเชื่อของเราเป็นเครื่องกำหนดขอบเขตประสบการณ์ของเรา จากความเข้าใจข้างต้นรวมถึงการพอที่จะรู้จักกลุ่มของของประทานชนิดต่างๆ แล้ว คราวนี้เราก็พร้อมที่จะเริ่มศึกษาถึงของประทานในกลุ่มแรกคือ ของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่งฯ เราจะเน้นให้เห็นถึงหน้าที่ของของประทานแต่ละอย่างและจะดูว่าของประทานเหล่านั้นทำหน้าที่อย่างไรในพระกายของพระคริสต์ จากการศึกษาจะทำให้เราเริ่มรู้จักของประทานในการรับใช้ชนิดต่างๆ ได้ ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อความรู้ของเราเพิ่มพูนขึ้น เราอาจจะรู้สึกว่าพระเจ้าทรงพอพระทัยจะใช้คุณในของประทานเหล่านี้ด้วยได้

พิจารณาหัวข้อเหล่านี้ เพื่อเป็นแนวทางการศึกษา

พระเจ้าตั้งบางคนให้เป็นอัครทูต

ใครคือผู้ให้ของประทาน
ใครคือผู้รับ
การงานของเขาแสดงความเป็นอัครทูต
ชีวิตของเขามีการพัฒนาขึ้น
พระเจ้าทรงตั้งบางคนให้เป็นผู้เผยพระวจนะ

ใครคือผู้ให้ของประทาน
ใครคือผู้รับ
การงานของเราแสดงความเป็นผู้เผยพระวจนะ
ชีวิตของเขามีการพัฒนาขึ้น
ถ้าเราได้ศึกษาจบในหัวข้อนี้แล้ว

เราจะสามารถที่จะอธิษฐานของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่งนี้ได้
เข้าใจของประทานในการรับใช้โดยตำแหน่งแต่ละอย่างได้
เราจะสามารถเห็นจริงว่า ของประทานในการรับใช้อาจได้รับการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปได้


พระคัมภีร์เกี่ยวข้อง

(เหตุฉะนั้นข้าพเจ้า ผู้ถูกจำจองเพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอวิงวอนท่านให้ดำเนินชีวิตสมกับพันธกิจอันเนื่องจากการทรงเรียกท่านนั้น, คือจงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง และใจอ่อนสุภาพอดทนนาน และอดกลั้นต่อกันและกันด้วยความรัก, จงเพียรพยายามให้คงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งพระวิญญาณทรงประทานนั้นด้วยสันติภาพเป็นพันธนะ, มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนมีความหวังใจอันเดียวที่เนื่องในการที่ทรงเรียกท่าน, มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติศมาเดียว, พระเจ้าองค์เดียวผู้เป็นพระบิดาของคนทั้งปวง ผู้ทรงอยู่เหนือคนทั้งปวง และทั่วคนทั้งปวง และในคนทั้งปวง, แต่ว่าพระคุณนั้นทรงโปรดประทานแก่เราทุกๆคน ตามขนาดที่พระคริสต์ประทานให้, เหตุฉะนั้นจึงมีพระวจนะว่า ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูง พระองค์ก็ทรงนำพวกเชลยไป และประทานของประทานแก่มนุษย์, (ที่กล่าวว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปนั้น จะหมายความอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากว่าพระองค์ได้เสด็จลงไปสู่เบื้องต่ำของแผ่นดินโลกแล้วด้วย, องค์ผู้เสด็จลงไปนั้นก็คือพระองค์ผู้ที่เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูงเหนือฟ้าสวรรค์ทั้งปวงนั่นเอง เพื่อจะได้สถิตอยู่ทั่วในสิ่งสารพัด), ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์, เพื่อเตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น, จนกว่าเราทุกคนจะบรรลุถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในความเชื่อ และในความรู้ถึงพระบุตรของพระเจ้า จนกว่าเราจะโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ คือเต็มถึงขนาดความไพบูลย์ของพระคริสต์, เพื่อเราจะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป ถูกซัดไปซัดมาและหันไปเหมาด้วยลมปากแห่งคำสั่งสอนทุกอย่าง และด้วยเล่ห์กลของมนุษย์ตามอุบายฉลาดอันเป็นการล่อลวง, แต่ให้เรายึดความจริงด้วยใจรัก เพื่อจะจำเริญขึ้นทุกอย่างสู่พระองค์ผู้เป็นศีรษะ คือพระคริสต์, คือเนื่องจากพระองค์นั้น ร่างกายทั้งสิ้นที่ติดต่อสนิทและประสานกันโดยทุกๆข้อต่อที่ทรงประทาน ได้จำเริญเติบโตขึ้นด้วยความรัก เมื่ออวัยวะทุกอย่างทำงานตามความเหมาะสมแล้ว….อฟ.4:1-16 และพิจารณา…ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์……อฟ.4:11


ใครคือผู้รับของประทาน





ผู้ให้ของประทาน ของประทาน ผู้รับ

การให้ของประทานเป็นความเกี่ยวพันระหว่าง 2 ฝ่ายคือ ผู้ให้และผู้รับ ความสำคัญของของประทานขึ้นอยู่กับว่า ใครเป็นผู้ให้และให้อะไร เมื่อครั้งพระราชินีแห่งอังกฤษเสด็จเยี่ยมสหรัญอเมริกาในสมัยที่ดไวท์ดี ไอเซนฮาวร์ เป็นประธานาธิบดี ท่านประธานาธิบดีได้ถวายแจกันแก้วเจียรไนที่สวยงามมากให้พระราชินีเป็นที่ระลึก ท่านซื้อมาด้วยราคาสูงลิบลิ่ว เพื่อนำมาเป็นของขวัญนี้ เราจึงไม่แปลกใจเลยที่พระราชินีถือว่า แจกันนี้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของพระองค์ชิ้นหนึ่งในบรรดาราชสมบัติทั้งสิ้น ทั้งนี้ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ

บุคคลสำคัญเป็นผู้ให้ของขวัญนี้และ
เป็นของขวัญที่สวยงามและมีค่ามาก
ของประทานในการเป็นอัครทูตมีความสำคัญด้วยเหตุผลที่คล้ายกันดังนี้ ประการแรกก็คือ ผู้ที่มอบให้เป็นบุคคลสำคัญและประการที่สอง สิ่งที่ให้มีความสำคัญ เราพิจารณาถึงความสำคัญของสิ่งที่ภายหลัง ตอนนี้เราต้องการเรียนรู้ว่า ใครเป็นผู้ “เลือกบางคนให้เป็นอัครทูต”

ใน อฟ.4:11 เขียนแทนชื่อ “ผู้ให้” ว่าคือ “เขา” เราจะต้องดูว่า เขาคือใคร ในข้อ 8 ในบทเดียวกันนี้เป็นคำพูดที่ยกมาจาก สดุดี 68:18 คำกล่าวในข้อ 7 ทำให้เราเข้าใจชัดเจนขึ้นที่กล่าวว่า “แต่ว่าพระคุณนั้นทรงโปรดประทานแก่เราทุกคน ตามขนาดที่พระคริสต์ประทานให้ เพราะฉะนั้นเราจึงสรุปได้ว่า พระคริสต์เป็นผู้ประทาน ของประทานในการรับใช้ให้เรา ที่จะรักษาถึงพระองค์ในฐานะผู้ประทานของประทานมากขึ้นในบทนี้ ให้เราสังเกตคำว่าพระคุณนั้นทรงโปรดประทานแก่เราทุกคน (คือมีของขวัญที่สวยงามอยู่ท่ามกลางเราทุกคน)

ใครคือผู้รับ

เราได้เรียนรู้มาแล้วในตอนต้นว่า ของประทานทุกอย่างมีความเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่ายคือ ผู้ให้และผู้รับ เราทราบด้วยแล้วว่า พระคริสต์ทรงเป็นผู้ประทานของประทานในการรับใช้ในส่วนนี้ ให้เราศึกษาดูว่า ใครคือผู้รับของประทาน คำตอบมี 2 ลักษณะ ให้เราดูใน อฟ.4:8…(ที่กล่าวว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปนั้น จะหมายความอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากว่าพระองค์ได้เสด็จลงไปสู่เบื้องต่ำของแผ่นดินโลกแล้วด้วย) เราจะเห็นว่าของประทานในการรับใช้นั้นพระคริสต์มอบให้กับมนุษย์ เพราะพระคัมภีร์กล่าวว่า “ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูง พระองค์ก็ทรงนำพวกเชลยไปและประทานของประทานแก่มนุษย์” (มนุษย์เท่านั้นที่ได้รับในของประทานนี้) อย่างไรก็ตาม เราต้องค้นหาความจริงในพระคัมภีร์ตอนอื่นๆ ด้วย และนี่เป็นหลักการที่ดีที่ควรจดจำไว้เพื่อจะศึกษาคำสอนพระคัมภีร์ให้เข้าใจ คือว่า พระคัมภีร์ข้อเดียวอาจบอกความจริงกับเราได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เราควรอ่านทั้งตอนของบทนี้ ใน อฟ.4:1-16 เราจะเห็นว่า เปาโลต้องการกล่าวถึงคริสตจักรทั้งคริสตจักร พระกายทั้งพระกาย ดังที่เราเห็นในข้อที่ 4 กล่าวว่า “มีกายเดียว” และข้อ 12 กล่าวถึง “พระกายทั้งสิ้นของพระคริสต์” สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เรามีความเข้าใจว่า ของประทานในการรับใช้นั้น พระองค์ประทานให้แก่ บางคนในพระกายของพระคริสต์และทั้งพระกาย ในเวลาพร้อมกัน แต่แท้จริงแล้วเป็นขั้นตอน ให้เรามาดู






