Custom Search By Google

Custom Search

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

การรักษาบาดแผลฝ่ายวิญญาณ‏

<พระธรรมประจำวัน> การรักษาบาดแผลฝ่ายวิญญาณ‏

พวกเราส่วนใหญ่ คงจะเคยเรียนรู้เกี่ยวกับฤทธิ์เดชการรักษาโรคฝ่ายกายของพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่วันนี้จะมาเรียนรู้ด้วยกันถึงโรคทางฝ่ายวิญญาณ


"พระองค์ตรัส ว่า 'ถ้าเจ้าทั้งหลายฟังพระสุรเสียงของพระเจ้าของเจ้า และกระทำสิ่งที่ชอบในสายพระเนตรของพระองค์ เงี่ยหูฟังพระบัญญัติของพระองค์ และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพระองค์ทุกประการ แล้วโรคต่างๆ ซึ่งเราบันดาลให้เกิดแก่ชาวอียิปต์นั้น เราจะไม่ให้บังเกิดแก่พวกเจ้าเลย เพราะเราคือพระเจ้า แพทย์ของเจ้า' " (อพยพ 15:26)



"And said, If thou wilt diligently hearken to the voice of the LORD thy God, and wilt do that which is right in his sight, and wilt give ear to his commandments, and keep all his statutes, I will put none of these diseases upon thee, which I have brought upon the Egyptians: for I am the LORD that healeth thee." (Exodus 15:26 KJV)


พระเจ้าเป็นแพทย์ผู้ประเสริฐ พระเจ้าต้องการรักษาเรา ไม่เพียงแค่โรคทางฝ่ายกาย แต่พระองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะรักษาโรคของเราทั้งฝ่ายกาย ฝ่ายจิตใจ และฝ่ายวิญญาณ


"4 แน่ทีเดียว ท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย และหอบความเจ็บปวดของเราไป กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี คือ พระเจ้าทรงโบยตี และข่มใจ
5 แต่ท่านถูกบาดเจ็บ เพราะความทรยศของเราทั้งหลาย ท่านฟกช้ำ เพราะความบาปผิดของเรา การตีสอนอันทำให้เราทั้งหลายสมบูรณ์นั้น ตกแก่ท่าน ที่ท่านต้องฟกช้ำนั้นก็ให้เราหายดี" (อิสยาห์ 53:4-5)



"4 Surely he hath borne our griefs, and carried our sorrows: yet we did esteem him stricken, smitten of God, and afflicted.
5 But he was wounded for our transgressions, he was bruised for our iniquities: the chastisement of our peace was upon him; and with his stripes we are healed." (Isaiah 53:4-5 KJV)


จากพระคัมภีร์ตอนนี้ ในภาษาอังกฤษ จะใช้คำต่าง ๆ ดังนี้


"ความเจ็บไข้" ใช้คำว่า "Infirmities" แปลว่า "ไม่สมบูรณ์ ไม่มั่นคง ความอ่อนแอ ทุพพลภาพ"

"ความเจ็บปวด" ใช้คำว่า "Sorrows" แปลว่า "ความโศกเศร้า เป็นทุกข์ เสียใจ"

"ความผิดบาป" ใช้คำว่า "Iniquities" แปลว่า "ไร้ศีลธรรม การกระทำที่ชั่วร้าย ไม่ยุติธรรม"

"ให้เราทั้งหลายสมบูรณ์" ใช้คำว่า "Brought us peace" แปลว่า "นำมาซึ่งสันติสุข สันติภาพ"

และคำว่า "ให้เราหายดี" ใช้คำว่า "Healed"



เวลาเราเป็นโรคฝ่ายกาย เราปกป้องตัวเอง เช่น เป็นแผลที่เท้า เราก็จะเดินอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ใครมาเหยียบ ซึ่งนี่เป็นกลไกการป้องกันตัวเอง เช่นเดียวกัน ตามธรรมชาติของเรา เมื่อเรามีบาดแผลฝ่ายวิญญาณ เราก็จะปกป้องตัวเอง