พระคริสต์ ของประทานในการรับใช้ บางคนในพระกายของพระคริสต์



ทั้งพระกาย


ถ้าท่านพิจารณาข้อความนี้ที่เปาโลพูด ถ้าเราไม่เข้าใจ เราก็จะบอกว่าทุกคนเป็นอัครทูตเหมือนกันหมด ไม่ใช่ เพราะพระคัมภีร์กล่าวว่าให้บางคนเท่านี้ แค่นี้คือขั้นตอนที่เราได้แลเห็นว่า ทั้งพระกายได้รับเวลาเดียวกับที่มีอัครทูตเกิดขึ้นโดยพระเจ้าเลือกบางคนได้รับ

ขบวนการนี้ก็คือ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับของขวัญชิ้นพิเศษมีค่ามากที่พระเจ้าประทานให้ทั้งคริสตจักร (ทุกคน) ในเวลานั้นของขวัญชิ้นนี้เป็นของทุกคนในคริสตจักร หลายคนยังคงผิดพลาดในความเข้าใจอยู่ ทำให้ความรู้ผิดไป เมื่อความรู้ไม่สมบูรณ์แล้วมนุษย์จะเข้าถึงเรื่องราวในของประทานในฝ่ายวิญญาณไม่ได้เลย

ของประทานที่มอบให้บางคนในพระกายเป็นอัครทูตนั้น โดยการทรงเรียกและให้มีความสามารถพิเศษในการเป็นอัครทูต ส่วนของประทานที่มอบให้แก่ทั้งพระกายนั้นคือ ทรงประทานอัครทูตให้ เพื่อทำหน้าที่ของเขาในพระกายของพระคริสต์อย่างสมบูรณ์ ดูใน อฟ.2:10 และ 3:5-6 เพราะว่าเราเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์ ที่ทรงสร้างขึ้นในพระคริสต์ เพื่อให้ประกอบการดี ซึ่งพระเจ้าได้ทรงดำริไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เรากระทำ ซึ่งในสมัยก่อนพระองค์ไม่ได้ทรงโปรดสำแดงแก่มนุษย์ เหมือนอย่างบัดนี้ ซึ่งทรงโปรด เผยแก่พวกอัครทูตผู้บริสุทธิ์

การงานของเขาแสดงให้เห็นความเป็นอัครทูต

ตำแหน่งการเป็นอัครทูตในพระกายของพระคริสต์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ตำแหน่งหนึ่งคำว่า “ตำแหน่ง” เราหมายความถึงงานในความรับผิดชอบหรือหน้าที่ของประทานนี้ได้รับการกล่าวถึงเป็นชื่อแรก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหน้าที่ของของประทานนี้คือ การก่อตั้งและการปกครองดูแล เราเข้าใจว่ามีอัครทูต 2 จำพวก พวกแรกคือสาวก 12 คน ของพระคริสต์ แม้ว่ายูดาสได้อายัดองค์พระผู้เป็นเจ้าของเขาและสูญเสียตำแหน่งไปแล้ว อีกคนหนึ่งก็ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่แทน ปรากฏในกิจการ 1:26 ว่า “เขาทั้งหลายจึงจับสลากกัน และสลากนั้นได้แก่ มัทธีอัส จึงจับเข้ากับอัครทูตสิบเอ็ดคนนั้น” คุณสมบัติของอัครทูตพวกแรกนี้ต้องมี สิ่งที่ลูกาบันทึกไว้ในกิจการ 1:21-22 กล่าวว่า “ในบรรดาคนที่เป็นพวกเดียวกับเราเสมอตลอดเวลาที่พระคริสต์เสด็จเข้าออกกับเรา คือตั้งแต่บัพติสมาของยอห์นจนถึงวันที่พระเจ้าทรงรับพระองค์ขึ้นไปจากเรา” อย่างไรก็ตามเราไม่ทราบแน่ชัดว่า นี่คือความประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ อาจเป็นเพียงการตกลงกันของอัครทูต 11 คนก็ได้ เรากำลังมาถึงคำถามหนึ่งที่ยาก ว่า เปาโลเป็นอัครทูตเช่นเดียวกับสาวก 12 คนนั้นหรือเปล่า? มีหลายคำถามที่เราตอบได้ยาก ฉะนั้น เราจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า มีหลายคำถามที่ตอบไม่ได้จนกว่าเราจะได้คำตอบในสวรรค์ แต่เราจะไม่ยกสิ่งที่เป็นข้ออ้างที่ทำให้เราไม่พยายามค้นคำตอบ การค้นคว้าทำให้เราได้ฝึกความคิดของเราและทำให้เราเป็นผู้รับใช้ที่ใช้งานได้ดีขึ้นขององค์พระผู้เป็นเจ้า ให้เราย้อนคิดถึง อ.เปาโลอีกครั้ง เรารู้จากคำพยานของท่าน ท่านเป็นอัครทูตเช่นเดียวกับสาวกคนอื่นๆ ต่อไปนี้คือคำพยานของท่านที่ท่านกล่าวไว้อย่างชัดเจนในตำแหน่งอัครทูตของท่าน ในท่ามกลางอัครทูตอื่นๆ

1คร.4:9 “เพราะข้าพเจ้าเห็นว่า พระเจ้าได้ทรงตั้งเราผู้เป็นอัครทูตไว้ในที่สุด” เปาโลใช้คำว่า “เรา” เหมือนกับว่าท่านนำตัวท่านเข้าเป็นคนหนึ่งในท่ามกลางอัครทูตอื่น
1คร.9:5 “เราไม่มีสิทธิ์ที่จะพาพี่น้องซึ่งเป็นภรรยาไปไหนๆ ด้วยกันเหมือนอัครทูตอื่นๆ หรือในที่นี้ใช้คำว่า “พวกอัครทูตอื่นๆ” ชี้ให้เห็นว่าท่านเป็นคนหนึ่งในกลุ่มนั้น
1คร.15:9 “เพราะว่าข้าพเจ้าเป็นผู้น้อยที่สุดในพวกอัครทูต และไม่สมควรจะได้ชื่อว่าเป็นอัครทูต” เปาโลใช้คำหนึ่งที่สำคัญแทนตัวเองว่า “เป็นผู้น้อยที่สุด” ในท่ามกลางอัครทูตอื่น ท่านจะเป็นผู้น้อยที่สุดในท่ามกลางอัครทูตอื่นไม่ได้ นอกจากท่านจะเป็นคนหนึ่งในพวกเขาด้วยนั้น
มีบางคนเข้าใจว่า การประชุมกันในห้องชั้นบนของพวกสาวก แล้วแต่งตั้งมัทธีอัสให้รับตำแหน่งอัครทูตนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ได้ เราจะตัดสินเรื่องนี้ไม่ได้ แม้ว่าชื่อของมัทธีอัสจะไม่ได้รับการกล่าวถึงอีกเลยในพระคัมภีร์ มีแต่เปาโลที่ได้ทำหน้าที่สำคัญนี้ หลายคนอาจคิดไปถึงว่า ชื่อของใครจะปรากฏบนฐานศิลา ฐานที่สิบสองในนครเยรูซาเล็มใหม่ จะเป็นชื่อของมัทธีอัสหรือเปาโล “กำแพงนครนั้นมีฐานศิลาสิบสองฐานและที่ฐานศิลานั้น จารึกชื่ออัครทูตสิบสองคนของพระเมษโปดก” (วว.21:14) เราจะเห็นความจริงเมื่อเราไปถึงที่นั่น

อัครทูต 12 คนทำหน้าที่ที่จะไม่มีใครทำอีกในพระกายของพระคริสต์คือ การมีส่วนร่วมในการก่อตั้งคริสตจักรขึ้นในโลกนี้ และมีหลายท่านที่เขียนพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่เราใช้กันอยู่

ในขณะที่อัครทูต 12 คน ได้ทำหน้าที่ที่สำคัญมากในตำแหน่งของอัครทูตแล้ว เราก็ยังมีของประทานในการเป็นอัครทูตอีก ซึ่งมีความแตกต่างจากงานของอัครทูต 12 คน แต่มีส่วนคล้ายกับงานของอัครทูต 12 คน เป็นงานที่พิเศษมากในพระกายของพระคริสต์และไม่ต้องมีการทำซ้ำอีก แค่ของประทานในการเป็น “อัครทูต” นี้คือของประทานที่จะต้องใช้ตลอดระยะเวลาของการก่อตั้งคริสตจักรหรือพระกาย พระเจ้าทรงตั้งให้อัครทูตทำงานหน้าที่พิเศษ ในพระกายของพระคริสต์ ไม่มีใครตัดสินใจเลือกทำหน้าที่นี้ได้ เหมือนดินเหนียว ไม่มีสิทธิ์เลือกว่าอยากจะเปรียบเป็นหม้อสักใบหนึ่ง บางที่คนที่ทำหน้าที่อัครทูตอย่างเต็มที่แล้ว อาจไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำ เพราะเขาไม่เคยคิดถึงตัวเองเช่นนั้น แต่สิ่งที่เขาทำ ทำให้คนอื่นรู้จักว่าเขาเป็นอัครทูต มีหลายคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นอัครทูตหรือได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครทูต อาจไม่ใช่อัครทูตที่แท้จริงก็ได้

“เจ้าได้ลองใจคนเหล่านั้นที่อวดว่า เป็นอัครทูตแต่หาได้เป็นไม่และเจ้าก็เห็นว่าเขาเป็นคนปลอม” …วว.2:2 ;

เพราะคนอย่างนั้นเป็นอัครทูตเทียม เป็นคนงานที่หลอกลวงปลอมตัวเป็นอัครทูตของพระคริสต์…2คร.11:13

ความหมายของคำว่า “อัครทูต” จะทำให้เราเข้าใจว่า ใครคืออัครทูตและหน้าที่ที่เขาทำด้วย คำนี้แปลว่า “ส่งออกไป” หรือ “ส่งออกมา” ในพระธรรมมัทธิว และมาระโกใช้คำนี้เพียงฉบับละครั้งเดียว (อัครทูตสิบสองคนนั้นมีชื่อดังนี้ คนแรกชื่อซีโมนที่เรียกว่าเปโตร กับอันดรูว์น้องของเขา ยากอบบุตรเศเบดี กับยอห์นน้องของเขา….มธ.10:2 และ.; ฝ่ายอัครทูตพากันมาหาพระเยซู และได้ทูลถึงบรรดาการซึ่งเขาได้กระทำ และได้สั่งสอน…มก.6:30) ในแต่ละกรณี ชี้ให้เห็นถึงหน้าที่พิเศษคือ หน้าที่ในการออกไปประกาศข่าวประเสริฐ ในส่วนของความหมายนี้เองที่ทำให้หน้าที่ของอัครทูต 12 คนแรก มีส่วนคล้ายกับหน้าที่ของผู้มีของประทานในการเป็นอัครทูตในยุคหลัง เพราะฉะนั้น การเป็นอัครทูตคือ บุคคลที่องค์พระผู้เป็นเจ้า สั่งให้ออกไปประกาศข่าวประเสริฐในดินแดนใหม่ๆ งานของพวกเขาก็คือ การวางรากฐานให้กับพระกายของพระคริสต์ในสถานที่ใหม่อื่นๆ งานของพวกเขายังกินความถึงการก่อสร้างพระกายส่วนนั้น และเป็นผู้ปกครองดูแลพระกายนั้น (สร้างคริสตจักร ปกครองดูแลด้วย) การงานของเขาก็เพื่อ เตรียมธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น (อฟ.4:12)

เพราะฉะนั้นงานของอัครทูต เป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักร ทำหน้าที่เลี้ยงดูผู้เชื่อใหม่ให้เจริญเติบโตและเป็นผู้ใหญ่เขายังทำหน้าที่ติดตามดูแลการงานของพระเจ้า ที่นั่นดุจเป็นบิดาและคนทั้งหลายจะรู้จัก ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นอัครทูตหรือมีของประทานอัครทูต ด้วยการงานที่เขาทำและเกิดผลตามเป้าหมายและรู้ว่าเขาคืออัครทูตที่แท้จริง ไม่ใช่มาจากมนุษย์ แต่มาจากพระเจ้า มนุษย์ไม่มีความสามารถทำได้ในหน้าที่เหล่านี้


ชีวิตของเขาได้รับการพัฒนาขึ้น

การเป็นอัครทูตไม่ใช่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ทุกคนต้องเริ่มต้นเหมือนกันด้วยการกลับใจใหม่มาเชื่อพระเจ้า เขาอาจได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้าในช่วงใดของชีวิต ที่เขาติดตามพระเจ้าอยู่ แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจของตัวเองว่าจะทำหน้าที่อัครทูตของพระคริสต์ในคริสตจักร เมื่อพระเจ้าเรียกบุคคลใดให้ทำหน้าที่ของอัครทูต พระองค์ประทานเวลาให้เขาเจริญเติบโตเพียงพอที่จะรับงานนั้น เปาโลไม่ได้เข้ารับตำแหน่งของการเป็นอัครทูตทันทีที่เขารับเชื่อ แต่อย่างไรก็ตามพระเจ้าทรงประทานจิตใจที่มีความกระตือรือร้นที่จะทำหน้าที่พิเศษนี้ ดังอานาเนียได้กล่าวไว้ในกิจการ 22:14-15 ว่า “พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเราได้ทรงเลือกท่านไว้ ประสงค์ให้ท่านรู้จักน้ำพระทัยของพระองค์ ให้ท่านเห็นพระองค์ผู้ชอบธรรมและให้ได้ยินพระสุรเสียงจากพระโอษฐของพระองค์ เพราะว่าท่านจะเป็นพยานฝ่ายพระองค์ ให้คนทั้งปวงทราบถึงเหตุการณ์ซึ่งท่านเห็นและได้ยินนั้น เป็นความจริงที่ว่า เปาโลเป็นอัครทูตที่ไม่เหมือนคนอื่น แต่ขั้นตอนของการเตรียมท่านเป็นอัครทูตนั้นมีความคล้ายคลึงกับขั้นตอนที่พระเจ้าทรงเตรียมคริสเตียนในการเป็นอัครทูตในปัจจุบันด้วย