การรักษาเป็นส่วนหนึ่งของการงานที่กางเขน


"พระองค์เอง ได้ทรงรับแบกบาปของเราไว้ในพระกายของพระองค์ ที่ต้นไม้นั้น เพื่อว่าเราทั้งหลายจะได้ตายจากบาปได้ และดำเนินชีวิตตามคลองธรรม ด้วยบาดแผลของพระองค์ ท่านทั้งหลายจึงได้รับการรักษาให้หาย" (1เปโตร 2:24)


โรคทางกายบางอย่าง ที่คริสเตียนยังมีอยู่ เป็นสิ่งที่พระเจ้าต้องการเตือน ว่าเรายังคงมีความผิดปกติอะไรอยู่ ที่เรายังไม่ยอมที่จะรับการแก้ไข ยังมีบาดแผลที่ซ่อนอยู่ จึงปรากฎออกมาเป็นโรคทางกาย พระองค์ทรงต้องการที่จะให้เรายอมให้พระองค์ทรงรักษา และถ้าเราไม่เข้าใจ โรคของเราก็จะคงอยู่


"ความบาปและความ เจ็บป่วยเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดทั่วทั้งพระคัมภีร์ เราได้รับการไถ่จากความบาปและความป่วยไข้โดยผ่านพระโลหิตที่หลั่งออกมาและ ผ่านบาดแผลที่แบกรับโดยพระเยซู" (Healing the Sick, by T.L. Osborn, 2006)




"2 จิตใจของข้าเอ๋ย จงถวายสาธุการแด่พระเจ้า และอย่าลืมพระราชกิจอันมีพระคุณทั้งสิ้นของพระองค์
3 ผู้ทรงอภัยความบาปผิดทั้งสิ้นของท่าน ผู้ทรงรักษาโรคทั้งสิ้นของท่าน" (สดุดี 103:2-3)


พระเจ้าทรงยกโทษบาปเมื่อเราสารภาพ แต่ไม่ใช่เพียงความบาปเท่านั้นที่เกิดขึ้น ความบาปเหล่านั้นทำให้เกิดบาดแผลขึ้นด้วย ขอบคุณพระเจ้า โดยฤทธิ์เดชของกางเขน (Power of the Cross) พระเยซูคริสต์เจ้าได้ทรงยกโทษบาป และทรงรักษาบาดแผลด้วย




บาดแผลในจิตวิญญาณ
เป็นความเจ็บป่วยที่มีผลกระทบต่อชีวิตมาก ผู้ป่วยเป็นมะเร็งน้อยรายมากที่จะคิดฆ่าตัวตาย แต่คนที่อกหัก กลับฆ่าตัวตายเป็นอันมาก นี่เป็นเพราะบาดแผลฝ่ายวิญญาณมีผลกระทบต่อชีิวิตอย่างมาก


"จิตใจของคนจะทนต่อความเจ็บป่วยได้ แต่จิตใจที่ชอกช้ำใครจะทนได้เล่า" (สุภาษิต 18:14)


ต้องการความช่วยเหลือจากพระเจ้าในการรักษา เพราะมนุษย์ไม่สามารถรักษาได้ มีเพียงพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่จะสามารถรักษาได้


"12 เพราะพระเจ้าตรัสดังนี้ว่า 'ที่เจ็บของเจ้าก็ร้าย และบาดแผลของเจ้าก็ฉกรรจ์
13 ไม่มีผู้ใดที่จะช่วยคดีของเจ้า ไม่มียารักษาบาดแผลของเจ้า ไม่มีการรักษาให้เจ้า' " (เยเรมีย์ 30:12-13)



"เพราะเราจะ เรียกเนื้อขึ้นมาให้แก่เจ้า และเราจะรักษาบาดแผลของเจ้าให้หาย พระเจ้าตรัส เพราะเขาทั้งหลายเรียกเจ้าว่าพวกนอกคอก 'คือ ศิโยนซึ่งไม่มีใครต้องการ' " (เยเรมีย์ 30:17)





ที่มาของบาดแผล
สาเหตุของบาดแผล คือ ท่าที ถ้อยคำและการกระทำหรือพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้รู้สึกว่า ถูกปฏิเสธ ไม่ยุติธรรม ถูกล่วงละเมิด