ขั้นตอนในการเตรียม

การทนทุกข์ คริสเตียนหลายคนไม่สามารถเป็นอัครทูตได้ เพราะเขาไม่เต็มใจที่จะรับการทนทุกข์ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดเตรียมการเป็นอัครทูต พระเจ้าได้ตรัสกับอานาเนียก่อนที่เปาโลจะเป็นอัครทูตว่า “เพราะว่าเราจะสำแดงให้เขาเห็นว่า เขาจะต้องทนทุกข์ลำบากมากเท่าใด เพราะนามของเรา” กจ.9:16) การทนทุกข์เป็นหนทางพิเศษที่ช่วยเตรียมคนของพระเจ้า ให้เป็นผู้นำในพระกายของพระคริสต์ คนที่ไม่เคยทนทุกข์เลยไม่สามารถรับใช้ผู้อื่นที่ได้รับความทุกข์ยาก และคนที่ไม่เต็มใจรับการทนทุกข์ ก็ไม่พร้อมที่จะนำข่าวประเสริฐไปยังดินแดนใหม่ๆ ที่เขาต้องประสบกับความทุกข์ลำบากมากมาย การทนทุกข์ทำให้คนพร้อมที่จะรับความทุกข์ลำบากมากขึ้น
การเพิ่มพูนขึ้น พระเยซูเองในขณะที่อยู่ในระหว่างเวลาแห่งการเตรียมนั้น พระราชกิจของพระองค์เพิ่มพูนขึ้น “พระเยซูก็ได้จำเริญขึ้นในด้านสติปัญญาในด้านร่างกายและเป็นที่ชอบจำเพาะพระเจ้า และต่อหน้าคนทั้งปวง” ลก.2:52) เมื่อเรากล่าวพระราชกิจเพิ่มพูนขึ้น เราหมายความว่า งานได้เจริญขึ้นหรือมีมากขึ้น พระเยซูทรงจำเริญขึ้นในด้านร่างกายและสติปัญญา พระองค์ทรงเอาใจใส่ต่อการเจริญเติบโตของทั้ง 2 ด้าน ถ้านี่เป็นความจำเป็นของพระองค์แล้ว จะยิ่งจำเป็นมากขึ้นเพียงไรสำหรับการเตรียมอัครทูต เปาโลได้รับขั้นตอนของการเตรียมโดยการเจริญขึ้นเช่นกัน ดังเช่นใน กจ.9:22 “แต่เซาโล (อีกชื่อหนึ่งของเปาโล) ยิ่งมีกำลังทวีขึ้น” คำว่า “กำลัง” ในที่นี้มีความหมายว่า “กำลังฝ่ายวิญญาณ” เปาโลต้องเรียนรู้ถึงพลังอันมหาศาลของพระเจ้าด้วยการเผชิญเหตุการณ์จริงๆ เช่นเดียวกัน ถ้าเปาโลผู้เป็นอัครทูตที่ยิ่งใหญ่ ยังจำเป็นต้องรับการเตรียมเช่นนี้ เราแน่ใจได้เลยว่า อัครทูตทุกคนต้องจำเป็นด้วย
การเรียนรู้ การเรียนรู้มีความจำเป็นต่อคริสเตียนทุกคน และยิ่งจำเป็นมากสำหรับอัครทูต เพราะเขาต้องเป็นผู้ที่เตรียมพระกายของพระคริสต์ ดูตัวอย่างของเปาโล เขาเป็นแบบอย่างที่ดี ก่อนที่เขาจะเป็นอัครทูต เขาใช้เวลา 3 ปี ในถิ่นทุรกันดาร ศึกษาหาความรู้ (ดูใน กท.1:16-17…ที่จะทรงสำแดงพระบุตรของพระองค์แก่ข้าพเจ้า เพื่อให้ข้าพเจ้าประกาศพระบุตรแก่ชนต่างชาตินั้น ข้าพเจ้าก็มิได้ปรึกษากับมนุษย์คนใดเลย และข้าพเจ้าก็ไม่ได้ขึ้นไปยังกรุงเยรูซาเล็ม เพื่อพบกับผู้ที่เป็นอัครทูตก่อนข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าได้ออกไปยังประเทศอาระเบียทันที แล้วก็กลับมายังกรุงดามัสกัสอีก) หลังจากปีนั้น ท่านทำงานอย่างใกล้ชิดกับเปโตรช่วงเวลาหนึ่ง แม้ไม่นานนัก ท่านกล่าวใน กท.1:18 ว่า “ข้าพเจ้าขึ้นไปหาเคฟาสที่กรุงเยรูซาเล็ม และพักอยู่กับท่าน 15 วัน” เพราะฉะนั้น เราสามารถสังเกตได้ว่า เราได้ดำรงชีวิตอยู่ในลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้นหรือเปล่า พระเจ้าได้เตรียมเราลักษณะนี้หรือไม่ เพื่อเราจะบรรลุถึงการทรงเรียกของพระองค์ ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมด้วยความรู้ที่สมบูรณ์ ไม่มีผู้ใดจะยกข้อโต้แย้งใดๆ ได้ว่า ของประทานอัครทูต ซึ่งสำคัญต่องานรับใช้พระเจ้า ไม่มีอีกแล้วหรือว่า มีอยู่ในทุกคน เพราะพระเจ้าให้บางคนไม่ใช่ทุกคน มีไว้เพื่อทุกคน


พระเจ้าตั้งบางคนให้เป็นผู้เผยพระวจนะ

ใครคือผู้ให้ ของประทาน

พระคริสต์เป็นผู้ประทานของประทานในการรับใช้ทุกชนิด ด้วยเหตุนี้ของประทานทุกอย่างจึงมีความสำคัญ สิ่งใดที่เป็นความจริงในเรื่องของของประทานในการเป็นอัครทูต ก็เป็นความจริงด้วยสำหรับของประทานในการเผยพระวจนะ และของประทานในการรับใช้ทุกอย่าง พระเยซูทรงเป็นผู้ประทานของประทาน แต่ละอย่างให้แก่พระกายของพระองค์ พระเยซูทรงเป็นผู้เรียกและประทานตามความสามารถในของประทานเหล่านี้ให้กับสมาชิกแต่ละคนในพระกายของพระองค์ เรากล่าวได้ว่า พระองค์ทรงแต่งตั้งผู้รับใช้ไว้ทำงานในพระกายของพระองค์ทุกๆ คน ไม่ได้ทำหน้าที่ของอัครทูตหรือเผยพระวจนะ พระคัมภีร์กล่าวว่า พระเจ้าทรงตั้งบางคนให้เป็นอัครทูตและบางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ คำว่า “บางคน” ทำให้เห็นชัดว่าไม่ใช่ทุกคนเป็นอัครทูตและผู้เผยพระวจนะ พระเจ้าทรงเลือกบางคนให้ทำหน้าที่นั้น สิ่งนี้ทำให้เราคิดถึงคำถามที่เปาโลถามว่า “ถ้าอวัยวะทั้งหมดในร่างกายเป็นตา การได้ยินจะอยู่ที่ไหน ถ้าทั้งร่างกายเป็นหู การดมกลิ่นจะอยู่ที่ไหน (1คร.12:7)

ในด้านของผู้ให้ของประทานนั้นให้เราดูใน 1คร.12:28 ที่กล่าวว่า “และพระเจ้าได้ทรงโปรดแต่งตั้งบางคนไว้ในคริสตจักร คือหนึ่ง อัครทูต สองผู้เผยพระวจนะ” ในพระธรรม เอเฟซัส กล่าวว่าผู้ให้ของประทานนั้นคือพระเจ้าและในตอนต่อมากล่าวว่าผู้ให้ของประทานคือพระคริสต์ เราจะทำความเข้าใจในเรื่องนี้ได้อย่างไร? แท้จริงแล้วไม่เป็นปัญหาเลย พระคริสต์คือพระเจ้า พระองค์ทรงเป็นพระภาคหนึ่งในตรีเอกานุภาพ ตรีเอกานุภาพแปลว่า ทั้งสามรวมกันเป็นหนึ่งเดียว คือพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของประทานทุกอย่างนั้นพระเจ้าเป็นผู้ประทานให้โดยทางพระคริสต์ (..ผู้นั้นจงอย่าคิดว่าจะได้รับสิ่งใดจากพระเจ้าเลย..ยก.1:7 ; เหตุฉะนั้นข้าพเจ้า ผู้ถูกจำจองเพราะเห็นแก่องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอวิงวอนท่านให้ดำเนินชีวิตสมกับพันธกิจอันเนื่องจากการทรงเรียกท่านนั้น คือจงมีใจถ่อมลงทุกอย่าง และใจอ่อนสุภาพอดทนนาน และอดกลั้นต่อกันและกันด้วยความรัก จงเพียรพยายามให้คงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งพระวิญญาณทรงประทานนั้นด้วยสันติภาพเป็นพันธนะ มีกายเดียวและมีพระวิญญาณองค์เดียว เหมือนมีความหวังใจอันเดียวที่เนื่องในการที่ทรงเรียกท่าน มีองค์พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ความเชื่อเดียว บัพติศมาเดียว พระเจ้าองค์เดียวผู้เป็นพระบิดาของคนทั้งปวง ผู้ทรงอยู่เหนือคนทั้งปวง และทั่วคนทั้งปวง และในคนทั้งปวง แต่ว่าพระคุณนั้นทรงโปรดประทานแก่เราทุกๆคน ตามขนาดที่พระคริสต์ประทานให้ เหตุฉะนั้นจึงมีพระวจนะว่า ครั้นพระองค์เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูง พระองค์ก็ทรงนำพวกเชลยไป และประทานของประทานแก่มนุษย์ (ที่กล่าวว่าพระองค์เสด็จขึ้นไปนั้น จะหมายความอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากว่าพระองค์ได้เสด็จลงไปสู่เบื้องต่ำของแผ่นดินโลกแล้วด้วย องค์ผู้เสด็จลงไปนั้นก็คือพระองค์ผู้ที่เสด็จขึ้นไปสู่ที่สูงเหนือฟ้าสวรรค์ทั้งปวงนั่นเอง เพื่อจะได้สถิตอยู่ทั่วในสิ่งสารพัด) ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์…อฟ.4:1-11)


ใครคือผู้รับ

เราสามารถกล่าวได้ว่าผู้ที่รับของประทานนี้คือ ทั้งพระกายของพระคริสต์ เพราะบางคนที่มีของประทานนี้ ผู้เผยพระวจนะได้รับทั้งการทรงเรียกและการจัดเตรียมให้ทำหน้าที่นี้ในพระกายพระคริสต์ พระเจ้าตั้งผู้เผยพระวจนะไว้สำหรับคริสตจักร เราต้องใช้ความพยายามของเราเองหรือเปล่าที่จะเป็นผู้เผยพระวจนะ? พระเจ้าทรงแต่งตั้งใครให้มีตำแหน่งสูงอย่างเลื่อนลอยหรือ พระเจ้าทรงมีสิทธิที่จะทำสิ่งเหล่านี้ “สิ่งที่ถูกนั้นจะกล่าวแก่ผู้นั้นได้หรือว่า ทำไมท่านจึงปั้นข้าพเจ้าอย่างนี้” รม.9:20 แต่คริสเตียนมีความแตกต่างจากหม้อดินคือ เรามีจิตใจ มีความต้องการ เราเลือกได้ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับคริสเตียน สิ่งหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็คือ การตัดสินใจเลือกของเราเอง ท่าทีในใจของเราต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระประสงค์ของพระเจ้า หม้อดินไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่มนุษย์ “ท่าที” หมายถึง “แนวความคิดการกระทำหรือความรู้สึก” พระเจ้าทรงทราบถึงความตั้งใจของเรา พระองค์ทรงรู้จักแนวความคิด การกระทำและความรู้สึกของเราดี พระองค์ทรงตรวจสอบดูสิ่งเหล่านี้ เมื่อพระองค์ทรงเลือกผู้เผยพระวจนะ

ดาวิดเป็นกษัตริย์ในสมัยพระคัมภีร์เดิม พระองค์ทรงเป็นผู้เผยพระวจนะด้วย ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์เดิมมีความแตกต่างจากในพระคัมภีร์อยู่บ้าง แต่เรายังได้รับบทเรียนมาจากที่พระเจ้าทรงเลือกดาวิดให้มีของประทานพิเศษ เพื่อประชากรของพระองค์ พระคัมภีร์บันทึกว่า ดาวิดไม่ได้รับการเลือก เพราะอายุของเขาพอดี หรือเพราะประสบการณ์ของเขา หรือเพราะรูปลักษณ์ภายนอก ตามประเพณีในสมัยนั้นแล้ว น่าจะเลือกเอลียาห์ พี่ชายของดาวิดให้ดำรงตำแหน่งผู้นำมากกว่าที่จะเลือกน้อง แต่แม้ว่าดาวิดจะมีอายุน้อยที่สุด พระเจ้าทรงเลือกให้เขารับตำแหน่งสูงในการเป็นผู้นำ เพราะอะไรล่ะ แท้จริงแล้ว เขาก็มีหน้าตาที่น่าดูน่าชม แต่พระเจ้าไม่ทรงเลือกด้วยเหตุผลนี้ เขาเป็นหนุ่มด้วย แต่ก็มิใช่ด้วยเหตุผลนี้ด้วยเช่นกัน คำตอบอยู่ในกิจการ 13:22 ที่ว่า “เราได้พบดาวิดบุตรของเจสซี เป็นคนที่เราชอบใจ เป็นผู้ที่จะทำให้ความประสงค์ของเราสำเร็จทุกประการ” ดาวิดได้รับเลือกให้เป็นกษัตริย์และผู้เผยพระวจนะ เพราะพระเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นความตั้งใจและแนวความคิดของเขา

พระเจ้าทรงจัดเตรียมของประทานในการเป็นผู้เผยพระวจนะ และของประทานในการรับใช้อื่นเพื่อสนองให้แก่เรา ซึ่งเป็นพระกาย ผู้ซึ่งพระองค์ได้ทอดพระเนตรดูคุณสมบัติภายในของเราแล้ว อ่าน 1ซมอ.16:1-3 …จงเชิญเจสซีมาที่การถวายสัตวบูชานั้น แล้วเราจะสำแดงให้เจ้ารู้ว่าเจ้าควรจะกระทำประการใด เจ้าจงเจิมให้เราผู้ซึ่งเราจะบอกชื่อแก่เจ้า"….การงานของเขาแสดงให้เห็นความเป็นผู้เผยพระวจนะ (บุคคลที่อยู่ตำแหน่งนี้)


ผู้มีของประทานในการเป็นผู้เผยพระวจนะนี้มีหน้าที่หลัก 2 ประการคือ

“กล่าวคำพยากรณ์” หมายความว่า “บอกเหตุการณ์หนึ่งๆ ล่วงหน้าก่อนเหตุการณ์นั้นเกิดจริง รู้ถึงอดีตและ
ปัจจุบันด้วย คือมีถ้อยคำแห่งสติปัญญาและความรู้อยู่ในการพยากรณ์

“ประกาศ” หมายความว่า พูดต่อหน้าคนอื่นให้รู้ ผู้เผยพระวจนะกล่าวสิ่งต่างๆ ออกไปโดยรับการดลใจจากพระเจ้า ในการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เขาทำหน้าที่อธิบาย พระคำของพระเจ้าแก่ประชากร คำว่า “อธิบาย” แปลว่า “บอกความหมาย” เราจะรู้ว่าใครคือผู้เผยพระวจนะ ก็ต่อเมื่อเขาสามารถอธิบายความหมายของพระคำ พระเจ้า โดยการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์
ผู้เผยพระวจนะทำหน้าที่ในการทำนายด้วย คำว่า “ทำนาย” มีความหมายเช่นเดียวกับ “พยากรณ์” ในพระคัมภีร์เดิมผู้เผยพระวจนะจะกล่าวพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิดขึ้น และเขาจะอธิบายความหมายของคำตรัสของพะเจ้าให้ประชาชนได้ทราบ หน้าที่ของผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์ใหม่ มีความหมายคล้ายคลึงกับในพระคัมภีร์เดิม กล่าวคือเป็นผู้พยากรณ์ในสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้บอกประชาชนและเขาจจะบอกความหมายของคำพยากรณ์นั้น แต่มีข้อแตกต่างกันบ้างที่ว่า ในพระคัมภีร์เดิมผู้เผยพระวจนะรับคำตรัสมาจากพระเจ้าโดยตรง ผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์ใหม่ส่วนใหญ่กล่าวคำพยากรณ์ในสิ่งที่พระเจ้าตรัสแล้วในพระคัมภีร์ เขากล่าวถึงสิ่งเหล่านี้และอธิบายความหมายโดยการทรงนำของพระวิญญาณฯ พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้นำเขาเองว่า จะกล่าวพระคำตอนใดๆ ให้กับประชาชนในช่วงเวลานั้นๆ อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่ผู้เผยรับถ้อยคำโดยตรงจากพระเจ้าในสมัยพระคัมภีร์ใหม่ ในพระธรรมกิจการกล่าวถึงชายคนหนึ่งชื่ออากาปัส เขาเป็นผู้เผยพระวจนะ ดังปรากฏใน กจ.21:10…“ครั้นเราอยู่ที่นั่นหลายวันแล้ว มีชายผู้ทำนายคนหนึ่งลงมาจากแคว้นยูเดีย ชื่อ อากาปัส” เขากล่าวคำพยากรณ์ถึงเหตุการณ์ล่วงหน้าถึง 2 ครั้ง…ใน กจ.11:28…“อากาปัสได้ลุกขึ้นแสดงโดยพระวิญญาณฯว่า จะบังเกิดการกันดารอาหารมากยิ่งขึ้นทั่วแผ่นดินโลก (การกันดารนั้นได้บังเกิดขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิคลาวดิอัส) และอีกครั้งหนึ่งปรากฏใน กจ.21:11…เปโตรเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้เผยพระวจนะในพระคัมภีร์ใหม่ ท่านเป็นอัครทูตคนหนึ่งในกลุ่มอัครทูต 12 คน ท่านเป็นผู้เผยพระวจนะด้วย บางครั้งคนหนึ่งได้รับของประทานมากกว่า 1 อย่าง ใน กิจ.2:1-12…หลังจากที่พระวิญญาณฯเสด็จมา ฝูงชนพากันมาดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วร้องถามกันว่า “มีอะไรกัน” ในเวลานั้นเปโตรลุกขึ้นทำหน้าที่ของผู้เผยพระวจนะ เขากล่าวถ้อยคำของพระเจ้า โดยการทรงนำของพระวิญญาณฯ พระองค์ทรงทำให้เขาระลึกถึงคำพยากรณ์ที่มีในพระคัมภีร์เดิม เปโตรไม่มีเวลาเตรียมในสิ่งที่ท่านจะพูด ท่านพูดออกมาเลย พระวิญญาณฯประทานความสามารถให้กับท่าน ในการแปลความหมายของถ้อยคำเหล่านั้นด้วย