ผู้ที่ทำให้เกิดแผล มีบางคนจะเรียกคนกลุ่มนี้อย่างรุนแรงว่า "ผู้เผยพระวจนะเท็จ" เนื่องจากส่วนใหญ่ คำพูดที่ทำให้เกิดแผล มักจะเกิดจากความเท็จ อาจจะเป็นคนใกล้ตัว ญาติพี่น้อง ครู เพื่อนฝูง หรือเพื่อนบ้าน สื่อต่าง ๆ ถ้าเรารับสิ่งเหล่านี้เข้ามา ก็จะเกิดบาดแผล

คนส่วนใหญ่ที่มีแผล จะเกิดจากพ่อแม่ พ่อแม่เป็นผู้ที่จะทำให้ลูกเกิดแผลมากที่สุด เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่ จะไม่สนใจความต้องการพื้นฐานของลูก เช่น พ่อแม่มักจะไม่แสดงความรักแก่ลูก ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูก ๆ ต้องการมาก มักจะด่าต่อหน้า แต่กลับไปชมลับหลัง

ความต้องการพื้นฐานทางด้านอารมณ์ของลูก ได้แก่


ได้รับความรักที่แสดงออกอย่างไม่มีเงื่อนไข
รู้สึกอบอุ่นและมั่นคงปลอดภัย
ได้รับการชมเชย การยอมรับ และให้กำลังใจ
มีเป้าหมายชีวิต




บาดแผลที่เกิดจากพ่อแม่
บาดแผลที่เกิดจากพ่อ


พ่อที่ดี ทำให้เกิดแผลได้ เพราะว่าอาจจะดีเกินไป จนทำให้ลูกหาชายที่ดีเหมือนพ่อไม่ได้ จึงทำให้ลูกสาวอาจไม่ได้แต่งงาน และรู้สึกว่าติดพ่อ


พ่อที่ผลักดันให้ลูกมีผลงาน คาดหวังให้ลูกเรียนได้คะแนนดี ๆ


พ่อที่เฉีื่อยชา ซึ่งผิดจากบทบาทที่ควรจะเป็น แม่จะเป็นผู้ที่ให้ความรักความอบอุ่น แต่พ่อควรจะเป็นผู้ที่เป็นแบบอย่าง เป็นผู้นำ เป็นฮีโร่


พ่อที่ไม่อยู่ด้วย เป็นปัญหาเช่นกัน อาจทำให้ลูกชายกลายเป็นเกย์ได้


พ่อที่เคร่งวินัย ลูกจะอยู่ด้วยความเครียด กดดันมานาน


พ่อที่ละเมิด เช่นพ่อที่ละเมิดลูกทางเพศ หรืออาจจะทางกาย



ภาพของพ่อ อาจทำให้ภาพที่เรามองพระเจ้าบิดเบือนไปได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น ถ้าหากพ่อเราเคร่งวินัย เราก็จะมองว่าพระเจ้าคงจะเป็นเช่นกัน

บาดแผลที่เกิดจากแม่ ที่สำคัญ คือ การไม่ได้รับความรักจากแม่ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ซึ่งสามารถทิ้งบาดแผลไว้ในใจของเด็กชั่วชีวิต (แจ๊ค ฟรอสท์, 2006)

ตัวอย่างบาดแผลที่ทำให้เกิดบาดแผล เช่น พ่อแม่ไม่ตั้งใจให้เกิด ไม่แสดงความรักความอบอุ่น ถุูกยกให้เป็นบุตรบุญธรรม ให้คนอื่นเลี้ยง เลี้ยงลูกอย่างลำเอียง ถูกทำให้รู้สึกว่าเป็นภาระหรือไม่เป็นที่ต้องการ ผลงานไม่ได้รับการยอมรับ คู่ครองขอหย่า แฟนบอกเลิก เจ้านายให้ออกจากงาน เพื่อนไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม ถูกเข้าใจผิด ถูกลงโทษอย่างไม่ยุติธรรม ขัดแย้งกับคนอื่น เป็นต้น




รู้ได้อย่างไรว่ามีแผลในจิตวิญญาณ ?
บุคลิกภาพที่เป็นปัญหา อาจทำให้เรารู้ว่ามีแผลได้ แม้ว่าเราจะไม่เห็นบาดแผลเขาโดยตรง เหมือนเช่น คนที่ขาหัก เราอาจไม่เห็นขาที่หักของเขา แต่เรารู้ได้ว่าเขาขาหักก็โดยการที่เขาเดินผิดปกติ ใส่เฝือก ใช้ไม่เท้า ฯลฯ [ในพระคัมภีร์ คำว่า ใจ (heart) มาจากภาษาฮีบรูว่า "leb" และ "lebab" และภาษากรีกว่า "kardia" คำเหล่านี้ได้ถูกใช้หลายครั้งด้วยกัน โดย 204 ครั้งหมายถึง "จิตใจ" (mind), 195 ครั้งหมายถึง "ความตั้งใจ" (will), 166 ครั้งหมายถึง "อารมณ์" (emotion), และ 257 ครั้ง ซึ่งมากที่สุด จะหมายถึง "บุคลิกภาพ (personality)]

พฤติกรรม ความรู้สึก (อารมณ์) หรือทัศนคติที่เป็นปัญหา เช่น


พวกยอมตาม กลัว เศร้า สงสาร กล่าวโทษหรือเกลียดตัวเอง ซึมเศร้าจนถึงมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย
พวกก้าวร้าว โกรธ เกลียด หึงหวง อิจฉา พิพากษ์วิจารณ์ หรือกล่าวโทษคนอื่น มีพฤติกรรมรุนแรงต่อคนใกล้ชิด

ความสัมพันธ์ที่เป็นปัญหา เช่น เก็บตัว เข้าสังคมหรือเข้ากับบางคนไม่ได้ มักทะเลาะกับบางคนเสมอ เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่

ความเจ็บป่วยทางกาย หลายครั้งพระเจ้าไม่ได้รักษาโรคฝ่ายวิญญาณ เพื่อต้องการให้เรารู้ตัวว่าเรามีบาดแผลฝ่ายวิญญาณอยู่ เพราะโรคทางกายบางอย่างมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติฝ่ายวิญญาณ ดังนั้น เมื่อเราเป็นโรคอะไรขึ้นมา ขอที่เราจะมีโอกาสที่จะอธิษฐานทูลถามต่อพระเจ้าโดยตรงเลย ว่าเรายังความผิดปกติอะไรอยู่ ที่ทำให้เราเกิดโรคขึ้นมา


"ใจที่ยินดีกระทำให้ใบหน้าร่าเริง แต่โดยความเสียใจดวงจิตก็สลายลง" (สุภาษิต 15:13)



"ใจร่าเริงเป็นยาอย่างดี แต่จิตใจที่หมดมานะทำให้กระดูกแห้ง" (สุภาษิต 17:22)


ความทรงจำที่เป็นปัญหา

ความฝันซ้ำ ๆ




ทำไมที่ผ่านมา บาดแผลนี้จึงไม่เคยได้รับการรักษา ?
คำตอบก็คือ เพราะเราจัดการกับมันด้วยวิธีการที่ผิด เช่น


ปฏิเสธมัน เช่น บอกว่า "ฉันไม่มีปัญหา"
โยนมันให้กับคนอื่น เช่น บอกว่า "เพราะว่า ... ฉันถึงเป็นอย่างนี้"
ฝังไว้ในความพึงพอใจ เป็นพวกที่ชอบเก็บแผลไว้คลึงหรือเกาเล่น

การที่เราเรียนรู้เรื่อง บาดแผลฝ่ายวิญญาณ ก็เพื่อที่จะให้เรายอมร่วมมือกับพระเจ้าในการรักษาบาดแผลเหล่านั้นให้หาย โดยพระเจ้าทรงมีเวลาให้แก่เราเสมอ และสำหรับแต่ละบาดแผล พระเจ้าจะทรงมีเวลาที่เหมาะสมที่จะรักษาเรา