หน้าที่สำคัญที่สุดของผู้เผยพะวจนะมีกล่าวถึงใน อฟซ.4:12 ว่า ”เพื่อเตรียมธรรมมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น” บุคคลที่กล่าวถ้อยคำของพระเจ้าโดยการทรงนำของพระวิญญาณฯ จะทำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างดีคือ เขาจะเป็นคนเตรียมธรรมมิกชนของพระเจ้า ให้พร้อมที่จะเป็นคนรับใช้ เพราะเมื่อคนได้สัมผัสถึงการทำงานของพระวิญญาณฯในตัวผู้สอน เขาจะเรียนได้รวดเร็ว คนจะเรียนจากสิ่งที่ผู้สอนและเรียนจากพระวิญญาณฯที่ประทานคำสอนให้นั้นในเวลาเดียวกัน ชีวิตของเขามีการพัฒนาขึ้น (บุคคลที่อยู่ในตำแหน่ง) โดยทั่วๆไปแล้ว ของประทานของพระเจ้าจะใช้งานได้ดีที่สุดในบุคคลที่ได้รับการเตรียมมาอย่างดี คือเต็มด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ให้เราคิดถึงถ้อยคำเปโตรอีกครั้ง ท่านได้รับการเตรียมอย่างดี ท่านมีความรู้ความเข้าใจในพระคำของพระเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาจิตวิญญาณของท่าน


ขั้นตอน 3 ประการในการพัฒนาผู้เผยพระวจนะ

อธิษฐานอย่างสม่ำเสมอ ผู้เผยพระวจนะที่ไม่อธิษฐานจะทำหน้าที่นี้ได้ไม่นาน การอธิษฐานเปิดทางให้ผู้
อธิษฐานเต็มไปด้วยพระวิญญาณฯ ถ้าบุคคลใดไม่เต็มไปด้วยพระวิญญาณฯ เขาจะเป็นผู้เผยพระวจนะไม่ได้

การอธิษฐานทำให้เขาไวต่อการนำของพระวิญญาณฯ

รู้จักพระคำของพระเจ้า ผู้เผยพระวจนะจะทำได้มากขึ้น เมื่อเขาเพิ่มพูนความรู้ของเขาในพระคำของพระเจ้ามากขึ้น ใน 2 ทธ. 2:15 กล่าวว่า “จงอุตส่าห์สำแดงตนว่าได้ทรงพิสูจน์แล้วว่าเป็นคนงานที่ไม่ต้องอาย ใช้พระวจนะแห่งความจริงอย่างถูกต้อง” ผู้เผยพระวจนะทำหน้าที่ของครูสอน เมื่อเขากล่าวพระคำของพระเจ้า
ใช้ของประทาน กล้ามเนื้อที่แขนและขาของเราจะแข็งแรงขึ้น เพราะเราใช้ฉันใด ของประทานที่เราได้รับจากพระเยซูคริสต์จะได้รับการพัฒนาขึ้น เมื่อเราใช้งานในหน้าที่นั้นๆ เช่นกัน เมื่อผู้เผยพระวจนะเริ่มต้นกล่าวคำพยากรณ์ เขาอาจตกอยู่ในความกลัวนั้นมิได้หมายความว่า เขาพูดโดยไม่ได้รับการทรงนำจากพระวิญญาณ เพียงแต่เขาจำเป็นต้องเรียนรู้มากขึ้น ในการยอมให้พระวิญญาณนำเขาอย่างอิสระมากขึ้น เมื่อของประทานได้รับการนำมาใช้ นั่นคือหนทางที่ของประทานนั้นจะได้รับการพัฒนาขึ้น
ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ, ศิษยาภิบาลและอาจารย์

เราได้ทำความเข้าใจถึงของประทานในการรับใช้ 2 อย่างคือ อัครทูตและผู้เผยพระวจนะ เราเรียนรู้ว่ามีอัครทูต 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ อัครทูต 12 คน ซึ่งทำงานร่วมกับพระเยซูคริสต์ในการวางรากฐานคจ.ขึ้นและมีบางคนที่เขียนพระคัมภีร์ใหม่

กลุ่มที่สองคือ กลุ่มที่กล่าวถึงใน อฟซ.4:11 พวกเขาทำหน้าที่บุกเบิกเข้าไปในดินแดนใหม่ๆ เพื่อขยายและพัฒนาพระกายของพระคริสต์ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในกลุ่มนี้ไม่มีใครเป็นผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ ทั้งนี้เพราะงานชิ้นนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้เรายังเรียนถึงงานของผู้เผยพระวจนะด้วยว่ามี 2 ด้านคือ การกล่าวคำพยากรณ์และประกาศให้คนทราบ, ต่อไปเราจะทำความเข้าใจกับของประทานที่เหลืออีก 3 อย่างในกลุ่มนี้

ในที่นี้เราจะรวมของประทานในการเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์เข้าเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ของประทานทั้ง 2 ใช้ประโยชน์ร่วมกันในการรับใช้ พระเจ้าทรงใช้คริสเตียนมากมายในของประทานเหล่านี้ นั่นหมายความว่าพระองค์อาจจะต้องการใช้คุณหรือใครๆ เช่นเดียวกันในของประทาน อันหนึ่งอันใด ที่เราได้กล่าวถึงแล้ว ใครคือผู้ที่ให้ของประทาน เราทราบเรื่องของประทานในการรับใช้ เราทราบว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นผู้ประทานของประทานทุกอย่าง ใน อฟซ.4:11..ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์; 1คร.12:28 .. และพระเจ้าได้ทรงโปรดตั้งบางคนไว้ในคริสตจักร คือหนึ่งอัครทูต สองผู้เผยพระวจนะ สามครูบาอาจารย์ แล้วต่อจากนั้นก็มีผู้กระทำการอันเป็นอิทธิฤทธิ์ ผู้รักษาโรค ผู้อุปการะ ผู้ครอบครองและผู้รู้ภาษาแปลกๆ) พระธรรมทั้งสองบทให้การสนับสนุนในเรื่องนี้ เรามีความเข้าใจด้วยว่าพระเยซูคริสต์และพระบิดาทรงเป็นพระเจ้า เพราะพระเจ้าทรงเป็นตรีเอกานุภาพ คือมีพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นพระเจ้าเดียวกับพระเยซูฯ ทรงเป็นพระภาคหนึ่งในสามและเป็นพระเจ้า

ต่อไปเราจะศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องผู้ให้ของประทานใน อฟซ.4:15 กล่าวว่า “แต่ให้เรายึดความจริงด้วยใจรัก เพื่อจะจำเริญขึ้นทุกอย่างสู่พระองค์ ผู้เป็นศีรษะ คือพระคริสต์” คำว่า “พระองค์” คือ ”พระคริสต์” ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นศีรษะ เรารู้ว่าศีรษะเป็นผู้ออกคำสั่งให้อวัยวะในร่างกายทุกชิ้นทำงานได้ นี่ร่วมถึงการใช้ของประทานในการรับใช้และบำรุงเลี้ยงร่างกายด้วย ใน คส.2:19 กล่าว “ศีรษะนั้นเป็นเหตุให้กายทั้งหมดได้รับการบำรุงเลี้ยงและติดต่อกันด้วยข้อและเอ็นต่างๆ จึงได้เจริญขึ้นตามที่พระเจ้าทรงโปรดให้เจริญขึ้นนั้น”


โดยธรรมชาติศีรษะของมนุษย์ทำหน้าที่ทั่วไป 3 อย่างคือ

1 รับรู้

สอดส่องดูความต้องการของร่างกายและตอบสนอง
ทำหน้าที่ควบคุม พระเยซูทรงทำหน้าที่นี้ในเรื่องการใช้ของประทานในการรับใช้เช่นกัน
ศีรษะรู้ถึงความต้องการของร่างกาย

เท้าของเราไม่มีทางรู้ถึงความต้องการของร่างกายในส่วนอื่นๆ หรืออวัยวะอื่นๆ ก็รู้ไม่ได้ แ ต่เราเห็นว่าบางครั้งในพระกายของพระคริสต์สมาชิกในคริสตจักรถือสิทธิเลือกบางคนเป็นอัครทูต ผู้เผยพระวจนะ ผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐหรือศิษยาภิบาลและอาจารย์ ซึ่งก็คล้ายๆ กับว่า เท้ากำลังบอกมือว่าควรจะทำหน้าที่อะไร แท้จริงแล้วพระเยซูคริสต์เท่านั้นทรงเป็นศีรษะเป็นผู้ที่รู้ถึงความต้องการของทั้งพระกาย พระองค์ทรงสามารถตัดสินใจได้ว่า จะให้ผู้ใดทำหน้าที่ใดที่เป็นความจำเป็นของพระกาย สมาชิกในพระกายจะมีส่วนในกันและกันได้ โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ไม่อาจทำหน้าที่ให้ของประทานฝ่ายวิญญาณได้ มีแต่พระเยซูคริสต์เท่านั้นผู้เป็นศีรษะ เป็นผู้ประทานของประทาน

ศรีษะสอดส่องดูความต้องการของร่างกายและตอบสนอง

ถ้ากระดูกของเราหักง่าย ศรีษะจะรับรู้ว่าร่างกายของเราต้องการน้ำนมเพิ่มขึ้น ดังนั้นศรีษะจะคอยสอดส่องดูว่าร่างกายได้น้ำนมเท่าที่ควรหรือยัง ทำนองเดียวกันพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นศรีษะจะคอยสอดส่องดูความต้องการของพระกายและตอบสนองความต้องการนั้น