ขั้นตอนการรักษาแผล
ขั้นตอนการรักษาแผล เป็นกระบวนการที่เรียนรู้ได้โดยการศึกษาจากการรักษาบาดแผลทางกาย

1. เปิดแผล คือ การรับรู้ว่ามีแผล และเชื่อว่าพระเจ้าทรงรักษาได้ หลายครั้งเราเชื่อว่าพระเจ้ายกโทษบาปได้ แต่ไม่เชื่อว่าพระเจ้าสามารถรักษาเราได้ ซึ่งนี้เป็นความเข้าใจผิด ในขั้นตอนนี้ เราควรที่จะสารภาพ (confessing) โดยสารภาพบาป และสารภาพด้วยว่าเรามีแผล


"9 คือว่าถ้าท่านจะรับด้วยปากของท่านว่า พระเยซูทรงเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้า และเชื่อในจิตใจว่า พระเจ้าได้ทรงชุบพระองค์ให้เป็นขึ้นมาจากความตาย ท่านจะรอด
10 ด้วยว่า ความเชื่อด้วยใจก็นำไปสู่ความชอบธรรม และการยอมรับสัจจะของพระเจ้าด้วยปากก็นำไปสู่ความรอด" (โรม 10:9-10)



การปฏิบัติ คือ ให้เราใช้เวลากับพระเจ้า ทูลขอให้พระองค์เปิดเผยบาดแผลหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดบาดแผล และเชื่อวางใจพระเจ้าในการรักษาบาดแผล และเราต้องตระหนักว่า การรักษานั้น เป็นมาจากพระเจ้าเท่านั้น ไม่ใช่มาจากเทคนิคของมนุษย์


"Healing is the work and function of the Holy Spirit, so it's important to be led by Him and not just by someone's technique" (Wall of my Heart, by Dr.Bruce Thompson)



2. การล้างแผล เป็นการที่เราปรารถนาที่จะรับการรักษาให้หาย ซึ่งได้แก่ การกลับใจใหม่ (repentance)


"บุคคลผู้ใดหิวกระหายความชอบธรรม ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าพระเจ้าจะทรงให้อิ่มบริบูรณ์" (มัทธิว 5:6)



การปฏิบัติ ให้เราบอกพระเจ้าว่าเราต้องการจะหายจริง ๆ เรารู้ว่าแผลนี้ขัดขวางเราไม่ให้เติบโต ไม่ให้เป็นเหมือนพระคริสต์ และเราอยากเปลี่ยนแปลง


"22 ท่านจงทิ้งตัวเก่าของท่าน ซึ่งคู่กับวิถีชีวิตเดิมนั้นเสีย อันจะเสื่อมเสียไปสู่ความตายตามตัณหา อันเป็นที่หลอกลวง
23 และจงให้วิญญาณจิตของท่านเปลี่ยนใหม่
24 และขอให้ท่านสวมสภาพใหม่ ซึ่งทรงสร้างขึ้นใหม่ตามแบบอย่างของพระเจ้า ในความชอบธรรม และความบริสุทธิ์ที่แท้จริง" (เอเฟซัส 4:22-24)




3. การกำจัดสิ่งแปลกปลอม ซึ่งได้แก่ รากขมขื่น การไม่ให้อภัย สิ่งเหล่านี้เราต้องกำจัดออก ด้วยการให้อภัย (forgiving) ซึ่งเคล็ดลับของการให้อภัย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเรื่องที่เกิด ไม่ได้เกิดขึ้นกับความเลวร้ายที่เราได้ประสบ แต่อยู่ที่การตัดสินใจของเรา


พระคัมภีร์ มัทธิว 18:23-35 เรื่อง ทาสที่ไม่ยอมให้อภัย เป็นคำอุปมาที่กล่าวถึงเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งยกหนี้ให้แก่ทาสที่ติดหนี้อยู่ แต่ลูกหนี้คนนี้กลับไม่ยอมยกหนี้แก่ผู้ที่ติดหนี้เขาอยู่ ทั้ง ๆ ที่ติดหนี้เพียงเล็กน้อยกว่าที่เขาติดหนี้เจ้าองค์นั้นมาก เมื่อเจ้าองค์นั้นทราบเรื่อง จึงโกรธอย่างมาก และจับทาสคนนั้นมาลงโทษ