ศรีษะควบคุมการทำงานของร่างกาย

ศรีษะของเราควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อศรีษะเห็นถึงความต้องการของร่างกายแล้ว ศีรษะก็จะสั่งการให้อวัยวะแต่ละอย่างทำงานที่แข็งแรงของเรา ตัดสินใจเองไม่ได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ดีสำหรับร่างกาย แต่เราต้องรับคำสั่งจากศีรษะให้เดินไปในที่ที่ร่างกายต้องการ เช่นเดียวกับพระคริสต์ เมื่อพระองค์ทรงมอบของประทานต่างๆ ให้แก่พระกายแล้ว พระองค์ยังทรงให้แนวทางในการใช้ของประทานนั้นๆ ด้วย ใครคือผู้รับของประทาน ของประทานทุกอย่างต้องมีผู้รับ เราเคยได้กล่าวถึงผู้รับของประทานแล้วว่า เป็นได้ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมของทั้งพระกาย กล่าวคือเมื่อสมาชิก แต่ละคนได้รับของประทานในการเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ คนเหล่านั้นก็ได้รับมอบหมายให้ทำงานกันทั้งพระกาย เราจะศึกษากันต่อไปว่า ใครได้รับเลือกให้รับของประทานในการเผยแพร่ข่าวประเสริฐ ในแง่หนึ่งผู้รับเชื่อทุกคนต้องทำหน้าที่ในการประกาศข่าวประเสริฐอยู่แล้ว ตามพระมหาบัญชาของพระเยซูใน มก..16:15-16 ที่ว่า “เจ้าทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวฯแก่มนุษย์ทุกคน ผู้ใดเชื่อและรับบัพติสมาแล้วผู้นั้นจะรอด แต่ผู้ใดไม่เชื่อจะต้องปรับโทษ” แต่บางคนพูดว่า “คำสั่งนี้ไม่ใช่เพื่อฉัน เป็นคำสั่งที่พระเยซูสั่งสาวก 11 คนต่างหาก เพราะพวกเขาเป็นอัครทูต” ให้เรามาดูพระคัมภีร์ตอนอื่นที่พระเยซูทรงตรัสกับสาวก 11 คน คือใน มธ.28:26 สอนเขา (ผู้เชื่อใหม่) ให้ถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้” เป็นความจริงที่อัครทูต 11 คน รับคำสั่งให้ “ออกไปทั่วโลกและประกาศข่าวประเสริฐ” แต่หลังจากนั้น เขาต้องสั่งสอนผู้เชื่อใหม่ทุกคน ให้ถือรักษาสิ่งสารพัดคือ คำสั่งทุกอย่างซึ่งรวมถึงคำสั่งให้ออกไปทั่วโลกและประกาศข่าวประเสริฐด้วย ดังนั้นทุกคนจึงเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้รับของประทานในการเผยแพร่ข่าวประเสริฐ จะมีข้อแตกต่างบางประการจากที่กล่าวมาแล้ว พระเจ้าทรงทราบว่าใครคือผู้ที่พระองค์จะใช้ได้ดีที่สุดในงานนี้ งานเริ่มแรกของเขาอาจไม่ได้เริ่มต้นด้วยการเผยแพร่ข่าวประเสริฐ

ในพระธรรม กจ.เราได้เห็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ 2 คนแรกที่ไม่ได้เป็นอัครทูตคือ ฟิลิปและสเทเฟน ซึ่ง 2 คนเริ่มงานรับใช้ของเขาในหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน เราพบได้ใน กจ. 6:2-35, ว่าดังนี้ อัครทูต 12 กล่าวว่า ซึ่งเราจะละเลยพระวจนะของพระเจ้า มัวไปแจกอาหารอยู่ก็หาควรไม่ เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลายจงเลือก 7 คน ในพวกท่านที่มีชื่อเสียงดี ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และสติปัญญา เราจะตั้งเขาให้ดูแลการงานนี้ …คนทั้งหลายเห็นชอบกับคำนี้ จึงเลือกสเทเฟนผู้ประกอบด้วยพระวิญญาณฯ กับฟิลิป” คนอื่นๆ ก็ได้รับการเลือกให้ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วย แต่มีเพียงสเทเฟนและฟิลิปได้มาเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ ต่อมาสเทเฟนถูกฆ่า อาจจะหลังจากการประกาศหนเดียวของเขาเท่านั้น และฟิลิปได้รับการขนานนามว่า “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” ใน กจ. 21:6 ซึ่งเขียนว่า “เราก็เข้าไปในบ้านของฟิลิปผู้ประกาศข่าวประเสริฐ ฟิลิปเป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐตั้งแต่ ประมาณ คศ.33 เขาทำหน้าที่นี้จนถึง คศ.60 สิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ว่า งานส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาคือ การประกาศข่าวประเสริฐ เหตุผลหนึ่งที่สทเฟนและฟิลิปได้รับการเลือกให้หน้าที่ ที่มีความรับผิดชอบสูงนี้ น่าจะเป็นเพราะเขามีความสัตย์ซื่อต่อภารกิจขององค์พระผู้เป็นเจ้า …เมื่อเขาทั้งหลายได้ยินเหตุการณ์นั้น พระองค์ได้ตรัสคำอุปมาเรื่องหนึ่งให้เขาฟังต่อไป เพราะพระองค์เสด็จมาใกล้กรุงเยรูซาเล็มแล้ว และเพราะเขาทั้งหลายคิดว่าแผ่นดินของพระเจ้าจะปรากฏโดยพลัน เหตุฉะนั้นพระองค์จึงตรัสว่า "มีเจ้านายองค์หนึ่งไปเมืองไกล เพื่อจะรับอำนาจมาครองแผ่นดิน แล้วจะกลับมา ท่านจึงเรียกทาสของท่านสิบคนมามอบเงินไว้แก่เขาสิบมินา สั่งว่า 'จงเอาไปค้าขายจนเราจะกลับมา' แต่ชาวเมืองชังท่านผู้นั้น จึงใช้คณะทูตตามไปทูลว่า 'เราไม่ต้องการให้ผู้นี้ครอบครองเรา' เมื่อท่านได้รับอำนาจครองแผ่นดินกลับมาแล้ว ท่านจึงเรียกทาสทั้งหลายที่ท่านได้ให้เงินไว้นั้นมา เพื่อจะได้รู้ว่าเขาทุกคนค้าได้กำไรกี่มากน้อย ฝ่ายคนแรกมาทูลว่า 'พระเจ้าข้า เงินมินาหนึ่งของพระองค์ ได้กำไรสิบมินา' พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า 'ดีแล้วเจ้าเป็นทาสที่ดี เพราะเจ้าสัตย์ซื่อในของเล็กน้อยเจ้าจงมีอำนาจครอบครองสิบเมืองเถิด' คนที่สองมาทูลว่า 'พระเจ้าข้า เงินมินาหนึ่งของพระองค์ได้กำไรห้ามินา' พระองค์จึงตรัสกับเขาเหมือนกันว่า 'เจ้าจงครอบครองห้าเมืองเถิด'…ลก..19:11-19 ศึกษาดูว่า พระเจ้าทรงมอบบำเหน็จแก่ผู้ที่สัตย์ซื่อต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเขาอย่างไร เหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้พระเจ้าทรงเลือกคนทั้งสองให้ทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวประเสริฐอีกก็คือ เขาประกอบ (เต็ม) ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และสติปัญญาใน กจ.6:8 กล่าวว่า ..“สเทเฟนประกอบด้วยพระคุณและฤทธิ์เดช พระเจ้าทรงเลือกคนให้ทำหน้าที่ประกาศข่าวประเสริฐด้วยคุณลักษณะหลายประการในบรรดาคุณลักษณะเหล่านี้ ยังรวมถึงความสัตย์ซื่อ, ประกอบ(เต็ม)ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์, ประกอบด้วยสติปัญญา, ประกอบด้วยความเชื่อและฤทธิ์เดช พระองค์อาจมองดูคุณสมบัติอื่นๆด้วย ให้เราจำไว้ด้วยว่า พระเจ้าทรงทราบว่า ใครคือผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ซึ่งบางทีเราอาจจะยังมองไม่เห็นในคนๆ นั้นก็ได้ ตัวอย่างเช่น พระองค์จะทรงเรียกอนุชนคนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประกาศข่าวประเสริฐ ในขณะที่คนนั้นหรือคนอื่นๆ ยังคิดไม่ถึงว่าเขาจะทำได้ใน 1ซมอ.3 พระเจ้าทรงเรียกซามูเอลให้ทำหน้าที่เป็นผู้เผยพระวจนะในอิสราเอล ตั้งแต่เขายังเป็นเด็กมาก ดังนั้นผู้รับของประทานนี้คือ ผู้เชื่อที่พระเจ้าทรงทราบว่า เขามีคุณลักษณะเหมาะสมกับการนี้ หน้าที่ของเขา ชื่อที่เราเรียกเขาได้รวมเอาความหมายของหน้าที่หลักของเขาเอาไว้แล้ว คำว่า “ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” หมายถึง “ผู้ที่โฆษณาข่าวดี” เราเห็นว่านี้ ข่าวดีหลายอย่างในโลกนี้ แต่ข่าวดีผู้ประกาศข่าวฯพูดถึงนี้ เกี่ยวข้องกับข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ ใน 1คร.15:1-4 เปาโลสรุปความหมายของข่าวฯ ไว้อย่างย่อๆ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญ 3 อย่างคือ