จากพระคัมภีร์ตอนนี้เอง ชี้ให้ว่า การที่เจ้าองค์นี้ให้อภัยนั้น เกิดจากที่ท่าน "มีพระทัยเมตตา" (เป็นการตัดสินใจ และกระทำบางสิ่งบางอย่าง) "โปรดยกหนี้" และ "ปล่อยตัว"

นอกจากนี้ พระคัมภีร์ตอนนี้ยังชี้ให้เห็นว่า การ ให้อภัย เป็นไปตามหลักการของการหว่านและเก็บเกี่ยว คือถ้าเราให้อภัย พระเจ้าก็ทรงให้อภัยเราด้วย แต่ถ้าเราไม่ให้อภัย เราก็จะผิดต่อพระเจ้า ดังนั้น การให้อภัย ไม่ใช่เรื่องระหว่างเรากับคู่กรณี แต่เกี่ยวข้องกับเรากับพระเจ้า ถ้าเราไม่ให้อภัยกับคู่กรณี เขาก็ไม่เดือดร้อน แต่ผู้ที่เดือดร้อน คือเราเอง


"และท่านจง เมตตาต่อกัน มีใจเอ็นดูต่อกัน และอภัยโทษให้กัน เหมือนดังที่พระเจ้าได้ทรงโปรดอภัยโทษให้แก่ท่านในพระคริสต์นั้น" (เอเฟซัส 4:32)



"26 จะโกรธก็โกรธได้ แต่อย่าทำบาป อย่าให้ถึงตะวันตกท่านยังโกรธอยู่
27 และอย่าให้โอกาสแก่มาร" (เอเฟซัส 4:26-27)


พระคัมภีร์บอกว่า อย่าให้โอกาสแก่มาร ซึ่งโอกาสในที่นี้ใช้คำว่า "Foothold" (ที่มั่น) นั่นหมายความว่า ถ้า เรายังมีจิตใจที่ไม่ให้อภัย ยังมีความบาปบางอย่างที่เรายังทำเรื่อย ๆ นั่นก็จะเป็นที่มั่นให้แก่มาร เป็นจุดที่มารจะโจมตีเราได้ เราจึงควรทำลายที่มั่นนี้เสีย

วิธีปฏิบัติ คือ อธิษฐานออกเสียง ยกโทษให้คนที่ทำให้เราเจ็บ มีแผล



4. ใส่ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งได้แก่ พึ่งพากางเขนของพระเยซู


"เขาเหล่า นั้นชนะพญามารด้วยพระโลหิตของพระเมษโปดก และเพราะคำพยานของพวกเขาเอง เพราะเขาไม่ได้เสียดายที่จะพลีชีพของตน" (วิวรณ์ 12:11)



"กิตติศัพท์ ของพระองค์ก็เลื่องลือไปทั่วประเทศซีเรีย เขาจึงพาคนป่วยเป็นโรคต่างๆ คนที่ทนทุกข์เวทนา คนผีเข้า คนเป็นลมบ้าหมู และคนเป็นอัมพาตมาหาพระองค์ พระองค์ก็ทรงรักษาเขาให้หาย" (มัทธิว 4:24)



การปฏิบัติ คือ พึ่งพระโลหิตพระเยซู และใช้พระวจนะของพระเจ้าในการปกป้องตัวเอง และต่อสู้กับมาร



5. เย็บแผล ได้แก่ การใช้ความเชื่อ (Faith) ข้อควรระวังคือ เราจะต้องระวังที่จะไม่ข้ามขั้นตอน เพราะบางครั้งเราอาจจะปกปิดบาดแผลด้วยความคิด โดยที่จริง ๆ แล้วบาดแผลยังไม่หาย


"พระองค์เอง ได้ทรงรับแบกบาปของเราไว้ในพระกายของพระองค์ ที่ต้นไม้นั้น เพื่อว่าเราทั้งหลายจะได้ตายจากบาปได้ และดำเนินชีวิตตามคลองธรรม ด้วยบาดแผลของพระองค์ ท่านทั้งหลายจึงได้รับการรักษาให้หาย" (1เปโตร 2:24)