พระเยซูคริสต์ได้ทรงวายพระชนม์เพราะบาปของเราทั้งหลายตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์
พระองค์ถูกฝังไว้และ
พระองค์ทรงถูกชุบให้เป็นขึ้นมาใหม่ในวันที่สาม ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ นอกจากผู้ประกาศฯ จะทำหน้าที่หลักในการประกาศ เรื่องพระเยซูคริสต์แก่คนที่ไม่เชื่อแล้ว เขายังต้องทำหน้าที่อื่นด้วย เปาโลกล่าวถึงใน อฟซ.4:12 ว่าผู้ประกาศข่าวประเสริฐต้องมีส่วนรับผิดชอบในการเตรียม ธรรมิกชนให้เป็นคนที่จะรับใช้ เพื่อเสริมสร้างพระกายของพระคริสต์ให้จำเริญขึ้น” หน้าที่นี้จะสำเร็จลงได้ก็โดยการเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น โดยเราเองดำเนินตามแบบอย่างที่ดีในพระคัมภีร์ก่อน
เราจะเข้าใจหน้าที่ของผู้ประกาศฯดีขึ้น ถ้าเราจะพิจารณาดูจากชีวิตและงานของ “ผู้ประกาศฯ” ที่พระคัมภีร์ คือฟิลิปให้ศึกษารายละเอียดต่างๆ ของฟิลิปต่อไปนี้อย่างถี่ถ้วน

เขาเดินทางไปยังแคว้นสะมาเรียและประกาศเรื่องพระคริสต์ให้ชาวเมืองนั้นฟัง (กจ.8:5)
เขาพูดกับประชาชนและได้ทำการอัศจรรย์หลายอย่าง (กจ.8:6)
เขาทำให้เมืองนั้นมีความปลื้มปีติ (กจ.8:8)
เขาให้บัพติสมาแก่ผู้ที่เชื่อ (กจ.8:12)
เขายอมให้พระเจ้านำว่า ควรจะไปประกาศที่ไหน (กจ.8:26-27)
เขายอมรับคำสั่งแบบเฉพาะเจาะจงของพระวิญญาณบริสุทธิ์ กจ.8:29
เขาเป็นพยานส่วนตัวกับรายบุคคล กจ.8:30-35
เขาประกาศข่าวประเสริฐในหลายเมือง กจ.8:40
เขาประกาศกับครอบครัวของเขาด้วย กจ.21:9
นอกจากนี้เรายังเรียนรู้ที่จะรู้จักผู้ประกาศข่าวฯ และงานของเขาได้จากชีวิตและการรับใช้ของสเทเฟนด้วย แม้ว่าพระคัมภีร์ไม่ได้ขนานนามเขาว่า ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ ให้เราศึกษารายละเอียดต่อไปนี้

1 เขาทำการอัศจรรย์และทำการเป็นนิมิตใหญ่ท่ามกลางประชาชน กจ.6:8

2 เขากล่าวถ้อยคำที่ประกอบด้วยสติปัญญาและด้วยฤทธิ์เดชของพระวิญญาณฯ กจ.6:10

3 เขามีท่าทีที่ดีเมื่อถูกข่มเหง กจ.6:15

เขาสั่งสอนด้วยพระคำของพระเจ้าอย่างชัดเจนและด้วยฤทธิ์เดช กจ.7:2-53
เขาพูดความจริงของพระเจ้าด้วยใจกล้าหาญ แม้เขาต้องตายเพราะคำพูดนั้น กจ.7:51-53
เขาให้อภัยแก่ผู้ที่ฆ่าเขา กจ.7:60
เขาเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ คริสตจักรที่ถูกฆ่าตาย เพราะความเชื่อ
ผู้ประกาศข่าวประเสริฐทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์เช่นเดียวกับฟิลิปและสเทเฟน แต่เราสามารถเรียนรู้หน้าที่พื้นฐานของของประทานนั้นจากคนทั้งสอง

พระธรรมตอนอื่นใน 2ทม.4:5 ที่กล่าว “จงทำหน้าที่ของผู้ประกาศข่าวประเสริฐ” ในตอนนี้ชี้ให้เราเห็นว่า บางครั้งของประทานในการประกาศฯ ใช้ควบคู่กับของประทานอื่นๆ ข้อความข้างต้นนี้กล่าวถึง ทม.ซึ่งเป็นศิษยาภิบาล เราจะศึกษาหน้าที่หลักของศิษยาภิบาลในบทต่อไป แต่ให้เราจำไว้ก่อนว่าศิษยาภิบาลอาจต้องทำหน้าที่ของผู้ประกาศฯ ด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

ชีวิตของเราได้รับการพัฒนาขึ้น

ของประทานในการรับใช้ทุกอย่างที่พระเยซูคริสต์ประทานให้ จำเป็นต้องรับการพัฒนาขึ้น เมื่อคิดถึงเด็กแรกเกิด แม้ว่าเขามีอวัยวะทุกอย่างสมบูรณ์ของคนคนหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่า เขาไม่ต้องการการเจริญเติบโตขึ้น ต้องใช้เวลาหลายปีที่เขาจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เป็นต้น ของประทานในการประกาศข่าวฯ เป็นสิ่งที่ดี และสมบูรณ์ครบถ้วนที่พระเจ้าได้ทรงประทานให้แก่พระกาย แต่อย่างไรก็ตามของประทานนี้จำเป็นต้องรับการพัฒนาขึ้น เพื่อจะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ให้เรามาพิจารณาการพัฒนาของประทาน 4 ขั้นตอน

ขะมักเขม้นในการอธิษฐาน ให้สังเกตดูการอธิษฐานของอัครทูต 12 คนที่เป็นนักประกาศด้วยใน กจ.6:4 “ฝ่ายพวกเขาเราจะขะมักเขม้นอธิษฐานและรับใช้พระเจ้าในพันธกิจแห่งพระวจนะเสมอไป” และยังกล่าวอีก

My Blog

  • วินัยของน้องหมา (ข้างถนน) - วันที่ 18/8/2011 เช้านี้ขณะที่รถติดไฟแดงอยู่บริเวณสี่แยกสามย่าน ซึ่งเบื้องหน้าเป็นจามจุรีสแควร์นั้น พลันก็เหลือบเห็นน้องหมาตัวหนึ่งเดินข้ามทางม้าลายด้วยอ...
    12 ปีที่ผ่านมา
  • บทความคริสเตียน - บทความคริสเตียน http://www.gracezone.org/index.php/christian-articles บทความทางด้านจิตวิญญาณ หลักข้อเชื่อ พระเจ้า พระคัมภีร์ พระเจ้า พระคัมภีร์ แนวทางในการ...
    15 ปีที่ผ่านมา
  • คริสเตียนกับการรับใช้พระเยซู - คริสเตียนกับการรับใช้พระเยซู วัน พุธ 08 ต.ค. 08@ 17:47:37 ICT หัวข้อ: สรุปคำเทศนาประจำอาทิตย์ ดร.ทะนุ วงค์ธนานุกุล วัน อาทิตย์ ที่ 21 กันยายน 2008 พระธร...
    15 ปีที่ผ่านมา
  • - แต่วาระนั้นใกล้เข้ามาแล้ว และบัดนี้ก็ถึงแล้ว คือเมื่อผู้ที่นมัสการอย่างถูกต้องจะนมัสการพระบิดา ด้วยจิตวิญญาณและความจริง เพราะว่าพระบิดาทรงแสวงหาคนเช่นนั้...
    15 ปีที่ผ่านมา

Christian Blog

บล็อกวาไรตี้

เทคโนโลยี

ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใหม่ล่าสุด |

วาไรตี้

ข่าวประจำวัน

สารบัญเว็บไทย

กินลม ชมทะเล ที่มาร์คเฮ้าส์บังกะโล เกาะกูด จ.ตราด

Thailand Map