6. แต่งหรือปิดแผล เป็นขั้นตอนที่เราจะใช้ความอดทน (Patience) รอคอย รอเวลา โดยที่เราจะวางไว้กับพระเจ้าที่ไม้กางเขนนั้น ไม่ต้องไปพูดถึงมันอีก ไม่ต้องไปคิดถึงมันอีก




ผลของการรักษา
แผลก็จะกลายเป็นแผลเป็น ซึ่งแผลเป็นต่างจากแผลสด ก็คือ แผลเป้นจะไม่เจ็บอีกต่อไป สามารถพูดถึงได้โดยไม่รู้สึกเจ็บในจิตใจ


รำคาญคนอื่นน้อยลง เราจะสามารถรักพี่น้องได้โดยไม่ต้องฝืนใจ จะสามารถเข้าใจคนอื่นได้อย่างดี


มองสิ่งต่าง ๆ ในมุมมองที่แตกต่างไปจากเดิม


มีอิสระในการเข้าไปใกล้คนอื่น ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ


สามารถรักคนอื่นถึงขีดที่เราไม่เคยกล้าที่จะกระทำมาก่อน


ไวต่อความต้องการและบาดแผลของคนอื่น


มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความฝัน สุขภาพร่างกาย นิสัยบางอย่าง (ที่ฝังรากลึก) ซึี่งนิสัยบางอย่างเหล่านั้นอาจเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง


ความกลัวบางประการไม่มีอำนาจบังคับอีกต่อไป


มีความเข้มแข็งใหม่ ๆ เราจะเป็นคริสเตียนที่กล้าที่จะเชื่อฟังพระเจ้า กล้าที่จะสำแดงความรักมากยิ่งขึ้น






อ. จารุมาศ รัศมี (นามแฝง)

คำแบ่งปันคณะเพื่อคุณ คริสตจักรสะพานเหลือง

เมื่อวันที่ 01/03/2009

เรื่อง บาดแผลฝ่ายวิญญาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

My Blog

  • วินัยของน้องหมา (ข้างถนน) - วันที่ 18/8/2011 เช้านี้ขณะที่รถติดไฟแดงอยู่บริเวณสี่แยกสามย่าน ซึ่งเบื้องหน้าเป็นจามจุรีสแควร์นั้น พลันก็เหลือบเห็นน้องหมาตัวหนึ่งเดินข้ามทางม้าลายด้วยอ...
    12 ปีที่ผ่านมา
  • บทความคริสเตียน - บทความคริสเตียน http://www.gracezone.org/index.php/christian-articles บทความทางด้านจิตวิญญาณ หลักข้อเชื่อ พระเจ้า พระคัมภีร์ พระเจ้า พระคัมภีร์ แนวทางในการ...
    15 ปีที่ผ่านมา
  • คริสเตียนกับการรับใช้พระเยซู - คริสเตียนกับการรับใช้พระเยซู วัน พุธ 08 ต.ค. 08@ 17:47:37 ICT หัวข้อ: สรุปคำเทศนาประจำอาทิตย์ ดร.ทะนุ วงค์ธนานุกุล วัน อาทิตย์ ที่ 21 กันยายน 2008 พระธร...
    15 ปีที่ผ่านมา
  • - แต่วาระนั้นใกล้เข้ามาแล้ว และบัดนี้ก็ถึงแล้ว คือเมื่อผู้ที่นมัสการอย่างถูกต้องจะนมัสการพระบิดา ด้วยจิตวิญญาณและความจริง เพราะว่าพระบิดาทรงแสวงหาคนเช่นนั้...
    15 ปีที่ผ่านมา

Christian Blog

บล็อกวาไรตี้

เทคโนโลยี

ดาวน์โหลดโปรแกรมมาใหม่ล่าสุด |

วาไรตี้

ข่าวประจำวัน

สารบัญเว็บไทย

กินลม ชมทะเล ที่มาร์คเฮ้าส์บังกะโล เกาะกูด จ.ตราด

Thailand Map